บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๓๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๑๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๘
ณ ตึกรัฐสภา
-------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๖ นาฬิกา
เนื่องจาก นายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎร ไปราชการ
ต่างประเทศ เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว รองศาสตราจารย์ลลิตา ฤกษ์สำราญ
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นบัลลังก์และ
กล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. เรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้พิจารณาให้คำรับรอง
จำนวน ๘ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่ง นายวิชาญ มีนชัยนันท์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. ….
ซึ่ง นายสุพร อัตถาวงศ์ เป็นผู้เสนอ
(๓) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. ….
ซึ่ง นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๔) ร่างพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายสิทธิชัย กิตติธเนศวร เป็นผู้เสนอ
(๕) ร่างพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล เป็นผู้เสนอ
(๖) ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจญ์ พ.ศ. ….
ซึ่ง นายนริศ ขำนุรักษ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๗) ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. ....
ซึ่ง นายสงกรานต์ คำพิไสย์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๘) ร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ....
ซึ่ง นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ และนางสาวจณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์ เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมรับทราบ ภายหลังการอภิปรายของสมาชิกฯ
๒. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๕ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันอังคารที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๔๘
ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเห็นชอบแล้ว
๓. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๕ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันอังคารที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๔๘
ได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. .... ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
๔. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๕ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันอังคารที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๔๘
ได้พิจารณาและรับทราบรายงานประจำปีของหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) รายงานการตรวจสอบงบดุล งบรายรับ-รายจ่าย เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ประจำปี ๒๕๔๖ ตามมาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕
(๒) รายงานผลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๖
ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๑๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๕
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำร่างพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว
ตามที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสนอ
ต่อมา ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม โดยขอนำระเบียบวาระ
ตามลำดับดังต่อไปนี้ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ คือ
. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๔)
. ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(จัดตั้งกรมการข้าวขึ้นในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๙)
. ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. …. (ในระเบียบวาระ เรื่องด่วนที่ ๑๓)
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๔)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ตามมาตรา ๑๗๕ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๒. ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(จัดตั้งกรมการข้าวขึ้นในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๙)
โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราช บัญญัติอีก ๑ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(จัดตั้งกรมการข้าวขึ้นในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) ซึ่ง นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ และนายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร
เป็นผู้เสนอ (ซึ่งยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายอดิศร เพียงเกษ) และผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล
ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายอดิศร เพียงเกษ)
ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ
ทั้ง ๒ ฉบับพร้อมกันไป โดยถือเอาร่างพระราชบัญญัติของคณะรัฐมนตรีเป็นหลัก ในการพิจารณา
และเนื่องจากที่ประชุมได้ลงมติอนุมัติให้พิจารณาโดยกรรมาธิการเต็มสภา ตามที่สมาชิกฯ เสนอ
ที่ประชุมจึงได้พิจารณาในวาระที่ ๒ เริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง
และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ โดยในระหว่าง
การพิจารณาร่างพระราช บัญญัติฉบับนี้ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม
