แท็ก
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
อรรชกา สีบุญเรือง
กระทรวงอุตสาหกรรม
กระทรวงการคลัง
โรงแรมคอนราด
เซรามิก
สศอ.คาดอุตฯเซรามิกปี 50 น่าจะขยายตัวได้ทั้งในประเทศและส่งออก เตือนกลุ่มเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารเร่งปรับตัวเพื่อเสริมความแกร่ง
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ. ได้สรุปภาพรวมอุตสาหกรรมเซรามิกไทยในปี 2549 พบว่า การผลิตและจำหน่ายในประเทศลดลงจากผลกระทบของปัญหา ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น คาดว่าแนวโน้มอุตสาหกรรมเซรามิกปี 2550 การผลิตและจำหน่ายในประเทศน่าจะขยายตัวได้แต่อาจจะไม่มากนัก เนื่องจาก ภาวะราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยเริ่มทรงตัว ส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคกลับฟื้นอีกครั้ง
ในส่วนของการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกในปี 2550 ยังคงมีอัตราการขยายตัวสูงขึ้นและมีแนวโน้มที่ดีโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ อย่างไรก็ตามการส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดกลับมีแนวโน้มลดลงมาตลอด ดังนั้นผู้ประกอบการไทยจึงต้องเร่งปรับตัว ด้วยการพัฒนาคุณภาพให้เป็นมาตรฐานสากล และมีรูปแบบที่หลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ เพื่อให้สามารถรักษาส่วนแบ่งตลาดได้อย่างแข็งแกร่งต่อไป
ดร.อรรชกา กล่าวว่า สำหรับภาพรวมของอุตสาหกรรมเซรามิก ปี 2549 ในส่วนของการผลิตเซรามิกที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ซึ่งได้แก่ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ลดลงจากภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาหลัก ๆ ได้แก่ ราคาวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเซรามิกเพิ่มสูงขึ้น จนทำให้บริษัทต่าง ๆ ต้องปรับแผนการผลิตให้สอดคล้อง
กับความต้องการของตลาดเพื่อลดภาระต้นทุน โดยในปี 2549 การผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีประมาณ 148.92 ล้านตารางเมตร และการผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ มีประมาณ 8.55 ล้านชิ้น ลดลงจากปี 2548 ในอัตราร้อยละ 2.66 และ 7.16 ตามลำดับ
ด้านการจำหน่ายเซรามิกที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ซึ่งได้แก่ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่อง สุขภัณฑ์ ได้รับผลกระทบจากภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศซบเซาทั้งปัจจัยจากปัญหา ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อ นอกจากนี้จากการเกิดภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ส่งผลให้การจำหน่ายเซรามิกในประเทศลดลง โดยในปี 2549 มีการจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง ประมาณ 162.31 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีการจำหน่ายประมาณ 4.83 ล้านชิ้น ลดลงจากปี 2548 ในอัตราร้อยละ 0.89 และ 4.54 ตามลำดับ
ส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร แคนาดา ไต้หวัน เยอรมนี เกาหลีใต้ และประเทศในกลุ่มอาเซียน เป็นต้น โดยในปี 2549 การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกมีมูลค่ารวมประมาณ 672.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ในอัตราร้อยละ 6.14 ผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้นยังคงเป็น เครื่องสุขภัณฑ์ โดยเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกา และกระเบื้องปูพื้น บุผนัง เพิ่มขึ้นทุกตลาดยกเว้นตลาดสหรัฐอเมริกา ในขณะที่การส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และของชำร่วยเครื่องประดับมีการส่งออกลดลงเกือบทุกตลาด โดยเฉพาะตลาดสหภาพยุโรป และตลาดสหรัฐอเมริกา
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ. ได้สรุปภาพรวมอุตสาหกรรมเซรามิกไทยในปี 2549 พบว่า การผลิตและจำหน่ายในประเทศลดลงจากผลกระทบของปัญหา ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น คาดว่าแนวโน้มอุตสาหกรรมเซรามิกปี 2550 การผลิตและจำหน่ายในประเทศน่าจะขยายตัวได้แต่อาจจะไม่มากนัก เนื่องจาก ภาวะราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยเริ่มทรงตัว ส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคกลับฟื้นอีกครั้ง
ในส่วนของการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกในปี 2550 ยังคงมีอัตราการขยายตัวสูงขึ้นและมีแนวโน้มที่ดีโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ อย่างไรก็ตามการส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดกลับมีแนวโน้มลดลงมาตลอด ดังนั้นผู้ประกอบการไทยจึงต้องเร่งปรับตัว ด้วยการพัฒนาคุณภาพให้เป็นมาตรฐานสากล และมีรูปแบบที่หลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ เพื่อให้สามารถรักษาส่วนแบ่งตลาดได้อย่างแข็งแกร่งต่อไป
ดร.อรรชกา กล่าวว่า สำหรับภาพรวมของอุตสาหกรรมเซรามิก ปี 2549 ในส่วนของการผลิตเซรามิกที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ซึ่งได้แก่ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ลดลงจากภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาหลัก ๆ ได้แก่ ราคาวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเซรามิกเพิ่มสูงขึ้น จนทำให้บริษัทต่าง ๆ ต้องปรับแผนการผลิตให้สอดคล้อง
กับความต้องการของตลาดเพื่อลดภาระต้นทุน โดยในปี 2549 การผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีประมาณ 148.92 ล้านตารางเมตร และการผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ มีประมาณ 8.55 ล้านชิ้น ลดลงจากปี 2548 ในอัตราร้อยละ 2.66 และ 7.16 ตามลำดับ
ด้านการจำหน่ายเซรามิกที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ซึ่งได้แก่ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่อง สุขภัณฑ์ ได้รับผลกระทบจากภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศซบเซาทั้งปัจจัยจากปัญหา ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อ นอกจากนี้จากการเกิดภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ส่งผลให้การจำหน่ายเซรามิกในประเทศลดลง โดยในปี 2549 มีการจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง ประมาณ 162.31 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีการจำหน่ายประมาณ 4.83 ล้านชิ้น ลดลงจากปี 2548 ในอัตราร้อยละ 0.89 และ 4.54 ตามลำดับ
ส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร แคนาดา ไต้หวัน เยอรมนี เกาหลีใต้ และประเทศในกลุ่มอาเซียน เป็นต้น โดยในปี 2549 การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกมีมูลค่ารวมประมาณ 672.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ในอัตราร้อยละ 6.14 ผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้นยังคงเป็น เครื่องสุขภัณฑ์ โดยเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกา และกระเบื้องปูพื้น บุผนัง เพิ่มขึ้นทุกตลาดยกเว้นตลาดสหรัฐอเมริกา ในขณะที่การส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และของชำร่วยเครื่องประดับมีการส่งออกลดลงเกือบทุกตลาด โดยเฉพาะตลาดสหภาพยุโรป และตลาดสหรัฐอเมริกา
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-