นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เปิดเผยผลการประชุมคณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA Council) ครั้งที่ 21 เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2550 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. การลดภาษีภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA)
ปัจจุบัน ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ (บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย) ที่ได้นำสินค้าจำนวนร้อยละ 99.44 มาไว้ในบัญชีลดภาษี (Inclusion List: IL) แล้ว โดยร้อยละ 98.67 ของจำนวนดังกล่าวมีอัตราภาษีร้อยละ 0 — 5 ในขณะที่ ประเทศสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) ที่ได้นำสินค้าจำนวนร้อยละ 97.32 มาไว้ใน IL แล้วเช่นกัน โดยร้อยละ 86.21 ของจำนวนดังกล่าวมีอัตราภาษีร้อยละ 0 — 5 ในปี ค.ศ. 2007
การลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 ตามพันธกรณีของประเทศสมาชิกอาเซียนในช่วงปีที่ผ่านมาได้ทำให้อัตราเฉลี่ยของอัตราภาษีภายใต้ AFTA อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.59 สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ และร้อยละ 4.4 สำหรับประเทศสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ
2. แผนการดำเนินการยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี คณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียนได้รับรองแนวทาง (Modality) การยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers: NTBs) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งในการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) นอกจากนี้ ที่ประชุมรับทราบว่า รายการ NTBs กลุ่มแรกของประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม (ยกเว้นฟิลิปปินส์) จะยกเลิกเป็นในปี ค.ศ. 2008
3. การปรับปรุงกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า
ประเทศสมาชิกได้บังคับใช้หลักเกณฑ์การแปรสภาพอย่างเพียงพอ (Substantial Transformation) ซึ่ง AFTA Council ได้รับรองในการประชุมครั้งที่แล้วเรียบร้อยแล้ว เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการพิจารณาแหล่งกำเนิดสินค้าของสินค้าที่อยู่ภายใต้กรอบการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียน (Priority Integration Sectors: PIS) นอกเหนือจากการพิจารณาจากสัดส่วนการใช้วัตถุดิบในอาเซียน (Regional Value Content) และขณะนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ในระหว่างการจัดทำหลักเกณฑ์การแปรสภาพอย่างเพียงพอเพิ่มเติมสำหรับสินค้าอื่นๆ ภายใต้ AFTA เพื่อสนับสนุนการรวมตัวของอาเซียน
นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังพิจารณาปรับปรุงกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าและระเบียบวิธีปฏิบัติภายใต้ AFTA เพื่อให้มีความชัดเจน เข้าใจง่าย และสอดคล้องกับการพัฒนาในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา โดยได้เร่งรัดให้คณะทำงานกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าของอาเซียนพิจารณาดำเนินการต่างๆ ข้างต้นให้เสร็จเรียบร้อยภายในปีนี้ เพื่อจะได้สามารถบังคับใช้ได้ภายในช่วงต้นปี ค.ศ. 2008
4. ความร่วมมือด้านศุลกากร
คณะมนตรีฯ ได้รับทราบความคืบหน้าของความร่วมมือด้านศุลกากร โดยเฉพาะการใช้ระบบฮาร์โมไนซ์อาเซียน (ASEAN Harmonised Tariff Nomenclature: AHTN) ฉบับปี ค.ศ. 2007 การปรับปรุงพิธีการศุลกากร การยกร่างพิธีสารแก้ไขกรอบความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกสินค้าผ่านแดน และการพัฒนาระบบศุลกากรผ่านแดน (Customs Transit System)
5. การปรับปรุงความตกลง CEPT
ที่ประชุมได้เห็นชอบให้มีการปรับปรุงความตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน (Agreement on the Common Effective Preferential Tariff Scheme for the ASEAN Free Trade Area: ความตกลง CEPT) ให้เป็นในรูปแบบการจัดทำความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้า (Agreement on Trade in Goods: TIG) ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับที่อาเซียนได้ทำกับประเทศคู่เจรจาในการจัดตั้งเขตการค้าเสรี ซึ่งใน TIG นี้จะครอบคลุมถึงประเด็นใหม่ๆ เพิ่มขึ้นด้วย โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้คณะกรรมการประสานงานการดำเนินการภายใต้ความตกลง CEPT สำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน (Coordinating Committee on the Implementation of the CEPT Scheme for AFTA: CCCA) และเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจของอาเซียน (Senior Economic Officials Meeting: SEOM) ปรับปรุงความตกลง CEPT ให้แล้วเสร็จเพื่อเสนอในที่ประชุม AFTA Council ครั้งที่ 22
