กรุงเทพ--6 ก.ค--กระทรวงการต่างประเทศ
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถพระราชทานพระราชวโรกาสให้ชาวไทยที่พำนักในรัสเซียเข้าเฝ้าฯ ที่โรงแรม Baltschug Kempinski กรุงมอสโก มีพระราชดำรัสทรงขอบใจทุกฝ่ายที่รับเสด็จด้วยดี พร้อมกับทรงชื่นชมที่ประธานาธิบดีรัสเซียได้แสดงความสนใจอย่างยิ่งต่อศิลปาชีพ ทรงพระราชดำริว่าคนไทยมีความสามารถสูง หากได้รับโอกาสก็จะแสดงความสามารถทางศิลปะให้ต่างชาติประทับใจได้ ในวันเดียวกัน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทอดพระเนตรหอศิลป์ที่รวบรวมงานศิลปะชั้นสูงของรัสเซีย และทอดพระเนตรการแสดงบัลเล่ต์คณะบัลชอยอันเลื่องชื่อของรัสเซียด้วย
วันนี้ (๔ ก.ค.) เวลา ๑๓.๔๐ น. ตามเวลาท้องถิ่นกรุงมอสโก สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่งออกจากที่ประทับไปยังหอศิลป์เตรติยาโคฟ (The State Tretyakov Gallery) ณ ที่นั้น ผู้อำนวยการหอศิลป์เฝ้าฯ รับเสด็จ และนำเสด็จทอดพระเนตรศิลปวัตถุต่างๆ ในหอศิลป์เตรติยาโคฟ
หอศิลป์เตรติยาโคฟเป็นคลังศิลปะรัสเซียที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ รวบรวมงานศิลปะไว้กว่า ๑๓๐,๐๐๐ ชิ้น ถือเป็นพิพิธภัณฑ์สำคัญของโลกแห่งหนึ่ง งานศิลปะที่เก็บรักษาไว้ในที่นี้เป็นตัวอย่างที่จะทำให้ผู้ชมเข้าใจได้ถึงประวัติศาสตร์ศิลปะรัสเซียอันยาวนานกว่า ๑,๐๐๐ ปี ในหอศิลป์นี้ มีตั้งแต่ภาพบูชาทางศาสนา (Icon) ยุคแรกสุด จนถึงงานศิลปะยุคศตวรรษที่ ๒๐
ต่อมาเวลา ๑๖.๔๐ น. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่ง ถึงโรงแรม Baltschug Kempinski กรุงมอสโก พระราชทานพระราชวโรกาสให้คนไทยและนักเรียนไทยที่พำนักอยู่ในสหพันธรัฐรัสเซียจำนวนประมาณ ๑๕๐ คน เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
ในสหพันธ์รัฐรัสเซียมีคนไทยอยู่ ๑,๑๓๙ คน เป็นนักเรียนนักศึกษา ๑๒๖ คน ส่วนใหญ่ศึกษาอยู่ในกรุงมอสโกและนครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก มาประกอบอาชีพ ๙๗๖ คน ส่วนใหญ่มาทำงานกับบริษัทน้ำมันที่เกาะซัคคาลิน ทางตะวันออกของรัสเซีย และเป็นข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และครอบครัว จำนวน ๓๗ คน
ในการนี้ ได้พระราชทานพระราชดำรัส ใจความว่า ทรงขอบใจเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่ได้ร่วมกันรับเสด็จเป็นอย่างดี ในโอกาสเสด็จฯ เยือนรัสเซียในฐานะผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตามคำทูลเชิญของประธานาธิบดีรัสเซียครั้งนี้ และได้เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรสถานที่สำคัญต่างๆ อาทิ จัตุรัสแดง ซึ่งทรงเห็นว่ามีความงดงามเป็นอย่างมาก และจะได้ทอดพระเนตรบัลเล่ต์ที่มีชื่อเสียงของรัสเซียด้วย
การเสด็จพระราชดำเนินเยือนรัสเซียครั้งนี้ ก็เพื่อเป็นการตอบแทนการเยือนประเทศไทยของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ทรงขอบใจในน้ำใจของประธานาธิบดีที่ได้ชื่นชมงานศิลปาชีพด้วยความสนใจ และยังได้แสดงความชื่นชมว่าเป็นงานที่ทำให้คนไทยมีอาชีพ สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ทั้งที่ช่างศิลปาชีพส่วนใหญ่มาจากครอบครัวฐานะยากจนในชนบท ไม่มีโอกาสได้ศึกษาถึงระดับมหาวิทยาลัย แต่เมื่อเข้ามาเป็นนักเรียนศิลปาชีพ ก็สามารถทำได้เป็นอย่างดี และรักษาไว้ซึ่งศิลปะอันเก่าแก่และสวยงามของไทยไว้ได้ มีรับสั่งว่า คนไทยเป็นคนที่มีความสามารถสูง หากได้รับการฝึกแล้วก็สามารถสร้างงานศิลปกรรมไทยที่สวยงามเป็นที่ประทับใจของชาวต่างชาติได้ พร้อมทั้งสามารถอนุรักษ์มรดกทางศิลปกรรมของชาติไว้ได้ด้วย
