จากการติดตามความคืบหน้าการสอบสวนคดีรถดับเพลิงที่สื่อมวลชนรายงานที่ผ่านมา พบว่า อนุกรรมการ พยายามจะไม่แตะต้องผู้ที่เกี่ยวข้องในคดีบางคน จนกระทั่ง นายแก้วสรร อติโพธิ ได้ทักท้วงในที่ประชุม คตส.โดยขอให้สอบเพิ่มเติมการกระทำผิดในประเด็นการค้าต่างตอบแทน หรือ Counter Trade “โดยที่ อ.แก้วสรรฯ ระบุว่า “เค้ามูลเรื่องนี้เป็นไปได้ว่าสัญญาการค้าต่างตอบแทนไม่ชอบ ต้องสอบให้ได้ว่าใครเกี่ยวข้อง” นั่นหมายความว่า คณะอนุกรรมการไต่สวน ไม่ดำเนินการสอบสวนให้ถ้วนกระบวนความ จึงถูกทักท้วง”นายยุทธพงศ์กล่าว
นายยุทธพงศ์ กล่าวต่อว่า ตนส่งหลักฐานที่เกี่ยวกับการทุจริตในส่วนของการค้าต่างตอบแทนไปให้ กรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นผลให้กรมสอบสวนคดีพิเศษมีมติให้ดำเนินคดีกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง โดยส่งสำนวนทั้งหมดไปให้กับ ปปช. ต่อมา คตส.ขอโอนคดีทุจริตการจัดซื้อรถดับเพลิงมาดำเนินการ ทาง ปปช. ก็ส่งมอบหลักฐานทั้งหมดไปให้ คตส. และ คตส.ก็มอบหลักฐานทั้งหมดให้กับนายประเสริฐ และคณะ โดยรวมหลักฐานการทุจริตในส่วนของการค้าต่างตอบแทนที่ตนเคยส่งให้กรมสอบสวนคดีพิเศษด้วย
“คุณประเสริฐจะปฏิเสธว่า ไม่รู้เรื่องนี้คงไม่ได้ และผมขอถามว่า ตั้งแต่ คุณประเสริฐ บุญศรี เป็นประธานอนุกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง จนมาเป็นประธานอนุกรรมการไต่สวน เคยหยิบยกเรื่องการค้าต่างตอบแทนขึ้นมาพิจารณาหรือไม่ เพราะที่ผ่านมา ผมไม่เคยเห็นการตั้งข้อกล่าวหากับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องทั้ง ๆ ที่มีหลักฐานปรากฏอย่างชัดเจน”นายยุทธพงศ์กล่าว
นายยุทธพงศ์กล่าวต่อว่า ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า ในการจัดซื้อรถดับเพลิงและเรือดับเพลิงของ กทม. มูลค่า 6,687 ล้านบาท การจัดซื้อครั้งนี้ เป็นการซื้อขายระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลออสเตรีย หรือ จี ทู จี โดยมีการเสนอเรื่องการจัดซื้อเข้าที่ประชุม ครม. และ ครม. ได้มีมติเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2547 ในเรื่องของการค้าต่างตอบแทนระบุว่า “ให้กระทรวงพาณิชย์ รับไปดำเนินการเกี่ยวกับการทำการค้าต่างตอบแทน กับ รัฐบาลออสเตรียสำหรับโครงการข้างต้นโดยประสานกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป”
ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ มติ ครม. 22 มิ.ย. 2547 ที่กำหนดให้กระทรวงพาณิชย์ รับไปดำเนินการกับ รัฐบาลออสเตรีย แต่ในข้อเท็จจริง กระทรวงพาณิชย์ไม่ได้ส่งสินค้าใด ๆ ไปขายรัฐบาลออสเตรีย แต่กลับเป็นการทำธุรกรรมระหว่าง บริษัท สไตเออร์ฯ กับ บริษัท ซี.พี เมอร์แชนไดซิ่ง จำกัด สำนักงานตั้งอยู่ที่เลขที่ 313 อาคาร ซี.พี.ทาวเวอร์ ถ.สีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กทม. โดยบริษัท สไตเออร์ฯ ได้จ้างให้ บริษัท ซี.พี.ฯ ไปเซ็นสัญญาการค้าต่างตอบแทน กับ กรมการค้าต่างประเทศ ในฐานะตัวแทนรัฐบาลไทย โดยบริษัทสไตเออร์ฯ ยอมจ่ายค่าธรรมเนียมร้อยละ 2.20 ของมูลค่า 6,687 ล้านบาท คิดเป็นเงินประมาณ 148 ล้านบาท ตามสัญญา Counterpurchase Service Agreement
