ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.พ.50 เพิ่มขึ้น 13,624 ล้านบาทเทียบต่อเดือน ผอ.สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.)
เปิดเผยว่า หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.พ.50 มีจำนวน 3,171,827 ล้านบาท หรือร้อยละ 37.59 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี)
เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,992,205 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 902,822 ล้านบาท หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟู
และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 227,584 ล้านบาท และหนี้องค์กรของรัฐอื่น 48,216 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น
13,624 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้น 23,456 ล้านบาท ส่วนหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน หนี้สินของกองทุนเพื่อการ
ฟื้นฟูฯ และหนี้องค์กรของรัฐอื่นลดลง 2,158 ล้านบาท 4,685 ล้านบาท และ 2,989 ล้านบาท ตามลำดับ (ข่าวสด, แนวหน้า, มติชน,
โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
2. ยอดคงค้างสินเชื่อในระบบ ธ.พ.เดือน มี.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.10 บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานตัวเลขสินเชื่อ เงินฝาก
และสินทรัพย์ ในระบบ ธพ.ไทย ตามฐานข้อมูลที่ปรากฏในแบบรายงาน ธพ.1.1 ณ วันที่ 31 มี.ค.50 ดังนี้ สินเชื่อยอดคงค้างสินเชื่อ (หักค่า
เผื่อหนี้สงสัยจะสูญแล้ว) ในระบบ ธพ.ไทยเดือน มี.ค.50 มีจำนวน 4,910,676 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 53,199 ล้านบาท คิดเป็น
อัตราการเติบโตร้อยละ 1.10 และหากเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.07 เมื่อเทียบกับสิ้นปี 49 พบว่า ระบบ ธพ.ไทยมียอดสินเชื่อ
ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 50 เพิ่มขึ้นจำนวน 11,005 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.22 สำหรับเงินฝากในระบบ ธพ.ไทยเดือน มี.ค.50 มียอดคงค้าง
ทั้งสิ้น 6,119,509 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 19,141 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.31 และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนเงินฝาก
ขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 3.04 ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับสิ้นปี 49 มียอดเงินฝาก ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 50 เพิ่มขึ้นถึงจำนวน 187,097 ล้านบาท
หรือร้อยละ 3.15 สำหรับสินทรัพย์รวมในระบบ ธพ.ไทย ณ 31 มี.ค.50 มีจำนวน 7,734,093 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
67,526 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.88 (แนวหน้า, ผุ้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
3. เอ็นพีแอลทั้งระบบของ ธพ.13 แห่งที่จดทะเบียนใน ตลท. ณ สิ้นเดือน มี.ค.50 ลดลง รายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ธพ. 13 แห่งที่จดทะเบียนใน ตลท. ได้รายงานตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) สิ้นเดือน
มี.ค.50 ว่า มีทั้งหมด 227,668.36 ล้านบาท โดยจำนวนลดลงจากสิ้นปี 49 ซึ่งอยู่ที่ 229,945.16 ล้านบาท ทั้งนี้ มีธนาคารที่มีเอ็นพีแอล
เพิ่มขึ้น 6 แห่ง ที่เหลืออีก 7 แห่งมีเอ็นพีแอลลดลง โดยธนาคารที่มีเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็น ธพ.ขนาดใหญ่ ได้แก่ ธ.กรุงไทย
ธ.กรุงศรีอยุธยา ธ.กสิกรไทย ธ.ไทยธนาคาร ธ.ไทยพาณิชย์ และ ธ.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) ส่วนธนาคารที่มีเอ็นพีแอลลดลง
ได้แก่ ธ.กรุงเทพ ธ.เกียรตินาคิน ธ.ทหารไทย ธ.ทิสโก้ ธ.ธนชาต ธ.นครหลวงไทย และ ธ.สินเอเชีย ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือน มี.ค.50
ธพ.เกือบทุกแห่งกันสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเกินกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนด มีเพียง ธ.กรุงไทยที่กันสำรองต่ำกว่า
