ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ระบุการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายพิจารณาจากภาพรวมเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยในการแถลงข่าวด่วนที่ ธปท.วันที่ 10 ก.ค.50 เกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อลดการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศ
ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 18 ก.ค.ว่า ขณะนี้ยังไม่เห็นความสัมพันธ์ที่ชัดเจนว่าหากมีการปรับลด
อัตราดอกเบี้ยลงแล้วเงินจะไหลเข้าลดลงหรือไม่ เห็นได้จากการที่ ธปท.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 2.5% ตั้งแต่ต้นปี 50 ก็ไม่ได้ทำให้
เงินบาทอ่อนค่าลง แต่กลับแข็งค่าขึ้นเนื่องจากมาตรการกันสำรอง 30% สะท้อนว่าอัตราดอกเบี้ยไม่ได้สัมพันธ์กับอัตราแลกเปลี่ยนเช่นที่ผ่านมา
เนื่องจากมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง และนโยบายอัตราดอกเบี้ยของ กนง.จะพิจารณาจากภาพรวมเศรษฐกิจและเงินเฟ้อเป็นหลัก ดังนั้น การปรับลด
อัตราดอกเบี้ยจะพิจารณาว่าส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัวดีขึ้นมากน้อยเพียงใด (ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท.ระบุการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่คึกคักมากเนื่องจากเงินทุนต่างชาติไหลเข้า รายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย วันที่ 10 ก.ค.50 เปิดเผยว่า การลงทุนยังคงคึกคัก จากเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติที่ไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เพราะ
ไม่มีปัจจัยลบในประเทศเข้ามากดดัน โดยระหว่างวันดัชนีปรับขึ้นไปสูงสุดที่ระดับ 858.58 จุด ต่ำสุดที่ระดับ 837.98 จุด ปิดที่ระดับ 858.45 จุด
เพิ่มขึ้น 14.26 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 39,943.62 ล.บาท ด้านผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยว่า เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นแตะ 33.47 บาทต่อดอลลาร์
สรอ. ไม่ได้เป็นผลจากการที่ ธปท.อนุญาตให้ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (นอน-เรสซิเดนท์) กู้ยืมเงินบาทจากตลาดซื้อขายเงินบาทในประเทศ
(ออนชอร์) เพื่อปิดภาระป้องกันความเสี่ยง (Hedging) ในตลาดซื้อขายเงินบาทในต่างประเทศ (ออฟชอร์) เนื่องจากกรณีดังกล่าวจะมีผล
ตั้งแต่วันที่ 16 ก.ค.-17 ส.ค. นอกจากนี้ การอนุญาตให้กู้เงินบาทดังกล่าวจะไม่กดดันค่าเงินบาททั้งในช่วงนี้และในช่วงที่มีการทำธุรกรรมจริง
เพราะ ธปท.ได้กำหนดให้ต้องทำทั้งด้านซื้อและขายไปพร้อมกัน สำหรับสาเหตุที่ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นนั้น มาจากเงินที่ไหลเข้ามาลงทุนใน
ตลาดหุ้น ซึ่ง ธปท.เข้าช่วยดูแลบ้างแล้วในขณะนี้ แต่ก็ยังคงมีความผันผวนอยู่ เพราะมีเงินไหลเข้าในมากทั้งภูมิภาค โดยตั้งแต่ต้นปี 50 จนถึง
วันที่ 6 ก.ค.ที่ผ่านมา มีเงินไหลเข้ามาแล้ว 22,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือประมาณ 748,000 ล.บาท โดยในส่วนของประเทศไทย
เฉพาะในตลาดหุ้น มีนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิแล้วกว่า 120,000 ล.บาท ตั้งแต่ช่วงต้นปีถึงวันที่ 9 ก.ค.ที่ผ่านมา ดังนั้น นักลงทุนควรระมัดระวัง
เพราะเงินที่เข้ามาในตลาดหุ้นมีทั้งเพื่อเก็งกำไรและลงทุน (ข่าวสด, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
3. การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในเดือน พ.ค.50 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า รายงายข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยถึงความเคลื่อนไหวของธุรกิจบัตรเครดิตในเดือน พ.ค.50 ว่า การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าทุกประเภท ขณะที่
จำนวนบัตรเติบโตขึ้นเล็กน้อย โดยผู้ประกอบการทั้งระบบออกบัตรเครดิตจำนวนทั้งสิ้น 11,181,014 บัญชี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.49% เท่านั้น
ขณะที่ปริมาณการใช้จ่ายรวมทุกประเภทผ่านบัตรมีจำนวน 66,543 ล.บาท ลดลง 2.64% โดยเป็นการใช้จ่ายผ่านบัตรของ ธพ. ลดลง 6.05%
สาขาธนาคารต่างประเทศลดลง 0.37% ส่วนผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่ ธพ. (นอนแบงก์) เพิ่มขึ้น 2.4% ทั้งนี้ หากพิจารณาตามประเภทการ
ใช้จ่ายพบว่า การใช้จ่ายในประเทศผ่านบัตรเครดิตลดลง 1.82% ขณะที่ปริมาณการใช้จ่ายในต่างประเทศผ่านบัตรเครดิตลดลง 13.93%
ส่วนการเบิกเงินสดล่วงหน้าผ่านบัตรเครดิตลดลง 2.85% นอกจากนี้ ในด้านยอดสินเชื่อคงค้างบัตรเครดิตมีจำนวนปรับลดลงเช่นกัน ซึ่งสะท้อน
ถึงความระมัดระวังการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่มีมากขึ้น โดยยอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิตมีจำนวน 168,637 ล.บาทลดลง 0.65% โดยยอด
คงค้างของสาขาธนาคารต่างประเทศลดลงมากที่สุด 1.46% นอนแบงก์ลดลง 0.81% และ ธพ.เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.05% (มติชน, ไทยโพสต์)
4. ปตท.ปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซลครั้งแรกในรอบ 2 เดือน และราคาสูงสุดในรอบ 9 เดือน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท
ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปตท.ประกาศปรับขึ้นราคาดีเซล 40 สตางค์/ลิตร มีผลเวลา 05.00 น.วันที่ 11 ก.ค. ส่งผลให้
ราคาดีเซลในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นดังนี้คือ ดีเซล 25.74 บาท/ลิตร ไบโอดีเซลอยู่ที่ 25.04 บาท/ลิตร แต่จะยังไม่ปรับราคา
น้ำมันเบนซิน ทั้งนี้ เป็นการปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซลครั้งแรกในรอบ 2 เดือน และราคาครั้งนี้เป็นราคาสูงสุดในรอบ 9 เดือน (ข่าวสด,
ไทยโพสต์, ผู้จัดการรายวัน)
5. ผลการสำรวจคาดว่าการส่งออกของไทยในปี 50 จะขยายตัว 12.10% ผอ.ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ
ม.หอการค้าไทย เปิดเผยผลการสำรวจและคาดการณ์ภาวะส่งออกและนำเข้าไตรมาส 3 และสถานการณ์การส่งออกตลาดทั้งปี 50 ว่า ได้
ประเมินและหารือร่วมกับผู้ส่งออกสินค้าไทยในหลายกลุ่มพบว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันคือ ความผันผวน
จากอัตราแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแงค่าต่อเนื่อง แต่หากพิจารณาในแง่ปริมาณการส่งออกของไทยถือว่ายังดีอยู่ เนื่องจาก
มีปัจจัยบวกหลายประการ ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าการส่งออกไตรมาส 3 จะมีมูลค่าส่งออก 38,252 ล.ดอลลาร์ สรอ. ขยายตัว 9.10% เมื่อ
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่ชะลอตัวลงจากเดิมที่ขยายตัวที่ 19.69% ในไตรมาส 2 สำหรับการส่งออกเฉลี่ยทั้งปีจะไม่มูลค่าไม่
ต่ำกว่า 145,668 ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือมีอัตราการขยายตัว 12.10% (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สินค้าคงคลังของผู้ค้าส่งใน สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือน พ.ค.50 สูงกว่าที่คาดไว้ ในขณะที่ยอดขายร้านค้าปลีกลดลง
รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 10 ก.ค.50 สินค้าคงคลังของผู้ค้าส่งใน สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือน พ.ค.50 สูงกว่าที่คาดไว้ ทั้งนี้