“มีอย่างที่ไหน มติ ครม.สั่งมาอย่างหนึ่ง แต่กลับไปทำอีกอย่างหนึ่ง ผมถือหลักการที่ว่า” ถ้าใครหรือหน่วยงานใดก็ตามที่ดำเนินการผิดไปจากมติ ครม. ต้องถือว่าผิดกฎหมายหมด”
ครม. บอกให้ไปดำเนินการกับรัฐบาลออสเตรีย ผมขอถามคุณประเสริฐฯ ว่า บริษัท ซี.พี.ฯ เป็นตัวแทนของรัฐบาลออสเตรียได้อย่างไร เพราะผมตรวจสอบผู้ถือหุ้นบริษัท ซีพีฯ ทั้งหมด ไม่พบว่ามีรัฐบาลออสเตรียหรือคนออสเตรียถือหุ้นแม้แต่หุ้นเดียว.”นายยุทธพงศ์กล่าว
นายยุทธพงศ์ ตั้งสังเกตว่า หลักฐานการโอนเงินของ บริษัท สไตเออร์ฯ ไปให้ บริษัท ซี.พี. เมอร์แชนไดซิ่ง จำกัด ในวันที่ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม. เปิด แอลซี คือวันที่ 10 ม.ค. 2548 จำนวน 264,249 ยูโร คิดเป็นเงินไทยจำนวน 13,542,287 บาท โดยบริษัท สไตเออร์ฯ ได้โอนเงินจาก ธนาคารERSTE BANK เวียนนา ออสเตรีย มาเข้าบัญชี ของบริษัท ซี.พี.เมอร์แชนไดซิ่ง จำกัด ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาสีลม
ต่อมาเมื่อวันที่ 11 ส.ค. 2548 บริษัท สไตเออร์ฯ ได้โอนเงินมาเข้าบัญชี ของบริษัท ซี.พี.เมอร์แชนไดซิ่ง จำกัด อีกที่ ธนาคารเดิม คือ ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด สาขาสีลม อีก จำนวน 30,000 ยู
“พฤติการณ์ดังกล่าว ผมสงสัยว่า น่าจะเป็นการว่าจ้าง เพื่อสวมตัวเลขการส่งออก ซึ่งบริษัท
ซีพีฯ มีคำสั่งซื้อจากลูกค้ารายอื่นมาก่อนแล้ว จึงต้องส่งเป็นงวด ๆ ตามคำสั่งซื้อ บริษัท สไตเออร์ฯ จึงทยอยจ่ายเงินค่าธรรมเนียมให้กับ บริษัท ซี.พี.ฯ เป็นงวด ๆ ล้อไปตามอัตราร้อยละ 2.20 ของตัวเลขการส่งออกแต่ละงวด.”นายยุทธพงศ์กล่าวและว่า
นายประเสริฐฯ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับหลักฐานอีก 1 ชิ้น นั่นคือ บริษัท นายหน้า ที่ติดต่องานการค้าต่างตอบแทน ให้ บริษัท สไตเออร์ฯ และ บริษัท ซี.พี.เมอร์แชนไดซิ่ง จำกัด ได้มารู้จักกัน คือ บริษัท เทพยนต์ แอโรโมทีฟ อินดัสตรีส์ จำกัด สำนักงานตั้งอยู่ที่ 381 ถ.วิภาวดี สามเสนใน พญาไท กทม. เป็นนายหน้า ตามหนังสือสัญญานายหน้า ลงวันที่ 2 ส.ค. 2547 และใบเสร็จรับเงินที่ บริษัท เทพยนต์ฯ ออกให้ บริษัท ซี.พี.ฯ เป็นการจ่ายค่านายหน้าให้ จำนวน 697,913 บาท ลงวันที่ 22 ก.ย. 2548 นอกจากนี้ บริษัท ซี.พี.ฯ ยังได้จ่ายค่านายหน้าให้กับ บริษัท เทพยนต์ฯ อีกจำนวน 600,124 บาท ใบเสร็จรับเงินลงวันที่ 14 พ.ย. 2548
“ผมต้องฟ้องสื่อมวลชนว่าที่ คุณประเสริฐฯ สรุปเรื่องการจัดซื้อรถและเรือดับเพลิงของ กทม. เข้าที่ประชุมใหญ่ คตส. 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2550 และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2550 ทำไมคุณประเสริฐฯ ถึงไม่กล้าที่จะแตะต้องเรื่องการค้าต่างตอบแทน เลย เพราะไม่เคยเห็นข่าวปรากฏออกมาว่า คตส.ชุดใหญ่ได้พิจารณาเรื่องนี้ด้วย.”นายยุทธพงศ์กล่าวและว่า
