สรุปการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ
วันอังคารที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๐
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๒๘/๒๕๕๐ วันอังคารที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๐ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๐๙.๕๐ นาฬิกา โดยมีนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานการประชุม เมื่อครบองค์ประชุมประธานฯ ได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
๑. เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม
ประธานฯ ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า ในวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๐ จะหยุดพักการประชุม ๑ วัน เนื่องจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะมีการประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องด่วน คือ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศ คปค. ฉบับที่ ๑๕ เรื่อง การห้ามพรรคการเมืองชุมนุมหรือดำเนินกิจกรรมทาง การเมือง ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมรับทราบ
๒. รับรองรายงานการประชุม ไม่มี
๓. เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
- ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาเสร็จแล้ว
โดยเริ่มพิจารณาในหมวดที่ ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนที่ ๗ แนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ มาตรา ๘๓ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ ที่ประชุมฯ พิจารณา เรียงตามอนุมาตรา (๑) - (๙) ซึ่งสมาชิกฯ อภิปรายกันอย่างกว้างขวางในเรื่องของการใช้ถ้อยคำ เพื่อให้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น
สำหรับ (๑) สนับสนุนระบบเศรษฐกิจเสรีนั้น สมาชิกฯ ได้ขอเพิ่มคำว่า “และเป็นธรรม” เข้าไป ซึ่งกรรมาธิการยกร่างฯ ไม่ขัดข้อง และยังรับไปปรับถ้อยคำอื่น ๆ ให้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น ใน (๒) (๓) (๔) ไม่มีการแก้ไข นอกจากนี้ที่ประชุมฯ ยังได้เห็นชอบใน (๕) จัดให้มีการออมเพื่อการดำรงชีพในยามชราแก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างทั่วถึง และ (๖) กำกับให้การประกอบกิจการมีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม ป้องกันการผูกขาดตัดตอน ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมและคุ้มครองผู้บริโภค (๗ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม และคุ้มครองการส่งเสริมการประกอบอาชีพของประชาชน เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ขยายโอกาสในการประกอบอาชีพ รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุน ภูมิปัญญาท้องถิ่น และภูมิปัญญาไทย เพื่อใช้ในการผลิตสินค้า บริการ และการประกอบอาชีพ สำหรับ (๘) การคุ้มครองผู้ทำงาน สมาชิกฯ ส่วนใหญ่ห่วงในถ้อยคำว่า “เท่าเทียมกัน” จะทำให้เกิดปัญหา ในทางปฏิบัติ ซึ่งกรรมาธิการยกร่างฯ ได้ขอเปลี่ยนจาก “เท่าเทียมกัน” เป็น “มีคุณค่าอย่างเดียวกัน” ได้รับค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ และสวัสดิการที่เป็นธรรม โดยไม่เลือกปฏิบัติ
ที่ประชุมฯ มีมติเห็นชอบตามกรรมาธิการยกร่างฯ ด้วยคะแนน ๕๓ ต่อ ๒๑ เสียง และที่ประชุมฯ เห็นชอบใน (๙) เกี่ยวกับการรวมกลุ่มของเกษตรกรโดยการจัดตั้งสภาเกษตรกร เพื่อวางแผน การเกษตรและรักษาผลประโยชน์ร่วมกันของเกษตรกร