เกณฑ์ที่กำหนดไว้เล็กน้อย ส่วนธนาคารที่กันสำรองเกินเกณฑ์มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ ธ.สินเอเชีย ธ.สแตนดาร์ชาร์เตอร์ด (ไทย)
ธ.กรุงเทพ ธ.ทิสโก้ และ ธ.กสิกรไทย (เดลินิวส์)
4. ค่าครองชีพครัวเรือนปี 49 พุ่งสูงขึ้นมากกว่า 2 ปีก่อน สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้สำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของ
ครัวเรือนตลอดทั้งปี 49 จากครัวเรือนตัวอย่างทั้งสิ้น 52,000 ครัวเรือน สรุปว่า ครัวเรือนไทยมีหนี้สินเฉลี่ย 116,585 บาทต่อครัวเรือน
สูงกว่าช่วง 2 ปีก่อนร้อยละ 5.6 แบ่งเป็นการซื้อบ้านและที่ดินร้อยละ 33.7 รองลงมาเป็นการอุปโภคบริโภคร้อยละ 27.6 แต่หากเทียบกับ
ช่วง 6 เดือนแรกของปี 49 ครัวเรือนไทยมีหนี้สินเฉลี่ยมากกว่าทั้งปีถึง 1,849 บาท โดยเป็นหนี้จำนวน 118,434 บาทต่อครัวเรือน
สำหรับค่าใช้จ่ายของครัวเรือนเฉลี่ยเดือนละ 14,311 บาทต่อครัวเรือน สูงกว่าช่วง 2 ปีก่อนร้อยละ 7.9 เนื่องจากค่าครองชีพและ
ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น โดยเป็นการจ่ายเกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่มและยาสูบมากที่สุดร้อยละ 32.1 รองลงมาเป็นที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้
ในบ้านร้อยละ 21.7 (ไทยรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เยอรมนีจะปรับพยากรณ์เศรษฐกิจปีนี้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.3 รายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 23 เม.ย.50
แหล่งข่าวจากทางการเยอรมนีเปิดเผยว่า รัฐบาลมีแผนจะปรับเพิ่มประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้เป็นร้อยละ 2.3 จากเป้าหมายเดิม
ร้อยละ 1.7 และตั้งเป้าหมายการเติบโตของเศรษฐกิจในปี 51 ไว้ที่ร้อยละ 2.4 ส่วนอัตราการว่างงานในปีนี้จะเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3.7 ล้านคน
ลดลงจากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ประมาณ 4 ล้านคน และคาดว่าจะลดลงเหลือ 3.4 ล้านคน ในปี 51 ทั้งนี้ คาดว่ารัฐบาลจะเปิดเผยข้อมูลการ
ปรับพยากรณ์เศรษฐกิจในวันพุธนี้ ในขณะที่เมื่อสัปดาห์ก่อนสถาบันวิจัยชั้นนำทางเศรษฐกิจ 5 แห่งของเยอรมนี กล่าวว่า เศรษฐกิจของเยอรมนี
จะขยายตัวร้อยละ 2.4 ในปีนี้และปีหน้า (รอยเตอร์)
2. S&P ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะยาวของญี่ปุ่นเป็นระดับ AA รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 50
สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ S&P ได้ปรับอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะยาวที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศและในประเทศของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น
เป็นระดับ AA จากระดับ AA- minus ส่งผลให้อันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ของญี่ปุ่นอยู่ในระดับเดียวกับของ Andorra, Bermuda,
Hong Kong และ Slovenia เนื่องจากภาวะการคลังของญี่ปุ่นดีขึ้น ประกอบกับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของธพ. ลดลง ทั้งนี้เงินเยน
มีค่าแข็งขึ้นตอบรับข่าวดังกล่าว ขณะเดียวกัน S&P ยังคงอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะสั้นที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศและในประเทศ
ของญี่ปุ่นอยู่ในระดับเดิมคือ A-1+ และเสริมว่าความน่าเชื่อถือในตราสารหนี้ระยะยาวที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศและในประเทศของญี่ปุ่นมี
แนวโน้มที่มีเสถียรภาพ อย่างไรก็ตามแม้ว่า S&P จะได้ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือให้แก่ตราสารหนี้ของญี่ปุ่นแล้วก็ตาม แต่ก็ยังคงอยู่ใน
ระดับต่ำกว่าตราสารหนี้ของ สรอ. อังกฤษ และฝรั่งเศส ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้อยู่ที่ AAA ทั้งนี้คาดว่ายอดหนี้สาธารณะ