ด้วยเหตุผลข้างต้นทั้งปวง นายประเสริฐฯ ควรลาออกจากตำแหน่งประธานอนุกรรมการไต่สวน เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อ คตส.ต่อไป นายประเสริฐฯ ไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานให้ครบถ้วน ทั้งๆที่มีอยู่ในมือ พฤติการณ์น่าสงสัย โดย 3 บริษัทจ่ายเงินกันไปมา มีทั้งใบเสร็จรับเงิน และเช็ค ธนาคาร
“หากรู้ความหมายของคำว่า “ศักดิ์ศรี” คุณประเสริฐ ต้องรักศักดิ์ศรี ในฐานะที่เคยเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรมมาก่อน เมื่อถูก คตส.ชุดใหญ่ส่งผลการสอบสวนกลับถึง 2 ครั้ง จะอยู่ต่อไปทำไม? ควรเปิดทางให้คนอื่นที่มีความสามารถมากกว่านี้เข้าไปตรวจสอบทุจริตให้ครบทุกแง่ทุกมุม เพื่อลดคำครหาว่า คตส.ตั้งขึ้นมาเพื่อล้างแค้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร”นายยุทธพงศ์ กล่าว
นายยุทธพงศ์ กล่าวต่อว่า การสอบสวนจะบกพร่องโดยสุจริตหรือไม่สุจริตก็ตาม แต่ล้วนก่อให้เกิดความเสียหายแก่บ้านเมือง อย่างน้อยประชาชนจะขาดความเชื่อถือ คตส.และลุกลามไปถึง คมช. ท้ายสุดบ้านเมืองก็จะเกิดความวุ่นวาย เพราะประชาชนเชื่อว่าการสอบสวนของ คตส.เป็นการล้างแค้นหรือทำลายล้างทางการเมืองมากกว่าการสอบสวนอย่างตรงไปตรงมา “ถ้าคุณประเสริฐไม่ยอมลาออก ผู้ที่ต้องรับผิดชอบก็คือ คุณนาม ยิ้มแย้ม ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เพราะเป็นผู้แต่งตั้งคุณประเสริฐที่เป็นเพื่อนเรียนเนติบัณฑิตมาเป็นประธานอนุกรรมการ ทั้ง ๆ ที่คณะอนุกรรมการชุดอื่นล้วนแต่เอา กรรมการ คตส.มานั่งเป็นประธานอนุกรรมการทั้งสิ้น ยกเว้นเฉพาะชุดรถดับเพลิง ที่เอาคุณจิรนิต หะวานนท์ กรรมการ คตส.ไปนั่งเป็นอนุกรรมการเฉย ๆ โดยเปิดทางให้คุณประเสริฐซึ่งเป็นคนนอก มานั่งเป็นประธาน
“ท่านนาม ยิ้มแย้ม ก่อนที่ท่านจะไปปัดกวาดบ้านคนอื่น ท่านต้องปัดกวาดบ้านตัวเองให้สะอาดเสียก่อน
หากยังไม่มีการเปลี่ยนตัวประธานอนุกรรมการไต่สวนรถดับเพลิง ผมจะนำเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ คตส.ไม่ยอมแตะต้องมาแฉอีก ผมขอเรียนว่า คดีรถดับเพลิง นี้ไม่ใช่ประเด็นการเมืองอย่างแน่นอน ส่วนเรื่องอื่นผมไม่ทราบ ผมเป็นนักการเมืองรุ่นใหม่ ที่พยายามเดินตามรอยของคุณชวน หลีกภัย นั่นคือ มีความซื่อตรงและยึดหลักการ ในฐานะที่ผมติดตามคดีนี้มาตั้งแต่ต้น ก็จะติดตามต่อไปเพื่อนำผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตมาลงโทษให้ครบถ้วน เพราะเห็นคนไทยถูกฝรั่งหลอกแล้ว ยังเจ็บใจไม่หาย นี่จะมาให้คนไทยเล่นละครหลอกกันเองอีก คงยอมไม่ได้” นายยุทธพงศ์กล่าว
พร้อมกันนี้ นายยุทธพงศ์ ได้เรียกร้องให้คณะอนุกรรมการไต่สวนการจัดซื้อรถและเรือดับเพลิงของ กทม. ได้พิจารณาเรื่องนี้อย่างโปร่งใส อันประกอบด้วย กรรมการดังต่อไปนี้
1.นายประเสริฐ บุญศรี ประธาน (อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม)
2.ดร.จิรนิติ หะวานนท์ กรรมการ (กรรมการ คตส., ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะ)
3.นายเอกชัย ติวุตานนท์ กรรมการ (นักกฎหมาย จาก ธ.ไทยธนาคาร จก.)
