แท็ก
พระพุทธศาสนา
กรุงเทพ--21 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
อันที่จริงแล้ว ไทยและศรีลังกามีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นและยาวนานเกินกว่า 50 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2498 โดยเฉพาะความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมและศาสนาซึ่งสามารถย้อนรอยประวัติศาสตร์กลับไปได้อย่างน้อย 8 ศตวรรษ หรือ 800 ปีที่ทั้งไทยและศรีลังกาได้ร่วมกันสืบสานและจรรโลงพระพุทธศาสนา จึงทำให้ความสัมพันธ์ของพุทธศาสนิกชนชาวไทยและศรีลังกามีลักษณะพิเศษและแนบแน่นยิ่งกว่าความสัมพันธ์อื่นใด เพราะเป็นความสัมพันธ์ที่ถูกหล่อหลอมและเชื่อมโยงด้วยพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ดังนั้น ในฤดูกฐินกาลปีพุทธศักราช 2548 นี้ ผู้เขียนจึงเชื่อมั่นว่าชาวพุทธในประเทศไทยและศรีลังกาย่อมมีความปิติยินดีและร่วมกันอนุโมทนาที่กิจกรรมปฐมฤกษ์ของการเฉลิมฉลองการครบรอบ 50 ปีแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตของทั้งสองประเทศ เริ่มต้นด้วยพิธีอัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทานไปทอดถวาย ณ วัดทีปทุตตมาราม กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2548
วัดทีปทุตตมารามมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นวัดพระพุทธศาสนาวัดแรกในกรุงโคลัมโบ มีพระรัตนเจดีย์ที่โดดเด่นซึ่งก่อสร้างแบบผสมผสานศิลปะและสถาปัตยกรรมของไทย
ศรีลังกา อินเดีย และพม่าเข้าด้วยกัน เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่าวัดนี้เป็น “วัดไทย” ในกรุงโคลัมโบ พระ ป.
ชินวรวงศ์ หรือพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ เคยเป็นเจ้าอาวาสที่วัดนี้ระหว่างปี 2448-2453 และเป็นผู้ออกแบบควบคุมการก่อสร้างพระรัตนเจดีย์องค์ดังกล่าว กฐินพระราชทานครั้งนี้ จึงประจวบเหมาะกับการเฉลิมฉลองสมโภชการบรรพชาครบรอบ 100 ปีของพระ ป. ชินวรวงศ์ซึ่งทางวัดจัดถวายอย่างยิ่งใหญ่
เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2482 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้เสด็จฯ เยือนวัดแห่งนี้ ในการเสด็จครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลได้ทรงปลูกต้นไม้มงคลไว้ หลังจากนั้นในปี 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จฯ เยือนวัดนี้ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกต้นไม้มงคลอีกต้นหนึ่งไว้คู่กัน
เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2542 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จฯ เยือนวัดนี้ ทรงร่วมพิธีบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และทรงปลูกต้นไม้มงคลไว้ด้วย 1 ต้น ต่อมาเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2543 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ “พระวัสกาดูวะ มหินทวังสะ เถโร” เจ้าอาวาสวัดทีปทุตตมารามเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร แทนพระองค์ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระบรมสารีริกธาตุ
