ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. เตรียมออกพันธบัตรประเภทจ่ายดอกเบี้ยลอยตัวช่วงไตรมาส 2 ปีนี้ รายงานข่าวจากฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงิน
สำรอง ธปท. แจ้งว่า ตั้งแต่ในช่วงไตรมาส 2 ปีนี้ ธปท. เตรียมออกพันธบัตรประเภทจ่ายดอกเบี้ยลอยตัวเพิ่มเติมจากปัจจุบันที่ ธปท. จะออก
พันธบัตรประเภทมีการจ่ายดอกเบี้ยแบบคงที่เท่านั้น และมีเพียงภาคเอกชนที่สามารถออกพันธบัตรประเภทลอยตัวได้ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ ธปท.
จะออกพันธบัตรประเภทดังกล่าวเพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งให้แก่ผู้เล่นในตลาดการเงินมากขึ้น และเชื่อว่าจะส่งผลดีให้ตลาดการเงินมีผลิตภัณฑ์ที่มี
ความหลากหลายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในอนาคตอาจจะมีการลดสัดส่วนพันธบัตรมที่มีการจ่ายดอกเบี้ยแบบคงที่และหันมาออกแบบจ่ายดอกเบี้ยลอยตัว
มากขึ้น สำหรับสาเหตุที่ ธปท. ออกพันธบัตรประเภทจ่ายดอกเบี้ยลอยตัวในช่วงนี้เนื่องจากต้องการเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้เล่นในตลาดการเงิน
ในเบื้องต้น โดยหากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้นจะยิ่งทำให้ผู้เล่นในตลาดนิยมพันธบัตรประเภทนี้เพิ่มขึ้น และเมื่อพันธบัตรประเภทนี้ออกมา
จะส่งผลดีให้ผู้ซื้อไม่จำเป็นต้องแข่งขันประมูลพันธบัตรบ่อยครั้ง สามารถทำได้เพียงครั้งเดียวและจะได้รับอัตราดอกเบี้ยตามทิศทางการปรับขึ้นตาม
ตลาด ถือเป็นการรับประกันการแข่งขันประมูลให้แก่ผู้ซื้อได้ รวมทั้งจะทำให้ตลาดมีรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายและไม่กระจุกตัวอยู่เฉพาะกลุ่ม
ทั้งนี้ โดยทั่วไปในต่างประเทศจะออกพันธบัตรประเภทจ่ายดอกเบี้ยลอยตัวอายุไม่เกิน 2-5 ปี ซึ่งคาดว่าภายในสัปดาห์นี้ ธปท. จะประกาศราย
ละเอียดในการออกพันธบัตรประเภทดังกล่าวให้ทราบอีกครั้ง (ผู้จัดการรายวัน)
2. สินเชื่อบัตรเครดิตคงค้างปี 49 มีจำนวนทั้งสิ้น 171,005 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.21 ธปท. รายงานยอดการใช้จ่ายผ่าน
บัตรเครดิต ณ สิ้นเดือน ธ.ค.49 พบว่า มียอดสินเชื่อคงค้าง 171,005 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อนร้อยละ 19.21 ที่มียอดคงค้าง
143,453 ล้านบาท โดยสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้นมากสุดอยู่ในส่วนบัตรเครดิตที่ออกโดยสาขาธนาคารต่างประเทศ มียอดสินเชื่อคงค้าง
28,205 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.72 จากปีก่อน รองลงมาเป็นบัตรเครดิตที่ออกโดยนอนแบงก์มียอดสินเชื่อคงค้าง 79,829 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 20.77 ส่วนสินเชื่อคงค้างที่ออกโดย ธ.พาณิชย์มีจำนวน 56,279 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.51 จากปีก่อน ทั้งนี้
แม้ยอดสินเชื่อคงค้างจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 19.21 แต่ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในปี 49 กลับเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 14.66 มีปริมาณการใช้
จ่ายรวม 73,424 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9,389 ล้านบาท จากปีก่อน โดยการใช้จ่ายรวมผ่านบัตรเครดิตที่ออกโดยสาขาธนาคารต่างประเทศเพิ่มขึ้น
มากสุดร้อยละ 16.57 จากปีก่อน รองลงมาเป็น ธ.พาณิชย์ไทยมียอดใช้จ่ายเพิ่มร้อยละ 16.54 ส่วนนอนแบงก์มียอดใช้จ่ายเพิ่มเพียงร้อยละ
