ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. แนะให้คำนึงถึงความยั่งยืนของเงินทุนไหลเข้ามาในตลาดเกิดใหม่ที่มีจำนวนมาก ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
กล่าวในการปาฐกถาเรื่อง “โลกาภิวัตน์ด้านการเงิน เงินทุนเคลื่อนย้าย และความท้าทายของธนาคารกลาง” ในการประชุมธนาคารเพื่อการ
ชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ว่า ในยุคโลกาภิวัตน์ด้านการเงินซึ่งเงินทุนสามารถเคลื่อนย้ายได้เสรี และทำให้มี
เงินทุนไหลเข้ามาในตลาดเกิดใหม่นั้น สิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ ความยั่งยืน ของการไหลเข้ามาของเงินทุน เพราะเงินทุนที่ไหลเข้ามาจำนวนมาก
อาจจะทำให้ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นก็ได้ นอกจากนี้ ความท้าทายของธนาคารกลางขึ้นอยู่กับ 3 ประเด็น คือ 1) การดูแลอัตราเงินเฟ้อในประเทศ
2) การดำเนินนโยบายการเงิน และ 3) การจัดการกับเสถียรภาพการเงินของโลกจากสภาพคล่องของระบบโลก (กรุงเทพธุรกิจ, มติชน)
2. สศค.เผยร่างแก้ไข พ.ร.บ. ธปท.ระบุตำแหน่งผู้ว่าการ ธปท.จะเกษียณอายุที่ 65 ปี ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
เชื่อว่าคณะกรรมการกฤษฎีกา จะพิจารณารายละเอียดของการแก้ไขร่างกฎหมายสถาบันการเงินทั้ง 5 ฉบับ แล้วเสร็จภายในเดือน ก.ค.นี้
จากนั้นจะนำเสนอให้ ครม.ให้ความเห็นชอบก่อนจะนำเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต่อไป ซึ่งเชื่อว่าเมื่อกฎหมายการ
เงินทั้ง 5 ฉบับได้รับการแก้ไขแล้ว จะทำให้การกำกับดูแลระบบตลาดเงิน ตลาดทุนของไทยมีศักยภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ กรณี พ.ร.บ.ธปท.
ระบุไว้ชัดเจนว่า ตำแหน่งของผู้ว่าการ ธปท.จะเกษียณอายุที่ 65 ปี และดำรงตำแหน่งได้วาระละไม่เกิน 6 ปี และสามารถเป็นได้ไม่เกิน
2 วาระ หรือ 12 ปี แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการ ธปท.ก่อนอายุ 60 ปี จากเดิมที่ไม่ได้มีการกำหนดไว้ขึ้นอยู่กับ
สถานการณ์เป็นหลัก แต่เพื่อให้เป็นสากลมากยิ่งขึ้น การแก้ไขกฎหมายจึงต้องกำหนดอายุและการดำรงตำแหน่งของผู้ว่าการ ธปท.ให้ชัดเจน
(ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์, แนวหน้า)
3. ธปท.ยืนยันการตรวจสอบข้อมูลย้อนหลัง 3 ปีของ ธพ.ยังไม่พบการโอนเงินออกนอกประเทศของครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ผอ.ฝ่ายกำกับการแลกเปลี่ยนเงินและสินเชื่อ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบข้อมูลย้อนหลัง 3 ปีของ
ธพ.ยังไม่พบว่า มีคนในครอบครัวหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีต นรม.ใช้วิธีทยอยโอนเงินออกไปต่างประเทศผ่าน
ธพ.ด้วยเหตุผลส่วนตัว ซึ่งหากมีการโอนเงินเช่นนั้นจริง จะส่งผลต่อค่าเงินบาทอย่างชัดเจน ขณะที่ ประธาน คตส. กล่าวว่า ทันทีที่
พ.ต.ท.ทักษิณทำนิติกรรมดังกล่าว ธปท.และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) จะสามารถเข้าไปตรวจสอบเงิน
ดังกล่าวได้ว่า มีการแจ้งบัญชีทรัพย์สินไว้กับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หรือไม่ หากไม่แจ้งก็ถือว่า
มีความผิดต้องรับโทษและเว้นวรรคทางการเงิน (โพสต์ทูเดย์, แนวหน้า)
4. เอ็นพีแอลในระบบสถาบันการเงิน จ.อุบลราชธานีเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.18 ของปริมาณหนี้สินทั้งหมด ผอ.สำนักงาน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในระบบสถาบันการเงิน
จ.อุบลราชธานีเพิ่มขึ้น 2.4 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 4.18 ของปริมาณหนี้สินทั้งหมด ซึ่งปริมาณของหนี้สินที่เพิ่มขึ้นส่งผล