แม้ว่ากฐินพระราชทานในฤดูกฐินกาลปีนี้ จะมิใช่กฐินพระราชทานครั้งแรกของวัดแห่งนี้ เพราะกระทรวงการต่างประเทศได้ขอพระราชทานผ้าพระกฐินและอัญเชิญไปทอดถวายมาแล้ว 3 ครั้ง คือ เมื่อปี 2539 ปี 2543 และปี 2546 แต่กฐินพระราชทานครั้งนี้มีความพิเศษตรงที่เป็นกิจกรรมปฐมฤกษ์ของการเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์ไทย-ศรีลังกา และการสมโภชครบรอบ 100 ปีแห่งการบรรพชาของพระ
วรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ หรือพระป. ชินวรวงศ์ เจ้าอาวาสวัดดังกล่าว
ดังนั้น คณะผู้แทนอัญเชิญผ้าพระกฐินจากประเทศไทย นำโดย ดร. วีระชัย วีระเมธีกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ จึงได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นและเปี่ยมล้นด้วยมิตรไมตรีจิตอย่างยิ่งจากทั้งฝ่ายสงฆ์และฝ่ายฆราวาสชาวศรีลังกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลสำคัญของศรีลังกา ประกอบด้วย นายมิรินด้า มาราโกด้า สมาชิกสภาผู้แทนกรุงโคลัมโบและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี นายปาสันนา กุนาวาดฮาเน ผู้ว่าราชการกรุงโคลัมโบ, รองผู้ว่าฯ กรุงโคลัมโบ, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตกรุงโคลัมโบเหนือ นักธุรกิจชั้นนำของศรีลังกาได้ออกมารอรับคณะอัญเชิญผ้าพระกฐินฯ ที่ถนนปากทางเข้าวัด พร้อมด้วยขบวนแห่ของคณะนาฏศิลป์ร่ายรำระบำพื้นเมืองศรีลังกา มีการประโคมดนตรีตลอดเวลาที่ขบวนเคลื่อนเข้าสู่วัด ท่ามกลางประชาชนชาวศรีลังกาจำนวนหลายร้อยคนที่มายืนคอยร่วมพิธีถวายผ้าพระกฐินฯ
ด้วยพระบารมีปกเกล้าฯ พิธีถวายผ้าพระกฐินฯ ในช่วงเช้าวันเสาร์เป็นไปอย่างราบรื่น ซึ่งเป็นที่น่าประหลาดใจเพราะไม่มีฝนตกลงมาสักหยดเดียว ทั้งๆ ที่มีฝนตกก่อนหน้านั้นมาหลายวัน จนคนไทยในศรีลังกาอดวิตกไม่ได้ แต่ทุกคนในขบวนแห่กลับแคล้วคลาดจากจากฝนและสามารถเข้าร่วมในพิธีศักดิ์สิทธิ์ที่ดำเนินไปอย่างเรียบง่ายและกระชับ โดยเริ่มจากไวยาวัจกรเชิญ ดร.วีระชัยฯ หัวหน้าคณะผู้แทนไทยถวายความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย แล้วถวายผ้าพระกฐินแด่เจ้าอาวาส ถวายปัจจัยและเงินบริจาคให้แก่วัด พระภิกษุสงฆ์ชาวศรีลังกาสวดมนต์ให้พรแก่ผู้เข้าร่วมในพิธี เป็นอันเสร็จสิ้นพิธีทางศาสนา
ลำดับต่อมา ดร. วีระชัยฯ กล่าวคำปราศรัยมีใจความว่าประเทศไทยและศรีลังกามีความสัมพันธ์อันดีมาตลอด 8 ศตวรรษ โดยมีพุทธศาสนานิกายเถรวาทเป็นเครื่องเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ นับเป็นนิมิตรหมายอันดีที่ไทยและศรีลังกาซึ่งเป็นประเทศที่นับถือศาสนาพุทธร่วมกันจะเริ่มต้นเฉลิมฉลองการครบรอบ 50 ปีของความสัมพันธ์ทางการทูตด้วยพิธีกรรมทางศาสนา ดังนั้น พิธีถวายผ้าพระกฐินฯ ในครั้งนี้จึงถือได้ว่าเป็นกิจกรรรมปฐมฤกษ์ของการเฉลิมฉลองดังกล่าว
นอกจากนี้ ดร. วีระชัยฯ ยังกล่าวสดุดีพระวัสกาดูวะ มหินทวังสะ เถโร เจ้าอาวาสวัดทีปทุตตมารามที่ได้พยายามอุทิศตนในการสร้าง “ศูนย์ศึกษาพุทธศาสนา” ภายในวัด เพื่อให้เป็นสถานที่ศึกษาพระธรรมวินัยของพระภิกษุสงฆ์ทั้งชาวไทยและศรีลังกา ซึ่งยังต้องก่อสร้างต่ออีกมาก จึงขอเชิญชวนให้พุทธศาสนิกชนไทยและศรีลังการ่วมกันบริจาคสมทบทุน เพื่อให้ศูนย์ฯ แห่งนี้ก่อสร้างจนแล้วเสร็จ เพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์ในระดับประชาชนของทั้งสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
