สศอ.เผยการผลิตน้ำตาล ฤดูกาล 49/50 คึกคัก ปริมาณอ้อยป้อนโรงงานดีเกินคาด หลังเกษตรได้รับแรงหนุนขยายพื้นที่ปลูก ส่งดัชนีอุตฯ ม.ค. พุ่งพรวดร้อยละ 7.43 จากปีก่อน ชี้อุตฯหลัก ชิ้นส่วนคอมฯ-เหล็ก-เบียร์ เป็นแรงเสริม
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงทิศทางการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม จากการจัดทำรายงานดัชนีอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2550 ที่ผ่านมาว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 7.43 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีอุตสาหกรรมหลักหนุนการขยายตัวที่สำคัญ คือ การผลิตน้ำตาล การผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ การผลิตเหล็ก การผลิตเครื่องปรับอากาศ การผลิตเม็ดพลาสติก การผลิตเบียร์ และ การผลิตยาสูบ สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 65.5 ซึ่งปัจจัยหนุนที่ทำให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นยังคงเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่เน้นการส่งออกเป็นหลัก
ดร.อรรชกา กล่าวว่า การผลิตน้ำตาล นับตั้งแต่ วันที่ 1 ธ.ค. 2549 เป็นต้นมา เป็นการเริ่ม ฤดูการผลิต ปี 2549/2550 ซึ่งฤดูกาลนี้มีปริมาณอ้อยเข้าสู่กระบวนการผลิตมากเป็นพิเศษ เนื่องจากเกษตรกรได้รับการส่งเสริมให้ขยายพื้นที่ปลูกอ้อยเพิ่มขึ้น สำหรับภาวะการผลิตน้ำตาลจนถึงสิ้นเดือน ม.ค. 2550 มีปริมาณอ้อยเข้าสู่โรงงานทั้งสิ้น 31 ล้านตัน ซึ่งสามารถผลิตเป็นน้ำตาลรวม 3.1 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.88 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยแยกเป็นน้ำตาลทรายดิบ 1.9 ล้านตัน น้ำตาลทรายขาว 1.1 ล้านตัน ส่วนการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 62.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากมีการผลิตที่มากขึ้นสามารถส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าได้ทันตามกำหนด รวมทั้งการส่งออกก็มีทิศทางที่ดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากปีที่แล้วประสบปัญหาน้ำตาลขาดแคลนและมีราคาสูงทำให้การส่งออกชะลอตัวลงในช่วงต้นปี โดยคาดว่าปริมาณอ้อยที่เข้าสู่กระบวนการผลิตน้ำตาลในฤดูกาลผลิตปี 2549/2550 นี้ จะมีประมาณ 60 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 30 สามารถผลิตเป็นน้ำตาลได้กว่า 6 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 28-30 จากปีก่อน (2548/2549) ที่มีปริมาณอ้อยเข้าสู่โรงงาน 46.7 ล้านตัน ผลิตน้ำตาลได้ 4.8 ล้านตัน
การผลิตคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยผลิตภัณฑ์หลักในกลุ่มยังคงเป็น การผลิต Hard Disk ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.1และจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.3 เนื่องจากมีการขยายโรงงานเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการผลิตสินค้าเข้าสู่ระบบได้มากขึ้นเช่นกัน อีกทั้งความต้องการของตลาดยังมีสูง โดยเฉพาะ Hard Disk Drive ที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถสนองความต้องการใช้งานได้หลากหลาย และเริ่มมีการเปิดตัว Hard Disk สำหรับโน้ตบุคความจุ 1 เทราไบต์ หรือเท่ากับ 1,000 กิ๊กกะไบต์ ที่มีประสิทธิภาพสูงเก็บข้อมูลได้มากขึ้น ทั้งไฟล์ภาพ วีดิโอ ไฟล์เพลง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยสะดวกต่อการใช้งานของผู้บริโภคสมัยใหม่จึงเป็นปัจจัยหนุนให้ Hard Disk Drive มีอัตราการขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
การผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องซึ่งถือเป็นการขยายตัวปกติที่ไตรมาสแรกของปีจะเป็นช่วงที่มีคำสั่งซื้อเข้ามามากที่สุด โดย เหล็กทรงยาวที่ประกอบด้วยเหล็กกลม เหล็กข้ออ้อย และเหล็กลวด มีการผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้ผลิตบางรายมีการผลิตเพื่อใช้ในโครงการใหญ่ เช่น การติดตั้งขยายเสาโทรคมนาคม รวมทั้งโครงการก่อสร้างและซ่อมแซมสาธารณูปโภคบางส่วนที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมเมื่อกลางปี 2549 ส่วน เหล็กทรงแบน ที่ประกอบด้วยเหล็กรีดร้อน และเหล็กรีดเย็น ยังมีภาวะการผลิตและจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ยังคงขยายตัว