ให้สภาพเศรษฐกิจชะลอตัวในการปล่อยสินเชื่อให้แก่ลูกค้า ทั้งนี้ ในช่วง 5 เดือนปี 50 ธพ.ในจังหวัดได้แจ้งข้อมูลการขอจดทะเบียนนิติบุคคล
ทั้งหมด 99 ราย เมื่อเปรียบเทียบในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาได้ขอจดทะเบียนนิติบุคคลรวมทั้งหมด 101 ราย ด้านมูลค่าการลงทุนของ
นิติบุคคลที่จดทะเบียนจำนวน 290 ล้านบาท และขอยกเลิกกิจการไปแล้ว 19 ราย เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ยกเลิกกิจการ 20 ราย
(โพสต์ทูเดย์)
5. สศค.เผยภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือน พ.ค.50 ยังขยายตัวได้ดี โดยภาคการส่งออกและการใช้จ่ายภาครัฐเป็นปัจจัยขับเคลื่อน
ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือน พ.ค.50 ว่า เศรษฐกิจยังขยายตัวได้ดี โดยได้รับแรง
สนับสนุนจากการส่งออกยังเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยอยู่ ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐได้เร่งตัวขึ้นเพื่อช่วยสนับสนุนการขยายตัว
ของเศรษฐกิจในช่วงที่ภาวการณ์บริโภคและการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลง ทั้งนี้ ด้านมูลค่าการส่งออกในเดือน พ.ค.50 ขยายตัวอยู่ที่
13,049.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือขยายตัวประมาณร้อยละ 20.9 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่มีมูลค่าอยู่ที่ 10,874.3 ล้านดอลลาร์ สรอ.
หรือขยายตัวร้อยละ 18.5 ขณะที่มูลค่าการนำเข้าในเดือน พ.ค.50 อยู่ที่ 12,248.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือขยายตัวร้อยละ 6.7
ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่มีมูลค่า 10,618.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือขยายตัวร้อยละ 8.9 ส่งผลให้ดุลการค้าในเดือน พ.ค.50
เกินดุลอยู่ที่ 800.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่เกินดุลเพียง 255.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไป
ในเดือน พ.ค.50 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 1.8 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำที่สามารถบริหารจัดการได้ ขณะที่
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.7 ลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 1.2 นอกจากนี้ ก.คลังยังคงยืนยันเศรษฐกิจในปี 50 ว่าจะขยายตัว
อยู่ที่ร้อยละ 3.8-4.3 ตามที่ประมาณการไว้เดิม (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์, บ้านเมือง, มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คำสั่งซื้อสินค้าคงทนของ สรอ. ในเดือน พ.ค. ลดลงร้อยละ 2.8 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 27มิ.ย. 50 ก.พาณิชย์
สรอ. เปิดเผยว่า ในเดือน พ.ค. คำสั่งซื้อสินค้าคงทนของ สรอ. ลดลงร้อยละ 2.8 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ในเดือน เม.ย. และ
ลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นว่าจะลดลงร้อยละ 1.0 เนื่องจากคำสั่งซื้ออุปกรณ์การขนส่ง, เครื่องบินโดยสารและ
อุปกรณ์ลดลงร้อยละ ลดลงร้อยละ 6.8 และร้อยละ 22.7 ตามลำดับ และหากไม่นับรวมอุปกรณ์การขนส่ง คำสั่งซื้อลดลงร้อยละ 1.0
เนื่องจากคำสั่งซื้อสินค้าโรงงาน เครื่องจักร โลหะ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลดลง ขณะที่คำสั่งซื้อที่ไม่นับรวมอาวุธ ลดลงร้อยละ 3.2
ส่วนคำสั่งซื้อสินค้าที่มิใช่อาวุธที่ไม่นับรวมเครื่องบินซึ่งบ่งบอกการใช้จ่ายของภาคธุรกิจ ลดลงร้อยละ 3.0 ลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค.