ของญี่ปุ่น ณ สิ้นสุดเดือน มี.ค. จะสูงถึง 773 ล้าน ล้าน เยน (6.51 ล้าน ล้าน ดอลลาร์ สรอ.) หรือเท่ากับร้อยละ 148 ของผลิตภัณฑ์
มวลรวมในประเทศ (GDP) มากที่สุดในบรรดาประเทศอุตสาหกรรมด้วยกัน ,(รอยเตอร์)
3. คาดว่าจีดีพีของเกาหลีใต้ในช่วงไตรมาสแรกปี 50 จะขยายตัว รายงานจากโซลเมื่อ 23 เม.ย.50 รอยเตอร์เปิดเผย
ผลการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของเกาหลีใต้ในช่วงไตรมาสแรกปี 50
จะขยายตัวร้อยละ 0.9 ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่เมื่อเทียบต่อปีคาดว่าจีดีพีจะขยายตัวต่ำสุดในรอบเกือบ 2 ปี
เพียงร้อยละ 3.9 ต่ำกว่าไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.0 อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า ภาวะเศรษฐกิจของเกาหลีใต้
จะชะลอลงเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของปี 50 เท่านั้น เนื่องจากการใช้จ่ายภายในประเทศซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวในช่วงครึ่งหลังของปี
เป็นผลจากรายได้ที่แท้จริงเพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาน้ำมันซึ่งปรับตัวลดลงตั้งแต่ปลายปี 49 รวมถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคซึ่งมีแนวโน้มดีขึ้น
เนื่องจากมีสัญญาณที่ดีเกี่ยวกับการเปิดเสรีทางการค้าระหว่างเกาหลีใต้กับ สรอ. นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์ได้อ้างถึงการประมาณการ
ของ ธ.กลางเกาหลีใต้ซึ่งคาดว่า จีดีพีของเกาหลีใต้ในช่วงครึ่งแรกของปีจะขยายตัวต่ำกว่าช่วงครึ่งหลังของปี โดยอัตราการขยายตัวทั้ง
ปี 50 อยู่ที่ร้อยละ 4.4 ต่ำกว่าร้อยละ 5 ในปี 49 (รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน มี.ค.50 ของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนต่ำกว่าที่คาดไว้ รายงานจาก
สิงคโปร์เมื่อ 23 เม.ย.50 สนง.สถิติของสิงคโปร์รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคสำหรับเดือน มี.ค.50 เพิ่มขึ้นหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาล
แล้วเพียงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ต่อเดือน หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ต่อเดือน
ในเดือน ก.พ.50 ทั้งนี้จากผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่าค่าเช่า ราคารถยนต์และราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจะส่งผลให้ดัชนีราคา
ผู้บริโภคในเดือน มี.ค.50 สูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยหากเทียบต่อปีแล้ว ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน มี.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7
ซึ่งเช่นเดียวกันต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ต่อปี โดยเป็นผลจากราคาอาหารซึ่งมีสัดส่วนมากที่สุดในการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภค
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ในเดือน มี.ค.50 เมื่อเทียบกับปีก่อนและราคาบ้านซึ่งมีสัดส่วนในการคำนวณมากเป็นอันดับที่ 3 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ต่อปี
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 24/4/2493 23/4/2550 29/12/2549 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.83 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.6022/34.9447 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.16328 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 686.18/10.62 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,250/11,350 11,300/11,400 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 64.3 62.52 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 28.79*/24.94* 28.79*/24.94* 26.49/23.34 ปตท
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 11 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.พ.50 เพิ่มขึ้น 13,624 ล้านบาทเทียบต่อเดือน ผอ.สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.)