การผลิตเครื่องปรับอากาศ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีการผลิตเพิ่มขึ้นสูงมาก เนื่องจากในปี 2550 ฤดูร้อนเริ่มมาเร็วกว่าทุกปี ทำให้ผู้บริโภคมีความต้องการเครื่องปรับอากาศเพิ่มขึ้นผู้ผลิตจึงเร่งผลิตสินค้าเพื่อให้ทันต่อความต้องการของผู้บริโภคทั้งในประเทศ และการส่งออก
การผลิตเม็ดพลาสติก หลังจากมีผู้ผลิตบางรายที่หยุดการผลิตได้เริ่มกลับเข้ามาเดินเครื่องผลิตอีกครั้ง ทำให้มีการผลิตที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งผู้ผลิตบางรายได้รับคำสั่งการผลิตจากบริษัทแม่ ให้เร่งผลิตสินค้าให้ทันต่อการกำหนดส่งมอบภายในเดือนมีนาคม จึงทำให้การผลิตเพิ่มขึ้นมาก โดยแนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตเม็ดพลาสติกในปี 2550 คาดว่าจะยังคงมีความต้องการเพิ่มขึ้น จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศแถบเอเชีย ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญในสินค้าของกลุ่มนี้ อีกทั้งยังมีแนวโน้มว่าอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์จะขยายตัวได้ดีเพื่อทดแทนบรรจุภัณฑ์เดิมที่เป็นแบบโลหะ
การผลิตเบียร์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนยังมีทิศทางการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ผลิตรายใหญ่ยังคงเดินหน้าผลิตสินค้า เพื่อเตรียมการต้อนรับเทศกาลสงกรานต์ ที่คาดว่าจะมีการบริโภคในปริมาณที่สูง และจะมีกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างคึกคักรุนแรงขึ้นกว่าทุกปี เพื่อช่วงชิงฐานลูกค้า จึงทำให้อุตสาหกรรมการผลิตเบียร์ปีนี้ยังคงคึกคักต่อไปอีก
และ การผลิตยาสูบ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีการผลิตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 37.17 เนื่องจากเมื่อปีก่อนมีการปิดซ่อมเครื่องจักรบางส่วน และเป็นช่วงที่มีการรณรงค์ลดการบริโภคยาสูบ การผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบจึงค่อนข้างน้อยในต้นปีที่แล้ว
ดร.อรรชกา ยังกล่าวอีกว่า ในเดือนม.ค. นี้ยังมีอุตสาหกรรมที่มีการผลิตลดลง เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนที่สำคัญได้แก่ การเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอ และ การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์
โดย การเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ทั้งการผลิตและจำหน่ายลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะการเมืองและเศรษฐกิจ และการแข่งขันที่รุนแรง โดยคู่แข่งที่สำคัญคือ จีนและเวียดนาม สามารถผลิตสินค้าในจำนวนที่มากกว่าด้วยต้นทุนต่ำกว่า และสามารถส่งมอบสินค้าได้ตามที่ลูกค้าต้องการ
การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนมีทิศทางที่ลดลง เนื่องจากตลาดในประเทศมีการแข่งขันสูงขึ้น อีกทั้งสินค้าจากประเทศจีนที่เข้ามาชิงส่วนแบ่งทางการตลาดได้มากขึ้นโดยใช้กลยุทธ์การแข่งขันด้านราคาที่ต่ำกว่าทำให้ผู้ผลิตของไทยต้องแข่งขันยากขึ้น อีกทั้งการก้าวเข้าสู่ยุคการแข่งขันด้านเทคโนโลยีดิจิตอล ทำให้เกิดตลาดโทรทัศน์ระบบจอ LCD เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ส่งผลให้โทรทัศน์รุ่นเดิมที่เป็นแบบหลอดภาพกำลังถูกผู้บริโภคลดความนิยมลง เนื่องจากมีความล้ำสมัยมากกว่าอีกทั้งราคาก็ไม่สูงเกินไป จึงสามารถกระตุ้นกำลังซื้อได้อย่างไม่ยากนัก
สำหรับตัวเลขดัชนีอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2550 จากการรวบรวมทั้งสิ้น 53 กลุ่มอุตสาหกรรม 215 ผลิตภัณฑ์ ครอบคลุมผู้ประกอบการ 2,121 โรงงาน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2549 ดัชนีผลผลิต(มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 163.88 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.43 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 168.65 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.23 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 159.63 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.43 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 181.96 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.99 ดัชนีแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 115.33 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.21 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 144.05 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.90 ขณะที่ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 188.94 ลดลงร้อยละ 25.56 โดยมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 65.5
