1. การผลิต
ภาวะการผลิตเยื่อกระดาษ กระดาษ และกระดาษแข็ง ในไตรมาสที่ 1 ปี 2550 ดัชนีผลผลิต 129.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลง
เล็กน้อยร้อยละ 0.9 เนื่องจากในไตรมาสก่อนมีปัจจัยสนับสนุนหลายตัวที่ส่งผลให้มีการขยายการผลิต เพื่อรองรับความต้องการภายในประเทศและ
ต่างประเทศ ช่วงเทศกาลคริสมาสต์ ปีใหม่และตรุษจีน ในการจัดทำปฏิทิน สมุดบันทึก กระดาษห่อของขวัญ การ์ด ต่าง ๆ กระดาษไหว้
เจ้า และรายงานประจำปีของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน สำหรับในไตรมาสนี้มีปัจจัยสนับสนุนเพียงปัจจัยเดียว คือ การจัดพิมพ์สมุด หนังสือ
และตำราแบบเรียน เพื่อรองรับการเปิดเทอมของนักเรียนนักศึกษา ประกอบกับมีปัจจัยลบในประเทศ อันเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวทำให้แนว
โน้มการบริโภคชะลอตัวตาม อย่างไรก็ตาม ความต้องการใช้เยื่อกระดาษจากจีนยังมีปริมาณสูงต่อเนื่อง เพื่อรองรับการขยายตัวเศรษฐกิจ
สำหรับภาวะการผลิตกระดาษลูกฟูก กระดาษแข็งลูกฟูก และการผลิตภาชนะที่ทำจากกระดาษและกระดาษแข็ง ในไตรมาสที่ 1 ปี
2550 ดัชนีผลผลิต 161.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 และ 7.1 เนื่องจากการส่งออกสินค้าที่
ต้องใช้บรรจุภัณฑ์กระดาษมีคำสั่งซื้อเข้ามามาก เพื่อใช้ในการบรรจุ ห่อหุ้มและขนส่งสินค้า เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์และชิ้นส่วน เป็นต้น
2. การนำเข้าและการส่งออก
เนื่องจากกรมศุลกากร ได้นำพิกัดฮาร์โมไนซ์ ฉบับปี 2007 มาใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2007 ทำให้การจัดเก็บสถิตินำเข้าส่งออก
ต้องจัดทำโปรแกรมใหม่ทั้งระบบ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ
3. สรุปและแนวโน้ม
ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษและกระดาษ ในไตรมาสนี้ทรงตัว เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว และมีปัจจัยสนับสนุน
ภายในประเทศเพียงปัจจัยเดียวคือ การผลิตสมุด หนังสือและตำราแบบเรียน เพื่อรองรับการเปิดเทอมของนักเรียนนักศึกษา สำหรับปัจจัยสนับสนุน
ภายนอกประเทศ คือ จีนมีปริมาณความต้องการใช้เยื่อกระดาษสูงต่อเนื่อง และการส่งออกสินค้าบางตัวของไทยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น เช่น
เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์และส่วนประกอบ เป็นต้น ทำให้มีความต้องการใช้กระดาษประเภทลูกฟูก เพื่อบรรจุ ห่อหุ้มและขนส่งสินค้า
แนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ และกระดาษ ในไตรมาสหน้าคาดว่าจะทรงตัวใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน เนื่องจากภาวะ
เศรษฐกิจไทยชะลอตัว การลงทุนภาคเอกชนขาดความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์การเมือง ประกอบกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทมีค่าแข็งขึ้นต่อเนื่อง ส่ง
ผลต่อการแข่งขันในต่างประเทศ เพราะจะทำให้ราคาสินค้าจากไทยสูงกว่าคู่แข่ง
ตารางดัชนีผลผลิตเยื่อกระดาษ และกระดาษ
ดัชนีผลผลิต การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
ไตรมาส
Jan-49 Apr-49 Jan-50 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
- เยื่อกระดาษ กระดาษ และกระดาษแข็ง 127.3 131 129.8 -0.9 2
- กระดาษลูกฟูก กระดาษแข็งลูกฟูก
และการผลิตภาชนะที่ทำจากกระดาษและกระดาษแข็ง 151 155.1 161.7 4.2 7.1