ส่งสัญญานว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิตชะงักงัน และในไตรมาสที่ 2 อาจจะชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยนาย Robert Lutts
ประธานและหัวหน้าเจ้าหน้าที่ลงทุนที่ Cabot Money Management ใน Massachusetts เห็นว่าการที่คำสั่งซื้อสินค้าคงทนลดลงดังกล่าว
สะท้อนภาพทางด้าน ธุรกิจและเป็นการลดลงอย่างผิดคาด ซึ่งบรรดานักวิเคราะห์ต่างคาดการณ์กันว่าการลงทุนของธุรกิจจะลดลงร้อยละ 0.1
(รอยเตอร์)
2. เศรษฐกิจของเอเชียมีแนวโน้มขยายตัวดีจากภาคการส่งออกที่ฟื้นตัวดีขึ้นเกินคาด รายงานจากประเทศสิงคโปร์ เมื่อ
วันที่ 27 มิ.ย.50 สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์รายไตรมาสที่คาดว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก 12 ประเทศ (ไม่รวมญี่ปุ่น) ในช่วง 2 — 3 เดือนที่ผ่านมามีแนวโน้มเติบโตดี โดยมีปัจจัยบวกจากการส่งออก
ที่ขยายตัวได้ดีเกินคาดแม้ว่าจะประสบปัญหากับภาวะเศรษฐกิจของ สรอ. ทื่เป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ชะลอตัว รวมทั้งการใช้จ่ายเพื่อการบริโภค
ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้มีการคาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชียในปีนี้จะชะลอตัวหลังจากที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์
ในปีก่อน โดยมีปัจจัยหลักจากการคาดการณ์ว่าความต้องการสินค้าของ สรอ. ที่เป็นกิจกรรมหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้จะ
ชะลอตัวลง แต่ในความเป็นจริงแล้วผลกระทบจากเศรษฐกิจ สรอ. ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกมีน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ ขณะที่ตลาดแรงงานกลับ
ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ภาคอสังหาริมทรัพย์ขยายตัว และราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคชาวเอเชียมีการใช้จ่าย
เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ โดยคาดว่าเศรษฐกิจของจีนซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 10.6 ลดลงเพียงเล็กน้อยจากร้อยละ 10.7
ในปีก่อนหน้า แม้ว่าทางการจีนจะพยายามลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจลงแล้วก็ตาม แต่การส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้นก็ยังทำให้อัตราการขยายตัว
ของเศรษฐกิจอยู่ในระดับสูง เทียบกับผลสำรวจก่อนหน้านี้ที่คาดว่าเศรษฐกิจของจีนจะขยายตัวร้อยละ 10 ในปี 50 และจะลดลงเล็กน้อยใน
ปี 51 ในขณะที่คาดว่าเศรษฐกิจของอินเดียซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 3 ในเอเชีย รองจากญี่ปุ่นและจีน จะชะลอลงเล็กน้อยอยู่ที่ระดับร้อยละ 8.5
(ตัวเลขที่ทบทวนใหม่) ในปี งปม.50 ซึ่งจะสิ้นสุดเดือน มี.ค.51 จากที่ขยายตัวร้อยละ 9.4 ในปีก่อนหน้า (รอยเตอร์)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน พ.ค.50 ลดลงเหนือความคาดหมาย รายงานจากโตเกียวเมื่อ 28 มิ.ย.50
The Ministry of Economy, Trade and Industry (METI) เปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน พ.ค.50 ลดลง
ร้อยละ 0.4 เทียบต่อเดือน ซึ่งเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และตรงข้ามกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าผลผลิต
อุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ส่งผลให้เงินเยนอ่อนค่าลงเหนือความคาดหมายที่ระดับ 123.35 เยนต่อดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้
นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า การที่ผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงอาจเป็นสาเหตุให้ ธ.กลางญี่ปุ่นปรับลดการคาดการณ์ผลผลิตอุตสาหกรรมลง
จากที่เคยคาดว่าจะปรับตัวในทางที่ดีในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี ซึ่งผลผลิตอุตสาหกรรมเป็นปัจจัยในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจและ
การตัดสินใจดำเนินนโยบายการเงิน โดยคาดว่า ธ.กลางญี่ปุ่นอาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเร็วๆ นี้ อย่างไรก็ตาม METI
ได้คาดการณ์ตัวเลขผลผลิตโรงงาน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของผลผลิตอุตสาหกรรม ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 และ 1.7 ในเดือน มิ.ย.
และ ก.ค.50 ตามลำดับ ซึ่งถือเป็นการประเมินแนวโน้มภาคอุตสาหกรรมในทิศทางที่ดีขึ้น (รอยเตอร์)
4. คาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์จะขยายตัวร้อยละ 6.2 ในปี 50 รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 27 มิ.ย.50 ผลสำรวจความเห็น
ของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์ประจำงวดไตรมาสที่ 2 ปี 50 คาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์จะขยายตัวร้อยละ 6.2 ต่อปีในปี 50 สูงกว่า
ร้อยละ 5.5 ต่อปี ในผลสำรวจครั้งก่อนเมื่อเดือน มี.ค.50 ที่ผ่านมา สอดคล้องกับประมาณการของรัฐบาลที่คาดว่าเศรษฐกิจในปี 50 จะ
ขยายตัวระหว่างร้อยละ 5 ถึง 7 ต่อปี แต่อย่างไรก็ดี อัตราการขยายตัวดังกล่าวยังต่ำกว่าปี 49 ที่ผ่านมาซึ่งเศรษฐกิจขยายตัวถึงร้อยละ 7.9
สูงเป็นอันดับที่ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากเวียดนาม ทั้งนี้เป็นผลมาจากการคาดว่าการส่งออกจะฟื้นตัวในช่วงครึ่งของปีนี้
และจากการขยายตัวของภาคการก่อสร้างและภาคการเงินในไตรมาสแรกปี 50 ที่ผ่านมา โดยผลผลิตภาคการก่อสร้างขยายตัวถึงร้อยละ 9.7
ในไตรมาสแรกปี 50 เมื่อเทียบกับปีก่อน สูงสุดในรอบ 9 ปีจากโครงการก่อสร้างสถานคาสิโนระดับหรู 2 แห่งมูลค่ารวม 7 พันล้านดอลลาร์
และราคาอสังหาริมทรัพย์ที่พุ่งสูงขึ้น และภาคการเงินซึ่งขยายตัวถึงร้อยละ 13 ต่อปีในไตรมาสแรกปี 50 จากการขยายตัวของบริการการเงิน
ส่วนบุคคลและกองทุนเฮดจ์ฟันด์ นอกจากนี้ ในผลสำรวจครั้งนี้รอยเตอร์ยังคาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์จะขยายตัวร้อยละ 6 ต่อปีในปี 51 เพิ่มขึ้น
จากร้อยละ 5.6 ต่อปีในผลสำรวจครั้งก่อนเมื่อเดือน มี.ค.50 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 28 มิ.ย. 50 27 มิ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.529 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.3151/34.6593 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.68750 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 771.00/12.68 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,500/10,600 10,500/10,600 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 66.27 65.98 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 29.99*/25.34** 29.99*/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 2 มิ.ย. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. แนะให้คำนึงถึงความยั่งยืนของเงินทุนไหลเข้ามาในตลาดเกิดใหม่ที่มีจำนวนมาก ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