ประธานฯ สั่งพักการประชุม
เวลา ๑๓.๐๕ นาฬิกา เริ่มประชุมในภาคบ่าย พิจารณาต่อใน (๑๐) ส่งเสริมและสนับสนุนระบบสหกรณ์
สมาชิกฯ มีความห่วงใยถึงระบบบริหารจัดการสหกรณ์ไทยในอดีตนั้น ยังไม่ดีเท่าที่ควร จึงเห็นควรให้รัฐมีการพัฒนาระบบสหกรณ์และหน่วยงานอิสระเพื่อส่งเสริม สนับสนุน ระบบสหกรณ์ ที่ไม่ถูกแทรกแซงจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรรมาธิการยกร่างฯ ชี้แจงว่า นอกจากส่งเสริมและคุ้มครองระบบสหกรณ์แล้วนั้น ยังมีการสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มของประชาชนในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจ ซึ่งสหกรณ์ดำเนินการเป็นอิสระโดยตัวของสหกรณ์เองอยู่แล้ว หากกำหนดให้มีหน่วยงานอิสระขึ้นมาส่งเสริม สนับสนุน ก็จะเป็นการเข้าไปแทรกแซง
ที่ประชุมฯ มีมติเห็นชอบตามกรรมาธิการยกร่างฯ ด้วยคะแนน ๓๕ ต่อ ๒๓
สำหรับ (๑๑) นั้น ที่ประชุมฯ เห็นพ้องกับกรรมาธิการยกร่างฯ จัดให้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชน และจะต้องไม่ให้สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชน อยู่ในความผูกขาดของภาคเอกชน
ใน (๑๒) กรรมาธิการยกร่างฯ เห็นด้วยกับผู้ขอแปรญัตติที่ให้มีการส่งเสริม สนับสนุนการขนส่งทางราง รวมทั้งการดำเนินการตามระบบบริหารจัดการขนส่งทั้งภายในและระหว่างประเทศ การขนส่งทางน้ำและการพาณิชย์นาวี
ที่ประชุมฯ เห็นชอบ
สมาชิกฯ ขอแปรญัตติเพิ่มอนุมาตรา (๑๓) ส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรภาคเอกชนทางเศรษฐกิจ ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็ง”
ที่ประชุมฯ เห็นชอบ
สมาชิกฯ ขอแปรญัตติเพิ่มอนุมาตรา (๑๔) สนับสนุนให้มีการตรากฎหมายด้านการเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งประกอบด้วยสาระสำคัญ เช่น รัฐต้องจัดหาพื้นที่เพื่อกำหนดให้มีการปลูกพืชที่เหมาะสมกับดิน ฟ้า อากาศของประเทศ ต้องจัดสินเชื่อเพื่อการเกษตรให้เพียงพอในการลงทุน จัดผู้เชี่ยวชาญ การเกษตรสาขาต่าง ๆ เพื่อให้คำแนะนำที่ถูกต้อง รวมทั้งจัดหาตลาดรองรับผลผลิตทางการเกษตรและเมื่อมีภัยธรรมชาติที่เป็นอุปสรรคต่อการผลิต รัฐต้องให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน และเพียงพอต่อ การแก้ไขปัญหา
กรรมาธิการยกร่างฯ ชี้แจงถึงกฎหมายด้านการเกษตรและสหกรณ์ มีตราไว้ในมาตรา อื่น ๆ ซึ่งถือว่าครอบคลุมแล้ว
ที่ประชุมฯ มีมติเห็นชอบตามผู้ขอแปรญัตติด้วยคะแนน ๓๔ ต่อ ๓๓ เสียง งดออกเสียง ๑ เสียง
สมาชิกฯ ขอให้ที่ประชุมฯ พิจารณามาตรา ๗๙ (๓) - (๖) ที่ถูกแขวนไว้วานนี้ (๑๘ มิ.ย. ๕๐) โดยเริ่มจาก (๓) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุก รูปแบบให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ เพื่อพัฒนาการศึกษา จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก รวมทั้งการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกถึงความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมและยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข
ที่ประชุมฯ เห็นชอบ
ใน ๗๙ (๔) ส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจเพื่อให้องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น ชุมชน องค์กรศาสนา และเอกชน จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนา มาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมกันและสอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐ
สำหรับ (๕) คงเดิม
มาตรา ๗๙ (๖) ส่งเสริมและสนับสนุนความรู้รักสามัคคี การเรียนรู้ ปลูกจิตสำนึกและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนค่านิยมที่ดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่น ของไทย
กรรมาธิการยกร่างฯ ไม่ขัดข้อง และให้มีกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาล ในมาตรา ๒๙๓ (๑) หัวข้อ ค. ดังนี้ กฎหมายเพื่อการพัฒนาการศึกษาของชาติตามมาตรา ๗๙ โดยส่งเสริมการศึกษาในระบบการศึกษานอกโรงเรียน การศึกษาตามอัธยาศัย การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ตลอดชีวิต วิทยาลัยชุมชนหรือรูปแบบอื่น รวมทั้งปรับปรุงกฎหมายเพื่อกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบการจัดการ
ศึกษาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับระบบการศึกษาภายใน ๑ ปี นับตั้งแต่วันที่แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ตามมาตรา ๑๗๒
ที่ประชุมฯ เห็นชอบตามกรรมาธิการยกร่างฯ ด้วยคะแนน ๓๔ ต่อ ๒๖ เสียง งดออกเสียง ๕ เสียง
ประธานฯ สั่งพักการประชุม
เวลา ๑๘.๓๐ นาฬิกา หลังพักการประชุม ที่ประชุมฯ เริ่มพิจารณาในส่วนที่ ๘ แนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๘๔ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สมาชิกฯ ส่วนใหญ่อภิปรายถึงรัฐต้องกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ที่ดิน โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของพื้นที่นั้น ๆ ตามหลักวิชาการให้ครอบคลุมทั่วประเทศทั้งผืนดินผืนน้ำ โดยสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ และกำหนดมาตรฐานการใช้อย่างยั่งยืนด้วยการให้ประชาชนในพื้นที่ที่มีผลกระทบต่อนโยบายการใช้ที่ดินนั้นร่วมในการตัดสินใจด้วย รวมทั้งให้มีการวางผังเมือง พัฒนา และดำเนินการตามผังเมืองอย่างมี ประสิทธิภาพ
ที่ประชุมฯ มีมติเห็นชอบตามกรรมาธิการยกร่างฯ
ส่วนที่ ๙ แนวนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ ทรัพย์สินทางปัญญาและพลังงาน ไม่มี การแก้ไข
มาตรา ๘๕ (๑) สมาชิกฯ ขอเพิ่มสภาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ
ซึ่งกรรมาธิการยกร่างฯ ชี้แจงว่า มีกระทรวง สภาวิจัย สถาบันพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทย ดูแลรับผิดชอบอยู่แล้ว จึงขอยืนตามร่างฯ ของกรรมาธิการยกร่างฯ
มาตรา ๘๕ (๒) ส่งเสริมการประดิษฐ์หรือการค้นคิดเพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ รักษาและ
พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย รวมทั้งให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
ที่ประชุมฯ เห็นชอบ
มาตรา ๘๕ (๓) กรรมาธิการยกร่างฯ นำไปเติมไว้ในมาตรา ๘๕ (๑) แล้ว ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
มาตรา ๘๕ (๔) คงเดิม
มาตรา ๘๕ (๕) สมาชิกฯ ขอแปรญัตติเป็น “ส่งเสริมให้ธุรกิจเอกชนสามารถแข่งขัน
กับนานาประเทศในเวทีการค้าโลก” ซึ่งกรรมาธิการยกร่างฯ ชี้แจงว่า การเพิ่มมาตรา ๘๕ (๕) นั้น ไม่สอดคล้องกับชื่อส่วนที่ ๙ และมีบัญญัติไว้ในมาตรา ๘๓ (๑๓) แล้ว ดังนั้นกรรมาธิการฯ จึงขอยืน ตามร่างฯ
ที่ประชุมฯ เห็นชอบ
ส่วนที่ ๑๐ แนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๘๖ (๑) (๒) ไม่มีการแก้ไข และไม่มีผู้ขอแปรญัตติ สมาชิกฯ อภิปราย
เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนกันอย่างกว้างขวาง โดยแปรญัตติเพิ่มคำว่า “หญิงและชายอย่างเท่าเทียมกัน” และใน (๓) กรรมาธิการขอยืนตามร่างฯ และชี้แจงว่า การมีส่วนร่วมของประชาชน อย่างเป็นทางการนั้นมีกฎหมายหลายฉบับที่กำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วมอยู่แล้ว
กรรมาธิการยกร่างฯ ขอเพิ่มเป็น (๗) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนทั้งหญิงและชายให้มีโอกาสหรือบทบาทให้ใกล้เคียงหรือเท่าเทียมกัน ซึ่งถือว่าครอบคลุมทุกเรื่อง
(๔) (๕) ไม่มีการแก้ไข สำหรับ (๖) มีสมาชิกฯ ขอแปรญัตติว่า “ส่งเสริมให้ประชาชนได้ใช้สิทธิเลือกตั้งในพื้นที่ที่อยู่อาศัยหรือประกอบอาชีพอยู่”
กรรมาธิการยกร่างฯ ชี้แจงว่า ตามร่างฯ นั้น ครอบคลุมแล้ว และจะขอรับข้อสังเกตนี้ไปพิจารณาในการออกกฎหมายลูก
ที่ประชุมฯ เห็นชอบ
สมาชิกฯ หารือที่ประชุมขอให้พิจารณามาตรา ๗๗ (๑๐) (๑๑) ที่ได้แขวนไว้ ซึ่งเป็นการให้สวัสดิการดูแลการดำรงชีพของเจ้าหน้าที่รัฐ และผลของการหารือกับกรรมาธิการยกร่างฯ ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมลงในมาตรา ๘๓ (๒) เรื่องการออมในยามชราภาพ สำหรับประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ และจะยุบรวม (๑๐) (๑๑) เหลือวงเล็บเดียว รัฐต้องดำเนินการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับสิทธิประโยชน์อย่างเหมาะสม ซึ่งถือว่าครบตามที่สมาชิกฯ ขอแปรญัตติ
ที่ประชุมฯ เห็นชอบ
หมวด ๖ รัฐสภา
สมาชิกฯ หารือที่ประชุมฯ ขอให้เลื่อนการพิจารณาในหมวดรัฐสภาไปประชุมครั้งต่อไป เพราะถือว่าเป็นหมวดใหญ่และมีความสำคัญมาก
ที่ประชุมฯ เห็นชอบ
ปิดประชุมเวลา ๒๑.๔๗ นาฬิกา
--------------------------------------------------
วันอังคารที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๐
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๒๘/๒๕๕๐ วันอังคารที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๐ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๐๙.๕๐ นาฬิกา โดยมีนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานการประชุม เมื่อครบองค์ประชุมประธานฯ ได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
๑. เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม
ประธานฯ ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า ในวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๐ จะหยุดพักการประชุม ๑ วัน เนื่องจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะมีการประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องด่วน คือ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศ คปค. ฉบับที่ ๑๕ เรื่อง การห้ามพรรคการเมืองชุมนุมหรือดำเนินกิจกรรมทาง การเมือง ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมรับทราบ
๒. รับรองรายงานการประชุม ไม่มี
๓. เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
- ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาเสร็จแล้ว
โดยเริ่มพิจารณาในหมวดที่ ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนที่ ๗ แนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ มาตรา ๘๓ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ ที่ประชุมฯ พิจารณา เรียงตามอนุมาตรา (๑) - (๙) ซึ่งสมาชิกฯ อภิปรายกันอย่างกว้างขวางในเรื่องของการใช้ถ้อยคำ เพื่อให้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น
