วันนี้ (12 กค.50) นายกรณ์ จาติกวนิช รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ และคณะทำงานด้านเศรษฐกิจพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวที่พรรคประชาธิปัตย์ถึงผลกระทบที่มีต่อภาคธุรกิจต่อเนื่องจากภาวะเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเรื่อย ๆ จนปรากฎเป็นข่าวล่าสุดวานนี้ที่มีการปิดโรงงานจนส่งผลกระทบต่อประชาชนต้องตกงานอย่างฉับพลันเป็นจำนวนเกือบ 5,000 คนนั้นว่า ทีมงานเศรษฐกิจพรรคประชาธิปัตย์มีความกังวลเกี่ยวกับทิศทางการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนที่จะสร้างปัญหาให้กับอุตสาหกรรมภาคส่งออกโดยเฉพาะในช่วงที่ผ่านมามีเงินทุนไหลเข้ามาผ่านตลาดทุนเพิ่มขึ้น และเป็นตัวผลักดันให้อัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง
นายกรณ์ในฐานะคณะทำงานด้านเศรษฐกิจพรรคประชาธิปัตย์จึงได้เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตั้งแต่รัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มมาตรการเพื่อเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้น กล่าวคือรัฐบาลจะต้องเร่งรัดให้มีการใช้เงินตราต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่มการลงทุนเพื่อนำไปสู่การเพิ่มการนำเข้าสินค้าทุนที่จะเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ และโครงสร้างเศรษฐกิจของไทยในระยะยาว
ทั้งนี้นายกรณ์ได้ขยายความว่า การเพิ่มการนำเข้าจะเป็นตัวช่วยทำให้เราสามารถใช้เงินตราต่างประเทศที่เราได้จากการส่งออกให้เป็นประโยชน์ แทนที่จะมาแช่ดองไว้ในฐานะที่เป็นทุนสำรองที่เพิ่มพูนขึ้นทุกวันโดยที่ไร้ประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม
สำหรับธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น นายกรณ์ ให้ความเห็นว่าจะต้องแสดงความกล้าหาญมากขึ้นในการแทรกแซงรักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกรุนแรงเกินไป และต้องไม่ลืมว่าการแทรกแซงในช่วงที่บาทกำลังแข็งค่ามีผลในแง่ของความเสี่ยงน้อยกว่า การแทรกแซงในลักษณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเคยทำมาเมื่อสิบปีที่แล้วในช่วงที่เงินบาทอยู่ในช่วงขาลง
“การปกป้องอัตราแลกเปลี่ยนที่กำลังอ่อนตัวลงนั้นต้องใช้เงินตราต่างประเทศที่เป็นทุนสำรอง และธนาคารแห่งประเทศไทยได้ใช้ไปจนหมดทำให้เกิดวิกฤติ แต่กรณีปัจจุบันเป็นกรณีที่กลับกัน ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ดังนั้นวิธีที่จะลดแรงกดดันการแข็งค่าของค่าเงินบาทก็คือขายเงินบาทให้กับผู้ต้องการที่จะซื้อและธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถมีได้ไม่จำกัดอยู่แล้ว ดังนั้นความเสี่ยงต่อระดับทุนสำรองของประเทศนั้นจึงไม่มี แต่จะมีความเสี่ยงต่อสภาวะเงินเฟ้อ เมื่อพิมพ์ธนบัตรไทยเพิ่มขึ้นจะทำให้ปริมาณเงินที่มีหมุนเวียนอยู่ในระบบจะเพิ่มขึ้นก็อาจจะนำมาซึ่งปัญหาเงินเฟ้อได้ แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยก็มีเครื่องไม้เครื่องมือหลากหลายที่จะเข้ามาบรรเทาปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการที่เข้ามาแทรกแซงเพื่อบรรเทาปัญหาให้กับผู้ส่งออกในช่วงนี้ เพราะฉะนั้นมีคำแนะนำว่าแบงก์ชาติจะต้องมีความกล้าหาญมากขึ้นในการที่จะยื่นมือเข้ามาแทรกแซงเพื่อบรรเทาปัญหาให้กับผู้ประกอบการโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมส่งออก” นายกรณ์กล่าว