นายมิรินด้า โมราโกด้า สส. กรุงโคลัมโบ ได้กล่าวขอบคุณประเทศไทยที่ได้ให้ความช่วยเหลือศรีลังกาและเป็นมิตรประเทศที่ศรีลังกาสามารถพึ่งพิงได้ โดยเฉพาะการให้สถานที่ในประเทศไทยจัดการประชุมเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลศรีลังกากับกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬอีแลม และเชื่อมั่นว่าการก่อสร้างศูนย์ศึกษาพุทธศาสนาจะสำเร็จลงได้ด้วยความร่วมมือของทั้งฝ่ายไทยและศรีลังกา ในส่วนของศรีลังกาจะพยายามหาเงินทุนมาสมทบในการก่อสร้างต่อไปจนกว่าศูนย์แห่งนี้จะสำเร็จ และหวังว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ศรีลังกาจะยืนยงต่อไปในอีก 50 ปีข้างหน้า
ผู้เขียนต้องขอชื่นชมประชาชนชาวศรีลังกาอย่างมากที่ส่วนใหญ่แม้จะมีฐานะยากจน แต่ด้วยจิตใจที่เป็นกุศลและมีความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง กอปรกับชาวศรีลังกาที่นับถือศาสนาพุทธโดยทั่วไปมีความรู้สึกเป็นมิตรและชื่นชมประเทศไทยในฐานะที่เป็น “เมืองพุทธ” ที่มีระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจสูง อีกทั้งคนไทยยังมีจิตใจโอบอ้อมอารีและชอบทำบุญกุศล ชาวศรีลังกาจึงมาร่วมในพิธีถวายผ้าพระกฐินฯ พร้อมทั้งสวดมนต์เสียงดังกังวานก้อง “ธรรมศาลา” อย่างแน่นขนัดและพร้อมเพรียงกัน ทำให้ชาวไทยและชาวศรีลังกาที่มาร่วมพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานในครั้งนี้ ปลื้มปิติและอิ่มเอมใจด้วยกุศลผลบุญกันถ้วนหน้า
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
อันที่จริงแล้ว ไทยและศรีลังกามีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นและยาวนานเกินกว่า 50 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2498 โดยเฉพาะความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมและศาสนาซึ่งสามารถย้อนรอยประวัติศาสตร์กลับไปได้อย่างน้อย 8 ศตวรรษ หรือ 800 ปีที่ทั้งไทยและศรีลังกาได้ร่วมกันสืบสานและจรรโลงพระพุทธศาสนา จึงทำให้ความสัมพันธ์ของพุทธศาสนิกชนชาวไทยและศรีลังกามีลักษณะพิเศษและแนบแน่นยิ่งกว่าความสัมพันธ์อื่นใด เพราะเป็นความสัมพันธ์ที่ถูกหล่อหลอมและเชื่อมโยงด้วยพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ดังนั้น ในฤดูกฐินกาลปีพุทธศักราช 2548 นี้ ผู้เขียนจึงเชื่อมั่นว่าชาวพุทธในประเทศไทยและศรีลังกาย่อมมีความปิติยินดีและร่วมกันอนุโมทนาที่กิจกรรมปฐมฤกษ์ของการเฉลิมฉลองการครบรอบ 50 ปีแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตของทั้งสองประเทศ เริ่มต้นด้วยพิธีอัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทานไปทอดถวาย ณ วัดทีปทุตตมาราม กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2548
วัดทีปทุตตมารามมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นวัดพระพุทธศาสนาวัดแรกในกรุงโคลัมโบ มีพระรัตนเจดีย์ที่โดดเด่นซึ่งก่อสร้างแบบผสมผสานศิลปะและสถาปัตยกรรมของไทย
ศรีลังกา อินเดีย และพม่าเข้าด้วยกัน เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่าวัดนี้เป็น “วัดไทย” ในกรุงโคลัมโบ พระ ป.