เปิดเผยว่า หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.พ.50 มีจำนวน 3,171,827 ล้านบาท หรือร้อยละ 37.59 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี)
เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,992,205 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 902,822 ล้านบาท หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟู
และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 227,584 ล้านบาท และหนี้องค์กรของรัฐอื่น 48,216 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น
13,624 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้น 23,456 ล้านบาท ส่วนหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน หนี้สินของกองทุนเพื่อการ
ฟื้นฟูฯ และหนี้องค์กรของรัฐอื่นลดลง 2,158 ล้านบาท 4,685 ล้านบาท และ 2,989 ล้านบาท ตามลำดับ (ข่าวสด, แนวหน้า, มติชน,
โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
2. ยอดคงค้างสินเชื่อในระบบ ธ.พ.เดือน มี.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.10 บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานตัวเลขสินเชื่อ เงินฝาก
และสินทรัพย์ ในระบบ ธพ.ไทย ตามฐานข้อมูลที่ปรากฏในแบบรายงาน ธพ.1.1 ณ วันที่ 31 มี.ค.50 ดังนี้ สินเชื่อยอดคงค้างสินเชื่อ (หักค่า
เผื่อหนี้สงสัยจะสูญแล้ว) ในระบบ ธพ.ไทยเดือน มี.ค.50 มีจำนวน 4,910,676 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 53,199 ล้านบาท คิดเป็น
อัตราการเติบโตร้อยละ 1.10 และหากเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.07 เมื่อเทียบกับสิ้นปี 49 พบว่า ระบบ ธพ.ไทยมียอดสินเชื่อ
ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 50 เพิ่มขึ้นจำนวน 11,005 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.22 สำหรับเงินฝากในระบบ ธพ.ไทยเดือน มี.ค.50 มียอดคงค้าง
ทั้งสิ้น 6,119,509 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 19,141 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.31 และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนเงินฝาก
ขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 3.04 ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับสิ้นปี 49 มียอดเงินฝาก ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 50 เพิ่มขึ้นถึงจำนวน 187,097 ล้านบาท
หรือร้อยละ 3.15 สำหรับสินทรัพย์รวมในระบบ ธพ.ไทย ณ 31 มี.ค.50 มีจำนวน 7,734,093 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
67,526 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.88 (แนวหน้า, ผุ้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
3. เอ็นพีแอลทั้งระบบของ ธพ.13 แห่งที่จดทะเบียนใน ตลท. ณ สิ้นเดือน มี.ค.50 ลดลง รายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ธพ. 13 แห่งที่จดทะเบียนใน ตลท. ได้รายงานตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) สิ้นเดือน
มี.ค.50 ว่า มีทั้งหมด 227,668.36 ล้านบาท โดยจำนวนลดลงจากสิ้นปี 49 ซึ่งอยู่ที่ 229,945.16 ล้านบาท ทั้งนี้ มีธนาคารที่มีเอ็นพีแอล
เพิ่มขึ้น 6 แห่ง ที่เหลืออีก 7 แห่งมีเอ็นพีแอลลดลง โดยธนาคารที่มีเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็น ธพ.ขนาดใหญ่ ได้แก่ ธ.กรุงไทย
ธ.กรุงศรีอยุธยา ธ.กสิกรไทย ธ.ไทยธนาคาร ธ.ไทยพาณิชย์ และ ธ.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) ส่วนธนาคารที่มีเอ็นพีแอลลดลง
ได้แก่ ธ.กรุงเทพ ธ.เกียรตินาคิน ธ.ทหารไทย ธ.ทิสโก้ ธ.ธนชาต ธ.นครหลวงไทย และ ธ.สินเอเชีย ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือน มี.ค.50
ธพ.เกือบทุกแห่งกันสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเกินกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนด มีเพียง ธ.กรุงไทยที่กันสำรองต่ำกว่า