4.น.ส.นารี ตัณฑเสถียร กรรมการ (อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงาน อสส.)
5.น.ส.ญาณิภา วรบุตร กรรมการ (ข้าราชการ ซี 8 สตง.)
6.นายเจน ชาญณรงค์ กรรมการ (วิศวกร, นักเรียนทุนภูมิพล)
7.นายวุฒิไกร วงษ์กอบศิลป์ กรรมการ (ข้าราชการ สตง.)
คณะกรรมการเหล่านี้ แต่ละคนล้วนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นผู้ที่มีชื่อเสียง มีทั้งนักกฎหมาย
ผู้พิพากษา อัยการ วิศวกร นักบัญชี ดังนั้นพวกท่านต้องพิจารณาเรื่องรถดับเพลิงนี้ อย่างเป็นธรรม ใช้หลักของกฎหมาย ต้องไม่เลือกปฏิบัติ เพื่อไม่ให้กระทบต่อชื่อเสียงและเกียรติประวัติของพวกท่าน เพราะเรื่องนี้ชาวบ้านทั่วไปก็รู้ว่ามันผิดชัดเจน
กรรมการ คตส. หลายท่านเป็นคนดี มีเกียรติยศชื่อเสียง อย่าให้มามัวหมองเพราะเรื่องทำนองนี้ หากรู้ว่าไม่สามารถสอบสวนคดีนี้ให้ตรงไปตรงมาได้ เพราะคุณนามไม่กล้าเปลี่ยนคุณประเสริฐออกไป ก็สมควรส่งคืนคดีให้กับ ปปช. เพราะที่จริงแล้ว คดีรถดับเพลิงไม่เหมือนกับคดีอื่น ๆ ของ คตส. เพราะเป็นเรื่องของท้องถิ่น ประชาชนเริ่มสงสัยว่า คตส.ล้วงออกมาทำเองกับมือ เพราะต้องการคุมเกมช่วยเหลือพรรคพวกและทำลายล้างฝ่ายตรงข้ามใช่หรือไม่
อย่างไรก็ตามในวันที่ 6 ส.ค. 2550 หรือวันพรุ่งนี้เวลา 12.00 น. ตนจะนำหลักฐานต่างๆเหล่านี้ ไปยื่นให้ท่านประธาน คตส. ใหญ่ และ กรรมการ คตส.ใหญ่ทุกท่าน ได้พิจารณา เปลี่ยน ประธานอนุกรรมการไต่สวนรถและเรือดับเพลิง ก่อนที่ประชาชนจะขาดความเชื่อถือ คตส.ทั้งคณะ ในประเด็นของการเลือกปฏิบัติ หรือเชื่อว่า คมช. และ คตส.เอาเรื่องการปราบทุจริตมาบังหน้า เป็นเครื่องมือทำลายล้างฝ่ายตรงข้าม.
