คำต่อคำรายการตรงไปตรงมากับอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ทางสถานีวิทยุ 101 ช่วงเวลา 08.00 — 08.30 น.
วันศุกร์ที่ 9มีนาคม 2550
ผู้ดำเนินรายการ สวัสดีค่ะ/ครับ คุณอภิสิทธิ์คะ / ครับ
คุณอภิสิทธิ์ สวัสดีครับ
ผู้ดำเนินรายการ คงต้องขอคุยสองเรื่องใหญ่ๆในเวลานี้นะคะ เรื่องแรกคงเป็นเรื่องไอทีวี ปรากฎการณ์ที่สร้างความแตกต่างและแตกแยกของสื่อแขนงต่างๆมากมายนะคะคุณอภิสิทธิ์ แล้วก็มีเรื่องของการปรับ ครม. อยากจะฟังมุมมองคุณอภิสิทธิ์ 2 เรื่องนี้ล่ะค่ะวันนี้ค่ะ
คุณอภิสิทธิ์ เรื่องไอทีวีนะครับที่จริงแล้ว มันเป็นปัญหาที่สะสมยืดเยื้อมาระยะหนึ่งนะครับ สิ่งที่มันทำให้สับสนวุ่นวายมากขึ้นไปอีกในช่วงที่ผ่านมา ผมก็มองว่ามันมีปัญหาในการจัดการและก็การแสดงออกนะครับของฝ่ายต่างๆ เอาสาระสำคัญก่อน เพราะว่า บางทีคนก็มองข้ามไปนะครับ ก็คือว่าปัญหาทั้งหมดเกิดขึ้น ปัญหาเฉพาะหน้าในช่วงนี้ที่เกิดขึ้น ก็คือว่าบริษัทที่รับสัมปทานหรือได้รับการอนุญาตให้ไปทำทีวีเสรีคือไอทีวี เขาผิดสัญญานะครับ สรุปง่ายๆก็คือว่าไม่จ่ายค่าสัมปทานหรือค่าตอบแทนให้กับรัฐนะครับ ซึ่งอันนี้ไม่ใช่ที่เป็นแสนล้านไม่ใช่ตัวนี้นะครับ ตัวที่พูดถึงแสนล้านเป็นอีกเรื่องหนึ่ง คือ เป็นเรื่องค่าปรับ ที่บอกว่ามีการทำผิดสัญญาแล้วก็จะมีการโต้แย้งและมีการตัดนะครับ ตรงนั้นยังไม่ใช่จุดที่เป็นข้อยุติขึ้นสุดท้ายเสียทีเดียว เพราะฉะนั้นจริงๆแล้วปัญหาที่มันเกิดขึ้นก็คือการไม่ปฎิบัติตามสัญญของบริษัท
ทีนี้สิ่งที่มันแปลกก็คือว่า ในขณะที่การกระทำที่เป็นปัญหาตรงนี้เกิดขึ้นจากทางผู้บริหารของบริษัทนะครับ รวมทั้งจริงๆ แล้วก็คิดว่าเจ้าของบริษัทก็ต้องรับผิดชอบ ในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมาก็คือเราไม่ได้มีบทบาทหรือข่าวของผู้บริหารบริษัทเลยหรือเจ้าของเลยนะครับ มีข่าวก็คือว่ามีคุณบุญคลีลาออกไปก่อนหน้านี้และก็มีข่าววันนี้ว่าเทมาเส็กคิดจะขายหุ้นนะครับ ที่ผมต้องย้ำตรงนี้ก็เพราะว่าผมเห็นว่าปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น มีการทำให้พนักงานต้องไปขัดแย้งกับรัฐบาล สื่อกับสื่อขัดแย้งกันเอง แต่จริงๆ สิ่งที่สังคมจะต้องดูก็คือว่า ผู้บริหารและเจ้าของบริษัทไอทีวี ไม่มีความรับผิดชอบอะไรเลยนะครับ ทั้งๆที่จริงๆแล้วเขาเข้ามารับอนุญาตและประกอบการในกิจการซึ่งสำคัญมากและก็ในอดีตนั้นถือว่าเป็นสื่อของการที่จะปฎิรูปสื่อสารมวลชนนะครับ เพราะฉะนั้นอันนี้เป็นบทเรียนสำคัญเลยครับว่า ตอนที่มีการผลักดันเรื่องสื่อเสรีโดยเฉพาะทีวีเสรี เราไปคาดหวังว่าดึงสื่อออกมาจากภาครัฐนะครับ
เพราะเมื่อก่อนนี้จะบอกรัฐบาลหรือหน่วยงานราชการ จะแทรกแซงโทรทัศน์วิทยุได้มากที่สุด มาอยู่ในมือของเอกชนแล้ว ทุกอย่างจะเป็นไปได้ด้วยความราบรื่นนะครับ และเราก็จะเห็นประสบการณ์เองก็ปรากฎว่าพอเราได้เจ้าของที่เป็นเอกชน ที่มีผลประโยชน์ทางการเมืองเข้ามาด้วย โทรทัศน์เสรีก็เสียเจตนารมณ์ไปมากพอสมควรนะครับ ความจริงผมพูดก็ด้วยความเห็นใจทุกฝ่ายนะครับ แต่ก็ต้องย้ำว่าตอนที่มีการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นในครั้งนั้น ก็เกิดกรณีที่เรียกว่ากบฎไอทีวียังจำกันได้นะครับ ก็คือว่าเจ้าของมาแทรกแซงการทำงานของพนักงานของนักข่าวก็เกิดกรณีกบฎขึ้นนะครับ