๓. ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๓) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราช บัญญัติอีก ๔ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน ๙๕,๔๑๐ คน เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๑)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่ง นายบุรณัชย์ สมุทรักษ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๖.๑)
(๓) ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่ง นายวินัย วิริยกิจจา และนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ เป็นผู้เสนอ (ซึ่งยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
(๔) ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่ง นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ซึ่งยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายพินิจ จารุสมบัติ) และผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล
ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายพินิจ จารุสมบัติ) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
จากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้นายตวง อันทะไชย นางรัตนา สมบูรณ์วิทย์
นายพิชัย ศรีใส และนายสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล ตัวแทนผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายเข้าชี้แจงต่อที่ประชุม
ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๑๒๓ วรรคสอง ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๕ ฉบับพร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๔๗ คน
เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างพระราชบัญญัติของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๐๑. นายพินิจ จารุสมบัติ ๐๒. ศาสตราจารย์วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์
๐๓. นายอำพล จินดาวัฒนะ ๐๔. นางวารุณี สุรนิวงศ์
๐๕. นายประเวศ อรรถศุภผล ๐๖. นายตวง อันทะไชย
๐๗. รองศาสตราจารย์แสวง บุญเฉลิมวิภาส ๐๘. นางรัตนา สมบูรณ์วิทย์
๐๙. นายสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล ๑๐. นายพิชัย ศรีใส
๑๑. นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท ๑๒. นายสมพันธ์ เตชะอธิก
๑๓. นายวิเชียร คุตตวัส ๑๔. นางสาวศุภมาส อิศรภักดี
๑๕. นายวชิระมณฑ์ คุณะเกษมธนาวัฒน์ ๑๖. นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง
๑๗. นางกอบกุล นพอมรบดี ๑๘. นายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์
๑๙. นายวรัญญู เทพหัสดิน ณ อยุธยา ๒๐. นายชลน่าน ศรีแก้ว
๒๑. นายสามารถ แก้วมีชัย ๒๒. นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน
๒๓. นายกฤษ ศรีฟ้า ๒๔. นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล
๒๕. นายสมศักดิ์ คุณเงิน ๒๖. นายเรืองเดช สุพรรณฝ่าย
๒๗. นางสาวรสพิมล จิรเมธากร ๒๘. นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก
๒๙. นางฟาริดา สุไลมาน ๓๐. นายประสงค์ บูรณ์พงศ์
๓๑. นายภูมิ สาระผล ๓๒. นางพรพิชญ์ พึ่งธรรมเดช พัฒนกุลเลิศ
๓๓. นายสุธรรม แสงประทุม ๓๔. นายวิวรรธนไชย ณ กาฬสินธุ์
๓๕. รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล ๓๖. นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์
๓๗. นายประสิทธิ์ ภักดีพาณิชพงศ์ ๓๘. นายทศพร เสรีรักษ์
๓๙. นายวัลลภ ไทยเหนือ ๔๐. นายวรงค์ เดชกิจวิกรม
๔๑. นายบุรณัชย์ สมุทรักษ์ ๔๒. นางสาวรังสิมา รอดรัศมี
๔๓. นางนิภา พริ้งศุลกะ ๔๔. นายธีระ สลักเพชร
๔๕. นายอสิ มะหะมัดยังกี ๔๖. นายวินัย วิริยกิจจา
๔๗. นายณรงค์ ปฏิบัติสรกิจ
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
เลิกประชุมเวลา ๒๑.๓๔ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
www.parliament.go.th
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ….
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม ตามมาตรา ๑๗๕ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(จัดตั้งกรมการข้าวขึ้นในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. …. (คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ
เสนอรวม ๕ ฉบับ)
*********************************
ครั้งที่ ๓๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๑๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๘
ณ ตึกรัฐสภา
-------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๖ นาฬิกา
เนื่องจาก นายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎร ไปราชการ
ต่างประเทศ เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว รองศาสตราจารย์ลลิตา ฤกษ์สำราญ
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นบัลลังก์และ
กล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. เรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้พิจารณาให้คำรับรอง
จำนวน ๘ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่ง นายวิชาญ มีนชัยนันท์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. ….
ซึ่ง นายสุพร อัตถาวงศ์ เป็นผู้เสนอ
(๓) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. ….
ซึ่ง นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๔) ร่างพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายสิทธิชัย กิตติธเนศวร เป็นผู้เสนอ
(๕) ร่างพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล เป็นผู้เสนอ
(๖) ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจญ์ พ.ศ. ….
ซึ่ง นายนริศ ขำนุรักษ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๗) ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. ....
ซึ่ง นายสงกรานต์ คำพิไสย์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๘) ร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ....