ส่วนอีกท่านหนึ่งที่จะต้องมีส่วนรับผิดชอบ คือ นายสมัคร สุนทรเวช ว่าที่หัวหน้าพรรคพลังประชาชน เพราะเรื่องรถดับเพลิงนี้ ถ้าคุณสมัครฯ ไม่ไปเซ็นสัญญาไว้ในช่วงรักษาการผู้ว่าฯ กทม. ก็จะไม่เกิดเรื่องขึ้นมา ดังนั้นผมขอเรียกร้องให้ คุณสมัครฯ ได้เคลียร์ตัวเองให้สะอาดเสียก่อน ที่จะรับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชาชน.
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 5 ส.ค. 2550--จบ--
นายยุทธพงศ์ กล่าวต่อว่า ตนส่งหลักฐานที่เกี่ยวกับการทุจริตในส่วนของการค้าต่างตอบแทนไปให้ กรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นผลให้กรมสอบสวนคดีพิเศษมีมติให้ดำเนินคดีกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง โดยส่งสำนวนทั้งหมดไปให้กับ ปปช. ต่อมา คตส.ขอโอนคดีทุจริตการจัดซื้อรถดับเพลิงมาดำเนินการ ทาง ปปช. ก็ส่งมอบหลักฐานทั้งหมดไปให้ คตส. และ คตส.ก็มอบหลักฐานทั้งหมดให้กับนายประเสริฐ และคณะ โดยรวมหลักฐานการทุจริตในส่วนของการค้าต่างตอบแทนที่ตนเคยส่งให้กรมสอบสวนคดีพิเศษด้วย
“คุณประเสริฐจะปฏิเสธว่า ไม่รู้เรื่องนี้คงไม่ได้ และผมขอถามว่า ตั้งแต่ คุณประเสริฐ บุญศรี เป็นประธานอนุกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง จนมาเป็นประธานอนุกรรมการไต่สวน เคยหยิบยกเรื่องการค้าต่างตอบแทนขึ้นมาพิจารณาหรือไม่ เพราะที่ผ่านมา ผมไม่เคยเห็นการตั้งข้อกล่าวหากับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องทั้ง ๆ ที่มีหลักฐานปรากฏอย่างชัดเจน”นายยุทธพงศ์กล่าว
นายยุทธพงศ์กล่าวต่อว่า ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า ในการจัดซื้อรถดับเพลิงและเรือดับเพลิงของ กทม. มูลค่า 6,687 ล้านบาท การจัดซื้อครั้งนี้ เป็นการซื้อขายระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลออสเตรีย หรือ จี ทู จี โดยมีการเสนอเรื่องการจัดซื้อเข้าที่ประชุม ครม. และ ครม. ได้มีมติเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2547 ในเรื่องของการค้าต่างตอบแทนระบุว่า “ให้กระทรวงพาณิชย์ รับไปดำเนินการเกี่ยวกับการทำการค้าต่างตอบแทน กับ รัฐบาลออสเตรียสำหรับโครงการข้างต้นโดยประสานกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป”
ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ มติ ครม. 22 มิ.ย. 2547 ที่กำหนดให้กระทรวงพาณิชย์ รับไปดำเนินการกับ รัฐบาลออสเตรีย แต่ในข้อเท็จจริง กระทรวงพาณิชย์ไม่ได้ส่งสินค้าใด ๆ ไปขายรัฐบาลออสเตรีย แต่กลับเป็นการทำธุรกรรมระหว่าง บริษัท สไตเออร์ฯ กับ บริษัท ซี.พี เมอร์แชนไดซิ่ง จำกัด สำนักงานตั้งอยู่ที่เลขที่ 313 อาคาร ซี.พี.ทาวเวอร์ ถ.สีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กทม. โดยบริษัท สไตเออร์ฯ ได้จ้างให้ บริษัท ซี.พี.ฯ ไปเซ็นสัญญาการค้าต่างตอบแทน กับ กรมการค้าต่างประเทศ ในฐานะตัวแทนรัฐบาลไทย โดยบริษัทสไตเออร์ฯ ยอมจ่ายค่าธรรมเนียมร้อยละ 2.20 ของมูลค่า 6,687 ล้านบาท คิดเป็นเงินประมาณ 148 ล้านบาท ตามสัญญา Counterpurchase Service Agreement