หลังจากนั้นมาก็ต้องบอกครับว่า เจ้าของได้เข้ามาใช้อำนาจในการแทรกแซงในการนำเสนอข่าวสารจริงๆ แล้วก็เลวร้ายกว่านั้นก็คือว่าเจ้าของได้มาพยายามบิดเบือนเจตนารมณ์ของโทรทัศน์เสรีโดยมุ่งแสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจเป็นสำคัญ จนในที่สุดเจ้าของตรงนั้นก็มาขายหุ้นให้กับต่างชาตินะครับ คือขายหุ้นในบริษัทแม่ไปให้ต่างชาตินี้ เพราะฉะนั้นเป้าหมายสำคัญเลย สำคัญที่สุดเลยของสังคมก็คือต้องทำให้โทรทัศน์ช่องนี้กลับมาเป็นโทรทัศน์เสรี คือโทรทัศน์เพื่อสาธารณะนำเสนอข่าวสารนะครับแล้วก็ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับประชาชนเป็นหลักนะครับ โดยปราศจากการแทรกแซงทั้งจากรัฐและจากอำนาจทุน
ผมก็มองเห็นว่าเมื่อมันเกิดการผิดสัญญาขึ้น สิ่งที่รัฐบาลจำเป็นจะต้องทำก็คือว่าต้องแสดงเจตนาในว่าขณะนี้ เขาผิดสัญญาแล้วและก็จะบอกเลิกสัญญา แต่ขณะเดียวกันสิ่งที่ต้องยอมรับว่าเป็นความบกพร่องก็คือว่า รัฐบาลเองก็ทราบว่าวันที่ 6 มีนาที่ผ่านมานี้ จะเป็นวันที่การผิดสัญญาตามการยื้นคำขาดตามสัญญา มันจะเกิดขึ้น แต่กลับไม่ได้เตรียมการทุกอย่างทั้งในด้านข้อกฎหมาย ทั้งในด้านอื่นๆ เพื่อรองรับให้การเปลี่ยนแปลงแก้ไข มันไม่กระทบ ดังนั้นจริงๆผมไม่แปลกใจเลยว่าในที่สุดศาลปกครอง จึงได้มีคำสั่งว่าจำเป็นจะต้องให้มีการดำเนินการออกอากาศออกไปก่อน ซึ่งศาลปกครองนั้นไม่ได้ไปบอกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดถูกหรือผิดในแง่ข้อสัญญาในการที่คุ้มครอง แต่คุ้มครองประโยชน์ของสาธารณะ เพราะว่าบริการนี้เป็นบริการของสาธารณะนะครับ
เพราะนั้นจริงๆแล้วตั้งแต่แรกนั้นผมเองมีความเห็นว่า การจะแก้ปัญหาใดๆ ก็ตามนั้น ในช่วงเปลี่ยนผ่านต้องไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสาธารณะ สำหรับพนักงานเองนั้นก็อยากจะช่วยดูแลนะครับเท่าที่จะทำได้ แต่ที่สุดแล้วการเดินหน้าต่อไปนั้นก็จะต้องทำให้พนักงานมีความเข้าใจในเจตนารมณ์ของโทรทัศน์เสรีจริง ๆ เพราะฉะนั้นขณะนี้นั้น ผมคิดว่าสิ่งที่รัฐบาลยังจะต้องเดินต่อก็คือว่า ในฐานะที่เป็นคู่สัญญา เป็นเจ้าหนี้ จะต้องดำเนินการเข้าไปเจรจาหรือเรียกฝ่ายบริษัทเข้ามาเพื่อที่จะบอกว่าขณะนี้นั้น อำนาจในการบริหารจัดการต่างๆ รวมทั้งผลประโยชน์ต่างๆที่จะเกิดขึ้นจากการประกอบการ ซึ่งที่ผ่านมาไอทีวียัง ในแง่การประกอบการยังกำไรอยู่ ไม่นับในส่วนหนี้ ตรงนี้จะต้องตกมาเป็นของรัฐแล้ว แล้วรัฐก็จะดำเนินการบริหารในช่วงเปลี่ยนผ่านตรงนี้ก่อนที่จะมีการดำเนินการ จะเรียกว่าเปิดประมูลหรือหาเอกชนที่จะเข้ามาบริหารตามเจตนารมณ์ของโทรทัศน์เสรี
ส่วนพนักงานนั้นก็ต้องมีการมาซักซ้อมกันว่าบุคคลใดที่มีความรู้ความสามารถและพร้อมที่จะทำตามเจตนารมณ์โทรทัศน์เสรีนั้นก็เปิดโอกาสให้สามารถที่จะเสนอตัวเข้ามาทำงานต่อได้ ผมว่าแนวมันควรจะเป็นอย่างนี้ ส่วนสำหรับสาธารณชนนั้น มันไม่ควรจะเกิดกรณีจอมืด หรือเกิดกรณีที่ว่าสถานีโทรทัศน์ ถูกนำไปใช้เป็นซึ่งการนำเสนอข่าวตัวเองอย่างเดียว นี่คือสิ่งที่ผมมอง ฉะนั้นตรงนี้มันมีบทเรียนหลายบทเรียน ซึ่งทุกฝ่ายน่าจะต้องรัฐกลับไปทบทวน แต่ว่าที่สำคัญขณะนี้คือว่าเราจะปล่อยให้ผู้บริหารกับเจ้าของบริษัทนั้นปราศจากความรับผิดชอบนั้นไม่ได้
ผู้ดำเนินรายการ หมายถึงว่า มาลาออกไป แล้วก็บอกว่าลาออกแล้ว อย่างนี้ไม่ได้ใช้ไม๊คะ
คุณอภิสิทธิ์ ก็พูดง่ายๆนะครับ วันนี้ก็มีทนายมาบอกว่าไม่เกี่ยวข้องอะไร ขายหุ้นไปแล้วก็คือทำกำไรจากการฆาตกรรมโทรทัศน์เสรีไปแล้ว