10.78 สำหรับประเภทการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมากสุดคือ การเบิกเงินสดล่วงหน้า 18,125 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2,545 ล้านบาท หรือร้อยละ
16.34 โดยเพิ่มขึ้นมากสุดจากบัตรเครดิตที่ออกโดยสาขาธนาคารต่างประเทศคิดเป็นร้อยละ 35.81 ขณะที่บัตรเครดิตที่ออกโดยธนาคารไทยเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 16.53 ส่วนการใช้จ่ายภายในประเทศมีปริมาณการใช้จ่าย ณ สิ้นเดือน ธ.ค.49 จำนวน 53,117 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.53
จากปีก่อน โดยบัตรเครดิตที่ออกโดยธนาคารไทยเพิ่มขึ้นมากที่สุดร้อยละ 17.11 รองลงมาเป็นสาขาธนาคารต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.49
ส่วนนอนแบงก์เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.90 ด้านการใช้จ่ายในต่างประเทศมีจำนวน 2,182 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.05 จากปีก่อน โดยเพิ่มขึ้น
มากสุดในส่วนบัตรเครดิตที่ออกโดยสาขาธนาคารต่างประเทศร้อยละ 16.96 (กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์)
3. ธปท. ให้แนวคิด ธ.พาณิชย์ร่วมกันตั้งบริษัทศูนย์กลางการจัดการธนบัตรเพื่อลดต้นทุน ร.ต.ยอดชาย ชูศรี ผู้ช่วยผู้ว่าการ
สายออกบัตรธนาคาร ธปท. กล่าวว่า ธปท. ได้ให้แนวคิด ธ.พาณิชย์
ร่วมกันตั้งบริษัทศูนย์กลางการจัดการธนบัตรเพื่อลดต้นทุนการขนส่งตรวจนับคัดธนบัตรของ ธ.พาณิชย์ เนื่องจากปัจจุบัน ธ.พาณิชย์
แต่ละแห่งจะมีบริษัทจัดการธนบัตรแยกกัน หรือมีบางแห่งร่วมมือกันบ้างแต่ไม่ใช่ทั้งระบบ ทำให้เกิดความไม่คุ้มค่าเพราะการขนส่งบางครั้งไม่ได้
ขนส่งธนบัตรเต็มกำลัง ซึ่งหากมีบริษัทกลางจัดการธนบัตรจะทำให้การหมุนเวียนธนบัตรสะดวกขึ้นและลดต้นทุนให้ ธ.พาณิชย์ โดยคาดว่าการจัดตั้ง
จะดำเนินการได้ในปีนี้ ล่าสุดสมาคมธนาคารไทยได้ตั้งคณะกรรมการหาแนวทางบริหารจัดการธนบัตรร่วม โดยมีแนวคิดว่าบริษัทกลางจัดการธนบัตร
ทำหน้าที่เป็นตัวกลางการขนส่งเงินระหว่าง ธปท. กับ ธ.พาณิชย์ และ ธ.พาณิชย์กับสาขาของธนาคาร จะมีบริษัทเดียวหรือมากกว่าก็ได้ แต่ไม่ใช่
มีเท่ากับจำนวนธนาคารในระบบ โดยเมื่อมีบริษัทกลางเชื่อว่าจะทำให้มีธนบัตรใหม่หมุนเวียนในมือประชาชนมากขึ้น ขณะเดียวกันประชาชนจะแลก
ธนบัตรกับ ธ.พาณิชย์สะดวกขึ้นเพราะ ธ.พาณิชย์มีธนบัตรใหม่หมุนเวียนในมือสูง (เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ผลการสำรวจคาดว่าเศรษฐกิจ สรอ. ช่วงต้นปี 50 จะชะลอตัว รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 50 ผลการสำรวจ
ของที่ลงใน Blue Chip Economic Indicators newsletter คาดว่าในช่วงครึ่งแรกปีนี้เศรษฐกิจ สรอ. จะชะลอตัว แต่จะฟื้นตัวอย่าง
แข็งแกร่งในระยะต่อไป โดย GDP ของ สรอ. ในปีนี้จะขยายตัวจากปีที่แล้วราวร้อยละ 2.7 มากกว่าที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนที่แล้วว่า GDP
จะขยายตัวเพียงร้อยละ 2.3 ทั้งนี้คาดว่าในไตรมาสแรกเศรษฐกิจ สรอ. จะเติบโตร้อยละ 2.5 และจะฟื้นตัวดีขึ้นจนถึงร้อยละ 3.0 ในไตรมาส
ที่4 ส่วนอัตราเงินเฟ้อซึ่งใช้เป็นมาตรวัดดัชนีราคาผู้บริโภคที่ไม่นับรวมราคาอาหารและพลังงานคาดว่าจะยังคงอยู่ในช่วงร้อยละ 1 — 2 ในปีนี้และ
ปีหน้า โดยคาดว่าในปี 50 จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.3 และลดลงเหลือร้อยละ 2.2 ในปี 51 อย่างไรก็ตามบรรดาผู้คาดการณ์ตัวเลขดังกล่าวส่วนใหญ่
ถึงร้อยละ 93.3 ต่างวิตกเกี่ยวกับภาวะการชะลอตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์และสต็อกสินค้าที่อ่อนตัวลง ทำให้คาดว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคจะ
