สรุปภาวะการค้าไทย-สหรัฐฯ ปี 2550 (ม.ค.-มิ.ย.)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 27, 2007 14:16 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในไตรมาส 2 ขยายตัวร้อยละ 3.4 ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน อัตราเงินเฟ้อ
อยู่ในระดับต่ำ การจ้างงานยังแข็งแกร่ง การส่งออกยังเพิ่มขึ้น
2. ภาวะการค้าของสหรัฐฯ กับตลาดโลกในช่วงม.ค-มิ.ย มีมูลค่าการค้ารวม 1,494,360 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 6.28 แยกเป็นการส่งออกมูลค่า 559,944.64 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.63 และนำเข้า 934,415.37
ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.84 แหล่งผลิตสำคัญที่สหรัฐฯ นำเข้า ได้แก่
1. แคนาดา ร้อยละ 11.65 มูลค่า 155,618.68 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.03
2. จีน ร้อยละ 15.84 มูลค่า 148,047.44 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.04
3. เม็กซิโก ร้อยละ 10.80 มูลค่า 100,880.62 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.92
18.ไทย ร้อยละ 1.17 มูลค่า 10,954.02 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.12
สหรัฐฯเสียเปรียบดุลการค้า เป็นมูลค่า 374,470.73 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 4.90 โดยขาดดุล
การค้ากับจีนเป็นมูลค่าสูงถึง 117,501.03 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.34
3. ภาวะการค้าระหว่างไทย-สหรัฐฯ ในช่วงม.ค-มิ.ย 2550 มีมูลค่า 13,704.56 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.36
ในจำนวนนี้แยกเป็นการนำเข้ามูลค่า 4,415.80 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.36 ในจำนวนนี้แยกเป็นการนำเข้ามูลค่า
4,415.80 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.78 และส่งออกมูลค่า 9,288.76 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 0.24
หรือคิดเป็นร้อยละ 45.04 ของเป้าหมายการส่งออกที่มูลค่า 20,621 ล้านเหรียญสหรัฐ ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า
มูลค่า 4,872.97 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 2.77
โครงสร้างการส่งออกสินค้าไทยไปสหรัฐฯ ประกอบด้วย สินค้าเกษตรร้อยละ 7.62 สินค้าอุตสาหกรรม
การเกษตรร้อยละ 8.49 สินค้าอุตสาหกรรมร้อยละ 80.43 สินค้าแร่และเชื้อเพลิงร้อยละ 1.80 สินค้าอื่นๆ ร้อยละ
1.65 โดยมีสถิติดังนี้
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ %เปลี่ยนแปลง สัดส่วน (%)
รายการ 2549 2549 2550 2549 2550 2549 2550
(ม.ค-มิ.ย) (ม.ค-มิ.ย) (ม.ค-มิ.ย) (ม.ค-มิ.ย)
1.สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น 19,454.02 9,266.43 9,288.76 14.46 0.24 100.00 100.00
2.สินค้าเกษตรกรรม 1,453.36 639.03 708.01 23.23 10.79 7.47 7.62
3.สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 1,774.70 758.90 788.67 20.39 3.92 9.12 8.49
4.สินค้าอุตสาหกรรม 15,731.56 7,597.91 7,471.15 12.38 -1.67 80.87 80.43
5.สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 240.90 144.13 167.51 293.46 16.22 1.24 1.80
6.สินค้าอื่นๆ 253.51 126.45 153.42 -10.61 21.33 1.30 1.65
3.1 การส่งออกสินค้าเกษตรกรรมไปสหรัฐฯ (ม.ค-มิ.ย 2550) มีมูลค่า 708.01 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ
10.79 สินค้าเกษตรส่งออกไปสหรัฐฯ 5 อันดับแรก ได้แก่ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ยางพารา ข้าว เนื้อปลาสด- แช่เย็นแช่แข็ง
ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้ง ทั้ง 5 รายการนี้มีสถิติเพิ่มขึ้นทุกรายการ สินค้าเกษตรที่สำคัญรองลงมา ได้แก่ กาแฟ
ปลาหมึกสดแช่เย็นแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง กล้วยไม้ สัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซีย เป็นต้น
3.2 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรไปสหรัฐฯ (ม.ค-มิ.ย 2550) มีมูลค่า788.67 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 3.92 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรสำคัญ 5 อันดับแรกส่งออกไปสหรัฐฯ ได้แก่ อาหารทะเล-กระป๋องและแปรรูป
ผลไม้กระป๋องและแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ ผักกระป๋องและแปรรูป ทั้ง 5
รายการนี้มีสถิติลดลง 2 รายการ คือ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ลดลงร้อยละ 2.24 ผักกระป๋องและแปรรูปลดลง
ร้อยละ 2.30 รองลงไปได้แก่ สิ่งปรุงรส-อาหาร ผลิตภัณฑ์ข้าว น้ำตาลทราย และซุบและอาหารปรุงแต่ง เป็นต้น