เกณฑ์ที่กำหนดไว้เล็กน้อย ส่วนธนาคารที่กันสำรองเกินเกณฑ์มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ ธ.สินเอเชีย ธ.สแตนดาร์ชาร์เตอร์ด (ไทย)
ธ.กรุงเทพ ธ.ทิสโก้ และ ธ.กสิกรไทย (เดลินิวส์)
4. ค่าครองชีพครัวเรือนปี 49 พุ่งสูงขึ้นมากกว่า 2 ปีก่อน สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้สำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของ
ครัวเรือนตลอดทั้งปี 49 จากครัวเรือนตัวอย่างทั้งสิ้น 52,000 ครัวเรือน สรุปว่า ครัวเรือนไทยมีหนี้สินเฉลี่ย 116,585 บาทต่อครัวเรือน
สูงกว่าช่วง 2 ปีก่อนร้อยละ 5.6 แบ่งเป็นการซื้อบ้านและที่ดินร้อยละ 33.7 รองลงมาเป็นการอุปโภคบริโภคร้อยละ 27.6 แต่หากเทียบกับ
ช่วง 6 เดือนแรกของปี 49 ครัวเรือนไทยมีหนี้สินเฉลี่ยมากกว่าทั้งปีถึง 1,849 บาท โดยเป็นหนี้จำนวน 118,434 บาทต่อครัวเรือน
สำหรับค่าใช้จ่ายของครัวเรือนเฉลี่ยเดือนละ 14,311 บาทต่อครัวเรือน สูงกว่าช่วง 2 ปีก่อนร้อยละ 7.9 เนื่องจากค่าครองชีพและ
ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น โดยเป็นการจ่ายเกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่มและยาสูบมากที่สุดร้อยละ 32.1 รองลงมาเป็นที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้
ในบ้านร้อยละ 21.7 (ไทยรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เยอรมนีจะปรับพยากรณ์เศรษฐกิจปีนี้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.3 รายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 23 เม.ย.50
แหล่งข่าวจากทางการเยอรมนีเปิดเผยว่า รัฐบาลมีแผนจะปรับเพิ่มประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้เป็นร้อยละ 2.3 จากเป้าหมายเดิม
ร้อยละ 1.7 และตั้งเป้าหมายการเติบโตของเศรษฐกิจในปี 51 ไว้ที่ร้อยละ 2.4 ส่วนอัตราการว่างงานในปีนี้จะเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3.7 ล้านคน
ลดลงจากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ประมาณ 4 ล้านคน และคาดว่าจะลดลงเหลือ 3.4 ล้านคน ในปี 51 ทั้งนี้ คาดว่ารัฐบาลจะเปิดเผยข้อมูลการ
ปรับพยากรณ์เศรษฐกิจในวันพุธนี้ ในขณะที่เมื่อสัปดาห์ก่อนสถาบันวิจัยชั้นนำทางเศรษฐกิจ 5 แห่งของเยอรมนี กล่าวว่า เศรษฐกิจของเยอรมนี
จะขยายตัวร้อยละ 2.4 ในปีนี้และปีหน้า (รอยเตอร์)
2. S&P ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะยาวของญี่ปุ่นเป็นระดับ AA รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 50
สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ S&P ได้ปรับอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะยาวที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศและในประเทศของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น
เป็นระดับ AA จากระดับ AA- minus ส่งผลให้อันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ของญี่ปุ่นอยู่ในระดับเดียวกับของ Andorra, Bermuda,
Hong Kong และ Slovenia เนื่องจากภาวะการคลังของญี่ปุ่นดีขึ้น ประกอบกับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของธพ. ลดลง ทั้งนี้เงินเยน
มีค่าแข็งขึ้นตอบรับข่าวดังกล่าว ขณะเดียวกัน S&P ยังคงอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะสั้นที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศและในประเทศ
ของญี่ปุ่นอยู่ในระดับเดิมคือ A-1+ และเสริมว่าความน่าเชื่อถือในตราสารหนี้ระยะยาวที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศและในประเทศของญี่ปุ่นมี
แนวโน้มที่มีเสถียรภาพ อย่างไรก็ตามแม้ว่า S&P จะได้ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือให้แก่ตราสารหนี้ของญี่ปุ่นแล้วก็ตาม แต่ก็ยังคงอยู่ใน
ระดับต่ำกว่าตราสารหนี้ของ สรอ. อังกฤษ และฝรั่งเศส ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้อยู่ที่ AAA ทั้งนี้คาดว่ายอดหนี้สาธารณะ