ลดลง และคาดว่าการลงทุนในประเทศในปีนี้จะหดตัวถึงร้อยละ 11.6 ส่วนตลาดแรงงานในปีนี้คาดว่าจะยังคงขยายตัวแข็งแกร่ง โดยอัตราการว่าง
งานจะยังคงอยู่ที่ร้อยละ 4.6 และคาดว่าจะเพิ่มเป็นร้อยละ 4.7 ในไตรมาสที่ 2 สำหรับแนวโน้มการลงทุนยังคงขยายตัวโดยคาดว่า
อุตสาหกรรมการผลิตในไตรมาสแรกจะขยายตัวร้อยละ 2.1 และตลอดทั้งปีจะขยายตัวร้อยละ 2.4 (รอยเตอร์)
2. ทั้ง IMF และเยอรมนีเชื่อว่าเศรษฐกิจโลกในปี 50 ยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี รายงานจากเอสเซนต์ เยอรมนี เมื่อ 9 ก.พ.50
Rodrigo Rato ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF ให้สัมภาษณ์ในระหว่างเข้าร่วมประชุมกลุ่มประเทศ
อุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศหรือ G7 ว่าเขาเชื่อว่าเศรษฐกิจโลกในปี 50 จะยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่องจากปี 49 โดยขยายตัวประมาณ
ร้อยละ 5.0 จากประมาณร้อยละ 5.1 ในปี 49 โดยเชื่อว่าเศรษฐกิจของยุโรปและเอเชียจะขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในขณะที่คาดว่าเศรษฐกิจ
สรอ.จะชะลอตัวลงเพียงเล็กน้อย เช่นเดียวกับ รมต.คลังของเยอรมนี Peer Steinbrueck ที่มองว่าเศรษฐกิจโลกจะยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี
ต่อไปในปี 50 หลังจากขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.0 ต่อปีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยเชื่อว่าเยอรมนีและประเทศอื่น ๆ ในยุโรปจะมีส่วนช่วยให้
เศรษฐกิจโลกขยายตัวอย่างต่อเนื่องในปี 50 ทั้งนี้เศรษฐกิจเยอรมนีซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในเขตเศรษฐกิจยุโรปหรือ Euro zone ขยายตัวเพิ่มขึ้น
เกือบ 3 เท่าในปี 49 สอดคล้องกับความเห็นของกรรมาธิการด้านเศรษฐกิจและการเงินของสหภาพยุโรป Joaquin Almunia ที่คาดว่าจะมี
การปรับประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ Euro zone ในปี 50 เพิ่มขึ้นจากเมื่อเดือน พ.ย.49 ซึ่งประมาณไว้ที่ร้อยละ 2.1
ต่อปีในวันที่ 16 ก.พ.50 ที่จะถึงนี้ หลังจากเศรษฐกิจ Euro zone ขยายตัวประมาณร้อยละ 2.6 ในปี 49 และร้อยละ 1.4 ในปี 48 แต่อย่างไร
ก็ดี ธ.กลางยุโรปหรือ ECB ได้แสดงความกังวลต่อราคาน้ำมันที่กลับมาสูงขึ้นอีกในช่วงนี้ โดยอยู่ที่ประมาณ 60 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลเมื่อวันที่
9 ก.พ.50 ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นจากกลางเดือน ม.ค.50 ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 50 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลว่าอาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อและค่าแรงสูงขึ้น
และอาจทำให้ ECB ต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อต่อไป (รอยเตอร์)
3. ธ.กลางจีนใช้นโยบายการเงินในการชะลอความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ รายงานจากเยอรมนี เมื่อ 9 ก.พ.50 ผู้ว่าการ
ธ.กลางจีน (Zhou Xiaochuan) เปิดเผยว่า ธ.กลางใช้เครื่องมือทางการเงินที่หลากหลาย อาทิเช่น Monetary deposits อัตราแลกเปลี่ยน
และอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เป็นต้น ช่วยชะลอความร้อนแรงทางเศรษฐกิจของจีน และอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 2.8 ใน
เดือน ธ.ค.49 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบเกือบ 2 ปี ทั้งนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจจีน (ขยายตัวเป็นอันดับ 4 ของโลก) ในปี 49 ขยายตัว