ผู้ดำเนินรายการ ยังไงก็ต้องมาจ่าย 2 พันล้าน ซึ่งเป็นค่าสัมปทานก่อน
คุณอภิสิทธิ์ คือผลประโยชน์ตรงนี้ก็เป็นของรัฐนะครับ และต้องรักษาไว้อย่างเต็มที่ แต่ว่าสำคัญกว่านั้นก็คือว่า ต้องมีแผนที่จะเดินไปสู่การเป็นเสรีที่ชัดเจน โดยมีผลกระทบต่อบริการสาธารณะน้อยที่สุดครับ
ผู้ดำเนินรายการ คุณอภิสิทธิ์เป็นนักการเมืองย่อมต้องให้สัมภาษณ์สื่อต่างๆร่วมทั้งไอทีวีด้วย ทีนี้พื้นที่ของฝ่ายค้านที่น้อยมากในช่วงที่ไอทีวีอยู่ในยุคของชินคอร์ปนั้น อันนี้เป็นเพราะการแทรกแซงจริงๆหรือว่าเป็น Self sensor คือหมายความว่านักข่าว บรรณาธิการ อาจจะปลอดภัยไว้ก่อน
คุณอภิสิทธิ์ ปัญหาการแทรกแซงสื่อที่เกิดขึ้นจากอำนาจทางธุรกิจ ทางเอกชนนั้น มันเป็นเรื่องซึ่งในบางแง่มุมนั้นยากกว่าปัญหาการแทรกแซงสื่อโดยอำนาจรัฐ เหตุผลก็คือว่า พอเราเริ่มใช้ความเป็นเจ้าของนะครับ พอเราเริ่มเอาเรื่องปัจจัยทางธุรกิจเข้ามาเป็นตัวบีบ ถึงจุดหนึ่งนั้น คนทำงานจะบอกว่าเป็นความสมัครใจของเขาเอง ใช่ไม๊ครับ ในที่สุดนั้นเขาก็บอกว่า ก็คุณเป็นบรรณาธิการข่าวคุณก็มีสิทธิ์อยู่แล้วจะเสนอหรือไม่เสนอ แต่ว่าบรรณาธิการข่าวนั้นก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของความกลัวในเรื่องธุรกิจหรืออะไรก็แล้วแต่ เพื่อบอกว่า ถ้าอย่างนั้นไม่เสนอข่าว ฝ่ายค้านเสนอข่าวฝ่ายที่เขามีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกับผู้อำนาจ ซึ่งต้องยอมรับว่าในช่วงรัฐบาลทักษิณหรือว่าไปกระทบเจ้าของ ช่วงนั้นมีลักษณะของการไม่เสนอข่าวอีกแง่มุมจริงๆนะครับ พวกผมสัมผัสด้วยตัวเองก็พูดได้เต็มปากเต็มคำ
แต่ว่าทั้งหมดนี้ในที่สุดตัวผู้มีอำนาจเขาบอกก็เป็นเรื่องความสมัครใจใช่ไม๊ครับ เขาก็จะพูดได้ว่าเขาไม่ได้ไปสั่ง แต่ว่ามันเป็นเรื่องของคนทำงานเองในภาคเอกชนที่ตัดสินใจอย่างนั้น อันนี้คือสิ่งที่อันตรายที่สุดนะครับ ผมจึงได้เคยเสนอก่อนหน้านี้ว่า เราต้องให้คนที่ทำงานสื่อหลุดพ้นจากความกลัวนะครับ หลุดพ้นความกลัวจากอำนาจการแทรกแซงในทุกรูปแบบและผมก็คือเสนอมาว่า จริงๆแล้วนั้นรัฐบาลนี้จะต้องทำกฎหมายเรื่องการคุ้มครองผู้ประกอบวิชาชีพสื่อเสีย ไม่ว่าคนๆ นั้นจะอยู่ในภาครัฐหรือเอกชนนะครับ เพราะว่าเราจะไม่สามารถที่จะคาดหวังให้มีโทรทัศน์เสรีได้เลย ถ้าเรายังไม่มีการคุ้มครองตรงนี้นะครับ การที่จะไปคิดว่า ยึดกลับมาแล้วรัฐมาทำเองนั้นก็มีหลักประกันอะไรว่าดีกว่าการทำงานของสถานีโทรทัศน์ภาครัฐที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ จนกว่าเราจะมีการคุ้มครองวิชาชีพสื่อตรงนี้
ผู้ดำเนินรายการ ค่ะ ก็เรียนถามคุณอภิสิทธิ์แล้วกันว่าคุณอภิสิทธิ์ก็เคยเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ นะคะ งานของไอทีวีถ้าไปอยู่กับทางที่อยู่อย่างปัจจุบันนั้นนะคะ กรมประชาสัมพันธ์นะคะ คุณอภิสิทธิ์คิดว่ามันจะมีปัญหาอุปสรรคอะไรมากน้อยแค่ไหนแล้วจะไปทำให้กลิ่นไอของไอทีวีเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง
คุณอภิสิทธิ์ ผมยังคิดว่า ผมยังอยากเห็นเราพยายามผลักดันโทรทัศน์เพื่อสาธารณะใน 2 รูปแบบควบคู่กันไป อย่างกรณีของช่อง 11 ซึ่งอยู่การดำเนินการของกรมประชาสัมพันธ์โดยตรง ผมว่าน่าจะเดินหน้าไปในรูปแบบที่หลายคนก็ใฝ่ฝันมานาน อย่างเช่นกรณีของบีบีซี ว่ารัฐสนับสนุนและก็การดูแลเรื่องการเสนอข่าวสาร แต่ว่าต้องมีกฎหมายคุ้มครองคนทำหน้าที่ในวิชาชีพว่าไม่ใช่ว่าสื่อนี้เป็นของรัฐบาลโดยเฉพาะรัฐบาล ในลักษณะที่ฝักใฝ่กการเมือง