กล่าวในการปาฐกถาเรื่อง “โลกาภิวัตน์ด้านการเงิน เงินทุนเคลื่อนย้าย และความท้าทายของธนาคารกลาง” ในการประชุมธนาคารเพื่อการ
ชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ว่า ในยุคโลกาภิวัตน์ด้านการเงินซึ่งเงินทุนสามารถเคลื่อนย้ายได้เสรี และทำให้มี
เงินทุนไหลเข้ามาในตลาดเกิดใหม่นั้น สิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ ความยั่งยืน ของการไหลเข้ามาของเงินทุน เพราะเงินทุนที่ไหลเข้ามาจำนวนมาก
อาจจะทำให้ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นก็ได้ นอกจากนี้ ความท้าทายของธนาคารกลางขึ้นอยู่กับ 3 ประเด็น คือ 1) การดูแลอัตราเงินเฟ้อในประเทศ
2) การดำเนินนโยบายการเงิน และ 3) การจัดการกับเสถียรภาพการเงินของโลกจากสภาพคล่องของระบบโลก (กรุงเทพธุรกิจ, มติชน)
2. สศค.เผยร่างแก้ไข พ.ร.บ. ธปท.ระบุตำแหน่งผู้ว่าการ ธปท.จะเกษียณอายุที่ 65 ปี ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
เชื่อว่าคณะกรรมการกฤษฎีกา จะพิจารณารายละเอียดของการแก้ไขร่างกฎหมายสถาบันการเงินทั้ง 5 ฉบับ แล้วเสร็จภายในเดือน ก.ค.นี้
จากนั้นจะนำเสนอให้ ครม.ให้ความเห็นชอบก่อนจะนำเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต่อไป ซึ่งเชื่อว่าเมื่อกฎหมายการ
เงินทั้ง 5 ฉบับได้รับการแก้ไขแล้ว จะทำให้การกำกับดูแลระบบตลาดเงิน ตลาดทุนของไทยมีศักยภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ กรณี พ.ร.บ.ธปท.
ระบุไว้ชัดเจนว่า ตำแหน่งของผู้ว่าการ ธปท.จะเกษียณอายุที่ 65 ปี และดำรงตำแหน่งได้วาระละไม่เกิน 6 ปี และสามารถเป็นได้ไม่เกิน
2 วาระ หรือ 12 ปี แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการ ธปท.ก่อนอายุ 60 ปี จากเดิมที่ไม่ได้มีการกำหนดไว้ขึ้นอยู่กับ
สถานการณ์เป็นหลัก แต่เพื่อให้เป็นสากลมากยิ่งขึ้น การแก้ไขกฎหมายจึงต้องกำหนดอายุและการดำรงตำแหน่งของผู้ว่าการ ธปท.ให้ชัดเจน
(ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์, แนวหน้า)
3. ธปท.ยืนยันการตรวจสอบข้อมูลย้อนหลัง 3 ปีของ ธพ.ยังไม่พบการโอนเงินออกนอกประเทศของครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ผอ.ฝ่ายกำกับการแลกเปลี่ยนเงินและสินเชื่อ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบข้อมูลย้อนหลัง 3 ปีของ
ธพ.ยังไม่พบว่า มีคนในครอบครัวหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีต นรม.ใช้วิธีทยอยโอนเงินออกไปต่างประเทศผ่าน
ธพ.ด้วยเหตุผลส่วนตัว ซึ่งหากมีการโอนเงินเช่นนั้นจริง จะส่งผลต่อค่าเงินบาทอย่างชัดเจน ขณะที่ ประธาน คตส. กล่าวว่า ทันทีที่
พ.ต.ท.ทักษิณทำนิติกรรมดังกล่าว ธปท.และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) จะสามารถเข้าไปตรวจสอบเงิน
ดังกล่าวได้ว่า มีการแจ้งบัญชีทรัพย์สินไว้กับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หรือไม่ หากไม่แจ้งก็ถือว่า
มีความผิดต้องรับโทษและเว้นวรรคทางการเงิน (โพสต์ทูเดย์, แนวหน้า)
4. เอ็นพีแอลในระบบสถาบันการเงิน จ.อุบลราชธานีเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.18 ของปริมาณหนี้สินทั้งหมด ผอ.สำนักงาน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในระบบสถาบันการเงิน
จ.อุบลราชธานีเพิ่มขึ้น 2.4 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 4.18 ของปริมาณหนี้สินทั้งหมด ซึ่งปริมาณของหนี้สินที่เพิ่มขึ้นส่งผล
ให้สภาพเศรษฐกิจชะลอตัวในการปล่อยสินเชื่อให้แก่ลูกค้า ทั้งนี้ ในช่วง 5 เดือนปี 50 ธพ.ในจังหวัดได้แจ้งข้อมูลการขอจดทะเบียนนิติบุคคล