ถึงร้อยละ 10.7 นับเป็นการขยายตัวรวดเร็วที่สุดในรอบมากกว่าทศวรรษ เนื่องจากพลังการขับเคลื่อนของภาคการลงทุนและการส่งออก แม้ว่า
รัฐบาลจีนจะคอยควบคุมการขยายตัวอย่างใกล้ชิดก็ตาม อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าการ ธ.กลางไม่ได้ระบุถึงเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจจีน แต่
คาดหวังว่าเศรษฐกิจจีนในปีนี้จะชะลอตัวอยู่ในระดับร้อยละ 8 ซึ่งเป็นระดับที่เจ้าหน้าที่ของ ธ.กลางจีนวางเป้าหมายไว้และเผยแพร่ในรายงาน
นโยบายการเงินฉบับไตรมาส 4 ปี 49 ทั้งนี้ นักวิเคราะห์เห็นว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 8 เป็นระดับการขยายตัวต่ำสุด
ที่จะก่อให้เกิดการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างเพียงพอสำหรับแรงงานจำนวนมหาศาลที่มีอยู่ รวมทั้งจะต้องไม่ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจที่ร้อนแรงเกินไปด้วย (รอยเตอร์)
4. สิงคโปร์อาจทบทวนนโยบายการใช้ประโยชน์จากที่ดินใหม่หลังจากจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นเร็วกว่าที่คาดไว้ รายงานจากสิงคโปร์
เมื่อ 10 ก.พ.50 นสพ.Straits Times ของสิงคโปร์อ้างคำให้สัมภาษณ์ของ รมต.เพื่อการพัฒนาประเทศ Mah Bow Tan ว่ารัฐบาลอาจทบทวน
นโยบายการใช้ประโยชน์จากที่ดินใหม่ หลังจากจำนวนประชากรของสิงคโปร์ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 4.5 ล้านคนเพิ่มขึ้นเร็วกว่าที่คาดไว้ โดยใช้เวลาเพียง
6 ปีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นจาก 3.9 ล้านคนเป็น 4.5 ล้านคนในปัจจุบัน ดังนั้นจำนวนประชากรอาจเพิ่มขึ้นถึง 6.5 ล้านคนภายในอีกเพียง 20
ปีข้างหน้า ในขณะที่สิงคโปร์มีเนื้อที่จำกัด หากไม่วางแผนการใช้ที่ดินให้ดีแล้ว อาจทำให้นักลงทุนหันไปลงทุนประเทศอื่นจากปัญหาที่ดินและโครงสร้าง
พื้นฐานไม่เพียงพอ ดังนั้นข้อเสนอของรัฐบาลอาจรวมถึงการกันที่ดินสำหรับภาคเศรษฐกิจใหม่ที่กำลังขยายตัว เพิ่มจำนวนเครือข่ายเส้นทางขนส่ง
ทางรางเป็น 2 เท่า และเพิ่มจำนวนสวนสาธารณะขนาดใหญ่และที่พักอาศัยของประชาชนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้รัฐบาลจะเผยแพร่ราย
ละเอียดของแต่ละโครงการในภายหลัง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 12 ก.พ. 50 9 ก.พ. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.776 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.5603/35.8885 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.87 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 695.27/17.79 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,150/11,250 11,000/11,100 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.65 55.7 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 25.59*/23.34** 25.59*/23.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 3 ก.พ. 50
** ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 8 ก.พ. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. เตรียมออกพันธบัตรประเภทจ่ายดอกเบี้ยลอยตัวช่วงไตรมาส 2 ปีนี้ รายงานข่าวจากฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงิน
สำรอง ธปท. แจ้งว่า ตั้งแต่ในช่วงไตรมาส 2 ปีนี้ ธปท. เตรียมออกพันธบัตรประเภทจ่ายดอกเบี้ยลอยตัวเพิ่มเติมจากปัจจุบันที่ ธปท. จะออก
พันธบัตรประเภทมีการจ่ายดอกเบี้ยแบบคงที่เท่านั้น และมีเพียงภาคเอกชนที่สามารถออกพันธบัตรประเภทลอยตัวได้ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ ธปท.