“มีอย่างที่ไหน มติ ครม.สั่งมาอย่างหนึ่ง แต่กลับไปทำอีกอย่างหนึ่ง ผมถือหลักการที่ว่า” ถ้าใครหรือหน่วยงานใดก็ตามที่ดำเนินการผิดไปจากมติ ครม. ต้องถือว่าผิดกฎหมายหมด”
ครม. บอกให้ไปดำเนินการกับรัฐบาลออสเตรีย ผมขอถามคุณประเสริฐฯ ว่า บริษัท ซี.พี.ฯ เป็นตัวแทนของรัฐบาลออสเตรียได้อย่างไร เพราะผมตรวจสอบผู้ถือหุ้นบริษัท ซีพีฯ ทั้งหมด ไม่พบว่ามีรัฐบาลออสเตรียหรือคนออสเตรียถือหุ้นแม้แต่หุ้นเดียว.”นายยุทธพงศ์กล่าว
นายยุทธพงศ์ ตั้งสังเกตว่า หลักฐานการโอนเงินของ บริษัท สไตเออร์ฯ ไปให้ บริษัท ซี.พี. เมอร์แชนไดซิ่ง จำกัด ในวันที่ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม. เปิด แอลซี คือวันที่ 10 ม.ค. 2548 จำนวน 264,249 ยูโร คิดเป็นเงินไทยจำนวน 13,542,287 บาท โดยบริษัท สไตเออร์ฯ ได้โอนเงินจาก ธนาคารERSTE BANK เวียนนา ออสเตรีย มาเข้าบัญชี ของบริษัท ซี.พี.เมอร์แชนไดซิ่ง จำกัด ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาสีลม
ต่อมาเมื่อวันที่ 11 ส.ค. 2548 บริษัท สไตเออร์ฯ ได้โอนเงินมาเข้าบัญชี ของบริษัท ซี.พี.เมอร์แชนไดซิ่ง จำกัด อีกที่ ธนาคารเดิม คือ ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด สาขาสีลม อีก จำนวน 30,000 ยู
“พฤติการณ์ดังกล่าว ผมสงสัยว่า น่าจะเป็นการว่าจ้าง เพื่อสวมตัวเลขการส่งออก ซึ่งบริษัท
ซีพีฯ มีคำสั่งซื้อจากลูกค้ารายอื่นมาก่อนแล้ว จึงต้องส่งเป็นงวด ๆ ตามคำสั่งซื้อ บริษัท สไตเออร์ฯ จึงทยอยจ่ายเงินค่าธรรมเนียมให้กับ บริษัท ซี.พี.ฯ เป็นงวด ๆ ล้อไปตามอัตราร้อยละ 2.20 ของตัวเลขการส่งออกแต่ละงวด.”นายยุทธพงศ์กล่าวและว่า
นายประเสริฐฯ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับหลักฐานอีก 1 ชิ้น นั่นคือ บริษัท นายหน้า ที่ติดต่องานการค้าต่างตอบแทน ให้ บริษัท สไตเออร์ฯ และ บริษัท ซี.พี.เมอร์แชนไดซิ่ง จำกัด ได้มารู้จักกัน คือ บริษัท เทพยนต์ แอโรโมทีฟ อินดัสตรีส์ จำกัด สำนักงานตั้งอยู่ที่ 381 ถ.วิภาวดี สามเสนใน พญาไท กทม. เป็นนายหน้า ตามหนังสือสัญญานายหน้า ลงวันที่ 2 ส.ค. 2547 และใบเสร็จรับเงินที่ บริษัท เทพยนต์ฯ ออกให้ บริษัท ซี.พี.ฯ เป็นการจ่ายค่านายหน้าให้ จำนวน 697,913 บาท ลงวันที่ 22 ก.ย. 2548 นอกจากนี้ บริษัท ซี.พี.ฯ ยังได้จ่ายค่านายหน้าให้กับ บริษัท เทพยนต์ฯ อีกจำนวน 600,124 บาท ใบเสร็จรับเงินลงวันที่ 14 พ.ย. 2548
“ผมต้องฟ้องสื่อมวลชนว่าที่ คุณประเสริฐฯ สรุปเรื่องการจัดซื้อรถและเรือดับเพลิงของ กทม. เข้าที่ประชุมใหญ่ คตส. 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2550 และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2550 ทำไมคุณประเสริฐฯ ถึงไม่กล้าที่จะแตะต้องเรื่องการค้าต่างตอบแทน เลย เพราะไม่เคยเห็นข่าวปรากฏออกมาว่า คตส.ชุดใหญ่ได้พิจารณาเรื่องนี้ด้วย.”นายยุทธพงศ์กล่าวและว่า