สำหรับ (๑) สนับสนุนระบบเศรษฐกิจเสรีนั้น สมาชิกฯ ได้ขอเพิ่มคำว่า “และเป็นธรรม” เข้าไป ซึ่งกรรมาธิการยกร่างฯ ไม่ขัดข้อง และยังรับไปปรับถ้อยคำอื่น ๆ ให้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น ใน (๒) (๓) (๔) ไม่มีการแก้ไข นอกจากนี้ที่ประชุมฯ ยังได้เห็นชอบใน (๕) จัดให้มีการออมเพื่อการดำรงชีพในยามชราแก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างทั่วถึง และ (๖) กำกับให้การประกอบกิจการมีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม ป้องกันการผูกขาดตัดตอน ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมและคุ้มครองผู้บริโภค (๗ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม และคุ้มครองการส่งเสริมการประกอบอาชีพของประชาชน เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ขยายโอกาสในการประกอบอาชีพ รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุน ภูมิปัญญาท้องถิ่น และภูมิปัญญาไทย เพื่อใช้ในการผลิตสินค้า บริการ และการประกอบอาชีพ สำหรับ (๘) การคุ้มครองผู้ทำงาน สมาชิกฯ ส่วนใหญ่ห่วงในถ้อยคำว่า “เท่าเทียมกัน” จะทำให้เกิดปัญหา ในทางปฏิบัติ ซึ่งกรรมาธิการยกร่างฯ ได้ขอเปลี่ยนจาก “เท่าเทียมกัน” เป็น “มีคุณค่าอย่างเดียวกัน” ได้รับค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ และสวัสดิการที่เป็นธรรม โดยไม่เลือกปฏิบัติ
ที่ประชุมฯ มีมติเห็นชอบตามกรรมาธิการยกร่างฯ ด้วยคะแนน ๕๓ ต่อ ๒๑ เสียง และที่ประชุมฯ เห็นชอบใน (๙) เกี่ยวกับการรวมกลุ่มของเกษตรกรโดยการจัดตั้งสภาเกษตรกร เพื่อวางแผน การเกษตรและรักษาผลประโยชน์ร่วมกันของเกษตรกร
ประธานฯ สั่งพักการประชุม
เวลา ๑๓.๐๕ นาฬิกา เริ่มประชุมในภาคบ่าย พิจารณาต่อใน (๑๐) ส่งเสริมและสนับสนุนระบบสหกรณ์
สมาชิกฯ มีความห่วงใยถึงระบบบริหารจัดการสหกรณ์ไทยในอดีตนั้น ยังไม่ดีเท่าที่ควร จึงเห็นควรให้รัฐมีการพัฒนาระบบสหกรณ์และหน่วยงานอิสระเพื่อส่งเสริม สนับสนุน ระบบสหกรณ์ ที่ไม่ถูกแทรกแซงจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรรมาธิการยกร่างฯ ชี้แจงว่า นอกจากส่งเสริมและคุ้มครองระบบสหกรณ์แล้วนั้น ยังมีการสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มของประชาชนในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจ ซึ่งสหกรณ์ดำเนินการเป็นอิสระโดยตัวของสหกรณ์เองอยู่แล้ว หากกำหนดให้มีหน่วยงานอิสระขึ้นมาส่งเสริม สนับสนุน ก็จะเป็นการเข้าไปแทรกแซง
ที่ประชุมฯ มีมติเห็นชอบตามกรรมาธิการยกร่างฯ ด้วยคะแนน ๓๕ ต่อ ๒๓
สำหรับ (๑๑) นั้น ที่ประชุมฯ เห็นพ้องกับกรรมาธิการยกร่างฯ จัดให้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชน และจะต้องไม่ให้สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชน อยู่ในความผูกขาดของภาคเอกชน
ใน (๑๒) กรรมาธิการยกร่างฯ เห็นด้วยกับผู้ขอแปรญัตติที่ให้มีการส่งเสริม สนับสนุนการขนส่งทางราง รวมทั้งการดำเนินการตามระบบบริหารจัดการขนส่งทั้งภายในและระหว่างประเทศ การขนส่งทางน้ำและการพาณิชย์นาวี
ที่ประชุมฯ เห็นชอบ
สมาชิกฯ ขอแปรญัตติเพิ่มอนุมาตรา (๑๓) ส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรภาคเอกชนทางเศรษฐกิจ ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็ง”
ที่ประชุมฯ เห็นชอบ