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ภาวะการผลิตเยื่อกระดาษ กระดาษ และกระดาษแข็ง ในไตรมาสที่ 1 ปี 2550 ดัชนีผลผลิต 129.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลง
เล็กน้อยร้อยละ 0.9 เนื่องจากในไตรมาสก่อนมีปัจจัยสนับสนุนหลายตัวที่ส่งผลให้มีการขยายการผลิต เพื่อรองรับความต้องการภายในประเทศและ
ต่างประเทศ ช่วงเทศกาลคริสมาสต์ ปีใหม่และตรุษจีน ในการจัดทำปฏิทิน สมุดบันทึก กระดาษห่อของขวัญ การ์ด ต่าง ๆ กระดาษไหว้
เจ้า และรายงานประจำปีของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน สำหรับในไตรมาสนี้มีปัจจัยสนับสนุนเพียงปัจจัยเดียว คือ การจัดพิมพ์สมุด หนังสือ
และตำราแบบเรียน เพื่อรองรับการเปิดเทอมของนักเรียนนักศึกษา ประกอบกับมีปัจจัยลบในประเทศ อันเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวทำให้แนว
โน้มการบริโภคชะลอตัวตาม อย่างไรก็ตาม ความต้องการใช้เยื่อกระดาษจากจีนยังมีปริมาณสูงต่อเนื่อง เพื่อรองรับการขยายตัวเศรษฐกิจ
สำหรับภาวะการผลิตกระดาษลูกฟูก กระดาษแข็งลูกฟูก และการผลิตภาชนะที่ทำจากกระดาษและกระดาษแข็ง ในไตรมาสที่ 1 ปี
2550 ดัชนีผลผลิต 161.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 และ 7.1 เนื่องจากการส่งออกสินค้าที่
ต้องใช้บรรจุภัณฑ์กระดาษมีคำสั่งซื้อเข้ามามาก เพื่อใช้ในการบรรจุ ห่อหุ้มและขนส่งสินค้า เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์และชิ้นส่วน เป็นต้น
2. การนำเข้าและการส่งออก
เนื่องจากกรมศุลกากร ได้นำพิกัดฮาร์โมไนซ์ ฉบับปี 2007 มาใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2007 ทำให้การจัดเก็บสถิตินำเข้าส่งออก
ต้องจัดทำโปรแกรมใหม่ทั้งระบบ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ
3. สรุปและแนวโน้ม
ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษและกระดาษ ในไตรมาสนี้ทรงตัว เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว และมีปัจจัยสนับสนุน
ภายในประเทศเพียงปัจจัยเดียวคือ การผลิตสมุด หนังสือและตำราแบบเรียน เพื่อรองรับการเปิดเทอมของนักเรียนนักศึกษา สำหรับปัจจัยสนับสนุน
ภายนอกประเทศ คือ จีนมีปริมาณความต้องการใช้เยื่อกระดาษสูงต่อเนื่อง และการส่งออกสินค้าบางตัวของไทยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น เช่น
เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์และส่วนประกอบ เป็นต้น ทำให้มีความต้องการใช้กระดาษประเภทลูกฟูก เพื่อบรรจุ ห่อหุ้มและขนส่งสินค้า
แนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ และกระดาษ ในไตรมาสหน้าคาดว่าจะทรงตัวใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน เนื่องจากภาวะ
เศรษฐกิจไทยชะลอตัว การลงทุนภาคเอกชนขาดความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์การเมือง ประกอบกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทมีค่าแข็งขึ้นต่อเนื่อง ส่ง
ผลต่อการแข่งขันในต่างประเทศ เพราะจะทำให้ราคาสินค้าจากไทยสูงกว่าคู่แข่ง
ตารางดัชนีผลผลิตเยื่อกระดาษ และกระดาษ
ดัชนีผลผลิต การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
ไตรมาส
Jan-49 Apr-49 Jan-50 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
- เยื่อกระดาษ กระดาษ และกระดาษแข็ง 127.3 131 129.8 -0.9 2
- กระดาษลูกฟูก กระดาษแข็งลูกฟูก
และการผลิตภาชนะที่ทำจากกระดาษและกระดาษแข็ง 151 155.1 161.7 4.2 7.1
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-