3.3 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเป้าหมายไปสหรัฐฯ (ม.ค-มิ.ย 2550) มีมูลค่า 7,471.15 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง
ร้อยละ 1.67 สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ 5 อันดับแรกส่งออกไปสหรัฐฯ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ยาง อัญมณีและเครื่องประดับ และเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ ทั้ง 5 รายการดังกล่าว
มีสถิติลดลง 3 รายการ คือ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลงร้อยละ 6.61 อัญมณีและเครื่องประดับลดลงร้อยละ 1.79 เครื่องรับ
วิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบลดลงร้อยละ 45.77 สินค้าอุตสาหกรรมรองลงไป ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า
เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เป็นต้น
4. การแข่งขัน การส่งออกสินค้าไทยไปสหรัฐฯ นอกจากต้องประสบการแข่งขันค่อนข้างสูงกับสินค้าราคาถูกจากจีนแล้ว
เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน พบว่า มาเลเซียมีสัดส่วนตลาดนำเข้าสหรัฐฯ ร้อยละ 1.70 รองลงมา
คือ ประเทศไทยร้อยละ 1.17 สิงคโปร์ร้อยละ 1.00 และอินโดนีเซียร้อยละ 0.74 ในช่วง 6 เดือนแรกปีพ.ศ. 2550 นี้
สหรัฐฯ นำเข้าจากมาเลเซียลดลงร้อยละ 7.26 ส่วนการนำเข้าจากไทย สิงคโปร์ และอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.12
10.59 และ 8.86 ตามลำดับ ดังสถิติต่อไปนี้
สถิติเปรียบเทียบระหว่างไทยกับ มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ในตลาดสหรัฐฯ ม.ค.-มิ.ย. 2548-2550
ที่ ประเทศ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน (%) %เปลี่ยนแปลง
2548 2549 2550 2549 2550 50/49
4 มาเลเซีย 15,260.87 17,156.90 15,911.59 1.91 1.70 -7.26
6 ไทย 9,340.68 10,520.46 10,954.02 1.17 1.17 4.12
8 สิงคโปร์ 7,290.36 8,446.90 9,363.22 0.94 1.00 10.59
11 อินโดนีเซีย 5,708.03 6,358.90 6,922.18 0.71 0.74 8.86
แหล่งข้อมูล : US Dept. of Commerce,Bureau of Census
ข้อมูลเพิ่มเติม
นักเศรษฐศาสตร์ของค่ายเมอร์ริล ลินซ์ โดยนายเดวิด โรเซนเบิร์ก ได้คาดการณ์แนวโน้มของเศรษฐกิจสหรัฐ
ในปัจจุบันว่า สถานการณ์ที่เป็นอยู่ถือเป็นช่วงแรกๆ ของภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจที่มีผลมาจาก “ผู้บริโภค” โดยนายเดวิด
ได้ยกตัวอย่างสัญญาณเตือนภัยที่เกิดขึ้นในภาคเศรษฐกิจจริง ดังนี้
- กลุ่มผู้ค้าปลีกโดยเฉพาะกลุ่มเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับบ้าน ทรุดฮวบลง ขณะที่กลุ่มค้าปลีกกลุ่มอื่น
อาทิ ร้านขายยา ร้านสื่อบันเทิงและการศึกษายังคงทำยอดขายได้ดี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งมาจากใกล้ฤดูกาลเปิดเทอม ประกอบกับ
กลุ่มลูกค้าหลักของธุรกิจการค้าปลีก เช่น วอล-มาร์ด และโฮม ดีโปร์ คือกลุ่มคนเดียวกับที่เป็นลูกค้าสินเชื่อซับไพรม (ซึ่ง
หมายถึงสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ปล่อยให้กับลูกค้าที่มีปัญหา หรือมีประวัติสินเชื่อไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของธนาคาร อันเนื่อง
มาจากภาวะการชะลอตัวอย่างรวดเร็วของตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่พลิกจากบูมเป็นฟุบ ส่งผลให้ลูกค้าค้างชำระงวดเงินกู้และ
กลายเป็นหนี้เสียเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ) โดยมีสัดส่วน 1 ใน 3 ของลูกค้าทั้งหมด ด้วยเหตุนี้เมื่อการค้างชำระงวดสินเชื่อที่อยู่อาศัย
เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงกระทบต่อตลาดที่อยู่อาศัยและกระทบต่อกลุ่มค้าปลีกในที่สุด
- กลุ่มบริการการเงินและธนาคารต่างๆ ไม่จำกัดเฉพาะในสหรัฐฯ ได้รับผลกระทบจากสินเชื่อซับไพรมเช่น
เดียวกัน โดยธนาคารต่างๆ จะมีผลกำไรต่ำเกินคาดหากสินเชื่อซับไพรมและตราสารหนี้ยังคงยือเยื้อต่อไป
ทั้งนี้จากภาวการตึงตัวของตลาดสินเชื่อและผลกระทบจากความปั่นป่วนที่ปรากฎในตลาดการเงิน ด้วยเหตุดังกล่าวสถาบันและ
หน่วยงานต่างๆ เริ่มปลดพนักงานออกตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงส่งผลให้อัตราการจ้างงานหยุดชะงัก หนี้ครัวเรือนพุ่งขึ้นสูง
และการอายัดหลักทรัพย์ค้ำประกันในตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว
องค์การค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) วิเคราะห์ถึงผลกระทบจากวิกฤตสินเชื่อที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงจากการล่มสลาย
ของตลาดสินเชื่อซับไพรม ว่าจะกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและการค้าระหว่างประเทศให้ซบเซาลง อัตราการ
ขยายตัวของการค้าสินค้าทั่วโลกในปี 2550 จะชะลอตัวลงเหลือประมาณ 6% จาก 8% เมื่อปีที่แล้ว
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