คาดว่าเป็นผลมาจากการเพิ่มระดับสินค้าคงคลังของผู้ค้าส่งหลังจากอัตราส่วนสินค้าคงคลังต่อยอดขายซึ่งแสดงระยะเวลาที่สินค้าคงคลังจะถูก
ขายหมดไป ณ ระดับความเร็วในการขายในปัจจุบัน โดยอัตราส่วนดังกล่าวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันมาอยู่ในระดับต่ำสุดเป็น
ประวัติการณ์ที่ 1.11 เดือนในเดือน พ.ค.50 ในขณะที่ยอดขายของร้านค้าปลีกเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากร้อยละ 1.2 ต่อปีในสัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าเป็นผลจากผู้บริโภคลดการใช้จ่ายจาก
ผลกระทบของราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ในขณะที่ราคาบ้านชะลอตัวลง (รอยเตอร์)
2. ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน พ.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.1 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 11ก.ค. 50 รัฐบาลญี่ปุ่น
เปิดเผยว่า ในเดือน พ.ค. ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ที่ระดับ 2.1336 ล้าน ล้าน เยน (17.6 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.) หรือเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 31.1 จากระยะเดียวกันปีที่แล้ว มากกว่าผลการสำรวจโดยรอยเตอร์ที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นว่าจะเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเพียง
ร้อยละ 21.7 อยู่ที่ระดับ 1.9801 ล้าน ล้าน เยน โดยดุลการค้าเกินดุลเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 อยู่ที่ 490.4 พัน ล. เยน ส่วนดุลรายได้
เกินดุลเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 36.6 เนื่องจากมีรายได้จากการลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัด
อย่างต่อเนื่องสาเหตุจากการเกินดุลรายได้เป็นส่วนใหญ่ (รอยเตอร์)
3. ผลการเจรจาขอขึ้นค่าแรงในเยอรมนีในช่วงครึ่งแรกปี 50 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3.7 รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 10 ก.ค.50
ผลการเจรจาขอขึ้นค่าแรงในเยอรมนีในช่วงครึ่งแรกปี 50 ทำให้ค่าแรงเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3.7 ทั้งนี้ ค่าแรงในเยอรมนีไม่ได้ถูกปรับเพิ่มมา
เป็นเวลานานซึ่งส่งผลให้ค่าแรงจริงหลังปรับตัวเลขด้วยอัตราเงินเฟ้อลดลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมาอันเป็นผลจากสหภาพแรงงานหลายแห่งต้องการ
ความมั่นคงของงานมากกว่าการขึ้นค่าแรง แต่เศรษฐกิจที่ขยายตัวในอัตราสูงสุดในรอบ 6 ปีเมื่อปีที่ผ่านมา เปิดโอกาสให้มีการเจรจาขอเพิ่ม
ค่าแรงในหลายภาคธุรกิจ ทั้งนี้ ตัวเลขค่าแรงเฉลี่ยร้อยละ 3.7 ดังกล่าวยังไม่รวมการขึ้นค่าแรงอีกร้อยละ 4.5 ของคนงานรถไฟ Deutsche
Bahn ที่เพิ่งตกลงกันได้เมื่อวันที่ 9 ก.ค.50 ที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางเกาหลีใต้ปรับเพิ่มประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 50 ขยายตัวร้อยละ 4.5 รายงานจากโซล เมื่อ 10 ก.ค.50
ธ.กลางเกาหลีใต้ เปิดเผยประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ปี 50 ว่าจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.5 สูงกว่าที่ประมาณการเบื้องต้น
ก่อนหน้านี้เล็กน้อยว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.4 เนื่องจากมีการลงทุนด้านเครื่องจักรของภาคเอกชนสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังมีมุมมองด้านบวกที่สนับสนุน
การเติบโตทางเศรษฐกิจของปีนี้ คือ ดัชนีตลาดหุ้นในกรุงโซลปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้เงินวอนแข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์กล่าวแสดง