ส่วนกรณีไอทีวีนั้น ผมยังอยากเห็นการผลักดันการเป็นโทรทัศน์เสรีที่อยู่ในมือของเอกชน โดยเก็บเกี่ยวบทเรียนจากปัญหาไอทีวีที่เกิดขึ้นมา ทำยังไงไม่ให้เกิดการครอบงำ แล้วก็ทำอย่างไรที่จะทำให้ผู้ทำงาน ต้องหลุดพ้นจากอิทธิพลของเจ้าของ ซึ่งมีแรงจูงใจหรือผลประโยชน์ เข้ามาเป็นตัวครอบงำนะครับ ส่วนนั้นผมยังอยากเห็นว่าไอทีวีนั้นรัฐเข้ามาจัดการในลักษณะชั่วคราวก่อนที่จะหาทางกลับมาไปให้เอกชนเข้ามาทำโทรทัศน์เสรี
ผู้ดำเนินรายการ กรมประชาสัมพันธ์ควรจะมาปฎิบัติหน้าที่แค่ระดับหนึ่ง
คุณอภิสิทธิ์ ในระยะเวลาเท่าที่จำเป็นในช่วงเปลี่ยนผ่าน ส่วนช่อง 11 นั้นกรมประชาสัมพันธ์ ทำให้มันเป็นโทรทัศน์เพื่อสาธารณะในภาครัฐเต็มที่
ผู้ดำเนินรายการ อันนั้นเขาก็คงต้องทำต่อ ไปเป็น Public ทีวี ต่อไป ส่วนเรื่องการปรับ ครม.ละคะคุณอภิสิทธิ์ เพราะว่าก็ปรับเล็กนะคะ และก็มีปรับงานของรัฐมนตรีด้วย
คุณอภิสิทธิ์ ครับ ก่อนอื่นก็ต้องบอกว่า ท่านรัฐมนตรีฉลองภพ จะมีภาระหนักมากนะครับ แต่ก็มีความคาดหวังกับตัวท่านค่อนข้างสูง ผมคิดว่าความรู้ความสามารถของท่านเป็นที่ยอมรับ สิ่งที่ผมอยากเห็นก็คือว่า ความชัดเจนและก็ความเด็ดขาดนะครับ โดยเฉพาะในช่วง 1 สัปดาห์จากนี้ไป ถ้าเป็นไปได้ ถ้าท่านสามารถที่จะตัดสินใจร่วมกับหน่วยงานในเรื่องสำคัญ ๆ เช่น เรื่องการยกเลิกมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย เช่นเรื่องของการแสดงจุดยืนในเรื่องของกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวที่ชัดและไม่ขัดต่อเจตนารมณ์ที่ดี แต่ขณะเดียวกันปฎิบัติได้
ผมคิดว่ามันจะช่วยอย่างมากในการที่จะทำให้ความเชื่อมั่นกลับคืนมา แต่ว่าถ้าสิ่งนี้ไม่เกิดขึ้นเร็ว ผมก็เกรงว่า สถานการณ์มันเหมือนกับไหลลงไปเรื่อย ๆ เช่นเดียวกันที่ผมเคยเสนอไว้ในสัปดาห์ที่แล้วว่าปรับเล็กปรับใหญ่คงไม่ได้อยู่ที่ว่าจะปรับกี่ตำแหน่งเท่านั้น แต่ว่าสิ่งที่สำคัญก็คือว่ารูปแบบการทำงานและก็การสร้างความรู้สึกร่วมทั้งภายในคณะรัฐมนตรีเองกับความรู้สึกร่วมกับประชาชนหรือว่าทุกคนเข้าใจว่า อีกหกเจ็ดเดือนข้างหน้าอะไรจะเกิดขึ้น ผมยังอยากเห็นสิ่งนี้เกิดขึ้นอยู่ เพราะฉะนั้นข้อเสนอที่เคยพูดไว้เรื่องว่า อยากเห็นท่านนายกฯประชุมครม. นอกรอบกรณีพิเศษเพื่อทำสิ่งเหล่านี้นั้น ผมก็ยังยืนยันว่าน่าจะเป็นประโยชน์อยู่ เพื่อที่จะให้ความเชื่อมั่นในเรื่องต่างๆ กลับคืนมา
ปัญหาบางปัญหายังเป็นเรื่องซึ่งเร่งด่วนมากที่จะต้องจัดการนะครับ โดยเฉพาะปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งอันนี้ก็จะบอกว่า เป็นความรับผิดชอบของคมช.หรืออะไรคงจะไม่ได้ ผมคิดว่าวันนี้รัฐบาล ซึ่งความจริงท่านนายกฯ นั้นมีความตั้งใจในเรื่องนี้สูงอยู่แล้วนะครับ คงจะต้องมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นไปอีก ในการที่จะดำเนินการ เพราะว่าประชาชนในขณะนี้ในพื้นที่มีความรู้สึกว่าขาดที่พึ่ง เหมือนกับว่าไม่มีใครดูแลอยู่ ไม่มีความยุติธรรมในเรื่องของความปลอดภัย
ผู้ดำเนินรายการ เอาละครับ ขอบคุณมากนะครับคุณอภิสิทธิ์ครับ สำหรับเช้าวันนี้ / ขอบคุณค่ะ สวัสดีคะ
******************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 9 มี.ค. 2550--จบ--
ทางสถานีวิทยุ 101 ช่วงเวลา 08.00 — 08.30 น.