ซึ่ง นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ และนางสาวจณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์ เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมรับทราบ ภายหลังการอภิปรายของสมาชิกฯ
๒. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๕ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันอังคารที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๔๘
ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเห็นชอบแล้ว
๓. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๕ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันอังคารที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๔๘
ได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. .... ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
๔. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๕ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันอังคารที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๔๘
ได้พิจารณาและรับทราบรายงานประจำปีของหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) รายงานการตรวจสอบงบดุล งบรายรับ-รายจ่าย เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ประจำปี ๒๕๔๖ ตามมาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕
(๒) รายงานผลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๖
ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๑๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๕
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำร่างพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว
ตามที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสนอ
ต่อมา ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม โดยขอนำระเบียบวาระ
ตามลำดับดังต่อไปนี้ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ คือ
. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๔)
. ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(จัดตั้งกรมการข้าวขึ้นในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๙)
. ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. …. (ในระเบียบวาระ เรื่องด่วนที่ ๑๓)
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๔)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ตามมาตรา ๑๗๕ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๒. ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(จัดตั้งกรมการข้าวขึ้นในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๙)
โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราช บัญญัติอีก ๑ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(จัดตั้งกรมการข้าวขึ้นในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) ซึ่ง นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ และนายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร
เป็นผู้เสนอ (ซึ่งยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายอดิศร เพียงเกษ) และผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล
ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายอดิศร เพียงเกษ)
ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ
ทั้ง ๒ ฉบับพร้อมกันไป โดยถือเอาร่างพระราชบัญญัติของคณะรัฐมนตรีเป็นหลัก ในการพิจารณา
และเนื่องจากที่ประชุมได้ลงมติอนุมัติให้พิจารณาโดยกรรมาธิการเต็มสภา ตามที่สมาชิกฯ เสนอ
ที่ประชุมจึงได้พิจารณาในวาระที่ ๒ เริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง
และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ โดยในระหว่าง
การพิจารณาร่างพระราช บัญญัติฉบับนี้ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม
๓. ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๓) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราช บัญญัติอีก ๔ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน ๙๕,๔๑๐ คน เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๑)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่ง นายบุรณัชย์ สมุทรักษ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๖.๑)
(๓) ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่ง นายวินัย วิริยกิจจา และนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ เป็นผู้เสนอ (ซึ่งยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
(๔) ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่ง นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ซึ่งยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายพินิจ จารุสมบัติ) และผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล
ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายพินิจ จารุสมบัติ) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
จากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้นายตวง อันทะไชย นางรัตนา สมบูรณ์วิทย์
นายพิชัย ศรีใส และนายสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล ตัวแทนผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายเข้าชี้แจงต่อที่ประชุม
ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๑๒๓ วรรคสอง ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๕ ฉบับพร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๔๗ คน
เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างพระราชบัญญัติของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๐๑. นายพินิจ จารุสมบัติ ๐๒. ศาสตราจารย์วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์
๐๓. นายอำพล จินดาวัฒนะ ๐๔. นางวารุณี สุรนิวงศ์
๐๕. นายประเวศ อรรถศุภผล ๐๖. นายตวง อันทะไชย
๐๗. รองศาสตราจารย์แสวง บุญเฉลิมวิภาส ๐๘. นางรัตนา สมบูรณ์วิทย์
๐๙. นายสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล ๑๐. นายพิชัย ศรีใส
๑๑. นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท ๑๒. นายสมพันธ์ เตชะอธิก
๑๓. นายวิเชียร คุตตวัส ๑๔. นางสาวศุภมาส อิศรภักดี
๑๕. นายวชิระมณฑ์ คุณะเกษมธนาวัฒน์ ๑๖. นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง
๑๗. นางกอบกุล นพอมรบดี ๑๘. นายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์
๑๙. นายวรัญญู เทพหัสดิน ณ อยุธยา ๒๐. นายชลน่าน ศรีแก้ว
๒๑. นายสามารถ แก้วมีชัย ๒๒. นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน
๒๓. นายกฤษ ศรีฟ้า ๒๔. นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล
๒๕. นายสมศักดิ์ คุณเงิน ๒๖. นายเรืองเดช สุพรรณฝ่าย
๒๗. นางสาวรสพิมล จิรเมธากร ๒๘. นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก
๒๙. นางฟาริดา สุไลมาน ๓๐. นายประสงค์ บูรณ์พงศ์
๓๑. นายภูมิ สาระผล ๓๒. นางพรพิชญ์ พึ่งธรรมเดช พัฒนกุลเลิศ
๓๓. นายสุธรรม แสงประทุม ๓๔. นายวิวรรธนไชย ณ กาฬสินธุ์
๓๕. รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล ๓๖. นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์
๓๗. นายประสิทธิ์ ภักดีพาณิชพงศ์ ๓๘. นายทศพร เสรีรักษ์
๓๙. นายวัลลภ ไทยเหนือ ๔๐. นายวรงค์ เดชกิจวิกรม
๔๑. นายบุรณัชย์ สมุทรักษ์ ๔๒. นางสาวรังสิมา รอดรัศมี
๔๓. นางนิภา พริ้งศุลกะ ๔๔. นายธีระ สลักเพชร
๔๕. นายอสิ มะหะมัดยังกี ๔๖. นายวินัย วิริยกิจจา
๔๗. นายณรงค์ ปฏิบัติสรกิจ
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
เลิกประชุมเวลา ๒๑.๓๔ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
www.parliament.go.th
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ….
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม ตามมาตรา ๑๗๕ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(จัดตั้งกรมการข้าวขึ้นในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. …. (คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ
เสนอรวม ๕ ฉบับ)
*********************************