ทั้งหมด 99 ราย เมื่อเปรียบเทียบในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาได้ขอจดทะเบียนนิติบุคคลรวมทั้งหมด 101 ราย ด้านมูลค่าการลงทุนของ
นิติบุคคลที่จดทะเบียนจำนวน 290 ล้านบาท และขอยกเลิกกิจการไปแล้ว 19 ราย เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ยกเลิกกิจการ 20 ราย
(โพสต์ทูเดย์)
5. สศค.เผยภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือน พ.ค.50 ยังขยายตัวได้ดี โดยภาคการส่งออกและการใช้จ่ายภาครัฐเป็นปัจจัยขับเคลื่อน
ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือน พ.ค.50 ว่า เศรษฐกิจยังขยายตัวได้ดี โดยได้รับแรง
สนับสนุนจากการส่งออกยังเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยอยู่ ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐได้เร่งตัวขึ้นเพื่อช่วยสนับสนุนการขยายตัว
ของเศรษฐกิจในช่วงที่ภาวการณ์บริโภคและการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลง ทั้งนี้ ด้านมูลค่าการส่งออกในเดือน พ.ค.50 ขยายตัวอยู่ที่
13,049.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือขยายตัวประมาณร้อยละ 20.9 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่มีมูลค่าอยู่ที่ 10,874.3 ล้านดอลลาร์ สรอ.
หรือขยายตัวร้อยละ 18.5 ขณะที่มูลค่าการนำเข้าในเดือน พ.ค.50 อยู่ที่ 12,248.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือขยายตัวร้อยละ 6.7
ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่มีมูลค่า 10,618.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือขยายตัวร้อยละ 8.9 ส่งผลให้ดุลการค้าในเดือน พ.ค.50
เกินดุลอยู่ที่ 800.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่เกินดุลเพียง 255.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไป
ในเดือน พ.ค.50 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 1.8 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำที่สามารถบริหารจัดการได้ ขณะที่
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.7 ลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 1.2 นอกจากนี้ ก.คลังยังคงยืนยันเศรษฐกิจในปี 50 ว่าจะขยายตัว
อยู่ที่ร้อยละ 3.8-4.3 ตามที่ประมาณการไว้เดิม (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์, บ้านเมือง, มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คำสั่งซื้อสินค้าคงทนของ สรอ. ในเดือน พ.ค. ลดลงร้อยละ 2.8 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 27มิ.ย. 50 ก.พาณิชย์
สรอ. เปิดเผยว่า ในเดือน พ.ค. คำสั่งซื้อสินค้าคงทนของ สรอ. ลดลงร้อยละ 2.8 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ในเดือน เม.ย. และ
ลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นว่าจะลดลงร้อยละ 1.0 เนื่องจากคำสั่งซื้ออุปกรณ์การขนส่ง, เครื่องบินโดยสารและ
อุปกรณ์ลดลงร้อยละ ลดลงร้อยละ 6.8 และร้อยละ 22.7 ตามลำดับ และหากไม่นับรวมอุปกรณ์การขนส่ง คำสั่งซื้อลดลงร้อยละ 1.0
เนื่องจากคำสั่งซื้อสินค้าโรงงาน เครื่องจักร โลหะ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลดลง ขณะที่คำสั่งซื้อที่ไม่นับรวมอาวุธ ลดลงร้อยละ 3.2
ส่วนคำสั่งซื้อสินค้าที่มิใช่อาวุธที่ไม่นับรวมเครื่องบินซึ่งบ่งบอกการใช้จ่ายของภาคธุรกิจ ลดลงร้อยละ 3.0 ลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค.
