สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ชี้ ระดับราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็น 36.01 บาท หลังทรงตัวมาตั้งแต่ต้นปี เผย ส่วนหนึ่งมาจากผู้บริโภคในประเทศมีความเชื่อมั่น อีกทั้งแนวโน้มการส่งออกไก่ต้มสุกไปยังตลาดยูเออีจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน
นายสุพรรณ กาญจนสุธรรม ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาไก่พันธุ์เนื้อที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 จาก 128.02 ในเดือนมิถุนายน 2550 เป็น 137.08 ในเดือนกรกฎาคม 2550 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 แต่เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคมปีก่อนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4 โดยราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยเดือนมิถุนายน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.63 บาท เป็น 36.01 บาท ในเดือนกรกฎาคม หลังจากที่ราคาทรงตัวที่ระดับ 28.8 — 32.3 บาท/กิโลกรัม มาตั้งแต่ต้นปี ส่วนหนึ่งมาจากความมั่นใจในการบริโภคในประเทศเพิ่มมากขึ้น แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาการส่งออกยังอยู่ในลักษณะของการรักษาตลาดเดิม แต่คาดว่าหลังจากที่ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) ได้ให้การรับรองโรงฆ่าสัตว์และโรงงานแปรรูปเนื้อไก่ต้มสุก โดยผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ทำให้สามารถส่งออกเนื้อไก่ต้มสุกไปยังยูเออี ได้ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2550 เป็นต้นไป ซึ่งจะทำให้ผู้ส่งออกของไทยสามารถเข้าไปเปิดตลาดในยูเออี ที่เป็นประตูสู่กลุ่มประเทสอิสลาม (CIS) ได้มากขึ้น ส่งผลทำให้การผลิตและการค้าไก่เนื้อในประเทศมีความแจ่มใสขึ้น ซึ่งประโยชน์ดังกล่าวจะสะท้อนส่งผ่านมาถึงราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้และความมั่นคงทางรายได้ของเกษตรกรผู้เลี้ยงในที่สุด
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะเข้าควบคุมดูแลในเรื่องการป้องกันการระบาดของโรคไข้หวัดนกอย่างเข้มข้น ประกอบกับกับมีนโยบายเกี่ยวกับเรื่อง food safety ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศมีความมั่นใจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นายสุพรรณกล่าวทิ้งท้าย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายสุพรรณ กาญจนสุธรรม ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาไก่พันธุ์เนื้อที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 จาก 128.02 ในเดือนมิถุนายน 2550 เป็น 137.08 ในเดือนกรกฎาคม 2550 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 แต่เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคมปีก่อนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4 โดยราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยเดือนมิถุนายน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.63 บาท เป็น 36.01 บาท ในเดือนกรกฎาคม หลังจากที่ราคาทรงตัวที่ระดับ 28.8 — 32.3 บาท/กิโลกรัม มาตั้งแต่ต้นปี ส่วนหนึ่งมาจากความมั่นใจในการบริโภคในประเทศเพิ่มมากขึ้น แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาการส่งออกยังอยู่ในลักษณะของการรักษาตลาดเดิม แต่คาดว่าหลังจากที่ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) ได้ให้การรับรองโรงฆ่าสัตว์และโรงงานแปรรูปเนื้อไก่ต้มสุก โดยผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ทำให้สามารถส่งออกเนื้อไก่ต้มสุกไปยังยูเออี ได้ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2550 เป็นต้นไป ซึ่งจะทำให้ผู้ส่งออกของไทยสามารถเข้าไปเปิดตลาดในยูเออี ที่เป็นประตูสู่กลุ่มประเทสอิสลาม (CIS) ได้มากขึ้น ส่งผลทำให้การผลิตและการค้าไก่เนื้อในประเทศมีความแจ่มใสขึ้น ซึ่งประโยชน์ดังกล่าวจะสะท้อนส่งผ่านมาถึงราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้และความมั่นคงทางรายได้ของเกษตรกรผู้เลี้ยงในที่สุด
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะเข้าควบคุมดูแลในเรื่องการป้องกันการระบาดของโรคไข้หวัดนกอย่างเข้มข้น ประกอบกับกับมีนโยบายเกี่ยวกับเรื่อง food safety ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศมีความมั่นใจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นายสุพรรณกล่าวทิ้งท้าย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-