ชินวรวงศ์ หรือพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ เคยเป็นเจ้าอาวาสที่วัดนี้ระหว่างปี 2448-2453 และเป็นผู้ออกแบบควบคุมการก่อสร้างพระรัตนเจดีย์องค์ดังกล่าว กฐินพระราชทานครั้งนี้ จึงประจวบเหมาะกับการเฉลิมฉลองสมโภชการบรรพชาครบรอบ 100 ปีของพระ ป. ชินวรวงศ์ซึ่งทางวัดจัดถวายอย่างยิ่งใหญ่
เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2482 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้เสด็จฯ เยือนวัดแห่งนี้ ในการเสด็จครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลได้ทรงปลูกต้นไม้มงคลไว้ หลังจากนั้นในปี 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จฯ เยือนวัดนี้ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกต้นไม้มงคลอีกต้นหนึ่งไว้คู่กัน
เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2542 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จฯ เยือนวัดนี้ ทรงร่วมพิธีบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และทรงปลูกต้นไม้มงคลไว้ด้วย 1 ต้น ต่อมาเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2543 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ “พระวัสกาดูวะ มหินทวังสะ เถโร” เจ้าอาวาสวัดทีปทุตตมารามเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร แทนพระองค์ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระบรมสารีริกธาตุ
แม้ว่ากฐินพระราชทานในฤดูกฐินกาลปีนี้ จะมิใช่กฐินพระราชทานครั้งแรกของวัดแห่งนี้ เพราะกระทรวงการต่างประเทศได้ขอพระราชทานผ้าพระกฐินและอัญเชิญไปทอดถวายมาแล้ว 3 ครั้ง คือ เมื่อปี 2539 ปี 2543 และปี 2546 แต่กฐินพระราชทานครั้งนี้มีความพิเศษตรงที่เป็นกิจกรรมปฐมฤกษ์ของการเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์ไทย-ศรีลังกา และการสมโภชครบรอบ 100 ปีแห่งการบรรพชาของพระ
วรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ หรือพระป. ชินวรวงศ์ เจ้าอาวาสวัดดังกล่าว
ดังนั้น คณะผู้แทนอัญเชิญผ้าพระกฐินจากประเทศไทย นำโดย ดร. วีระชัย วีระเมธีกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ จึงได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นและเปี่ยมล้นด้วยมิตรไมตรีจิตอย่างยิ่งจากทั้งฝ่ายสงฆ์และฝ่ายฆราวาสชาวศรีลังกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลสำคัญของศรีลังกา ประกอบด้วย นายมิรินด้า มาราโกด้า สมาชิกสภาผู้แทนกรุงโคลัมโบและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี นายปาสันนา กุนาวาดฮาเน ผู้ว่าราชการกรุงโคลัมโบ, รองผู้ว่าฯ กรุงโคลัมโบ, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตกรุงโคลัมโบเหนือ นักธุรกิจชั้นนำของศรีลังกาได้ออกมารอรับคณะอัญเชิญผ้าพระกฐินฯ ที่ถนนปากทางเข้าวัด พร้อมด้วยขบวนแห่ของคณะนาฏศิลป์ร่ายรำระบำพื้นเมืองศรีลังกา มีการประโคมดนตรีตลอดเวลาที่ขบวนเคลื่อนเข้าสู่วัด ท่ามกลางประชาชนชาวศรีลังกาจำนวนหลายร้อยคนที่มายืนคอยร่วมพิธีถวายผ้าพระกฐินฯ
