6.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
"การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศลดลง เนื่องจากยังอยู่ในช่วงนอกฤดูกาลก่อสร้าง สำหรับการส่งออกเพิ่มขึ้นเนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และประเทศเพื่อนบ้านในแถบอาเซียนเพิ่มขึ้น"
1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ
การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ ในประเทศ เดือนพฤศจิกายน 2549 เทียบกับเดือนก่อน ลดลงร้อยละ 2.07 และ 0.80 ตามลำดับ เนื่องจากยังอยู่ในช่วงนอกฤดูกาลก่อสร้าง ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ยังคงชะลอตัว แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.29 และ 6.01 ตามลำดับ
2.การส่งออก
มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์เดือนพฤศจิกายน 2549 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 62.13 และ 16.96 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนเพิ่มขึ้น
3.แนวโน้ม
ในเดือนธันวาคม 2549 และเดือนมกราคม 2550 คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายในประเทศจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลก่อสร้าง สำหรับการส่งออกคาดว่าจะมีแนวโน้มทรงตัว เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักยังไม่ขยายตัวเท่าที่ควร
7. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนพฤศจิกายน 2549 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อยเป็นผลจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
- การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์รวม 11เดือนแรกของปี 2549 มีมูลค่า 1,434,529 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับ 11 เดือนแรกของปี 2548 เป็นผลจากการ ขยายตัวของเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 17 โดยเฉพาะขยายตัวในตลาดสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14
1.การผลิต
ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนพฤศจิกายน 2549 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย โดยดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 262.19 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.20 เป็นผลจากสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นส่วนใหญ่ เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องรับโทรทัศน์สีขนาดมากกว่า 21 นิ้ว เป็นต้น ขณะที่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.11 เป็นผลจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่ เช่น HDD และ Other IC
2. การส่งออก
การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์รวม 11 เดือนแรกของปี 2549 มีมูลค่า 1,434,529 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับ 11 เดือนแรกของปี 2548 เป็นผลจากการขยายตัวของเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 17 โดยเฉพาะขยายตัวในตลาดสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19 และตลาดอียู เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ขณะที่เครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียงร้อยละ 4 เท่านั้น จากการชะลอตัวในสินค้าเครื่องปรับอากาศ ทรงตัวใน 11 เดือนแรก ร้อยละ 1 จากการชะลอตัวในตลาดส่งออกญี่ปุ่น และอียูในช่วง 11 เดือนแรกลดลงร้อยละ 33 และ 16 ตามลำดับ อาจเนื่องมาจากไทยมีรุ่นการผลิตค่อนข้างเก่าไม่ตอบสนองความต้องการของตลาด ประกอบกับเผชิญกับการแข่งขันของตลาดจีนที่ส่งออกกลับยังบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่นเช่นกัน ซึ่งแต่เดิมตั้งเป้าหมายจะขายในประเทศจีนเองเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ ตลาดอียูไทยได้รับผลกระทบบางส่วนจากการกฎระเบียบ EU ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของสินค้านี้
สำหรับการส่งออกทั้งกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในเดือนพ.ย. 2549 มีมูลค่า 136,914 ล้านบาท ปรับตัวลดลงร้อยละ1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในส่วนมูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ามีมูลค่าส่งออก 46,483 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องปรับอากาศมีมูลค่าส่งออกเดือน พ.ย.49 มูลค่า 5,380 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 21เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และในส่วนมูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าส่งออก 90,432 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นได้แก่ ส่วนประกอบของอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
3. แนวโน้ม
ภาวการณ์ผลิตและขายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในเดือนธันวาคม 2549 และไตรมาส 4 คาดว่า ในกลุ่มภาพและเครื่องเสียง (AV) อาจจะเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายปี เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลต่างๆ ส่วนสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในเดือนธันวาคมและช่วงปลายปี คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงเช่นกัน เนื่องจากความต้องการสินค้า Consumer Electronic ของโลกที่ยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง เช่น PC เครื่องเล่นMP3/DVD เป็นต้น ซึ่งในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จะอาศัยการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน 2549 มีค่า 167.36 ลดลงจากเดือนตุลาคม 2549 (170.34) ร้อยละ 1.8 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (162.33) ร้อยละ 3.1
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนตุลาคม 2549 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ยและสารประกอบไนโตรเจน อุตสาหกรรมการผลิตอื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมการผลิตเม็ดพลาสติก เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมการผลิต ผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์อื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันจากพืช น้ำมันจากสัตว์ และไขมันจากสัตว์ อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้น มูลฐาน เป็นต้น
- อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนพฤศจิกายน 2549 มีค่า 66.94 ลดลงจากเดือนตุลาคม 2549 (68.28) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (68.24)
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนตุลาคม 2549 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ยและสารประกอบไนโตรเจน อุตสาหกรรมการผลิตเม็ดพลาสติก อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมการผลิตอื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้องอุตสาหกรรมการผลิตเม็ดพลาสติก อุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ย และสารประกอบไนโตรเจน เป็นต้น
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน2549
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนตุลาคม 2549 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 443 ราย เพิ่มขึ้นมากกว่าเดือนตุลาคม 2549 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 334 รายหรือมากกว่าร้อยละ 32.6 ในส่วนของจำนวนเงินลงทุน มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 23,366.63 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2549 ซึ่งมีการลงทุนเพิ่ม 8,8846.53 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 164.1 และการจ้างงานรวมมีจำนวน 17,256 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2549 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 7,950 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 117.1
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนพฤศจิกายน 2548 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 483 รายหรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ -8.3 และมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2548 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 11,263.13 คน ร้อยละ 98.6 ในส่วนของจำนวนเงินลงทุนเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2548 ซึ่งมีการลงทุนเพิ่ม 17,256 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 32.1
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2549 คือ อุตสาหกรรมขุดหรือลอก กรวด ทรายหรือดิน จำนวน 37 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 31 ราย
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนพฤศจิกายน 2549 คือ อุตสาหกรรมผลิต จำหน่ายไอน้ำ 5,655 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิต ซ่อมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเรดาร์ คาปาซิเตอร์ มีเงินทุน 3,067 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนพฤศจิกายน 2549 คือ อุตสาหกรรมผลิต ซ่อมเครื่องคำนวณ เครื่องทำบัญชี เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ คนงาน 3,982 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิต ซ่อมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่อง เรดาร์ คาปาซิเตอร์ คนงาน 3,596 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนตุลาคม 2549 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 174 ราย มากกว่าเดือนตุลาคม 2549 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 151 ราย คิดเป็นร้อยละ 15.2 ในส่วนของเงินทุนมีจำนวน 3,573.02 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนตุลาคมที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 4,294.29 ล้านบาท สำหรับการเลิกจ้างงานมีจำนวน 3,501 คน มากกว่าเดือนตุลาคม 2549 ซึ่งเลิกจ้างงานจำนวน 3,072 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวนมากกว่าเดือนพฤศจิกายน 2548 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 173 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.6 ในส่วนการเลิกจ้างงานน้อยกว่าเดือนพฤศจิกายน 2548 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 5,017 คน แต่ในส่วนของเงินทุนของการเลิกกิจการมากกว่าเดือนพฤศจิกายน 2548 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 2,282.27 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2549 คือ อุตสาหกรรมซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 28 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสม ผลิตภัณฑ์ยิมซั่มปูนปลาสเตอร์ จำนวน 12 ราย
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนพฤศจิกายน 2549 คืออุตสาหกรรมผลิตแผ่นซีดี เงินทุน 1,291 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมต้ม นึ่ง หรืออบพืชหรือเมล็ดพืช เงินทุน 464 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนพฤศจิกายน 2549 คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์ คนงาน 568 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำเครื่องเรือนจากไม้ ยาง อโลหะอื่น ซึ่งมิได้ทำจากพลาสติกอัดเข้ารูป คนงาน 303 คน
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนพฤศจิกายน 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนตุลาคม 2549 มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 81 โครงการ มากกว่าเดือนตุลาคม 2549 ที่มีจำนวน 75 โครงการ ร้อยละ 8.0 และมีเงินลงทุน 32,900 ล้านบาท มากกว่าเดือนตุลาคม 2549 ที่มีเงินลงทุน 3,200 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 928.13
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนพฤศจิกายน 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท.น้อยกว่าเดือนพฤศจิกายน 2548 ที่มีจำนวน 134 โครงการ ร้อยละ-39.6 และมีเงินลงทุนน้อยกว่าเดือนพฤศจิกายน 2548 ที่มีเงินลงทุน 52,000 ล้านบาท ร้อยละ -36.7
- การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ย. 2549
การร่วมทุน จำนวน(โครงการ) มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
1.โครงการคนไทย 100% 378 74,400
2.โครงการต่างชาติ 100% 349 93,300
3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ 325 138,100
- ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในช่วงเดือน ม.ค.- พ.ย.2549 คือ หมวดเคมี กระดาษ และพลาสติกมีมูลค่าเงินลงทุนรวม 133,900 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องไฟฟ้า มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 48,900 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
"การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศลดลง เนื่องจากยังอยู่ในช่วงนอกฤดูกาลก่อสร้าง สำหรับการส่งออกเพิ่มขึ้นเนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และประเทศเพื่อนบ้านในแถบอาเซียนเพิ่มขึ้น"
1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ
การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ ในประเทศ เดือนพฤศจิกายน 2549 เทียบกับเดือนก่อน ลดลงร้อยละ 2.07 และ 0.80 ตามลำดับ เนื่องจากยังอยู่ในช่วงนอกฤดูกาลก่อสร้าง ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ยังคงชะลอตัว แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.29 และ 6.01 ตามลำดับ
2.การส่งออก
มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์เดือนพฤศจิกายน 2549 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 62.13 และ 16.96 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนเพิ่มขึ้น
3.แนวโน้ม
ในเดือนธันวาคม 2549 และเดือนมกราคม 2550 คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายในประเทศจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลก่อสร้าง สำหรับการส่งออกคาดว่าจะมีแนวโน้มทรงตัว เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักยังไม่ขยายตัวเท่าที่ควร
7. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนพฤศจิกายน 2549 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อยเป็นผลจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
- การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์รวม 11เดือนแรกของปี 2549 มีมูลค่า 1,434,529 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับ 11 เดือนแรกของปี 2548 เป็นผลจากการ ขยายตัวของเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 17 โดยเฉพาะขยายตัวในตลาดสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14
1.การผลิต
ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนพฤศจิกายน 2549 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย โดยดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 262.19 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.20 เป็นผลจากสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นส่วนใหญ่ เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องรับโทรทัศน์สีขนาดมากกว่า 21 นิ้ว เป็นต้น ขณะที่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.11 เป็นผลจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่ เช่น HDD และ Other IC
2. การส่งออก
การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์รวม 11 เดือนแรกของปี 2549 มีมูลค่า 1,434,529 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับ 11 เดือนแรกของปี 2548 เป็นผลจากการขยายตัวของเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 17 โดยเฉพาะขยายตัวในตลาดสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19 และตลาดอียู เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ขณะที่เครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียงร้อยละ 4 เท่านั้น จากการชะลอตัวในสินค้าเครื่องปรับอากาศ ทรงตัวใน 11 เดือนแรก ร้อยละ 1 จากการชะลอตัวในตลาดส่งออกญี่ปุ่น และอียูในช่วง 11 เดือนแรกลดลงร้อยละ 33 และ 16 ตามลำดับ อาจเนื่องมาจากไทยมีรุ่นการผลิตค่อนข้างเก่าไม่ตอบสนองความต้องการของตลาด ประกอบกับเผชิญกับการแข่งขันของตลาดจีนที่ส่งออกกลับยังบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่นเช่นกัน ซึ่งแต่เดิมตั้งเป้าหมายจะขายในประเทศจีนเองเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ ตลาดอียูไทยได้รับผลกระทบบางส่วนจากการกฎระเบียบ EU ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของสินค้านี้
สำหรับการส่งออกทั้งกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในเดือนพ.ย. 2549 มีมูลค่า 136,914 ล้านบาท ปรับตัวลดลงร้อยละ1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในส่วนมูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ามีมูลค่าส่งออก 46,483 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องปรับอากาศมีมูลค่าส่งออกเดือน พ.ย.49 มูลค่า 5,380 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 21เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และในส่วนมูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าส่งออก 90,432 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นได้แก่ ส่วนประกอบของอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
3. แนวโน้ม
ภาวการณ์ผลิตและขายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในเดือนธันวาคม 2549 และไตรมาส 4 คาดว่า ในกลุ่มภาพและเครื่องเสียง (AV) อาจจะเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายปี เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลต่างๆ ส่วนสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในเดือนธันวาคมและช่วงปลายปี คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงเช่นกัน เนื่องจากความต้องการสินค้า Consumer Electronic ของโลกที่ยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง เช่น PC เครื่องเล่นMP3/DVD เป็นต้น ซึ่งในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จะอาศัยการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน 2549 มีค่า 167.36 ลดลงจากเดือนตุลาคม 2549 (170.34) ร้อยละ 1.8 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (162.33) ร้อยละ 3.1
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนตุลาคม 2549 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ยและสารประกอบไนโตรเจน อุตสาหกรรมการผลิตอื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมการผลิตเม็ดพลาสติก เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมการผลิต ผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์อื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันจากพืช น้ำมันจากสัตว์ และไขมันจากสัตว์ อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้น มูลฐาน เป็นต้น
- อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนพฤศจิกายน 2549 มีค่า 66.94 ลดลงจากเดือนตุลาคม 2549 (68.28) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (68.24)
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนตุลาคม 2549 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ยและสารประกอบไนโตรเจน อุตสาหกรรมการผลิตเม็ดพลาสติก อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมการผลิตอื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้องอุตสาหกรรมการผลิตเม็ดพลาสติก อุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ย และสารประกอบไนโตรเจน เป็นต้น
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน2549
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนตุลาคม 2549 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 443 ราย เพิ่มขึ้นมากกว่าเดือนตุลาคม 2549 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 334 รายหรือมากกว่าร้อยละ 32.6 ในส่วนของจำนวนเงินลงทุน มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 23,366.63 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2549 ซึ่งมีการลงทุนเพิ่ม 8,8846.53 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 164.1 และการจ้างงานรวมมีจำนวน 17,256 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2549 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 7,950 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 117.1
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนพฤศจิกายน 2548 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 483 รายหรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ -8.3 และมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2548 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 11,263.13 คน ร้อยละ 98.6 ในส่วนของจำนวนเงินลงทุนเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2548 ซึ่งมีการลงทุนเพิ่ม 17,256 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 32.1
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2549 คือ อุตสาหกรรมขุดหรือลอก กรวด ทรายหรือดิน จำนวน 37 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 31 ราย
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนพฤศจิกายน 2549 คือ อุตสาหกรรมผลิต จำหน่ายไอน้ำ 5,655 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิต ซ่อมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเรดาร์ คาปาซิเตอร์ มีเงินทุน 3,067 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนพฤศจิกายน 2549 คือ อุตสาหกรรมผลิต ซ่อมเครื่องคำนวณ เครื่องทำบัญชี เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ คนงาน 3,982 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิต ซ่อมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่อง เรดาร์ คาปาซิเตอร์ คนงาน 3,596 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนตุลาคม 2549 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 174 ราย มากกว่าเดือนตุลาคม 2549 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 151 ราย คิดเป็นร้อยละ 15.2 ในส่วนของเงินทุนมีจำนวน 3,573.02 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนตุลาคมที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 4,294.29 ล้านบาท สำหรับการเลิกจ้างงานมีจำนวน 3,501 คน มากกว่าเดือนตุลาคม 2549 ซึ่งเลิกจ้างงานจำนวน 3,072 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวนมากกว่าเดือนพฤศจิกายน 2548 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 173 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.6 ในส่วนการเลิกจ้างงานน้อยกว่าเดือนพฤศจิกายน 2548 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 5,017 คน แต่ในส่วนของเงินทุนของการเลิกกิจการมากกว่าเดือนพฤศจิกายน 2548 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 2,282.27 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2549 คือ อุตสาหกรรมซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 28 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสม ผลิตภัณฑ์ยิมซั่มปูนปลาสเตอร์ จำนวน 12 ราย
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนพฤศจิกายน 2549 คืออุตสาหกรรมผลิตแผ่นซีดี เงินทุน 1,291 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมต้ม นึ่ง หรืออบพืชหรือเมล็ดพืช เงินทุน 464 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนพฤศจิกายน 2549 คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์ คนงาน 568 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำเครื่องเรือนจากไม้ ยาง อโลหะอื่น ซึ่งมิได้ทำจากพลาสติกอัดเข้ารูป คนงาน 303 คน
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนพฤศจิกายน 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนตุลาคม 2549 มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 81 โครงการ มากกว่าเดือนตุลาคม 2549 ที่มีจำนวน 75 โครงการ ร้อยละ 8.0 และมีเงินลงทุน 32,900 ล้านบาท มากกว่าเดือนตุลาคม 2549 ที่มีเงินลงทุน 3,200 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 928.13
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนพฤศจิกายน 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท.น้อยกว่าเดือนพฤศจิกายน 2548 ที่มีจำนวน 134 โครงการ ร้อยละ-39.6 และมีเงินลงทุนน้อยกว่าเดือนพฤศจิกายน 2548 ที่มีเงินลงทุน 52,000 ล้านบาท ร้อยละ -36.7
- การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ย. 2549
การร่วมทุน จำนวน(โครงการ) มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
1.โครงการคนไทย 100% 378 74,400
2.โครงการต่างชาติ 100% 349 93,300
3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ 325 138,100
- ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในช่วงเดือน ม.ค.- พ.ย.2549 คือ หมวดเคมี กระดาษ และพลาสติกมีมูลค่าเงินลงทุนรวม 133,900 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องไฟฟ้า มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 48,900 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-