ด้วยเหตุผลข้างต้นทั้งปวง นายประเสริฐฯ ควรลาออกจากตำแหน่งประธานอนุกรรมการไต่สวน เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อ คตส.ต่อไป นายประเสริฐฯ ไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานให้ครบถ้วน ทั้งๆที่มีอยู่ในมือ พฤติการณ์น่าสงสัย โดย 3 บริษัทจ่ายเงินกันไปมา มีทั้งใบเสร็จรับเงิน และเช็ค ธนาคาร
“หากรู้ความหมายของคำว่า “ศักดิ์ศรี” คุณประเสริฐ ต้องรักศักดิ์ศรี ในฐานะที่เคยเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรมมาก่อน เมื่อถูก คตส.ชุดใหญ่ส่งผลการสอบสวนกลับถึง 2 ครั้ง จะอยู่ต่อไปทำไม? ควรเปิดทางให้คนอื่นที่มีความสามารถมากกว่านี้เข้าไปตรวจสอบทุจริตให้ครบทุกแง่ทุกมุม เพื่อลดคำครหาว่า คตส.ตั้งขึ้นมาเพื่อล้างแค้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร”นายยุทธพงศ์ กล่าว
นายยุทธพงศ์ กล่าวต่อว่า การสอบสวนจะบกพร่องโดยสุจริตหรือไม่สุจริตก็ตาม แต่ล้วนก่อให้เกิดความเสียหายแก่บ้านเมือง อย่างน้อยประชาชนจะขาดความเชื่อถือ คตส.และลุกลามไปถึง คมช. ท้ายสุดบ้านเมืองก็จะเกิดความวุ่นวาย เพราะประชาชนเชื่อว่าการสอบสวนของ คตส.เป็นการล้างแค้นหรือทำลายล้างทางการเมืองมากกว่าการสอบสวนอย่างตรงไปตรงมา “ถ้าคุณประเสริฐไม่ยอมลาออก ผู้ที่ต้องรับผิดชอบก็คือ คุณนาม ยิ้มแย้ม ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เพราะเป็นผู้แต่งตั้งคุณประเสริฐที่เป็นเพื่อนเรียนเนติบัณฑิตมาเป็นประธานอนุกรรมการ ทั้ง ๆ ที่คณะอนุกรรมการชุดอื่นล้วนแต่เอา กรรมการ คตส.มานั่งเป็นประธานอนุกรรมการทั้งสิ้น ยกเว้นเฉพาะชุดรถดับเพลิง ที่เอาคุณจิรนิต หะวานนท์ กรรมการ คตส.ไปนั่งเป็นอนุกรรมการเฉย ๆ โดยเปิดทางให้คุณประเสริฐซึ่งเป็นคนนอก มานั่งเป็นประธาน
“ท่านนาม ยิ้มแย้ม ก่อนที่ท่านจะไปปัดกวาดบ้านคนอื่น ท่านต้องปัดกวาดบ้านตัวเองให้สะอาดเสียก่อน
หากยังไม่มีการเปลี่ยนตัวประธานอนุกรรมการไต่สวนรถดับเพลิง ผมจะนำเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ คตส.ไม่ยอมแตะต้องมาแฉอีก ผมขอเรียนว่า คดีรถดับเพลิง นี้ไม่ใช่ประเด็นการเมืองอย่างแน่นอน ส่วนเรื่องอื่นผมไม่ทราบ ผมเป็นนักการเมืองรุ่นใหม่ ที่พยายามเดินตามรอยของคุณชวน หลีกภัย นั่นคือ มีความซื่อตรงและยึดหลักการ ในฐานะที่ผมติดตามคดีนี้มาตั้งแต่ต้น ก็จะติดตามต่อไปเพื่อนำผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตมาลงโทษให้ครบถ้วน เพราะเห็นคนไทยถูกฝรั่งหลอกแล้ว ยังเจ็บใจไม่หาย นี่จะมาให้คนไทยเล่นละครหลอกกันเองอีก คงยอมไม่ได้” นายยุทธพงศ์กล่าว
พร้อมกันนี้ นายยุทธพงศ์ ได้เรียกร้องให้คณะอนุกรรมการไต่สวนการจัดซื้อรถและเรือดับเพลิงของ กทม. ได้พิจารณาเรื่องนี้อย่างโปร่งใส อันประกอบด้วย กรรมการดังต่อไปนี้
1.นายประเสริฐ บุญศรี ประธาน (อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม)
2.ดร.จิรนิติ หะวานนท์ กรรมการ (กรรมการ คตส., ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะ)
3.นายเอกชัย ติวุตานนท์ กรรมการ (นักกฎหมาย จาก ธ.ไทยธนาคาร จก.)