6. การค้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน
ปริมาณการค้าโดยรวมของอาเซียนยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในปี ค.ศ. 2006 การส่งออกได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 16.5 จากปี ค.ศ. 2005 เป็น 758.04 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะเดียวกัน มูลค่าการนำเข้าได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 จากปีที่แล้ว โดยมีมูลค่าการนำเข้าทั้งสิ้น 654.88 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในส่วนของไตรมาสแรกของปี ค.ศ. 2007 ประเทศสมาชิกอาเซียนมีการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 และมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
สำหรับปริมาณการค้าระหว่างกันของประเทศอาเซียน (Intra-ASEAN Trade) ในปี ค.ศ. 2006 มีการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 จากปี ค.ศ. 2005 เป็น 189.12 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนมูลค่าการนำเข้า มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 163.69 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 15.8 ในส่วนของไตรมาสแรกของปี ค.ศ. 2007 ประเทศสมาชิกอาเซียนมีการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 และมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีน และสาธารณรัฐเกาหลียังคงเป็นคู่ค้าที่สำคัญของอาเซียน โดยส่วนแบ่งปริมาณการค้าของอาเซียน (ส่งออก + นำเข้า) กับประเทศคู่ค้าดังกล่าว ในปี ค.ศ. 2006 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11.55 11.52 11.43 9.97 และ 3.73 ตามลำดับ
สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและระหว่างประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3658
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 79/2550 29 สิงหาคม 50--
1. การลดภาษีภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA)
ปัจจุบัน ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ (บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย) ที่ได้นำสินค้าจำนวนร้อยละ 99.44 มาไว้ในบัญชีลดภาษี (Inclusion List: IL) แล้ว โดยร้อยละ 98.67 ของจำนวนดังกล่าวมีอัตราภาษีร้อยละ 0 — 5 ในขณะที่ ประเทศสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) ที่ได้นำสินค้าจำนวนร้อยละ 97.32 มาไว้ใน IL แล้วเช่นกัน โดยร้อยละ 86.21 ของจำนวนดังกล่าวมีอัตราภาษีร้อยละ 0 — 5 ในปี ค.ศ. 2007
การลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 ตามพันธกรณีของประเทศสมาชิกอาเซียนในช่วงปีที่ผ่านมาได้ทำให้อัตราเฉลี่ยของอัตราภาษีภายใต้ AFTA อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.59 สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ และร้อยละ 4.4 สำหรับประเทศสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ
2. แผนการดำเนินการยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี คณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียนได้รับรองแนวทาง (Modality) การยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers: NTBs) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งในการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) นอกจากนี้ ที่ประชุมรับทราบว่า รายการ NTBs กลุ่มแรกของประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม (ยกเว้นฟิลิปปินส์) จะยกเลิกเป็นในปี ค.ศ. 2008
3. การปรับปรุงกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า
