วันนี้ (13 ม.ค.) นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานคณะทำงานตรวจสอบการทุจริต ของพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะเป็นผู้ยื่นเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตรวจสอบนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย น้องสาว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ร่ำรวยผิดปกติ และแจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินเป็นเท็จ เปิดเผยว่า สัปดาห์หน้าจะประสานกับคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อกล่าวหาของ ป.ป.ช. ว่า ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือไม่ เพราะยังมีเบาะแสข้อมูลต่าง ๆ ที่จะชี้ให้เห็นถึงพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ และสามารถขยายผลไปถึงแหล่งที่มาของเงินสกปรก โดยเฉพาะบริษัทที่เกี่ยวกับมีเดีย การสื่อสาร และการก่อสร้าง
“ผมเชื่อมั่นว่า ข้อมูลที่จะให้เพิ่มนี้จะสามารถโยงไปถึงนิติบุคคลอื่น ๆ ที่อยู่ในกระบวนการฉ้อฉลที่เกิดขึ้นในระบอบทักษิณอีกไม่น้อยกว่า 4-5 แห่ง ผมอยากให้มีการตรวจสอบงบดุล เส้นทางการเงินของบริษัทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ก็จะเห็นนอมินี หรือตัวแทนขบวนการแสวงหาประโยชน์ ว่าเป็นใครบ้าง การยื่นตรวจสอบกรณีร่ำรวยผิดปกติ เป็นเพียงความผิดปลายน้ำ ที่เราจำเป็นจะต้องว่ายทวนน้ำขึ้นไป เพื่อจะได้ข้อเท็จจริงของขบวนการโกงชาติ ตลอด 5 ปีของการบริหารงานของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ผมคาดว่าจะมีเม็ดเงินที่สูญเสียไปให้กับขบวนการนี้ รวมถึงสิทธิในสัมปทานต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า 100,000 ล้านบาท” นายอลงกรณ์ กล่าว
นอกจากนี้ นายอลงกรณ์ กล่าวว่า จะนำข้อมูลที่เคยยื่นให้ ป.ป.ช. ไปยื่นกับคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ตรวจสอบด้วย และจากการติดตามตรวจสอบโครงการบริหารเขตปลอดอากรและศูนย์โลจิตส์ติกส์ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาท ที่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ได้ว่าจ้างบริษัท ไทย แอร์พอตส์ กราวด์ เซอร์วิสเซส จำกัด (แทกส์) โดยร่วมลงทุนกับ ทอท. ลงนามในสัญญาวันที่ 28 เม.ย.2549เป็นระยะเวลา 10 ปีพบว่า การว่าจ้างดังกล่าวไม่มีการประมูลเพื่อให้เกิดการแข่งขัน และยังพบหลักฐานที่เชื่อได้ว่าบริษัท แทกส์ ถือหุ้นใหญ่โดยบริษัท โฟรบิชเซอร์ ที่จดทะเบียนในประเทศสิงคโปร์ที่เข้ามากว้านซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิมของแทกส์ ถึงร้อยละ 48.5 ที่สำคัญ มีการโยงใยถึง “แก๊งค์เจ๊” คนหนึ่งที่ได้วางแผนปล้นชาติด้วยการยักยอกเงินออกจากแทกส์ ตั้งแต่ปี 2547-2548 แล้วนำเงินนี้ย้อนกลับมาซื้อหุ้นใหญ่ของแทกส์ ซึ่งน่าสังเกตว่า ก่อนหน้านี้ แทกส์ไม่เคยได้รับงานในสนามบินสุวรรณภูมิเลย แต่เมื่อบริษัท โฟรบิชเซอร์ เข้ามาถือหุ้นใหญ่ในบริษัท แทกส์ ทำให้ได้งานในสนามบินแห่งนี้โดยไม่ต้องแข่งขัน