4.น.ส.นารี ตัณฑเสถียร กรรมการ (อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงาน อสส.)
5.น.ส.ญาณิภา วรบุตร กรรมการ (ข้าราชการ ซี 8 สตง.)
6.นายเจน ชาญณรงค์ กรรมการ (วิศวกร, นักเรียนทุนภูมิพล)
7.นายวุฒิไกร วงษ์กอบศิลป์ กรรมการ (ข้าราชการ สตง.)
คณะกรรมการเหล่านี้ แต่ละคนล้วนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นผู้ที่มีชื่อเสียง มีทั้งนักกฎหมาย
ผู้พิพากษา อัยการ วิศวกร นักบัญชี ดังนั้นพวกท่านต้องพิจารณาเรื่องรถดับเพลิงนี้ อย่างเป็นธรรม ใช้หลักของกฎหมาย ต้องไม่เลือกปฏิบัติ เพื่อไม่ให้กระทบต่อชื่อเสียงและเกียรติประวัติของพวกท่าน เพราะเรื่องนี้ชาวบ้านทั่วไปก็รู้ว่ามันผิดชัดเจน
กรรมการ คตส. หลายท่านเป็นคนดี มีเกียรติยศชื่อเสียง อย่าให้มามัวหมองเพราะเรื่องทำนองนี้ หากรู้ว่าไม่สามารถสอบสวนคดีนี้ให้ตรงไปตรงมาได้ เพราะคุณนามไม่กล้าเปลี่ยนคุณประเสริฐออกไป ก็สมควรส่งคืนคดีให้กับ ปปช. เพราะที่จริงแล้ว คดีรถดับเพลิงไม่เหมือนกับคดีอื่น ๆ ของ คตส. เพราะเป็นเรื่องของท้องถิ่น ประชาชนเริ่มสงสัยว่า คตส.ล้วงออกมาทำเองกับมือ เพราะต้องการคุมเกมช่วยเหลือพรรคพวกและทำลายล้างฝ่ายตรงข้ามใช่หรือไม่
อย่างไรก็ตามในวันที่ 6 ส.ค. 2550 หรือวันพรุ่งนี้เวลา 12.00 น. ตนจะนำหลักฐานต่างๆเหล่านี้ ไปยื่นให้ท่านประธาน คตส. ใหญ่ และ กรรมการ คตส.ใหญ่ทุกท่าน ได้พิจารณา เปลี่ยน ประธานอนุกรรมการไต่สวนรถและเรือดับเพลิง ก่อนที่ประชาชนจะขาดความเชื่อถือ คตส.ทั้งคณะ ในประเด็นของการเลือกปฏิบัติ หรือเชื่อว่า คมช. และ คตส.เอาเรื่องการปราบทุจริตมาบังหน้า เป็นเครื่องมือทำลายล้างฝ่ายตรงข้าม.
ส่วนอีกท่านหนึ่งที่จะต้องมีส่วนรับผิดชอบ คือ นายสมัคร สุนทรเวช ว่าที่หัวหน้าพรรคพลังประชาชน เพราะเรื่องรถดับเพลิงนี้ ถ้าคุณสมัครฯ ไม่ไปเซ็นสัญญาไว้ในช่วงรักษาการผู้ว่าฯ กทม. ก็จะไม่เกิดเรื่องขึ้นมา ดังนั้นผมขอเรียกร้องให้ คุณสมัครฯ ได้เคลียร์ตัวเองให้สะอาดเสียก่อน ที่จะรับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชาชน.
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 5 ส.ค. 2550--จบ--