สมาชิกฯ ขอแปรญัตติเพิ่มอนุมาตรา (๑๔) สนับสนุนให้มีการตรากฎหมายด้านการเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งประกอบด้วยสาระสำคัญ เช่น รัฐต้องจัดหาพื้นที่เพื่อกำหนดให้มีการปลูกพืชที่เหมาะสมกับดิน ฟ้า อากาศของประเทศ ต้องจัดสินเชื่อเพื่อการเกษตรให้เพียงพอในการลงทุน จัดผู้เชี่ยวชาญ การเกษตรสาขาต่าง ๆ เพื่อให้คำแนะนำที่ถูกต้อง รวมทั้งจัดหาตลาดรองรับผลผลิตทางการเกษตรและเมื่อมีภัยธรรมชาติที่เป็นอุปสรรคต่อการผลิต รัฐต้องให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน และเพียงพอต่อ การแก้ไขปัญหา
กรรมาธิการยกร่างฯ ชี้แจงถึงกฎหมายด้านการเกษตรและสหกรณ์ มีตราไว้ในมาตรา อื่น ๆ ซึ่งถือว่าครอบคลุมแล้ว
ที่ประชุมฯ มีมติเห็นชอบตามผู้ขอแปรญัตติด้วยคะแนน ๓๔ ต่อ ๓๓ เสียง งดออกเสียง ๑ เสียง
สมาชิกฯ ขอให้ที่ประชุมฯ พิจารณามาตรา ๗๙ (๓) - (๖) ที่ถูกแขวนไว้วานนี้ (๑๘ มิ.ย. ๕๐) โดยเริ่มจาก (๓) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุก รูปแบบให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ เพื่อพัฒนาการศึกษา จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก รวมทั้งการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกถึงความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมและยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข
ที่ประชุมฯ เห็นชอบ
ใน ๗๙ (๔) ส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจเพื่อให้องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น ชุมชน องค์กรศาสนา และเอกชน จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนา มาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมกันและสอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐ
สำหรับ (๕) คงเดิม
มาตรา ๗๙ (๖) ส่งเสริมและสนับสนุนความรู้รักสามัคคี การเรียนรู้ ปลูกจิตสำนึกและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนค่านิยมที่ดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่น ของไทย
กรรมาธิการยกร่างฯ ไม่ขัดข้อง และให้มีกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาล ในมาตรา ๒๙๓ (๑) หัวข้อ ค. ดังนี้ กฎหมายเพื่อการพัฒนาการศึกษาของชาติตามมาตรา ๗๙ โดยส่งเสริมการศึกษาในระบบการศึกษานอกโรงเรียน การศึกษาตามอัธยาศัย การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ตลอดชีวิต วิทยาลัยชุมชนหรือรูปแบบอื่น รวมทั้งปรับปรุงกฎหมายเพื่อกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบการจัดการ
ศึกษาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับระบบการศึกษาภายใน ๑ ปี นับตั้งแต่วันที่แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ตามมาตรา ๑๗๒
ที่ประชุมฯ เห็นชอบตามกรรมาธิการยกร่างฯ ด้วยคะแนน ๓๔ ต่อ ๒๖ เสียง งดออกเสียง ๕ เสียง
ประธานฯ สั่งพักการประชุม
เวลา ๑๘.๓๐ นาฬิกา หลังพักการประชุม ที่ประชุมฯ เริ่มพิจารณาในส่วนที่ ๘ แนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๘๔ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สมาชิกฯ ส่วนใหญ่อภิปรายถึงรัฐต้องกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ที่ดิน โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของพื้นที่นั้น ๆ ตามหลักวิชาการให้ครอบคลุมทั่วประเทศทั้งผืนดินผืนน้ำ โดยสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ และกำหนดมาตรฐานการใช้อย่างยั่งยืนด้วยการให้ประชาชนในพื้นที่ที่มีผลกระทบต่อนโยบายการใช้ที่ดินนั้นร่วมในการตัดสินใจด้วย รวมทั้งให้มีการวางผังเมือง พัฒนา และดำเนินการตามผังเมืองอย่างมี ประสิทธิภาพ