ความเห็นว่า ขณะที่ ธ.กลางมีมุมมองทางเศรษฐกิจที่เป็นบวกอยู่มาก อาจกระตุ้นให้ ธ.กลางปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงสุดในรอบ 6 ปี
ในการประชุมวันพฤหัสบดีที่จะถึงนี้ โดยจากผลสำรวจนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่โดยรอยเตอร์คาดการณ์ว่า ธ.กลางจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
มาอยู่ที่ร้อยละ 4.75 หลังจากที่คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิม (ร้อยละ 4.50) ติดต่อกันมาถึง 10 เดือน ทั้งนี้ ธ.กลางปรับประมาณการ
เงินเฟ้อในปี 50 อยู่ที่ร้อยละ 2.4 จากที่ประมาณการไว้ในเดือน ธ.ค.49 ที่ร้อยละ 2.6 เทียบกับปี 49 ที่อยู่ที่ร้อยละ 2.2 อย่างไรก็ตาม
แม้ ธ.กลางจะปรับเป้าหมายภาวะเงินเฟ้อให้ชะลอลงในครึ่งแรกของปีนี้ แต่ภาวะกดดันด้านเงินเฟ้อจะยังคงมีต่อไปจนถึงสิ้นปี 50 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 11 ก.ค. 50 10 ก.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.565 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.3667/33.6949 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.66406 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 858.45/39.94 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,450/10,550 10,450/10,550 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 70.44 69.60 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 30.39*/25.74** 30.39*/25.34 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 7 ก.ค. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 11 ก.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ระบุการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายพิจารณาจากภาพรวมเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยในการแถลงข่าวด่วนที่ ธปท.วันที่ 10 ก.ค.50 เกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อลดการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศ
ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 18 ก.ค.ว่า ขณะนี้ยังไม่เห็นความสัมพันธ์ที่ชัดเจนว่าหากมีการปรับลด
อัตราดอกเบี้ยลงแล้วเงินจะไหลเข้าลดลงหรือไม่ เห็นได้จากการที่ ธปท.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 2.5% ตั้งแต่ต้นปี 50 ก็ไม่ได้ทำให้
เงินบาทอ่อนค่าลง แต่กลับแข็งค่าขึ้นเนื่องจากมาตรการกันสำรอง 30% สะท้อนว่าอัตราดอกเบี้ยไม่ได้สัมพันธ์กับอัตราแลกเปลี่ยนเช่นที่ผ่านมา
เนื่องจากมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง และนโยบายอัตราดอกเบี้ยของ กนง.จะพิจารณาจากภาพรวมเศรษฐกิจและเงินเฟ้อเป็นหลัก ดังนั้น การปรับลด
อัตราดอกเบี้ยจะพิจารณาว่าส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัวดีขึ้นมากน้อยเพียงใด (ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท.ระบุการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่คึกคักมากเนื่องจากเงินทุนต่างชาติไหลเข้า รายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย วันที่ 10 ก.ค.50 เปิดเผยว่า การลงทุนยังคงคึกคัก จากเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติที่ไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เพราะ
ไม่มีปัจจัยลบในประเทศเข้ามากดดัน โดยระหว่างวันดัชนีปรับขึ้นไปสูงสุดที่ระดับ 858.58 จุด ต่ำสุดที่ระดับ 837.98 จุด ปิดที่ระดับ 858.45 จุด