จะออกพันธบัตรประเภทดังกล่าวเพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งให้แก่ผู้เล่นในตลาดการเงินมากขึ้น และเชื่อว่าจะส่งผลดีให้ตลาดการเงินมีผลิตภัณฑ์ที่มี
ความหลากหลายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในอนาคตอาจจะมีการลดสัดส่วนพันธบัตรมที่มีการจ่ายดอกเบี้ยแบบคงที่และหันมาออกแบบจ่ายดอกเบี้ยลอยตัว
มากขึ้น สำหรับสาเหตุที่ ธปท. ออกพันธบัตรประเภทจ่ายดอกเบี้ยลอยตัวในช่วงนี้เนื่องจากต้องการเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้เล่นในตลาดการเงิน
ในเบื้องต้น โดยหากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้นจะยิ่งทำให้ผู้เล่นในตลาดนิยมพันธบัตรประเภทนี้เพิ่มขึ้น และเมื่อพันธบัตรประเภทนี้ออกมา
จะส่งผลดีให้ผู้ซื้อไม่จำเป็นต้องแข่งขันประมูลพันธบัตรบ่อยครั้ง สามารถทำได้เพียงครั้งเดียวและจะได้รับอัตราดอกเบี้ยตามทิศทางการปรับขึ้นตาม
ตลาด ถือเป็นการรับประกันการแข่งขันประมูลให้แก่ผู้ซื้อได้ รวมทั้งจะทำให้ตลาดมีรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายและไม่กระจุกตัวอยู่เฉพาะกลุ่ม
ทั้งนี้ โดยทั่วไปในต่างประเทศจะออกพันธบัตรประเภทจ่ายดอกเบี้ยลอยตัวอายุไม่เกิน 2-5 ปี ซึ่งคาดว่าภายในสัปดาห์นี้ ธปท. จะประกาศราย
ละเอียดในการออกพันธบัตรประเภทดังกล่าวให้ทราบอีกครั้ง (ผู้จัดการรายวัน)
2. สินเชื่อบัตรเครดิตคงค้างปี 49 มีจำนวนทั้งสิ้น 171,005 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.21 ธปท. รายงานยอดการใช้จ่ายผ่าน
บัตรเครดิต ณ สิ้นเดือน ธ.ค.49 พบว่า มียอดสินเชื่อคงค้าง 171,005 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อนร้อยละ 19.21 ที่มียอดคงค้าง
143,453 ล้านบาท โดยสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้นมากสุดอยู่ในส่วนบัตรเครดิตที่ออกโดยสาขาธนาคารต่างประเทศ มียอดสินเชื่อคงค้าง
28,205 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.72 จากปีก่อน รองลงมาเป็นบัตรเครดิตที่ออกโดยนอนแบงก์มียอดสินเชื่อคงค้าง 79,829 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 20.77 ส่วนสินเชื่อคงค้างที่ออกโดย ธ.พาณิชย์มีจำนวน 56,279 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.51 จากปีก่อน ทั้งนี้
แม้ยอดสินเชื่อคงค้างจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 19.21 แต่ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในปี 49 กลับเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 14.66 มีปริมาณการใช้
จ่ายรวม 73,424 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9,389 ล้านบาท จากปีก่อน โดยการใช้จ่ายรวมผ่านบัตรเครดิตที่ออกโดยสาขาธนาคารต่างประเทศเพิ่มขึ้น
มากสุดร้อยละ 16.57 จากปีก่อน รองลงมาเป็น ธ.พาณิชย์ไทยมียอดใช้จ่ายเพิ่มร้อยละ 16.54 ส่วนนอนแบงก์มียอดใช้จ่ายเพิ่มเพียงร้อยละ
10.78 สำหรับประเภทการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมากสุดคือ การเบิกเงินสดล่วงหน้า 18,125 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2,545 ล้านบาท หรือร้อยละ