นอกจากนี้นายกรณ์ ยังได้เสนอนโยบายอีก 2 นโยบายที่ธนาคารแห่งประเทศไทยควรพิจารณาใช้ทันทีคือการเปิดโอกาสให้ผู้ส่งออกสามารถเปิดบัญชีเงินต่างประเทศได้ และถือเงินตราต่างประเทศที่ได้มาจากการส่งออกโดยมิต้องไปบังคับให้ผู้ส่งออกแปรเงินตราต่างประเทศกลับมาเป็นเงินบาท เพราะลักษณะนี้เท่ากับเป็นการเพิ่มแรงกดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอีกต่อเนื่อง
“ในหลายกรณีผู้ส่งออกที่มีรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ ก็มักจะมีค่าใช้จ่ายในแง่ของการซื้อวัตถุดิบเป็นเงินตราต่างประเทศเช่นเดียวกัน ก็ควรเปิดโอกาสให้ผู้ส่งออกนั้นมีความยืดหยุ่นมากขึ้นในการเปิดบัญชีที่จะถือเงินตราต่างประเทศไว้ได้เพื่อลดแรงกดดันจากความต้องการในส่วนของการซื้อเงินบาทโดยผู้ส่งออกไทยเอง” นายกรณ์กล่าว
สำหรับมาตราการสุดท้ายที่ธนาคารแห่งประเทศไทยควรพิจารณาคือการเปิดโอกาสให้กับคนไทย ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลหรือกลุ่มบุคคลพิจารณาการลงทุนในต่างประเทศได้เพิ่มขึ้น โดยเปิดโอกาสให้ใช้เงินบาทที่แข็งค่าให้เป็นประโยชน์ต่อผลตอบแทนในอนาคตของระบบเศรษฐกิจของชาติโดยรวม ด้วยการนำเงินส่วนนั้นไปลงทุนเพิ่มขึ้นในต่างประเทศ ซึ่ง ณ ปัจจุบันโอกาสนี้ถูกปิดโดยกฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย
นอกจากนี้นายกรณ์ยังกล่าวถึงในส่วนของการเพิ่มการนำเข้านั้น วิธีที่เหมาะสมที่สุดคือวิธีเพิ่มการลงทุนในระบบสาธารณูปโภคโดยเฉพาะ และสัดส่วนที่เป็นผลิตภัณฑ์ทุนที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศก็มีสัดส่วนสูงอยู่แล้วในการลงทุนของระบบนี้ ฉะนั้นนอกจากจะเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศโดยรวมแล้ว ก็จะเป็นการใช้เงินตราต่างประเทศที่ได้สะสมจากการส่งออกให้เป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมและเป็นการบรรเทาปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนไปในตัวด้วย
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 12 ก.ค. 2550--จบ--
นายกรณ์ในฐานะคณะทำงานด้านเศรษฐกิจพรรคประชาธิปัตย์จึงได้เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตั้งแต่รัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มมาตรการเพื่อเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้น กล่าวคือรัฐบาลจะต้องเร่งรัดให้มีการใช้เงินตราต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่มการลงทุนเพื่อนำไปสู่การเพิ่มการนำเข้าสินค้าทุนที่จะเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ และโครงสร้างเศรษฐกิจของไทยในระยะยาว
ทั้งนี้นายกรณ์ได้ขยายความว่า การเพิ่มการนำเข้าจะเป็นตัวช่วยทำให้เราสามารถใช้เงินตราต่างประเทศที่เราได้จากการส่งออกให้เป็นประโยชน์ แทนที่จะมาแช่ดองไว้ในฐานะที่เป็นทุนสำรองที่เพิ่มพูนขึ้นทุกวันโดยที่ไร้ประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม
สำหรับธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น นายกรณ์ ให้ความเห็นว่าจะต้องแสดงความกล้าหาญมากขึ้นในการแทรกแซงรักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกรุนแรงเกินไป และต้องไม่ลืมว่าการแทรกแซงในช่วงที่บาทกำลังแข็งค่ามีผลในแง่ของความเสี่ยงน้อยกว่า การแทรกแซงในลักษณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเคยทำมาเมื่อสิบปีที่แล้วในช่วงที่เงินบาทอยู่ในช่วงขาลง