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอีกว่า เมื่อตรวจสอบหลักฐานการจดทะเบียนของบริษัท โฟรบิชเซอร์พบว่า เป็นบริษัทที่มีประกอบการต่ำกว่าร้านชายสี่บะหมี่เกี๊ยว เพราะเอกสารที่บริษัทรายงานต่อรัฐบาลสิงคโปร์ระบุผลประกอบการในปี 2546 ว่ามีรายได้แค่ 120 บาท และปี 2547 มีรายได้แค่ 100 บาท แต่เมื่อช่วงปลายปี 2547 กลับมีเงิน 198 ล้านบาท มาซื้อหุ้นบริษัท แทกส์ ได้ จึงน่าแปลกใจมากว่าเงินก่อนนี้มาจากไหน อีกทั้งจากการตรวจสอบผู้ถือหุ้นบริษัท โฟรบิชเซอร์ พบว่าผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นคนสิงคโปร์และคนไทย ซึ่งจากการไปตรวจสอบบ้านของผู้ถือหุ้นที่เป็นคนไทยดังกล่าว พบว่าเป็นบ้านร้าง แต่ปัจจุบันถูกรื้อทิ้งไปแล้ว จึงเชื่อว่าเป็นผู้ถือหุ้นรายนี้เป็นนอมินีทำการแทน “ไอ้โม่ง” หรือ “อีโม่ง” อย่างแน่นอน นอกจากนี้ พบว่าบริษัท แทกส์ได้ว่าจ้างบริษัท ดีเทค เป็นบริษัทที่ปรึกษาโครงการมูลค่ากว่า 400 ล้านบาท แต่ทำงานที่ปรึกษาแค่ 5 เดือนเท่านั้น ซึ่งบริษัทนี้จดทะเบียนในหมู่เกาะบริติช เวอร์จิ้น และมีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับบริษัท โฟรบิชเซอร์ เพราะบริษัท ดีเทค และบริษัท โฟรบิชเซอร์ มีที่ตั้งอยู่เลขที่เดียวกันในสิงคโปร์ เพื่อใช้ในการติดต่อ และทำธุรกรรมต่างๆ
“ผมมีคำถามว่า ทอท.ที่มีบอร์ดไปเป็นกรรมการบริษัท แทกส์ อนุมัติให้จ่ายเงินค่าจ้างบริษัท ดีเทค ได้อย่างไร เพราะเป็นการปู้ยี่ปู้ยำงบประมาณ ดังนั้นในวันที่ 17 ม.ค.นี้ เวลา 11.00 น. ผมจะเดินทางไปยื่นหลักฐานให้ คตส. (คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ) ตรวจสอบโครงการนี้ และขอให้ตรวจสอบบอร์ด ทอท.ที่มีนายศรีสุข จันทรางศุ เป็นประธานในขณะนั้นด้วย เพราะเป็นตัวแทนบอร์ด ทอท.ที่นั่งในตำแหน่งบริหารของแทกส์ที่เป็นบริษัทลูกของ ทอท. รวมทั้งให้สอบผู้ที่เกี่ยวข้องที่เชื่อว่าเป็นนอมินีของเจ๊คนหนึ่งมีชื่อว่า นาย ส” และ “น.ส. ป” ซึ่งเป็นหลานสาวคนหนึ่งของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ น้องสาวพ.ต.ท.ทักษิณ จากนั้น ผมจะไปหารือกับนายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม เพื่อขอให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาดำเนินการให้เป็นตัวอย่างด้วย”นายอลงกรณ์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 14 ม.ค. 2550--จบ--
“ผมเชื่อมั่นว่า ข้อมูลที่จะให้เพิ่มนี้จะสามารถโยงไปถึงนิติบุคคลอื่น ๆ ที่อยู่ในกระบวนการฉ้อฉลที่เกิดขึ้นในระบอบทักษิณอีกไม่น้อยกว่า 4-5 แห่ง ผมอยากให้มีการตรวจสอบงบดุล เส้นทางการเงินของบริษัทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ก็จะเห็นนอมินี หรือตัวแทนขบวนการแสวงหาประโยชน์ ว่าเป็นใครบ้าง การยื่นตรวจสอบกรณีร่ำรวยผิดปกติ เป็นเพียงความผิดปลายน้ำ ที่เราจำเป็นจะต้องว่ายทวนน้ำขึ้นไป เพื่อจะได้ข้อเท็จจริงของขบวนการโกงชาติ ตลอด 5 ปีของการบริหารงานของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ผมคาดว่าจะมีเม็ดเงินที่สูญเสียไปให้กับขบวนการนี้ รวมถึงสิทธิในสัมปทานต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า 100,000 ล้านบาท” นายอลงกรณ์ กล่าว
