แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เอส แอนด์ พี ซินดิเคท
กรมส่งเสริมการส่งออก
ธนาคารแห่งประเทศไทย
กระทรวงพาณิชย์
ดัชนีราคา
1. เหตุผลและความจำเป็น
ตามที่สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย ได้มีการหารือร่วมกันเกี่ยวกับการปรับปรุง วิธีการจัดทำดัชนีราคาสินค้าเข้า-ออกให้มีความเหมาะสมมากขึ้นโดยใช้แนวทางการสำรวจข้อมูล รวมทั้งได้มอบหมายให้สำนักดัชนีฯ เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำดัชนีราคาสินค้าเข้า-ออกนั้น ขณะนี้ สำนักดัชนีฯได้ดำเนินการจัดทำดัชนีราคาสินค้าเข้า-ออกเสร็จสิ้นแล้ว โดยได้เผยแพร่ ดัชนีราคาสินค้าออกตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2548 และดัชนีราคาสินค้าเข้าตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549 เป็นต้นมา
เพื่อให้การใช้ข้อมูลเป็นแนวทางเดียวกันระหว่างหน่วยงานราชการและต่อผู้ใช้ข้อมูล ทั่วไปทั้งภาคเอกชนและประชาชน ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเผยแพร่ข้อมูลดัชนีราคาสินค้า เข้า-ออกชุดเดิมเพียงงวดข้อมูลสิ้นปี 2549 และขอยกเลิกการจัดทำดัชนีราคาสินค้าเข้า-ออกของธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าวตั้งแต่งวดข้อมูลเดือนมกราคม 2550 เป็นต้นไป และใช้ดัชนีราคาฯ ซึ่งสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้จัดทำแทน
2. หลักการจัดทำดัชนีราคาสินค้าเข้า-ออกของกระทรวงพาณิชย์
ดัชนีราคาสินค้าเข้า-ออกของกระทรวงพาณิชย์ จัดทำจากราคาที่ได้จากการสำรวจบริษัท ผู้ส่งออก-นำเข้าโดยตรง ซึ่งต่างจากดัชนีราคาสินค้าเข้า-ออกชุดเดิมของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ใช้มูลค่าต่อหน่วย (unit value) จากระบบฐานข้อมูลของกรมศุลกากร ซึ่งคำนวณโดยใช้มูลค่า หารด้วยปริมาณ ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ทำการสำรวจจากสินค้าเข้า-ออกสำคัญ และกำหนดให้ปี 2543 เป็นปีฐาน พร้อมทั้งเผยแพร่ข้อมูลตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นไป
รายละเอียดและวิธีการจัดทำดัชนีราคาสินค้าเข้า-ออกแบบใหม่ ติดตามได้ที่เว็บไซต์ของกระทรวงพาณิชย์ http://www.price.moc.go.th
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ตามที่สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย ได้มีการหารือร่วมกันเกี่ยวกับการปรับปรุง วิธีการจัดทำดัชนีราคาสินค้าเข้า-ออกให้มีความเหมาะสมมากขึ้นโดยใช้แนวทางการสำรวจข้อมูล รวมทั้งได้มอบหมายให้สำนักดัชนีฯ เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำดัชนีราคาสินค้าเข้า-ออกนั้น ขณะนี้ สำนักดัชนีฯได้ดำเนินการจัดทำดัชนีราคาสินค้าเข้า-ออกเสร็จสิ้นแล้ว โดยได้เผยแพร่ ดัชนีราคาสินค้าออกตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2548 และดัชนีราคาสินค้าเข้าตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549 เป็นต้นมา
เพื่อให้การใช้ข้อมูลเป็นแนวทางเดียวกันระหว่างหน่วยงานราชการและต่อผู้ใช้ข้อมูล ทั่วไปทั้งภาคเอกชนและประชาชน ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเผยแพร่ข้อมูลดัชนีราคาสินค้า เข้า-ออกชุดเดิมเพียงงวดข้อมูลสิ้นปี 2549 และขอยกเลิกการจัดทำดัชนีราคาสินค้าเข้า-ออกของธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าวตั้งแต่งวดข้อมูลเดือนมกราคม 2550 เป็นต้นไป และใช้ดัชนีราคาฯ ซึ่งสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้จัดทำแทน
2. หลักการจัดทำดัชนีราคาสินค้าเข้า-ออกของกระทรวงพาณิชย์
ดัชนีราคาสินค้าเข้า-ออกของกระทรวงพาณิชย์ จัดทำจากราคาที่ได้จากการสำรวจบริษัท ผู้ส่งออก-นำเข้าโดยตรง ซึ่งต่างจากดัชนีราคาสินค้าเข้า-ออกชุดเดิมของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ใช้มูลค่าต่อหน่วย (unit value) จากระบบฐานข้อมูลของกรมศุลกากร ซึ่งคำนวณโดยใช้มูลค่า หารด้วยปริมาณ ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ทำการสำรวจจากสินค้าเข้า-ออกสำคัญ และกำหนดให้ปี 2543 เป็นปีฐาน พร้อมทั้งเผยแพร่ข้อมูลตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นไป
รายละเอียดและวิธีการจัดทำดัชนีราคาสินค้าเข้า-ออกแบบใหม่ ติดตามได้ที่เว็บไซต์ของกระทรวงพาณิชย์ http://www.price.moc.go.th
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--