หลังจากนั้นเวลา ๑๘.๕๕ น. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่งไปยังโรงละครบัลชอยแห่งใหม่ (Bolshoi Theatre, New Stage) เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึงโรงละคร ณ ที่นั้น ผู้จัดการโรงละครบัลชอย เฝ้าฯ รับเสด็จ
โรงละครบัลชอยและคณะละครบัลชอยมีชื่อเสียงไปทั่วโลก มีประวัติสืบย้อนหลังไปได้ถึงปี ๒๓๑๙ (ค.ศ.๑๗๗๖) เจ้าชาย Peter Urussov และนาย Michael Maddox ได้ก่อตั้งโรงละครสำหรับแสดงบัลเล่ต์และโอเปร่าขึ้น ต่อมาเมื่อปี ๒๓๔๘ (ค.ศ. ๑๘๐๕) สิทธิในโรงละครถูกโอนมาเป็นของรัฐ ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็น Bolshoi Theatre โรงละครบัลชอยตั้งอยู่ที่ Theatre Square กรุงมอสโก ก่อสร้างขึ้นในปี ๒๓๖๗ (ค.ศ. ๑๘๒๔) เปิดการแสดงครั้งแรกเมื่อวันที่ ๖ มกราคม ๒๓๖๘ (ค.ศ. ๑๘๒๕) ในชื่อ โรงละครบัลชอยแห่งมอสโก
บัลเลต์ชุด Swan Lake ของ ไชคอฟสกี (Tchaikovsky) คีตกวีลือนามชาวรัสเซีย ได้เปิดแสดงรอบปฐมทัศน์ที่โรงละครแห่งนี้เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๔๒๐ (ค.ศ. ๑๘๗๗)
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทอดพระเนตรการแสดงบัลเลต์ ชุด Swan Lake ของคณะระบำปลายเท้าบัลชอย จบแล้ว พระราชทานกระเช้าดอกไม้แก่นักแสดง แล้วเสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่งออกจากโรงละครบัลชอยกลับที่ประทับในพระราชวังเครมลิน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถพระราชทานพระราชวโรกาสให้ชาวไทยที่พำนักในรัสเซียเข้าเฝ้าฯ ที่โรงแรม Baltschug Kempinski กรุงมอสโก มีพระราชดำรัสทรงขอบใจทุกฝ่ายที่รับเสด็จด้วยดี พร้อมกับทรงชื่นชมที่ประธานาธิบดีรัสเซียได้แสดงความสนใจอย่างยิ่งต่อศิลปาชีพ ทรงพระราชดำริว่าคนไทยมีความสามารถสูง หากได้รับโอกาสก็จะแสดงความสามารถทางศิลปะให้ต่างชาติประทับใจได้ ในวันเดียวกัน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทอดพระเนตรหอศิลป์ที่รวบรวมงานศิลปะชั้นสูงของรัสเซีย และทอดพระเนตรการแสดงบัลเล่ต์คณะบัลชอยอันเลื่องชื่อของรัสเซียด้วย
วันนี้ (๔ ก.ค.) เวลา ๑๓.๔๐ น. ตามเวลาท้องถิ่นกรุงมอสโก สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่งออกจากที่ประทับไปยังหอศิลป์เตรติยาโคฟ (The State Tretyakov Gallery) ณ ที่นั้น ผู้อำนวยการหอศิลป์เฝ้าฯ รับเสด็จ และนำเสด็จทอดพระเนตรศิลปวัตถุต่างๆ ในหอศิลป์เตรติยาโคฟ
หอศิลป์เตรติยาโคฟเป็นคลังศิลปะรัสเซียที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ รวบรวมงานศิลปะไว้กว่า ๑๓๐,๐๐๐ ชิ้น ถือเป็นพิพิธภัณฑ์สำคัญของโลกแห่งหนึ่ง งานศิลปะที่เก็บรักษาไว้ในที่นี้เป็นตัวอย่างที่จะทำให้ผู้ชมเข้าใจได้ถึงประวัติศาสตร์ศิลปะรัสเซียอันยาวนานกว่า ๑,๐๐๐ ปี ในหอศิลป์นี้ มีตั้งแต่ภาพบูชาทางศาสนา (Icon) ยุคแรกสุด จนถึงงานศิลปะยุคศตวรรษที่ ๒๐
ต่อมาเวลา ๑๖.๔๐ น. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่ง ถึงโรงแรม Baltschug Kempinski กรุงมอสโก พระราชทานพระราชวโรกาสให้คนไทยและนักเรียนไทยที่พำนักอยู่ในสหพันธรัฐรัสเซียจำนวนประมาณ ๑๕๐ คน เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