ส่งสัญญานว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิตชะงักงัน และในไตรมาสที่ 2 อาจจะชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยนาย Robert Lutts
ประธานและหัวหน้าเจ้าหน้าที่ลงทุนที่ Cabot Money Management ใน Massachusetts เห็นว่าการที่คำสั่งซื้อสินค้าคงทนลดลงดังกล่าว
สะท้อนภาพทางด้าน ธุรกิจและเป็นการลดลงอย่างผิดคาด ซึ่งบรรดานักวิเคราะห์ต่างคาดการณ์กันว่าการลงทุนของธุรกิจจะลดลงร้อยละ 0.1
(รอยเตอร์)
2. เศรษฐกิจของเอเชียมีแนวโน้มขยายตัวดีจากภาคการส่งออกที่ฟื้นตัวดีขึ้นเกินคาด รายงานจากประเทศสิงคโปร์ เมื่อ
วันที่ 27 มิ.ย.50 สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์รายไตรมาสที่คาดว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก 12 ประเทศ (ไม่รวมญี่ปุ่น) ในช่วง 2 — 3 เดือนที่ผ่านมามีแนวโน้มเติบโตดี โดยมีปัจจัยบวกจากการส่งออก
ที่ขยายตัวได้ดีเกินคาดแม้ว่าจะประสบปัญหากับภาวะเศรษฐกิจของ สรอ. ทื่เป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ชะลอตัว รวมทั้งการใช้จ่ายเพื่อการบริโภค
ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้มีการคาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชียในปีนี้จะชะลอตัวหลังจากที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์
ในปีก่อน โดยมีปัจจัยหลักจากการคาดการณ์ว่าความต้องการสินค้าของ สรอ. ที่เป็นกิจกรรมหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้จะ
ชะลอตัวลง แต่ในความเป็นจริงแล้วผลกระทบจากเศรษฐกิจ สรอ. ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกมีน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ ขณะที่ตลาดแรงงานกลับ
ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ภาคอสังหาริมทรัพย์ขยายตัว และราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคชาวเอเชียมีการใช้จ่าย
เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ โดยคาดว่าเศรษฐกิจของจีนซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 10.6 ลดลงเพียงเล็กน้อยจากร้อยละ 10.7
ในปีก่อนหน้า แม้ว่าทางการจีนจะพยายามลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจลงแล้วก็ตาม แต่การส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้นก็ยังทำให้อัตราการขยายตัว
ของเศรษฐกิจอยู่ในระดับสูง เทียบกับผลสำรวจก่อนหน้านี้ที่คาดว่าเศรษฐกิจของจีนจะขยายตัวร้อยละ 10 ในปี 50 และจะลดลงเล็กน้อยใน
ปี 51 ในขณะที่คาดว่าเศรษฐกิจของอินเดียซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 3 ในเอเชีย รองจากญี่ปุ่นและจีน จะชะลอลงเล็กน้อยอยู่ที่ระดับร้อยละ 8.5
(ตัวเลขที่ทบทวนใหม่) ในปี งปม.50 ซึ่งจะสิ้นสุดเดือน มี.ค.51 จากที่ขยายตัวร้อยละ 9.4 ในปีก่อนหน้า (รอยเตอร์)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน พ.ค.50 ลดลงเหนือความคาดหมาย รายงานจากโตเกียวเมื่อ 28 มิ.ย.50
The Ministry of Economy, Trade and Industry (METI) เปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน พ.ค.50 ลดลง
ร้อยละ 0.4 เทียบต่อเดือน ซึ่งเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และตรงข้ามกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าผลผลิต
อุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ส่งผลให้เงินเยนอ่อนค่าลงเหนือความคาดหมายที่ระดับ 123.35 เยนต่อดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้
นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า การที่ผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงอาจเป็นสาเหตุให้ ธ.กลางญี่ปุ่นปรับลดการคาดการณ์ผลผลิตอุตสาหกรรมลง
จากที่เคยคาดว่าจะปรับตัวในทางที่ดีในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี ซึ่งผลผลิตอุตสาหกรรมเป็นปัจจัยในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจและ
การตัดสินใจดำเนินนโยบายการเงิน โดยคาดว่า ธ.กลางญี่ปุ่นอาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเร็วๆ นี้ อย่างไรก็ตาม METI
ได้คาดการณ์ตัวเลขผลผลิตโรงงาน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของผลผลิตอุตสาหกรรม ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 และ 1.7 ในเดือน มิ.ย.
และ ก.ค.50 ตามลำดับ ซึ่งถือเป็นการประเมินแนวโน้มภาคอุตสาหกรรมในทิศทางที่ดีขึ้น (รอยเตอร์)
4. คาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์จะขยายตัวร้อยละ 6.2 ในปี 50 รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 27 มิ.ย.50 ผลสำรวจความเห็น
ของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์ประจำงวดไตรมาสที่ 2 ปี 50 คาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์จะขยายตัวร้อยละ 6.2 ต่อปีในปี 50 สูงกว่า
ร้อยละ 5.5 ต่อปี ในผลสำรวจครั้งก่อนเมื่อเดือน มี.ค.50 ที่ผ่านมา สอดคล้องกับประมาณการของรัฐบาลที่คาดว่าเศรษฐกิจในปี 50 จะ
ขยายตัวระหว่างร้อยละ 5 ถึง 7 ต่อปี แต่อย่างไรก็ดี อัตราการขยายตัวดังกล่าวยังต่ำกว่าปี 49 ที่ผ่านมาซึ่งเศรษฐกิจขยายตัวถึงร้อยละ 7.9
สูงเป็นอันดับที่ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากเวียดนาม ทั้งนี้เป็นผลมาจากการคาดว่าการส่งออกจะฟื้นตัวในช่วงครึ่งของปีนี้
และจากการขยายตัวของภาคการก่อสร้างและภาคการเงินในไตรมาสแรกปี 50 ที่ผ่านมา โดยผลผลิตภาคการก่อสร้างขยายตัวถึงร้อยละ 9.7
ในไตรมาสแรกปี 50 เมื่อเทียบกับปีก่อน สูงสุดในรอบ 9 ปีจากโครงการก่อสร้างสถานคาสิโนระดับหรู 2 แห่งมูลค่ารวม 7 พันล้านดอลลาร์
และราคาอสังหาริมทรัพย์ที่พุ่งสูงขึ้น และภาคการเงินซึ่งขยายตัวถึงร้อยละ 13 ต่อปีในไตรมาสแรกปี 50 จากการขยายตัวของบริการการเงิน
ส่วนบุคคลและกองทุนเฮดจ์ฟันด์ นอกจากนี้ ในผลสำรวจครั้งนี้รอยเตอร์ยังคาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์จะขยายตัวร้อยละ 6 ต่อปีในปี 51 เพิ่มขึ้น
จากร้อยละ 5.6 ต่อปีในผลสำรวจครั้งก่อนเมื่อเดือน มี.ค.50 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 28 มิ.ย. 50 27 มิ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.529 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.3151/34.6593 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.68750 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 771.00/12.68 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,500/10,600 10,500/10,600 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 66.27 65.98 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 29.99*/25.34** 29.99*/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 2 มิ.ย. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--