ประเทศสมาชิกได้บังคับใช้หลักเกณฑ์การแปรสภาพอย่างเพียงพอ (Substantial Transformation) ซึ่ง AFTA Council ได้รับรองในการประชุมครั้งที่แล้วเรียบร้อยแล้ว เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการพิจารณาแหล่งกำเนิดสินค้าของสินค้าที่อยู่ภายใต้กรอบการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียน (Priority Integration Sectors: PIS) นอกเหนือจากการพิจารณาจากสัดส่วนการใช้วัตถุดิบในอาเซียน (Regional Value Content) และขณะนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ในระหว่างการจัดทำหลักเกณฑ์การแปรสภาพอย่างเพียงพอเพิ่มเติมสำหรับสินค้าอื่นๆ ภายใต้ AFTA เพื่อสนับสนุนการรวมตัวของอาเซียน
นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังพิจารณาปรับปรุงกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าและระเบียบวิธีปฏิบัติภายใต้ AFTA เพื่อให้มีความชัดเจน เข้าใจง่าย และสอดคล้องกับการพัฒนาในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา โดยได้เร่งรัดให้คณะทำงานกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าของอาเซียนพิจารณาดำเนินการต่างๆ ข้างต้นให้เสร็จเรียบร้อยภายในปีนี้ เพื่อจะได้สามารถบังคับใช้ได้ภายในช่วงต้นปี ค.ศ. 2008
4. ความร่วมมือด้านศุลกากร
คณะมนตรีฯ ได้รับทราบความคืบหน้าของความร่วมมือด้านศุลกากร โดยเฉพาะการใช้ระบบฮาร์โมไนซ์อาเซียน (ASEAN Harmonised Tariff Nomenclature: AHTN) ฉบับปี ค.ศ. 2007 การปรับปรุงพิธีการศุลกากร การยกร่างพิธีสารแก้ไขกรอบความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกสินค้าผ่านแดน และการพัฒนาระบบศุลกากรผ่านแดน (Customs Transit System)
5. การปรับปรุงความตกลง CEPT
ที่ประชุมได้เห็นชอบให้มีการปรับปรุงความตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน (Agreement on the Common Effective Preferential Tariff Scheme for the ASEAN Free Trade Area: ความตกลง CEPT) ให้เป็นในรูปแบบการจัดทำความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้า (Agreement on Trade in Goods: TIG) ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับที่อาเซียนได้ทำกับประเทศคู่เจรจาในการจัดตั้งเขตการค้าเสรี ซึ่งใน TIG นี้จะครอบคลุมถึงประเด็นใหม่ๆ เพิ่มขึ้นด้วย โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้คณะกรรมการประสานงานการดำเนินการภายใต้ความตกลง CEPT สำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน (Coordinating Committee on the Implementation of the CEPT Scheme for AFTA: CCCA) และเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจของอาเซียน (Senior Economic Officials Meeting: SEOM) ปรับปรุงความตกลง CEPT ให้แล้วเสร็จเพื่อเสนอในที่ประชุม AFTA Council ครั้งที่ 22
6. การค้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน
ปริมาณการค้าโดยรวมของอาเซียนยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในปี ค.ศ. 2006 การส่งออกได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 16.5 จากปี ค.ศ. 2005 เป็น 758.04 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะเดียวกัน มูลค่าการนำเข้าได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 จากปีที่แล้ว โดยมีมูลค่าการนำเข้าทั้งสิ้น 654.88 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในส่วนของไตรมาสแรกของปี ค.ศ. 2007 ประเทศสมาชิกอาเซียนมีการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 และมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
สำหรับปริมาณการค้าระหว่างกันของประเทศอาเซียน (Intra-ASEAN Trade) ในปี ค.ศ. 2006 มีการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 จากปี ค.ศ. 2005 เป็น 189.12 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนมูลค่าการนำเข้า มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 163.69 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 15.8 ในส่วนของไตรมาสแรกของปี ค.ศ. 2007 ประเทศสมาชิกอาเซียนมีการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 และมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีน และสาธารณรัฐเกาหลียังคงเป็นคู่ค้าที่สำคัญของอาเซียน โดยส่วนแบ่งปริมาณการค้าของอาเซียน (ส่งออก + นำเข้า) กับประเทศคู่ค้าดังกล่าว ในปี ค.ศ. 2006 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11.55 11.52 11.43 9.97 และ 3.73 ตามลำดับ
สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและระหว่างประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3658
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 79/2550 29 สิงหาคม 50--