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงทิศทางการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม จากการจัดทำรายงานดัชนีอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2550 ที่ผ่านมาว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 7.43 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีอุตสาหกรรมหลักหนุนการขยายตัวที่สำคัญ คือ การผลิตน้ำตาล การผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ การผลิตเหล็ก การผลิตเครื่องปรับอากาศ การผลิตเม็ดพลาสติก การผลิตเบียร์ และ การผลิตยาสูบ สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 65.5 ซึ่งปัจจัยหนุนที่ทำให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นยังคงเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่เน้นการส่งออกเป็นหลัก
ดร.อรรชกา กล่าวว่า การผลิตน้ำตาล นับตั้งแต่ วันที่ 1 ธ.ค. 2549 เป็นต้นมา เป็นการเริ่ม ฤดูการผลิต ปี 2549/2550 ซึ่งฤดูกาลนี้มีปริมาณอ้อยเข้าสู่กระบวนการผลิตมากเป็นพิเศษ เนื่องจากเกษตรกรได้รับการส่งเสริมให้ขยายพื้นที่ปลูกอ้อยเพิ่มขึ้น สำหรับภาวะการผลิตน้ำตาลจนถึงสิ้นเดือน ม.ค. 2550 มีปริมาณอ้อยเข้าสู่โรงงานทั้งสิ้น 31 ล้านตัน ซึ่งสามารถผลิตเป็นน้ำตาลรวม 3.1 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.88 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยแยกเป็นน้ำตาลทรายดิบ 1.9 ล้านตัน น้ำตาลทรายขาว 1.1 ล้านตัน ส่วนการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 62.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากมีการผลิตที่มากขึ้นสามารถส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าได้ทันตามกำหนด รวมทั้งการส่งออกก็มีทิศทางที่ดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากปีที่แล้วประสบปัญหาน้ำตาลขาดแคลนและมีราคาสูงทำให้การส่งออกชะลอตัวลงในช่วงต้นปี โดยคาดว่าปริมาณอ้อยที่เข้าสู่กระบวนการผลิตน้ำตาลในฤดูกาลผลิตปี 2549/2550 นี้ จะมีประมาณ 60 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 30 สามารถผลิตเป็นน้ำตาลได้กว่า 6 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 28-30 จากปีก่อน (2548/2549) ที่มีปริมาณอ้อยเข้าสู่โรงงาน 46.7 ล้านตัน ผลิตน้ำตาลได้ 4.8 ล้านตัน
การผลิตคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยผลิตภัณฑ์หลักในกลุ่มยังคงเป็น การผลิต Hard Disk ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.1และจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.3 เนื่องจากมีการขยายโรงงานเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการผลิตสินค้าเข้าสู่ระบบได้มากขึ้นเช่นกัน อีกทั้งความต้องการของตลาดยังมีสูง โดยเฉพาะ Hard Disk Drive ที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถสนองความต้องการใช้งานได้หลากหลาย และเริ่มมีการเปิดตัว Hard Disk สำหรับโน้ตบุคความจุ 1 เทราไบต์ หรือเท่ากับ 1,000 กิ๊กกะไบต์ ที่มีประสิทธิภาพสูงเก็บข้อมูลได้มากขึ้น ทั้งไฟล์ภาพ วีดิโอ ไฟล์เพลง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยสะดวกต่อการใช้งานของผู้บริโภคสมัยใหม่จึงเป็นปัจจัยหนุนให้ Hard Disk Drive มีอัตราการขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
การผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องซึ่งถือเป็นการขยายตัวปกติที่ไตรมาสแรกของปีจะเป็นช่วงที่มีคำสั่งซื้อเข้ามามากที่สุด โดย เหล็กทรงยาวที่ประกอบด้วยเหล็กกลม เหล็กข้ออ้อย และเหล็กลวด มีการผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้ผลิตบางรายมีการผลิตเพื่อใช้ในโครงการใหญ่ เช่น การติดตั้งขยายเสาโทรคมนาคม รวมทั้งโครงการก่อสร้างและซ่อมแซมสาธารณูปโภคบางส่วนที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมเมื่อกลางปี 2549 ส่วน เหล็กทรงแบน ที่ประกอบด้วยเหล็กรีดร้อน และเหล็กรีดเย็น ยังมีภาวะการผลิตและจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ยังคงขยายตัว
การผลิตเครื่องปรับอากาศ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีการผลิตเพิ่มขึ้นสูงมาก เนื่องจากในปี 2550 ฤดูร้อนเริ่มมาเร็วกว่าทุกปี ทำให้ผู้บริโภคมีความต้องการเครื่องปรับอากาศเพิ่มขึ้นผู้ผลิตจึงเร่งผลิตสินค้าเพื่อให้ทันต่อความต้องการของผู้บริโภคทั้งในประเทศ และการส่งออก
