9 สค. 50 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้กล่าวในการสัมนา หัวข้อ “บทบาทพรรคการเมืองกับการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติให้สุจริตเที่ยงธรรม” จัดโดย กกต.กรุงเทพมหานคร ที่โรงแรมปรินซ์พาเลซ ( 9.30 น. — 12.00 น. 9 สิงหาคม 2550 ) ว่า บทบาทของพรรคการเมืองต่อการออกเสียงประชามติก็คือ การแสดงจุดยืน และส่งความเห็นผ่านไปยังสาขา และสมาชิกพรรค เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนไปใช้สิทธิ์ ส่วนการรณรงค์ของพรรคการเมืองให้รับหรือคว่ำร่างรัฐธรรมนูญถือเป็นสิ่งที่ทำได้ เพราะไม่ได้ผิดกฎหมายการออกเสียงประชามติ และถือเป็นการใช้สิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็นอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ ยกเว้นการซื้อเสียง หรือการให้อามิสสินจ้างรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่กฎหมายระบุเป็นความผิด
นายจุรินทร์ กล่าวว่าสิ่งที่กกต.ในฐานะผู้มีหน้าที่ดูแลการเลือกตั้ง และการออกเสียงประชามติให้บริสุทธิ์ยุติธรรมต้อง “จับตา” เป็นพิเศษก็คือสัญญาณเตือนภัยประชาธิปไตย 4 สัญญาณที่เป็นข่าวมาโดยต่อเนื่องคือ ข่าวการจ้างม็อบป่วนเมือง ข่าวการใช้เงินหัวละ 30 ล้านบาท ดูดส.ส.กลับพรรค ข่าวการให้สินบนตุลาการคดียุบพรรค และข่าวการจ่ายค่าแรงคว่ำรธน.หัวละ 200 — 500,000 บาท ซึ่งเป็น 4 สัญญาณเตือนภัยที่ตอกย้ำว่า “ธนาธิปไตย” ยังอาละวาดอยู่ในสังคมการเมืองไทย และเชื่อว่ามีแนวโน้มจะหนักขึ้นเป็นลำดับ เพราะเดิมพันสูง และเกี่ยวข้องกับการรักษาผลประโยชน์ส่วนตนจำนวนหลายหมื่นล้านบาท ซึ่งตนเชื่อว่าจะมีผลกระทบกระเทือนต่อทั้งการลงประชามติ
และการเลือกตั้งครั้งต่อไปอย่างแน่นอน นำไปสู่โจทย์ที่ท้าทาย “กกต.” ว่าจะพาประเทศฝ่า “ฝนสีม่วง” กันไปได้อย่างไร ให้เกิดประชามติ และการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม
บทบาทกกต. จึงสำคัญไม่น้อยไปกว่าพรรคการเมืองที่ต้องช่วยกันทั้งป้องปราม และปราบปราม “ธนาธิปไตย” หรือการใช้เงินในทางมิชอบให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยหลีกเลี่ยงการป้องปรามคนให้เบาะแส เพราะไม่เช่นนั้นต่อไปสังคมไทยก็จะกลายเป็น “สังคม ธุระไม่ใช่” พวกธนาธิปไตยก็จะลอยนวล และอาจนำประเทศไปสู่วิกฤตได้อีกในอนาคต.
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 10 ส.ค. 2550--จบ--
นายจุรินทร์ กล่าวว่าสิ่งที่กกต.ในฐานะผู้มีหน้าที่ดูแลการเลือกตั้ง และการออกเสียงประชามติให้บริสุทธิ์ยุติธรรมต้อง “จับตา” เป็นพิเศษก็คือสัญญาณเตือนภัยประชาธิปไตย 4 สัญญาณที่เป็นข่าวมาโดยต่อเนื่องคือ ข่าวการจ้างม็อบป่วนเมือง ข่าวการใช้เงินหัวละ 30 ล้านบาท ดูดส.ส.กลับพรรค ข่าวการให้สินบนตุลาการคดียุบพรรค และข่าวการจ่ายค่าแรงคว่ำรธน.หัวละ 200 — 500,000 บาท ซึ่งเป็น 4 สัญญาณเตือนภัยที่ตอกย้ำว่า “ธนาธิปไตย” ยังอาละวาดอยู่ในสังคมการเมืองไทย และเชื่อว่ามีแนวโน้มจะหนักขึ้นเป็นลำดับ เพราะเดิมพันสูง และเกี่ยวข้องกับการรักษาผลประโยชน์ส่วนตนจำนวนหลายหมื่นล้านบาท ซึ่งตนเชื่อว่าจะมีผลกระทบกระเทือนต่อทั้งการลงประชามติ
และการเลือกตั้งครั้งต่อไปอย่างแน่นอน นำไปสู่โจทย์ที่ท้าทาย “กกต.” ว่าจะพาประเทศฝ่า “ฝนสีม่วง” กันไปได้อย่างไร ให้เกิดประชามติ และการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม
บทบาทกกต. จึงสำคัญไม่น้อยไปกว่าพรรคการเมืองที่ต้องช่วยกันทั้งป้องปราม และปราบปราม “ธนาธิปไตย” หรือการใช้เงินในทางมิชอบให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยหลีกเลี่ยงการป้องปรามคนให้เบาะแส เพราะไม่เช่นนั้นต่อไปสังคมไทยก็จะกลายเป็น “สังคม ธุระไม่ใช่” พวกธนาธิปไตยก็จะลอยนวล และอาจนำประเทศไปสู่วิกฤตได้อีกในอนาคต.
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 10 ส.ค. 2550--จบ--