ในสหพันธ์รัฐรัสเซียมีคนไทยอยู่ ๑,๑๓๙ คน เป็นนักเรียนนักศึกษา ๑๒๖ คน ส่วนใหญ่ศึกษาอยู่ในกรุงมอสโกและนครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก มาประกอบอาชีพ ๙๗๖ คน ส่วนใหญ่มาทำงานกับบริษัทน้ำมันที่เกาะซัคคาลิน ทางตะวันออกของรัสเซีย และเป็นข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และครอบครัว จำนวน ๓๗ คน
ในการนี้ ได้พระราชทานพระราชดำรัส ใจความว่า ทรงขอบใจเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่ได้ร่วมกันรับเสด็จเป็นอย่างดี ในโอกาสเสด็จฯ เยือนรัสเซียในฐานะผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตามคำทูลเชิญของประธานาธิบดีรัสเซียครั้งนี้ และได้เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรสถานที่สำคัญต่างๆ อาทิ จัตุรัสแดง ซึ่งทรงเห็นว่ามีความงดงามเป็นอย่างมาก และจะได้ทอดพระเนตรบัลเล่ต์ที่มีชื่อเสียงของรัสเซียด้วย
การเสด็จพระราชดำเนินเยือนรัสเซียครั้งนี้ ก็เพื่อเป็นการตอบแทนการเยือนประเทศไทยของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ทรงขอบใจในน้ำใจของประธานาธิบดีที่ได้ชื่นชมงานศิลปาชีพด้วยความสนใจ และยังได้แสดงความชื่นชมว่าเป็นงานที่ทำให้คนไทยมีอาชีพ สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ทั้งที่ช่างศิลปาชีพส่วนใหญ่มาจากครอบครัวฐานะยากจนในชนบท ไม่มีโอกาสได้ศึกษาถึงระดับมหาวิทยาลัย แต่เมื่อเข้ามาเป็นนักเรียนศิลปาชีพ ก็สามารถทำได้เป็นอย่างดี และรักษาไว้ซึ่งศิลปะอันเก่าแก่และสวยงามของไทยไว้ได้ มีรับสั่งว่า คนไทยเป็นคนที่มีความสามารถสูง หากได้รับการฝึกแล้วก็สามารถสร้างงานศิลปกรรมไทยที่สวยงามเป็นที่ประทับใจของชาวต่างชาติได้ พร้อมทั้งสามารถอนุรักษ์มรดกทางศิลปกรรมของชาติไว้ได้ด้วย
หลังจากนั้นเวลา ๑๘.๕๕ น. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่งไปยังโรงละครบัลชอยแห่งใหม่ (Bolshoi Theatre, New Stage) เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึงโรงละคร ณ ที่นั้น ผู้จัดการโรงละครบัลชอย เฝ้าฯ รับเสด็จ
โรงละครบัลชอยและคณะละครบัลชอยมีชื่อเสียงไปทั่วโลก มีประวัติสืบย้อนหลังไปได้ถึงปี ๒๓๑๙ (ค.ศ.๑๗๗๖) เจ้าชาย Peter Urussov และนาย Michael Maddox ได้ก่อตั้งโรงละครสำหรับแสดงบัลเล่ต์และโอเปร่าขึ้น ต่อมาเมื่อปี ๒๓๔๘ (ค.ศ. ๑๘๐๕) สิทธิในโรงละครถูกโอนมาเป็นของรัฐ ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็น Bolshoi Theatre โรงละครบัลชอยตั้งอยู่ที่ Theatre Square กรุงมอสโก ก่อสร้างขึ้นในปี ๒๓๖๗ (ค.ศ. ๑๘๒๔) เปิดการแสดงครั้งแรกเมื่อวันที่ ๖ มกราคม ๒๓๖๘ (ค.ศ. ๑๘๒๕) ในชื่อ โรงละครบัลชอยแห่งมอสโก
บัลเลต์ชุด Swan Lake ของ ไชคอฟสกี (Tchaikovsky) คีตกวีลือนามชาวรัสเซีย ได้เปิดแสดงรอบปฐมทัศน์ที่โรงละครแห่งนี้เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๔๒๐ (ค.ศ. ๑๘๗๗)
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทอดพระเนตรการแสดงบัลเลต์ ชุด Swan Lake ของคณะระบำปลายเท้าบัลชอย จบแล้ว พระราชทานกระเช้าดอกไม้แก่นักแสดง แล้วเสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่งออกจากโรงละครบัลชอยกลับที่ประทับในพระราชวังเครมลิน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-