นอกจากนี้ นายอลงกรณ์ กล่าวว่า จะนำข้อมูลที่เคยยื่นให้ ป.ป.ช. ไปยื่นกับคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ตรวจสอบด้วย และจากการติดตามตรวจสอบโครงการบริหารเขตปลอดอากรและศูนย์โลจิตส์ติกส์ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาท ที่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ได้ว่าจ้างบริษัท ไทย แอร์พอตส์ กราวด์ เซอร์วิสเซส จำกัด (แทกส์) โดยร่วมลงทุนกับ ทอท. ลงนามในสัญญาวันที่ 28 เม.ย.2549เป็นระยะเวลา 10 ปีพบว่า การว่าจ้างดังกล่าวไม่มีการประมูลเพื่อให้เกิดการแข่งขัน และยังพบหลักฐานที่เชื่อได้ว่าบริษัท แทกส์ ถือหุ้นใหญ่โดยบริษัท โฟรบิชเซอร์ ที่จดทะเบียนในประเทศสิงคโปร์ที่เข้ามากว้านซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิมของแทกส์ ถึงร้อยละ 48.5 ที่สำคัญ มีการโยงใยถึง “แก๊งค์เจ๊” คนหนึ่งที่ได้วางแผนปล้นชาติด้วยการยักยอกเงินออกจากแทกส์ ตั้งแต่ปี 2547-2548 แล้วนำเงินนี้ย้อนกลับมาซื้อหุ้นใหญ่ของแทกส์ ซึ่งน่าสังเกตว่า ก่อนหน้านี้ แทกส์ไม่เคยได้รับงานในสนามบินสุวรรณภูมิเลย แต่เมื่อบริษัท โฟรบิชเซอร์ เข้ามาถือหุ้นใหญ่ในบริษัท แทกส์ ทำให้ได้งานในสนามบินแห่งนี้โดยไม่ต้องแข่งขัน
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอีกว่า เมื่อตรวจสอบหลักฐานการจดทะเบียนของบริษัท โฟรบิชเซอร์พบว่า เป็นบริษัทที่มีประกอบการต่ำกว่าร้านชายสี่บะหมี่เกี๊ยว เพราะเอกสารที่บริษัทรายงานต่อรัฐบาลสิงคโปร์ระบุผลประกอบการในปี 2546 ว่ามีรายได้แค่ 120 บาท และปี 2547 มีรายได้แค่ 100 บาท แต่เมื่อช่วงปลายปี 2547 กลับมีเงิน 198 ล้านบาท มาซื้อหุ้นบริษัท แทกส์ ได้ จึงน่าแปลกใจมากว่าเงินก่อนนี้มาจากไหน อีกทั้งจากการตรวจสอบผู้ถือหุ้นบริษัท โฟรบิชเซอร์ พบว่าผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นคนสิงคโปร์และคนไทย ซึ่งจากการไปตรวจสอบบ้านของผู้ถือหุ้นที่เป็นคนไทยดังกล่าว พบว่าเป็นบ้านร้าง แต่ปัจจุบันถูกรื้อทิ้งไปแล้ว จึงเชื่อว่าเป็นผู้ถือหุ้นรายนี้เป็นนอมินีทำการแทน “ไอ้โม่ง” หรือ “อีโม่ง” อย่างแน่นอน นอกจากนี้ พบว่าบริษัท แทกส์ได้ว่าจ้างบริษัท ดีเทค เป็นบริษัทที่ปรึกษาโครงการมูลค่ากว่า 400 ล้านบาท แต่ทำงานที่ปรึกษาแค่ 5 เดือนเท่านั้น ซึ่งบริษัทนี้จดทะเบียนในหมู่เกาะบริติช เวอร์จิ้น และมีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับบริษัท โฟรบิชเซอร์ เพราะบริษัท ดีเทค และบริษัท โฟรบิชเซอร์ มีที่ตั้งอยู่เลขที่เดียวกันในสิงคโปร์ เพื่อใช้ในการติดต่อ และทำธุรกรรมต่างๆ
“ผมมีคำถามว่า ทอท.ที่มีบอร์ดไปเป็นกรรมการบริษัท แทกส์ อนุมัติให้จ่ายเงินค่าจ้างบริษัท ดีเทค ได้อย่างไร เพราะเป็นการปู้ยี่ปู้ยำงบประมาณ ดังนั้นในวันที่ 17 ม.ค.นี้ เวลา 11.00 น. ผมจะเดินทางไปยื่นหลักฐานให้ คตส. (คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ) ตรวจสอบโครงการนี้ และขอให้ตรวจสอบบอร์ด ทอท.ที่มีนายศรีสุข จันทรางศุ เป็นประธานในขณะนั้นด้วย เพราะเป็นตัวแทนบอร์ด ทอท.ที่นั่งในตำแหน่งบริหารของแทกส์ที่เป็นบริษัทลูกของ ทอท. รวมทั้งให้สอบผู้ที่เกี่ยวข้องที่เชื่อว่าเป็นนอมินีของเจ๊คนหนึ่งมีชื่อว่า นาย ส” และ “น.ส. ป” ซึ่งเป็นหลานสาวคนหนึ่งของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ น้องสาวพ.ต.ท.ทักษิณ จากนั้น ผมจะไปหารือกับนายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม เพื่อขอให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาดำเนินการให้เป็นตัวอย่างด้วย”นายอลงกรณ์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 14 ม.ค. 2550--จบ--