การผลิตเม็ดพลาสติก หลังจากมีผู้ผลิตบางรายที่หยุดการผลิตได้เริ่มกลับเข้ามาเดินเครื่องผลิตอีกครั้ง ทำให้มีการผลิตที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งผู้ผลิตบางรายได้รับคำสั่งการผลิตจากบริษัทแม่ ให้เร่งผลิตสินค้าให้ทันต่อการกำหนดส่งมอบภายในเดือนมีนาคม จึงทำให้การผลิตเพิ่มขึ้นมาก โดยแนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตเม็ดพลาสติกในปี 2550 คาดว่าจะยังคงมีความต้องการเพิ่มขึ้น จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศแถบเอเชีย ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญในสินค้าของกลุ่มนี้ อีกทั้งยังมีแนวโน้มว่าอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์จะขยายตัวได้ดีเพื่อทดแทนบรรจุภัณฑ์เดิมที่เป็นแบบโลหะ
การผลิตเบียร์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนยังมีทิศทางการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ผลิตรายใหญ่ยังคงเดินหน้าผลิตสินค้า เพื่อเตรียมการต้อนรับเทศกาลสงกรานต์ ที่คาดว่าจะมีการบริโภคในปริมาณที่สูง และจะมีกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างคึกคักรุนแรงขึ้นกว่าทุกปี เพื่อช่วงชิงฐานลูกค้า จึงทำให้อุตสาหกรรมการผลิตเบียร์ปีนี้ยังคงคึกคักต่อไปอีก
และ การผลิตยาสูบ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีการผลิตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 37.17 เนื่องจากเมื่อปีก่อนมีการปิดซ่อมเครื่องจักรบางส่วน และเป็นช่วงที่มีการรณรงค์ลดการบริโภคยาสูบ การผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบจึงค่อนข้างน้อยในต้นปีที่แล้ว
ดร.อรรชกา ยังกล่าวอีกว่า ในเดือนม.ค. นี้ยังมีอุตสาหกรรมที่มีการผลิตลดลง เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนที่สำคัญได้แก่ การเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอ และ การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์
โดย การเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ทั้งการผลิตและจำหน่ายลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะการเมืองและเศรษฐกิจ และการแข่งขันที่รุนแรง โดยคู่แข่งที่สำคัญคือ จีนและเวียดนาม สามารถผลิตสินค้าในจำนวนที่มากกว่าด้วยต้นทุนต่ำกว่า และสามารถส่งมอบสินค้าได้ตามที่ลูกค้าต้องการ
การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนมีทิศทางที่ลดลง เนื่องจากตลาดในประเทศมีการแข่งขันสูงขึ้น อีกทั้งสินค้าจากประเทศจีนที่เข้ามาชิงส่วนแบ่งทางการตลาดได้มากขึ้นโดยใช้กลยุทธ์การแข่งขันด้านราคาที่ต่ำกว่าทำให้ผู้ผลิตของไทยต้องแข่งขันยากขึ้น อีกทั้งการก้าวเข้าสู่ยุคการแข่งขันด้านเทคโนโลยีดิจิตอล ทำให้เกิดตลาดโทรทัศน์ระบบจอ LCD เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ส่งผลให้โทรทัศน์รุ่นเดิมที่เป็นแบบหลอดภาพกำลังถูกผู้บริโภคลดความนิยมลง เนื่องจากมีความล้ำสมัยมากกว่าอีกทั้งราคาก็ไม่สูงเกินไป จึงสามารถกระตุ้นกำลังซื้อได้อย่างไม่ยากนัก
สำหรับตัวเลขดัชนีอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2550 จากการรวบรวมทั้งสิ้น 53 กลุ่มอุตสาหกรรม 215 ผลิตภัณฑ์ ครอบคลุมผู้ประกอบการ 2,121 โรงงาน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2549 ดัชนีผลผลิต(มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 163.88 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.43 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 168.65 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.23 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 159.63 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.43 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 181.96 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.99 ดัชนีแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 115.33 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.21 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 144.05 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.90 ขณะที่ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 188.94 ลดลงร้อยละ 25.56 โดยมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 65.5
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-