16.34 โดยเพิ่มขึ้นมากสุดจากบัตรเครดิตที่ออกโดยสาขาธนาคารต่างประเทศคิดเป็นร้อยละ 35.81 ขณะที่บัตรเครดิตที่ออกโดยธนาคารไทยเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 16.53 ส่วนการใช้จ่ายภายในประเทศมีปริมาณการใช้จ่าย ณ สิ้นเดือน ธ.ค.49 จำนวน 53,117 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.53
จากปีก่อน โดยบัตรเครดิตที่ออกโดยธนาคารไทยเพิ่มขึ้นมากที่สุดร้อยละ 17.11 รองลงมาเป็นสาขาธนาคารต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.49
ส่วนนอนแบงก์เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.90 ด้านการใช้จ่ายในต่างประเทศมีจำนวน 2,182 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.05 จากปีก่อน โดยเพิ่มขึ้น
มากสุดในส่วนบัตรเครดิตที่ออกโดยสาขาธนาคารต่างประเทศร้อยละ 16.96 (กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์)
3. ธปท. ให้แนวคิด ธ.พาณิชย์ร่วมกันตั้งบริษัทศูนย์กลางการจัดการธนบัตรเพื่อลดต้นทุน ร.ต.ยอดชาย ชูศรี ผู้ช่วยผู้ว่าการ
สายออกบัตรธนาคาร ธปท. กล่าวว่า ธปท. ได้ให้แนวคิด ธ.พาณิชย์
ร่วมกันตั้งบริษัทศูนย์กลางการจัดการธนบัตรเพื่อลดต้นทุนการขนส่งตรวจนับคัดธนบัตรของ ธ.พาณิชย์ เนื่องจากปัจจุบัน ธ.พาณิชย์
แต่ละแห่งจะมีบริษัทจัดการธนบัตรแยกกัน หรือมีบางแห่งร่วมมือกันบ้างแต่ไม่ใช่ทั้งระบบ ทำให้เกิดความไม่คุ้มค่าเพราะการขนส่งบางครั้งไม่ได้
ขนส่งธนบัตรเต็มกำลัง ซึ่งหากมีบริษัทกลางจัดการธนบัตรจะทำให้การหมุนเวียนธนบัตรสะดวกขึ้นและลดต้นทุนให้ ธ.พาณิชย์ โดยคาดว่าการจัดตั้ง
จะดำเนินการได้ในปีนี้ ล่าสุดสมาคมธนาคารไทยได้ตั้งคณะกรรมการหาแนวทางบริหารจัดการธนบัตรร่วม โดยมีแนวคิดว่าบริษัทกลางจัดการธนบัตร
ทำหน้าที่เป็นตัวกลางการขนส่งเงินระหว่าง ธปท. กับ ธ.พาณิชย์ และ ธ.พาณิชย์กับสาขาของธนาคาร จะมีบริษัทเดียวหรือมากกว่าก็ได้ แต่ไม่ใช่
มีเท่ากับจำนวนธนาคารในระบบ โดยเมื่อมีบริษัทกลางเชื่อว่าจะทำให้มีธนบัตรใหม่หมุนเวียนในมือประชาชนมากขึ้น ขณะเดียวกันประชาชนจะแลก
ธนบัตรกับ ธ.พาณิชย์สะดวกขึ้นเพราะ ธ.พาณิชย์มีธนบัตรใหม่หมุนเวียนในมือสูง (เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ผลการสำรวจคาดว่าเศรษฐกิจ สรอ. ช่วงต้นปี 50 จะชะลอตัว รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 50 ผลการสำรวจ
ของที่ลงใน Blue Chip Economic Indicators newsletter คาดว่าในช่วงครึ่งแรกปีนี้เศรษฐกิจ สรอ. จะชะลอตัว แต่จะฟื้นตัวอย่าง
แข็งแกร่งในระยะต่อไป โดย GDP ของ สรอ. ในปีนี้จะขยายตัวจากปีที่แล้วราวร้อยละ 2.7 มากกว่าที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนที่แล้วว่า GDP
จะขยายตัวเพียงร้อยละ 2.3 ทั้งนี้คาดว่าในไตรมาสแรกเศรษฐกิจ สรอ. จะเติบโตร้อยละ 2.5 และจะฟื้นตัวดีขึ้นจนถึงร้อยละ 3.0 ในไตรมาส
ที่4 ส่วนอัตราเงินเฟ้อซึ่งใช้เป็นมาตรวัดดัชนีราคาผู้บริโภคที่ไม่นับรวมราคาอาหารและพลังงานคาดว่าจะยังคงอยู่ในช่วงร้อยละ 1 — 2 ในปีนี้และ
ปีหน้า โดยคาดว่าในปี 50 จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.3 และลดลงเหลือร้อยละ 2.2 ในปี 51 อย่างไรก็ตามบรรดาผู้คาดการณ์ตัวเลขดังกล่าวส่วนใหญ่
ถึงร้อยละ 93.3 ต่างวิตกเกี่ยวกับภาวะการชะลอตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์และสต็อกสินค้าที่อ่อนตัวลง ทำให้คาดว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคจะ
ลดลง และคาดว่าการลงทุนในประเทศในปีนี้จะหดตัวถึงร้อยละ 11.6 ส่วนตลาดแรงงานในปีนี้คาดว่าจะยังคงขยายตัวแข็งแกร่ง โดยอัตราการว่าง
งานจะยังคงอยู่ที่ร้อยละ 4.6 และคาดว่าจะเพิ่มเป็นร้อยละ 4.7 ในไตรมาสที่ 2 สำหรับแนวโน้มการลงทุนยังคงขยายตัวโดยคาดว่า
อุตสาหกรรมการผลิตในไตรมาสแรกจะขยายตัวร้อยละ 2.1 และตลอดทั้งปีจะขยายตัวร้อยละ 2.4 (รอยเตอร์)
2. ทั้ง IMF และเยอรมนีเชื่อว่าเศรษฐกิจโลกในปี 50 ยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี รายงานจากเอสเซนต์ เยอรมนี เมื่อ 9 ก.พ.50
Rodrigo Rato ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF ให้สัมภาษณ์ในระหว่างเข้าร่วมประชุมกลุ่มประเทศ
อุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศหรือ G7 ว่าเขาเชื่อว่าเศรษฐกิจโลกในปี 50 จะยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่องจากปี 49 โดยขยายตัวประมาณ
ร้อยละ 5.0 จากประมาณร้อยละ 5.1 ในปี 49 โดยเชื่อว่าเศรษฐกิจของยุโรปและเอเชียจะขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในขณะที่คาดว่าเศรษฐกิจ
สรอ.จะชะลอตัวลงเพียงเล็กน้อย เช่นเดียวกับ รมต.คลังของเยอรมนี Peer Steinbrueck ที่มองว่าเศรษฐกิจโลกจะยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี
ต่อไปในปี 50 หลังจากขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.0 ต่อปีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยเชื่อว่าเยอรมนีและประเทศอื่น ๆ ในยุโรปจะมีส่วนช่วยให้
เศรษฐกิจโลกขยายตัวอย่างต่อเนื่องในปี 50 ทั้งนี้เศรษฐกิจเยอรมนีซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในเขตเศรษฐกิจยุโรปหรือ Euro zone ขยายตัวเพิ่มขึ้น
เกือบ 3 เท่าในปี 49 สอดคล้องกับความเห็นของกรรมาธิการด้านเศรษฐกิจและการเงินของสหภาพยุโรป Joaquin Almunia ที่คาดว่าจะมี
การปรับประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ Euro zone ในปี 50 เพิ่มขึ้นจากเมื่อเดือน พ.ย.49 ซึ่งประมาณไว้ที่ร้อยละ 2.1
ต่อปีในวันที่ 16 ก.พ.50 ที่จะถึงนี้ หลังจากเศรษฐกิจ Euro zone ขยายตัวประมาณร้อยละ 2.6 ในปี 49 และร้อยละ 1.4 ในปี 48 แต่อย่างไร
ก็ดี ธ.กลางยุโรปหรือ ECB ได้แสดงความกังวลต่อราคาน้ำมันที่กลับมาสูงขึ้นอีกในช่วงนี้ โดยอยู่ที่ประมาณ 60 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลเมื่อวันที่
9 ก.พ.50 ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นจากกลางเดือน ม.ค.50 ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 50 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลว่าอาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อและค่าแรงสูงขึ้น
และอาจทำให้ ECB ต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อต่อไป (รอยเตอร์)
3. ธ.กลางจีนใช้นโยบายการเงินในการชะลอความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ รายงานจากเยอรมนี เมื่อ 9 ก.พ.50 ผู้ว่าการ
ธ.กลางจีน (Zhou Xiaochuan) เปิดเผยว่า ธ.กลางใช้เครื่องมือทางการเงินที่หลากหลาย อาทิเช่น Monetary deposits อัตราแลกเปลี่ยน
และอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เป็นต้น ช่วยชะลอความร้อนแรงทางเศรษฐกิจของจีน และอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 2.8 ใน