เพิ่มขึ้น 14.26 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 39,943.62 ล.บาท ด้านผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยว่า เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นแตะ 33.47 บาทต่อดอลลาร์
สรอ. ไม่ได้เป็นผลจากการที่ ธปท.อนุญาตให้ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (นอน-เรสซิเดนท์) กู้ยืมเงินบาทจากตลาดซื้อขายเงินบาทในประเทศ
(ออนชอร์) เพื่อปิดภาระป้องกันความเสี่ยง (Hedging) ในตลาดซื้อขายเงินบาทในต่างประเทศ (ออฟชอร์) เนื่องจากกรณีดังกล่าวจะมีผล
ตั้งแต่วันที่ 16 ก.ค.-17 ส.ค. นอกจากนี้ การอนุญาตให้กู้เงินบาทดังกล่าวจะไม่กดดันค่าเงินบาททั้งในช่วงนี้และในช่วงที่มีการทำธุรกรรมจริง
เพราะ ธปท.ได้กำหนดให้ต้องทำทั้งด้านซื้อและขายไปพร้อมกัน สำหรับสาเหตุที่ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นนั้น มาจากเงินที่ไหลเข้ามาลงทุนใน
ตลาดหุ้น ซึ่ง ธปท.เข้าช่วยดูแลบ้างแล้วในขณะนี้ แต่ก็ยังคงมีความผันผวนอยู่ เพราะมีเงินไหลเข้าในมากทั้งภูมิภาค โดยตั้งแต่ต้นปี 50 จนถึง
วันที่ 6 ก.ค.ที่ผ่านมา มีเงินไหลเข้ามาแล้ว 22,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือประมาณ 748,000 ล.บาท โดยในส่วนของประเทศไทย
เฉพาะในตลาดหุ้น มีนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิแล้วกว่า 120,000 ล.บาท ตั้งแต่ช่วงต้นปีถึงวันที่ 9 ก.ค.ที่ผ่านมา ดังนั้น นักลงทุนควรระมัดระวัง
เพราะเงินที่เข้ามาในตลาดหุ้นมีทั้งเพื่อเก็งกำไรและลงทุน (ข่าวสด, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
3. การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในเดือน พ.ค.50 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า รายงายข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยถึงความเคลื่อนไหวของธุรกิจบัตรเครดิตในเดือน พ.ค.50 ว่า การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าทุกประเภท ขณะที่
จำนวนบัตรเติบโตขึ้นเล็กน้อย โดยผู้ประกอบการทั้งระบบออกบัตรเครดิตจำนวนทั้งสิ้น 11,181,014 บัญชี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.49% เท่านั้น
ขณะที่ปริมาณการใช้จ่ายรวมทุกประเภทผ่านบัตรมีจำนวน 66,543 ล.บาท ลดลง 2.64% โดยเป็นการใช้จ่ายผ่านบัตรของ ธพ. ลดลง 6.05%
สาขาธนาคารต่างประเทศลดลง 0.37% ส่วนผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่ ธพ. (นอนแบงก์) เพิ่มขึ้น 2.4% ทั้งนี้ หากพิจารณาตามประเภทการ
ใช้จ่ายพบว่า การใช้จ่ายในประเทศผ่านบัตรเครดิตลดลง 1.82% ขณะที่ปริมาณการใช้จ่ายในต่างประเทศผ่านบัตรเครดิตลดลง 13.93%
ส่วนการเบิกเงินสดล่วงหน้าผ่านบัตรเครดิตลดลง 2.85% นอกจากนี้ ในด้านยอดสินเชื่อคงค้างบัตรเครดิตมีจำนวนปรับลดลงเช่นกัน ซึ่งสะท้อน
ถึงความระมัดระวังการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่มีมากขึ้น โดยยอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิตมีจำนวน 168,637 ล.บาทลดลง 0.65% โดยยอด
คงค้างของสาขาธนาคารต่างประเทศลดลงมากที่สุด 1.46% นอนแบงก์ลดลง 0.81% และ ธพ.เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.05% (มติชน, ไทยโพสต์)
4. ปตท.ปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซลครั้งแรกในรอบ 2 เดือน และราคาสูงสุดในรอบ 9 เดือน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท
ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปตท.ประกาศปรับขึ้นราคาดีเซล 40 สตางค์/ลิตร มีผลเวลา 05.00 น.วันที่ 11 ก.ค. ส่งผลให้
ราคาดีเซลในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นดังนี้คือ ดีเซล 25.74 บาท/ลิตร ไบโอดีเซลอยู่ที่ 25.04 บาท/ลิตร แต่จะยังไม่ปรับราคา