วันศุกร์ที่ 9มีนาคม 2550
ผู้ดำเนินรายการ สวัสดีค่ะ/ครับ คุณอภิสิทธิ์คะ / ครับ
คุณอภิสิทธิ์ สวัสดีครับ
ผู้ดำเนินรายการ คงต้องขอคุยสองเรื่องใหญ่ๆในเวลานี้นะคะ เรื่องแรกคงเป็นเรื่องไอทีวี ปรากฎการณ์ที่สร้างความแตกต่างและแตกแยกของสื่อแขนงต่างๆมากมายนะคะคุณอภิสิทธิ์ แล้วก็มีเรื่องของการปรับ ครม. อยากจะฟังมุมมองคุณอภิสิทธิ์ 2 เรื่องนี้ล่ะค่ะวันนี้ค่ะ
คุณอภิสิทธิ์ เรื่องไอทีวีนะครับที่จริงแล้ว มันเป็นปัญหาที่สะสมยืดเยื้อมาระยะหนึ่งนะครับ สิ่งที่มันทำให้สับสนวุ่นวายมากขึ้นไปอีกในช่วงที่ผ่านมา ผมก็มองว่ามันมีปัญหาในการจัดการและก็การแสดงออกนะครับของฝ่ายต่างๆ เอาสาระสำคัญก่อน เพราะว่า บางทีคนก็มองข้ามไปนะครับ ก็คือว่าปัญหาทั้งหมดเกิดขึ้น ปัญหาเฉพาะหน้าในช่วงนี้ที่เกิดขึ้น ก็คือว่าบริษัทที่รับสัมปทานหรือได้รับการอนุญาตให้ไปทำทีวีเสรีคือไอทีวี เขาผิดสัญญานะครับ สรุปง่ายๆก็คือว่าไม่จ่ายค่าสัมปทานหรือค่าตอบแทนให้กับรัฐนะครับ ซึ่งอันนี้ไม่ใช่ที่เป็นแสนล้านไม่ใช่ตัวนี้นะครับ ตัวที่พูดถึงแสนล้านเป็นอีกเรื่องหนึ่ง คือ เป็นเรื่องค่าปรับ ที่บอกว่ามีการทำผิดสัญญาแล้วก็จะมีการโต้แย้งและมีการตัดนะครับ ตรงนั้นยังไม่ใช่จุดที่เป็นข้อยุติขึ้นสุดท้ายเสียทีเดียว เพราะฉะนั้นจริงๆแล้วปัญหาที่มันเกิดขึ้นก็คือการไม่ปฎิบัติตามสัญญของบริษัท
ทีนี้สิ่งที่มันแปลกก็คือว่า ในขณะที่การกระทำที่เป็นปัญหาตรงนี้เกิดขึ้นจากทางผู้บริหารของบริษัทนะครับ รวมทั้งจริงๆ แล้วก็คิดว่าเจ้าของบริษัทก็ต้องรับผิดชอบ ในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมาก็คือเราไม่ได้มีบทบาทหรือข่าวของผู้บริหารบริษัทเลยหรือเจ้าของเลยนะครับ มีข่าวก็คือว่ามีคุณบุญคลีลาออกไปก่อนหน้านี้และก็มีข่าววันนี้ว่าเทมาเส็กคิดจะขายหุ้นนะครับ ที่ผมต้องย้ำตรงนี้ก็เพราะว่าผมเห็นว่าปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น มีการทำให้พนักงานต้องไปขัดแย้งกับรัฐบาล สื่อกับสื่อขัดแย้งกันเอง แต่จริงๆ สิ่งที่สังคมจะต้องดูก็คือว่า ผู้บริหารและเจ้าของบริษัทไอทีวี ไม่มีความรับผิดชอบอะไรเลยนะครับ ทั้งๆที่จริงๆแล้วเขาเข้ามารับอนุญาตและประกอบการในกิจการซึ่งสำคัญมากและก็ในอดีตนั้นถือว่าเป็นสื่อของการที่จะปฎิรูปสื่อสารมวลชนนะครับ เพราะฉะนั้นอันนี้เป็นบทเรียนสำคัญเลยครับว่า ตอนที่มีการผลักดันเรื่องสื่อเสรีโดยเฉพาะทีวีเสรี เราไปคาดหวังว่าดึงสื่อออกมาจากภาครัฐนะครับ
เพราะเมื่อก่อนนี้จะบอกรัฐบาลหรือหน่วยงานราชการ จะแทรกแซงโทรทัศน์วิทยุได้มากที่สุด มาอยู่ในมือของเอกชนแล้ว ทุกอย่างจะเป็นไปได้ด้วยความราบรื่นนะครับ และเราก็จะเห็นประสบการณ์เองก็ปรากฎว่าพอเราได้เจ้าของที่เป็นเอกชน ที่มีผลประโยชน์ทางการเมืองเข้ามาด้วย โทรทัศน์เสรีก็เสียเจตนารมณ์ไปมากพอสมควรนะครับ ความจริงผมพูดก็ด้วยความเห็นใจทุกฝ่ายนะครับ แต่ก็ต้องย้ำว่าตอนที่มีการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นในครั้งนั้น ก็เกิดกรณีที่เรียกว่ากบฎไอทีวียังจำกันได้นะครับ ก็คือว่าเจ้าของมาแทรกแซงการทำงานของพนักงานของนักข่าวก็เกิดกรณีกบฎขึ้นนะครับ