เดือน ธ.ค.49 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบเกือบ 2 ปี ทั้งนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจจีน (ขยายตัวเป็นอันดับ 4 ของโลก) ในปี 49 ขยายตัว
ถึงร้อยละ 10.7 นับเป็นการขยายตัวรวดเร็วที่สุดในรอบมากกว่าทศวรรษ เนื่องจากพลังการขับเคลื่อนของภาคการลงทุนและการส่งออก แม้ว่า
รัฐบาลจีนจะคอยควบคุมการขยายตัวอย่างใกล้ชิดก็ตาม อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าการ ธ.กลางไม่ได้ระบุถึงเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจจีน แต่
คาดหวังว่าเศรษฐกิจจีนในปีนี้จะชะลอตัวอยู่ในระดับร้อยละ 8 ซึ่งเป็นระดับที่เจ้าหน้าที่ของ ธ.กลางจีนวางเป้าหมายไว้และเผยแพร่ในรายงาน
นโยบายการเงินฉบับไตรมาส 4 ปี 49 ทั้งนี้ นักวิเคราะห์เห็นว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 8 เป็นระดับการขยายตัวต่ำสุด
ที่จะก่อให้เกิดการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างเพียงพอสำหรับแรงงานจำนวนมหาศาลที่มีอยู่ รวมทั้งจะต้องไม่ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจที่ร้อนแรงเกินไปด้วย (รอยเตอร์)
4. สิงคโปร์อาจทบทวนนโยบายการใช้ประโยชน์จากที่ดินใหม่หลังจากจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นเร็วกว่าที่คาดไว้ รายงานจากสิงคโปร์
เมื่อ 10 ก.พ.50 นสพ.Straits Times ของสิงคโปร์อ้างคำให้สัมภาษณ์ของ รมต.เพื่อการพัฒนาประเทศ Mah Bow Tan ว่ารัฐบาลอาจทบทวน
นโยบายการใช้ประโยชน์จากที่ดินใหม่ หลังจากจำนวนประชากรของสิงคโปร์ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 4.5 ล้านคนเพิ่มขึ้นเร็วกว่าที่คาดไว้ โดยใช้เวลาเพียง
6 ปีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นจาก 3.9 ล้านคนเป็น 4.5 ล้านคนในปัจจุบัน ดังนั้นจำนวนประชากรอาจเพิ่มขึ้นถึง 6.5 ล้านคนภายในอีกเพียง 20
ปีข้างหน้า ในขณะที่สิงคโปร์มีเนื้อที่จำกัด หากไม่วางแผนการใช้ที่ดินให้ดีแล้ว อาจทำให้นักลงทุนหันไปลงทุนประเทศอื่นจากปัญหาที่ดินและโครงสร้าง
พื้นฐานไม่เพียงพอ ดังนั้นข้อเสนอของรัฐบาลอาจรวมถึงการกันที่ดินสำหรับภาคเศรษฐกิจใหม่ที่กำลังขยายตัว เพิ่มจำนวนเครือข่ายเส้นทางขนส่ง
ทางรางเป็น 2 เท่า และเพิ่มจำนวนสวนสาธารณะขนาดใหญ่และที่พักอาศัยของประชาชนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้รัฐบาลจะเผยแพร่ราย
ละเอียดของแต่ละโครงการในภายหลัง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 12 ก.พ. 50 9 ก.พ. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.776 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.5603/35.8885 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.87 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 695.27/17.79 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,150/11,250 11,000/11,100 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.65 55.7 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 25.59*/23.34** 25.59*/23.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 3 ก.พ. 50
** ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 8 ก.พ. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--