ของญี่ปุ่น ณ สิ้นสุดเดือน มี.ค. จะสูงถึง 773 ล้าน ล้าน เยน (6.51 ล้าน ล้าน ดอลลาร์ สรอ.) หรือเท่ากับร้อยละ 148 ของผลิตภัณฑ์
มวลรวมในประเทศ (GDP) มากที่สุดในบรรดาประเทศอุตสาหกรรมด้วยกัน ,(รอยเตอร์)
3. คาดว่าจีดีพีของเกาหลีใต้ในช่วงไตรมาสแรกปี 50 จะขยายตัว รายงานจากโซลเมื่อ 23 เม.ย.50 รอยเตอร์เปิดเผย
ผลการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของเกาหลีใต้ในช่วงไตรมาสแรกปี 50
จะขยายตัวร้อยละ 0.9 ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่เมื่อเทียบต่อปีคาดว่าจีดีพีจะขยายตัวต่ำสุดในรอบเกือบ 2 ปี
เพียงร้อยละ 3.9 ต่ำกว่าไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.0 อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า ภาวะเศรษฐกิจของเกาหลีใต้
จะชะลอลงเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของปี 50 เท่านั้น เนื่องจากการใช้จ่ายภายในประเทศซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวในช่วงครึ่งหลังของปี
เป็นผลจากรายได้ที่แท้จริงเพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาน้ำมันซึ่งปรับตัวลดลงตั้งแต่ปลายปี 49 รวมถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคซึ่งมีแนวโน้มดีขึ้น
เนื่องจากมีสัญญาณที่ดีเกี่ยวกับการเปิดเสรีทางการค้าระหว่างเกาหลีใต้กับ สรอ. นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์ได้อ้างถึงการประมาณการ
ของ ธ.กลางเกาหลีใต้ซึ่งคาดว่า จีดีพีของเกาหลีใต้ในช่วงครึ่งแรกของปีจะขยายตัวต่ำกว่าช่วงครึ่งหลังของปี โดยอัตราการขยายตัวทั้ง
ปี 50 อยู่ที่ร้อยละ 4.4 ต่ำกว่าร้อยละ 5 ในปี 49 (รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน มี.ค.50 ของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนต่ำกว่าที่คาดไว้ รายงานจาก
สิงคโปร์เมื่อ 23 เม.ย.50 สนง.สถิติของสิงคโปร์รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคสำหรับเดือน มี.ค.50 เพิ่มขึ้นหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาล
แล้วเพียงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ต่อเดือน หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ต่อเดือน
ในเดือน ก.พ.50 ทั้งนี้จากผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่าค่าเช่า ราคารถยนต์และราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจะส่งผลให้ดัชนีราคา
ผู้บริโภคในเดือน มี.ค.50 สูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยหากเทียบต่อปีแล้ว ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน มี.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7
ซึ่งเช่นเดียวกันต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ต่อปี โดยเป็นผลจากราคาอาหารซึ่งมีสัดส่วนมากที่สุดในการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภค
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ในเดือน มี.ค.50 เมื่อเทียบกับปีก่อนและราคาบ้านซึ่งมีสัดส่วนในการคำนวณมากเป็นอันดับที่ 3 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ต่อปี
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 24/4/2493 23/4/2550 29/12/2549 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.83 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.6022/34.9447 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.16328 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 686.18/10.62 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,250/11,350 11,300/11,400 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 64.3 62.52 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 28.79*/24.94* 28.79*/24.94* 26.49/23.34 ปตท
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 11 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--