“การปกป้องอัตราแลกเปลี่ยนที่กำลังอ่อนตัวลงนั้นต้องใช้เงินตราต่างประเทศที่เป็นทุนสำรอง และธนาคารแห่งประเทศไทยได้ใช้ไปจนหมดทำให้เกิดวิกฤติ แต่กรณีปัจจุบันเป็นกรณีที่กลับกัน ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ดังนั้นวิธีที่จะลดแรงกดดันการแข็งค่าของค่าเงินบาทก็คือขายเงินบาทให้กับผู้ต้องการที่จะซื้อและธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถมีได้ไม่จำกัดอยู่แล้ว ดังนั้นความเสี่ยงต่อระดับทุนสำรองของประเทศนั้นจึงไม่มี แต่จะมีความเสี่ยงต่อสภาวะเงินเฟ้อ เมื่อพิมพ์ธนบัตรไทยเพิ่มขึ้นจะทำให้ปริมาณเงินที่มีหมุนเวียนอยู่ในระบบจะเพิ่มขึ้นก็อาจจะนำมาซึ่งปัญหาเงินเฟ้อได้ แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยก็มีเครื่องไม้เครื่องมือหลากหลายที่จะเข้ามาบรรเทาปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการที่เข้ามาแทรกแซงเพื่อบรรเทาปัญหาให้กับผู้ส่งออกในช่วงนี้ เพราะฉะนั้นมีคำแนะนำว่าแบงก์ชาติจะต้องมีความกล้าหาญมากขึ้นในการที่จะยื่นมือเข้ามาแทรกแซงเพื่อบรรเทาปัญหาให้กับผู้ประกอบการโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมส่งออก” นายกรณ์กล่าว
นอกจากนี้นายกรณ์ ยังได้เสนอนโยบายอีก 2 นโยบายที่ธนาคารแห่งประเทศไทยควรพิจารณาใช้ทันทีคือการเปิดโอกาสให้ผู้ส่งออกสามารถเปิดบัญชีเงินต่างประเทศได้ และถือเงินตราต่างประเทศที่ได้มาจากการส่งออกโดยมิต้องไปบังคับให้ผู้ส่งออกแปรเงินตราต่างประเทศกลับมาเป็นเงินบาท เพราะลักษณะนี้เท่ากับเป็นการเพิ่มแรงกดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอีกต่อเนื่อง
“ในหลายกรณีผู้ส่งออกที่มีรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ ก็มักจะมีค่าใช้จ่ายในแง่ของการซื้อวัตถุดิบเป็นเงินตราต่างประเทศเช่นเดียวกัน ก็ควรเปิดโอกาสให้ผู้ส่งออกนั้นมีความยืดหยุ่นมากขึ้นในการเปิดบัญชีที่จะถือเงินตราต่างประเทศไว้ได้เพื่อลดแรงกดดันจากความต้องการในส่วนของการซื้อเงินบาทโดยผู้ส่งออกไทยเอง” นายกรณ์กล่าว
สำหรับมาตราการสุดท้ายที่ธนาคารแห่งประเทศไทยควรพิจารณาคือการเปิดโอกาสให้กับคนไทย ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลหรือกลุ่มบุคคลพิจารณาการลงทุนในต่างประเทศได้เพิ่มขึ้น โดยเปิดโอกาสให้ใช้เงินบาทที่แข็งค่าให้เป็นประโยชน์ต่อผลตอบแทนในอนาคตของระบบเศรษฐกิจของชาติโดยรวม ด้วยการนำเงินส่วนนั้นไปลงทุนเพิ่มขึ้นในต่างประเทศ ซึ่ง ณ ปัจจุบันโอกาสนี้ถูกปิดโดยกฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย
นอกจากนี้นายกรณ์ยังกล่าวถึงในส่วนของการเพิ่มการนำเข้านั้น วิธีที่เหมาะสมที่สุดคือวิธีเพิ่มการลงทุนในระบบสาธารณูปโภคโดยเฉพาะ และสัดส่วนที่เป็นผลิตภัณฑ์ทุนที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศก็มีสัดส่วนสูงอยู่แล้วในการลงทุนของระบบนี้ ฉะนั้นนอกจากจะเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศโดยรวมแล้ว ก็จะเป็นการใช้เงินตราต่างประเทศที่ได้สะสมจากการส่งออกให้เป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมและเป็นการบรรเทาปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนไปในตัวด้วย
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 12 ก.ค. 2550--จบ--