น้ำมันเบนซิน ทั้งนี้ เป็นการปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซลครั้งแรกในรอบ 2 เดือน และราคาครั้งนี้เป็นราคาสูงสุดในรอบ 9 เดือน (ข่าวสด,
ไทยโพสต์, ผู้จัดการรายวัน)
5. ผลการสำรวจคาดว่าการส่งออกของไทยในปี 50 จะขยายตัว 12.10% ผอ.ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ
ม.หอการค้าไทย เปิดเผยผลการสำรวจและคาดการณ์ภาวะส่งออกและนำเข้าไตรมาส 3 และสถานการณ์การส่งออกตลาดทั้งปี 50 ว่า ได้
ประเมินและหารือร่วมกับผู้ส่งออกสินค้าไทยในหลายกลุ่มพบว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันคือ ความผันผวน
จากอัตราแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแงค่าต่อเนื่อง แต่หากพิจารณาในแง่ปริมาณการส่งออกของไทยถือว่ายังดีอยู่ เนื่องจาก
มีปัจจัยบวกหลายประการ ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าการส่งออกไตรมาส 3 จะมีมูลค่าส่งออก 38,252 ล.ดอลลาร์ สรอ. ขยายตัว 9.10% เมื่อ
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่ชะลอตัวลงจากเดิมที่ขยายตัวที่ 19.69% ในไตรมาส 2 สำหรับการส่งออกเฉลี่ยทั้งปีจะไม่มูลค่าไม่
ต่ำกว่า 145,668 ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือมีอัตราการขยายตัว 12.10% (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สินค้าคงคลังของผู้ค้าส่งใน สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือน พ.ค.50 สูงกว่าที่คาดไว้ ในขณะที่ยอดขายร้านค้าปลีกลดลง
รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 10 ก.ค.50 สินค้าคงคลังของผู้ค้าส่งใน สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือน พ.ค.50 สูงกว่าที่คาดไว้ ทั้งนี้
คาดว่าเป็นผลมาจากการเพิ่มระดับสินค้าคงคลังของผู้ค้าส่งหลังจากอัตราส่วนสินค้าคงคลังต่อยอดขายซึ่งแสดงระยะเวลาที่สินค้าคงคลังจะถูก
ขายหมดไป ณ ระดับความเร็วในการขายในปัจจุบัน โดยอัตราส่วนดังกล่าวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันมาอยู่ในระดับต่ำสุดเป็น
ประวัติการณ์ที่ 1.11 เดือนในเดือน พ.ค.50 ในขณะที่ยอดขายของร้านค้าปลีกเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากร้อยละ 1.2 ต่อปีในสัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าเป็นผลจากผู้บริโภคลดการใช้จ่ายจาก
ผลกระทบของราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ในขณะที่ราคาบ้านชะลอตัวลง (รอยเตอร์)
2. ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน พ.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.1 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 11ก.ค. 50 รัฐบาลญี่ปุ่น
เปิดเผยว่า ในเดือน พ.ค. ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ที่ระดับ 2.1336 ล้าน ล้าน เยน (17.6 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.) หรือเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 31.1 จากระยะเดียวกันปีที่แล้ว มากกว่าผลการสำรวจโดยรอยเตอร์ที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นว่าจะเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเพียง
ร้อยละ 21.7 อยู่ที่ระดับ 1.9801 ล้าน ล้าน เยน โดยดุลการค้าเกินดุลเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 อยู่ที่ 490.4 พัน ล. เยน ส่วนดุลรายได้
เกินดุลเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 36.6 เนื่องจากมีรายได้จากการลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัด
อย่างต่อเนื่องสาเหตุจากการเกินดุลรายได้เป็นส่วนใหญ่ (รอยเตอร์)
3. ผลการเจรจาขอขึ้นค่าแรงในเยอรมนีในช่วงครึ่งแรกปี 50 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3.7 รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 10 ก.ค.50
ผลการเจรจาขอขึ้นค่าแรงในเยอรมนีในช่วงครึ่งแรกปี 50 ทำให้ค่าแรงเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3.7 ทั้งนี้ ค่าแรงในเยอรมนีไม่ได้ถูกปรับเพิ่มมา
เป็นเวลานานซึ่งส่งผลให้ค่าแรงจริงหลังปรับตัวเลขด้วยอัตราเงินเฟ้อลดลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมาอันเป็นผลจากสหภาพแรงงานหลายแห่งต้องการ
ความมั่นคงของงานมากกว่าการขึ้นค่าแรง แต่เศรษฐกิจที่ขยายตัวในอัตราสูงสุดในรอบ 6 ปีเมื่อปีที่ผ่านมา เปิดโอกาสให้มีการเจรจาขอเพิ่ม
ค่าแรงในหลายภาคธุรกิจ ทั้งนี้ ตัวเลขค่าแรงเฉลี่ยร้อยละ 3.7 ดังกล่าวยังไม่รวมการขึ้นค่าแรงอีกร้อยละ 4.5 ของคนงานรถไฟ Deutsche
Bahn ที่เพิ่งตกลงกันได้เมื่อวันที่ 9 ก.ค.50 ที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางเกาหลีใต้ปรับเพิ่มประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 50 ขยายตัวร้อยละ 4.5 รายงานจากโซล เมื่อ 10 ก.ค.50
ธ.กลางเกาหลีใต้ เปิดเผยประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ปี 50 ว่าจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.5 สูงกว่าที่ประมาณการเบื้องต้น
ก่อนหน้านี้เล็กน้อยว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.4 เนื่องจากมีการลงทุนด้านเครื่องจักรของภาคเอกชนสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังมีมุมมองด้านบวกที่สนับสนุน
การเติบโตทางเศรษฐกิจของปีนี้ คือ ดัชนีตลาดหุ้นในกรุงโซลปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้เงินวอนแข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์กล่าวแสดง
ความเห็นว่า ขณะที่ ธ.กลางมีมุมมองทางเศรษฐกิจที่เป็นบวกอยู่มาก อาจกระตุ้นให้ ธ.กลางปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงสุดในรอบ 6 ปี
ในการประชุมวันพฤหัสบดีที่จะถึงนี้ โดยจากผลสำรวจนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่โดยรอยเตอร์คาดการณ์ว่า ธ.กลางจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
มาอยู่ที่ร้อยละ 4.75 หลังจากที่คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิม (ร้อยละ 4.50) ติดต่อกันมาถึง 10 เดือน ทั้งนี้ ธ.กลางปรับประมาณการ
เงินเฟ้อในปี 50 อยู่ที่ร้อยละ 2.4 จากที่ประมาณการไว้ในเดือน ธ.ค.49 ที่ร้อยละ 2.6 เทียบกับปี 49 ที่อยู่ที่ร้อยละ 2.2 อย่างไรก็ตาม
แม้ ธ.กลางจะปรับเป้าหมายภาวะเงินเฟ้อให้ชะลอลงในครึ่งแรกของปีนี้ แต่ภาวะกดดันด้านเงินเฟ้อจะยังคงมีต่อไปจนถึงสิ้นปี 50 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 11 ก.ค. 50 10 ก.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.565 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.3667/33.6949 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.66406 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 858.45/39.94 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,450/10,550 10,450/10,550 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 70.44 69.60 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 30.39*/25.74** 30.39*/25.34 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 7 ก.ค. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 11 ก.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--