ด้วยพระบารมีปกเกล้าฯ พิธีถวายผ้าพระกฐินฯ ในช่วงเช้าวันเสาร์เป็นไปอย่างราบรื่น ซึ่งเป็นที่น่าประหลาดใจเพราะไม่มีฝนตกลงมาสักหยดเดียว ทั้งๆ ที่มีฝนตกก่อนหน้านั้นมาหลายวัน จนคนไทยในศรีลังกาอดวิตกไม่ได้ แต่ทุกคนในขบวนแห่กลับแคล้วคลาดจากจากฝนและสามารถเข้าร่วมในพิธีศักดิ์สิทธิ์ที่ดำเนินไปอย่างเรียบง่ายและกระชับ โดยเริ่มจากไวยาวัจกรเชิญ ดร.วีระชัยฯ หัวหน้าคณะผู้แทนไทยถวายความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย แล้วถวายผ้าพระกฐินแด่เจ้าอาวาส ถวายปัจจัยและเงินบริจาคให้แก่วัด พระภิกษุสงฆ์ชาวศรีลังกาสวดมนต์ให้พรแก่ผู้เข้าร่วมในพิธี เป็นอันเสร็จสิ้นพิธีทางศาสนา
ลำดับต่อมา ดร. วีระชัยฯ กล่าวคำปราศรัยมีใจความว่าประเทศไทยและศรีลังกามีความสัมพันธ์อันดีมาตลอด 8 ศตวรรษ โดยมีพุทธศาสนานิกายเถรวาทเป็นเครื่องเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ นับเป็นนิมิตรหมายอันดีที่ไทยและศรีลังกาซึ่งเป็นประเทศที่นับถือศาสนาพุทธร่วมกันจะเริ่มต้นเฉลิมฉลองการครบรอบ 50 ปีของความสัมพันธ์ทางการทูตด้วยพิธีกรรมทางศาสนา ดังนั้น พิธีถวายผ้าพระกฐินฯ ในครั้งนี้จึงถือได้ว่าเป็นกิจกรรรมปฐมฤกษ์ของการเฉลิมฉลองดังกล่าว
นอกจากนี้ ดร. วีระชัยฯ ยังกล่าวสดุดีพระวัสกาดูวะ มหินทวังสะ เถโร เจ้าอาวาสวัดทีปทุตตมารามที่ได้พยายามอุทิศตนในการสร้าง “ศูนย์ศึกษาพุทธศาสนา” ภายในวัด เพื่อให้เป็นสถานที่ศึกษาพระธรรมวินัยของพระภิกษุสงฆ์ทั้งชาวไทยและศรีลังกา ซึ่งยังต้องก่อสร้างต่ออีกมาก จึงขอเชิญชวนให้พุทธศาสนิกชนไทยและศรีลังการ่วมกันบริจาคสมทบทุน เพื่อให้ศูนย์ฯ แห่งนี้ก่อสร้างจนแล้วเสร็จ เพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์ในระดับประชาชนของทั้งสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
นายมิรินด้า โมราโกด้า สส. กรุงโคลัมโบ ได้กล่าวขอบคุณประเทศไทยที่ได้ให้ความช่วยเหลือศรีลังกาและเป็นมิตรประเทศที่ศรีลังกาสามารถพึ่งพิงได้ โดยเฉพาะการให้สถานที่ในประเทศไทยจัดการประชุมเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลศรีลังกากับกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬอีแลม และเชื่อมั่นว่าการก่อสร้างศูนย์ศึกษาพุทธศาสนาจะสำเร็จลงได้ด้วยความร่วมมือของทั้งฝ่ายไทยและศรีลังกา ในส่วนของศรีลังกาจะพยายามหาเงินทุนมาสมทบในการก่อสร้างต่อไปจนกว่าศูนย์แห่งนี้จะสำเร็จ และหวังว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ศรีลังกาจะยืนยงต่อไปในอีก 50 ปีข้างหน้า
ผู้เขียนต้องขอชื่นชมประชาชนชาวศรีลังกาอย่างมากที่ส่วนใหญ่แม้จะมีฐานะยากจน แต่ด้วยจิตใจที่เป็นกุศลและมีความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง กอปรกับชาวศรีลังกาที่นับถือศาสนาพุทธโดยทั่วไปมีความรู้สึกเป็นมิตรและชื่นชมประเทศไทยในฐานะที่เป็น “เมืองพุทธ” ที่มีระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจสูง อีกทั้งคนไทยยังมีจิตใจโอบอ้อมอารีและชอบทำบุญกุศล ชาวศรีลังกาจึงมาร่วมในพิธีถวายผ้าพระกฐินฯ พร้อมทั้งสวดมนต์เสียงดังกังวานก้อง “ธรรมศาลา” อย่างแน่นขนัดและพร้อมเพรียงกัน ทำให้ชาวไทยและชาวศรีลังกาที่มาร่วมพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานในครั้งนี้ ปลื้มปิติและอิ่มเอมใจด้วยกุศลผลบุญกันถ้วนหน้า
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-