ที่ประชุมฯ มีมติเห็นชอบตามกรรมาธิการยกร่างฯ
ส่วนที่ ๙ แนวนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ ทรัพย์สินทางปัญญาและพลังงาน ไม่มี การแก้ไข
มาตรา ๘๕ (๑) สมาชิกฯ ขอเพิ่มสภาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ
ซึ่งกรรมาธิการยกร่างฯ ชี้แจงว่า มีกระทรวง สภาวิจัย สถาบันพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทย ดูแลรับผิดชอบอยู่แล้ว จึงขอยืนตามร่างฯ ของกรรมาธิการยกร่างฯ
มาตรา ๘๕ (๒) ส่งเสริมการประดิษฐ์หรือการค้นคิดเพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ รักษาและ
พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย รวมทั้งให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
ที่ประชุมฯ เห็นชอบ
มาตรา ๘๕ (๓) กรรมาธิการยกร่างฯ นำไปเติมไว้ในมาตรา ๘๕ (๑) แล้ว ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
มาตรา ๘๕ (๔) คงเดิม
มาตรา ๘๕ (๕) สมาชิกฯ ขอแปรญัตติเป็น “ส่งเสริมให้ธุรกิจเอกชนสามารถแข่งขัน
กับนานาประเทศในเวทีการค้าโลก” ซึ่งกรรมาธิการยกร่างฯ ชี้แจงว่า การเพิ่มมาตรา ๘๕ (๕) นั้น ไม่สอดคล้องกับชื่อส่วนที่ ๙ และมีบัญญัติไว้ในมาตรา ๘๓ (๑๓) แล้ว ดังนั้นกรรมาธิการฯ จึงขอยืน ตามร่างฯ
ที่ประชุมฯ เห็นชอบ
ส่วนที่ ๑๐ แนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๘๖ (๑) (๒) ไม่มีการแก้ไข และไม่มีผู้ขอแปรญัตติ สมาชิกฯ อภิปราย
เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนกันอย่างกว้างขวาง โดยแปรญัตติเพิ่มคำว่า “หญิงและชายอย่างเท่าเทียมกัน” และใน (๓) กรรมาธิการขอยืนตามร่างฯ และชี้แจงว่า การมีส่วนร่วมของประชาชน อย่างเป็นทางการนั้นมีกฎหมายหลายฉบับที่กำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วมอยู่แล้ว
กรรมาธิการยกร่างฯ ขอเพิ่มเป็น (๗) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนทั้งหญิงและชายให้มีโอกาสหรือบทบาทให้ใกล้เคียงหรือเท่าเทียมกัน ซึ่งถือว่าครอบคลุมทุกเรื่อง
(๔) (๕) ไม่มีการแก้ไข สำหรับ (๖) มีสมาชิกฯ ขอแปรญัตติว่า “ส่งเสริมให้ประชาชนได้ใช้สิทธิเลือกตั้งในพื้นที่ที่อยู่อาศัยหรือประกอบอาชีพอยู่”
กรรมาธิการยกร่างฯ ชี้แจงว่า ตามร่างฯ นั้น ครอบคลุมแล้ว และจะขอรับข้อสังเกตนี้ไปพิจารณาในการออกกฎหมายลูก
ที่ประชุมฯ เห็นชอบ
สมาชิกฯ หารือที่ประชุมขอให้พิจารณามาตรา ๗๗ (๑๐) (๑๑) ที่ได้แขวนไว้ ซึ่งเป็นการให้สวัสดิการดูแลการดำรงชีพของเจ้าหน้าที่รัฐ และผลของการหารือกับกรรมาธิการยกร่างฯ ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมลงในมาตรา ๘๓ (๒) เรื่องการออมในยามชราภาพ สำหรับประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ และจะยุบรวม (๑๐) (๑๑) เหลือวงเล็บเดียว รัฐต้องดำเนินการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับสิทธิประโยชน์อย่างเหมาะสม ซึ่งถือว่าครบตามที่สมาชิกฯ ขอแปรญัตติ
ที่ประชุมฯ เห็นชอบ
หมวด ๖ รัฐสภา
สมาชิกฯ หารือที่ประชุมฯ ขอให้เลื่อนการพิจารณาในหมวดรัฐสภาไปประชุมครั้งต่อไป เพราะถือว่าเป็นหมวดใหญ่และมีความสำคัญมาก
ที่ประชุมฯ เห็นชอบ
ปิดประชุมเวลา ๒๑.๔๗ นาฬิกา
--------------------------------------------------