หลังจากนั้นมาก็ต้องบอกครับว่า เจ้าของได้เข้ามาใช้อำนาจในการแทรกแซงในการนำเสนอข่าวสารจริงๆ แล้วก็เลวร้ายกว่านั้นก็คือว่าเจ้าของได้มาพยายามบิดเบือนเจตนารมณ์ของโทรทัศน์เสรีโดยมุ่งแสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจเป็นสำคัญ จนในที่สุดเจ้าของตรงนั้นก็มาขายหุ้นให้กับต่างชาตินะครับ คือขายหุ้นในบริษัทแม่ไปให้ต่างชาตินี้ เพราะฉะนั้นเป้าหมายสำคัญเลย สำคัญที่สุดเลยของสังคมก็คือต้องทำให้โทรทัศน์ช่องนี้กลับมาเป็นโทรทัศน์เสรี คือโทรทัศน์เพื่อสาธารณะนำเสนอข่าวสารนะครับแล้วก็ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับประชาชนเป็นหลักนะครับ โดยปราศจากการแทรกแซงทั้งจากรัฐและจากอำนาจทุน
ผมก็มองเห็นว่าเมื่อมันเกิดการผิดสัญญาขึ้น สิ่งที่รัฐบาลจำเป็นจะต้องทำก็คือว่าต้องแสดงเจตนาในว่าขณะนี้ เขาผิดสัญญาแล้วและก็จะบอกเลิกสัญญา แต่ขณะเดียวกันสิ่งที่ต้องยอมรับว่าเป็นความบกพร่องก็คือว่า รัฐบาลเองก็ทราบว่าวันที่ 6 มีนาที่ผ่านมานี้ จะเป็นวันที่การผิดสัญญาตามการยื้นคำขาดตามสัญญา มันจะเกิดขึ้น แต่กลับไม่ได้เตรียมการทุกอย่างทั้งในด้านข้อกฎหมาย ทั้งในด้านอื่นๆ เพื่อรองรับให้การเปลี่ยนแปลงแก้ไข มันไม่กระทบ ดังนั้นจริงๆผมไม่แปลกใจเลยว่าในที่สุดศาลปกครอง จึงได้มีคำสั่งว่าจำเป็นจะต้องให้มีการดำเนินการออกอากาศออกไปก่อน ซึ่งศาลปกครองนั้นไม่ได้ไปบอกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดถูกหรือผิดในแง่ข้อสัญญาในการที่คุ้มครอง แต่คุ้มครองประโยชน์ของสาธารณะ เพราะว่าบริการนี้เป็นบริการของสาธารณะนะครับ
เพราะนั้นจริงๆแล้วตั้งแต่แรกนั้นผมเองมีความเห็นว่า การจะแก้ปัญหาใดๆ ก็ตามนั้น ในช่วงเปลี่ยนผ่านต้องไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสาธารณะ สำหรับพนักงานเองนั้นก็อยากจะช่วยดูแลนะครับเท่าที่จะทำได้ แต่ที่สุดแล้วการเดินหน้าต่อไปนั้นก็จะต้องทำให้พนักงานมีความเข้าใจในเจตนารมณ์ของโทรทัศน์เสรีจริง ๆ เพราะฉะนั้นขณะนี้นั้น ผมคิดว่าสิ่งที่รัฐบาลยังจะต้องเดินต่อก็คือว่า ในฐานะที่เป็นคู่สัญญา เป็นเจ้าหนี้ จะต้องดำเนินการเข้าไปเจรจาหรือเรียกฝ่ายบริษัทเข้ามาเพื่อที่จะบอกว่าขณะนี้นั้น อำนาจในการบริหารจัดการต่างๆ รวมทั้งผลประโยชน์ต่างๆที่จะเกิดขึ้นจากการประกอบการ ซึ่งที่ผ่านมาไอทีวียัง ในแง่การประกอบการยังกำไรอยู่ ไม่นับในส่วนหนี้ ตรงนี้จะต้องตกมาเป็นของรัฐแล้ว แล้วรัฐก็จะดำเนินการบริหารในช่วงเปลี่ยนผ่านตรงนี้ก่อนที่จะมีการดำเนินการ จะเรียกว่าเปิดประมูลหรือหาเอกชนที่จะเข้ามาบริหารตามเจตนารมณ์ของโทรทัศน์เสรี
ส่วนพนักงานนั้นก็ต้องมีการมาซักซ้อมกันว่าบุคคลใดที่มีความรู้ความสามารถและพร้อมที่จะทำตามเจตนารมณ์โทรทัศน์เสรีนั้นก็เปิดโอกาสให้สามารถที่จะเสนอตัวเข้ามาทำงานต่อได้ ผมว่าแนวมันควรจะเป็นอย่างนี้ ส่วนสำหรับสาธารณชนนั้น มันไม่ควรจะเกิดกรณีจอมืด หรือเกิดกรณีที่ว่าสถานีโทรทัศน์ ถูกนำไปใช้เป็นซึ่งการนำเสนอข่าวตัวเองอย่างเดียว นี่คือสิ่งที่ผมมอง ฉะนั้นตรงนี้มันมีบทเรียนหลายบทเรียน ซึ่งทุกฝ่ายน่าจะต้องรัฐกลับไปทบทวน แต่ว่าที่สำคัญขณะนี้คือว่าเราจะปล่อยให้ผู้บริหารกับเจ้าของบริษัทนั้นปราศจากความรับผิดชอบนั้นไม่ได้
ผู้ดำเนินรายการ หมายถึงว่า มาลาออกไป แล้วก็บอกว่าลาออกแล้ว อย่างนี้ไม่ได้ใช้ไม๊คะ
คุณอภิสิทธิ์ ก็พูดง่ายๆนะครับ วันนี้ก็มีทนายมาบอกว่าไม่เกี่ยวข้องอะไร ขายหุ้นไปแล้วก็คือทำกำไรจากการฆาตกรรมโทรทัศน์เสรีไปแล้ว
ผู้ดำเนินรายการ ยังไงก็ต้องมาจ่าย 2 พันล้าน ซึ่งเป็นค่าสัมปทานก่อน
คุณอภิสิทธิ์ คือผลประโยชน์ตรงนี้ก็เป็นของรัฐนะครับ และต้องรักษาไว้อย่างเต็มที่ แต่ว่าสำคัญกว่านั้นก็คือว่า ต้องมีแผนที่จะเดินไปสู่การเป็นเสรีที่ชัดเจน โดยมีผลกระทบต่อบริการสาธารณะน้อยที่สุดครับ
ผู้ดำเนินรายการ คุณอภิสิทธิ์เป็นนักการเมืองย่อมต้องให้สัมภาษณ์สื่อต่างๆร่วมทั้งไอทีวีด้วย ทีนี้พื้นที่ของฝ่ายค้านที่น้อยมากในช่วงที่ไอทีวีอยู่ในยุคของชินคอร์ปนั้น อันนี้เป็นเพราะการแทรกแซงจริงๆหรือว่าเป็น Self sensor คือหมายความว่านักข่าว บรรณาธิการ อาจจะปลอดภัยไว้ก่อน
คุณอภิสิทธิ์ ปัญหาการแทรกแซงสื่อที่เกิดขึ้นจากอำนาจทางธุรกิจ ทางเอกชนนั้น มันเป็นเรื่องซึ่งในบางแง่มุมนั้นยากกว่าปัญหาการแทรกแซงสื่อโดยอำนาจรัฐ เหตุผลก็คือว่า พอเราเริ่มใช้ความเป็นเจ้าของนะครับ พอเราเริ่มเอาเรื่องปัจจัยทางธุรกิจเข้ามาเป็นตัวบีบ ถึงจุดหนึ่งนั้น คนทำงานจะบอกว่าเป็นความสมัครใจของเขาเอง ใช่ไม๊ครับ ในที่สุดนั้นเขาก็บอกว่า ก็คุณเป็นบรรณาธิการข่าวคุณก็มีสิทธิ์อยู่แล้วจะเสนอหรือไม่เสนอ แต่ว่าบรรณาธิการข่าวนั้นก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของความกลัวในเรื่องธุรกิจหรืออะไรก็แล้วแต่ เพื่อบอกว่า ถ้าอย่างนั้นไม่เสนอข่าว ฝ่ายค้านเสนอข่าวฝ่ายที่เขามีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกับผู้อำนาจ ซึ่งต้องยอมรับว่าในช่วงรัฐบาลทักษิณหรือว่าไปกระทบเจ้าของ ช่วงนั้นมีลักษณะของการไม่เสนอข่าวอีกแง่มุมจริงๆนะครับ พวกผมสัมผัสด้วยตัวเองก็พูดได้เต็มปากเต็มคำ
แต่ว่าทั้งหมดนี้ในที่สุดตัวผู้มีอำนาจเขาบอกก็เป็นเรื่องความสมัครใจใช่ไม๊ครับ เขาก็จะพูดได้ว่าเขาไม่ได้ไปสั่ง แต่ว่ามันเป็นเรื่องของคนทำงานเองในภาคเอกชนที่ตัดสินใจอย่างนั้น อันนี้คือสิ่งที่อันตรายที่สุดนะครับ ผมจึงได้เคยเสนอก่อนหน้านี้ว่า เราต้องให้คนที่ทำงานสื่อหลุดพ้นจากความกลัวนะครับ หลุดพ้นความกลัวจากอำนาจการแทรกแซงในทุกรูปแบบและผมก็คือเสนอมาว่า จริงๆแล้วนั้นรัฐบาลนี้จะต้องทำกฎหมายเรื่องการคุ้มครองผู้ประกอบวิชาชีพสื่อเสีย ไม่ว่าคนๆ นั้นจะอยู่ในภาครัฐหรือเอกชนนะครับ เพราะว่าเราจะไม่สามารถที่จะคาดหวังให้มีโทรทัศน์เสรีได้เลย ถ้าเรายังไม่มีการคุ้มครองตรงนี้นะครับ การที่จะไปคิดว่า ยึดกลับมาแล้วรัฐมาทำเองนั้นก็มีหลักประกันอะไรว่าดีกว่าการทำงานของสถานีโทรทัศน์ภาครัฐที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ จนกว่าเราจะมีการคุ้มครองวิชาชีพสื่อตรงนี้
ผู้ดำเนินรายการ ค่ะ ก็เรียนถามคุณอภิสิทธิ์แล้วกันว่าคุณอภิสิทธิ์ก็เคยเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ นะคะ งานของไอทีวีถ้าไปอยู่กับทางที่อยู่อย่างปัจจุบันนั้นนะคะ กรมประชาสัมพันธ์นะคะ คุณอภิสิทธิ์คิดว่ามันจะมีปัญหาอุปสรรคอะไรมากน้อยแค่ไหนแล้วจะไปทำให้กลิ่นไอของไอทีวีเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง
คุณอภิสิทธิ์ ผมยังคิดว่า ผมยังอยากเห็นเราพยายามผลักดันโทรทัศน์เพื่อสาธารณะใน 2 รูปแบบควบคู่กันไป อย่างกรณีของช่อง 11 ซึ่งอยู่การดำเนินการของกรมประชาสัมพันธ์โดยตรง ผมว่าน่าจะเดินหน้าไปในรูปแบบที่หลายคนก็ใฝ่ฝันมานาน อย่างเช่นกรณีของบีบีซี ว่ารัฐสนับสนุนและก็การดูแลเรื่องการเสนอข่าวสาร แต่ว่าต้องมีกฎหมายคุ้มครองคนทำหน้าที่ในวิชาชีพว่าไม่ใช่ว่าสื่อนี้เป็นของรัฐบาลโดยเฉพาะรัฐบาล ในลักษณะที่ฝักใฝ่กการเมือง
ส่วนกรณีไอทีวีนั้น ผมยังอยากเห็นการผลักดันการเป็นโทรทัศน์เสรีที่อยู่ในมือของเอกชน โดยเก็บเกี่ยวบทเรียนจากปัญหาไอทีวีที่เกิดขึ้นมา ทำยังไงไม่ให้เกิดการครอบงำ แล้วก็ทำอย่างไรที่จะทำให้ผู้ทำงาน ต้องหลุดพ้นจากอิทธิพลของเจ้าของ ซึ่งมีแรงจูงใจหรือผลประโยชน์ เข้ามาเป็นตัวครอบงำนะครับ ส่วนนั้นผมยังอยากเห็นว่าไอทีวีนั้นรัฐเข้ามาจัดการในลักษณะชั่วคราวก่อนที่จะหาทางกลับมาไปให้เอกชนเข้ามาทำโทรทัศน์เสรี
ผู้ดำเนินรายการ กรมประชาสัมพันธ์ควรจะมาปฎิบัติหน้าที่แค่ระดับหนึ่ง
คุณอภิสิทธิ์ ในระยะเวลาเท่าที่จำเป็นในช่วงเปลี่ยนผ่าน ส่วนช่อง 11 นั้นกรมประชาสัมพันธ์ ทำให้มันเป็นโทรทัศน์เพื่อสาธารณะในภาครัฐเต็มที่
ผู้ดำเนินรายการ อันนั้นเขาก็คงต้องทำต่อ ไปเป็น Public ทีวี ต่อไป ส่วนเรื่องการปรับ ครม.ละคะคุณอภิสิทธิ์ เพราะว่าก็ปรับเล็กนะคะ และก็มีปรับงานของรัฐมนตรีด้วย
คุณอภิสิทธิ์ ครับ ก่อนอื่นก็ต้องบอกว่า ท่านรัฐมนตรีฉลองภพ จะมีภาระหนักมากนะครับ แต่ก็มีความคาดหวังกับตัวท่านค่อนข้างสูง ผมคิดว่าความรู้ความสามารถของท่านเป็นที่ยอมรับ สิ่งที่ผมอยากเห็นก็คือว่า ความชัดเจนและก็ความเด็ดขาดนะครับ โดยเฉพาะในช่วง 1 สัปดาห์จากนี้ไป ถ้าเป็นไปได้ ถ้าท่านสามารถที่จะตัดสินใจร่วมกับหน่วยงานในเรื่องสำคัญ ๆ เช่น เรื่องการยกเลิกมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย เช่นเรื่องของการแสดงจุดยืนในเรื่องของกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวที่ชัดและไม่ขัดต่อเจตนารมณ์ที่ดี แต่ขณะเดียวกันปฎิบัติได้
ผมคิดว่ามันจะช่วยอย่างมากในการที่จะทำให้ความเชื่อมั่นกลับคืนมา แต่ว่าถ้าสิ่งนี้ไม่เกิดขึ้นเร็ว ผมก็เกรงว่า สถานการณ์มันเหมือนกับไหลลงไปเรื่อย ๆ เช่นเดียวกันที่ผมเคยเสนอไว้ในสัปดาห์ที่แล้วว่าปรับเล็กปรับใหญ่คงไม่ได้อยู่ที่ว่าจะปรับกี่ตำแหน่งเท่านั้น แต่ว่าสิ่งที่สำคัญก็คือว่ารูปแบบการทำงานและก็การสร้างความรู้สึกร่วมทั้งภายในคณะรัฐมนตรีเองกับความรู้สึกร่วมกับประชาชนหรือว่าทุกคนเข้าใจว่า อีกหกเจ็ดเดือนข้างหน้าอะไรจะเกิดขึ้น ผมยังอยากเห็นสิ่งนี้เกิดขึ้นอยู่ เพราะฉะนั้นข้อเสนอที่เคยพูดไว้เรื่องว่า อยากเห็นท่านนายกฯประชุมครม. นอกรอบกรณีพิเศษเพื่อทำสิ่งเหล่านี้นั้น ผมก็ยังยืนยันว่าน่าจะเป็นประโยชน์อยู่ เพื่อที่จะให้ความเชื่อมั่นในเรื่องต่างๆ กลับคืนมา
ปัญหาบางปัญหายังเป็นเรื่องซึ่งเร่งด่วนมากที่จะต้องจัดการนะครับ โดยเฉพาะปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งอันนี้ก็จะบอกว่า เป็นความรับผิดชอบของคมช.หรืออะไรคงจะไม่ได้ ผมคิดว่าวันนี้รัฐบาล ซึ่งความจริงท่านนายกฯ นั้นมีความตั้งใจในเรื่องนี้สูงอยู่แล้วนะครับ คงจะต้องมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นไปอีก ในการที่จะดำเนินการ เพราะว่าประชาชนในขณะนี้ในพื้นที่มีความรู้สึกว่าขาดที่พึ่ง เหมือนกับว่าไม่มีใครดูแลอยู่ ไม่มีความยุติธรรมในเรื่องของความปลอดภัย
ผู้ดำเนินรายการ เอาละครับ ขอบคุณมากนะครับคุณอภิสิทธิ์ครับ สำหรับเช้าวันนี้ / ขอบคุณค่ะ สวัสดีคะ
******************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 9 มี.ค. 2550--จบ--