กรุงเทพ--24 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 8 (8th ASEM Foreign Ministers Meeting) ระหว่างวันที่ 28-29 พฤษภาคม 2550 ณ เมืองฮัมบูร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับรัฐมนตรีต่างประเทศของเอเชียและยุโรป และหารือเกี่ยวกับประเด็นในภูมิภาคและประเด็นระหว่างประเทศที่สำคัญๆ รวมทั้งพิจารณาแนวทางการดำเนินงานของ Asia-Europe Meeting (ASEM) ในอนาคต
การประชุม ASEM FMM ในครั้งนี้ เน้น 3 ประเด็นหลัก คือ 1) ประเด็นด้านการเมือง อาทิ สถานการณ์ในตะวันออกกลาง คาบสมุทรเกาหลี และการต่อต้านการก่อการร้าย 2) ประเด็นความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ สังคม/วัฒนธรรม อาทิ การส่งเสริมโอกาสทางการค้าและการลงทุน พลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การศึกษา และความแตกต่างด้านวัฒนธรรม และ 3) การประสานงานในกรอบอาเซม เช่น การทำงานของมูลนิธิเอเชีย-ยุโรป หรือ ASEF โดยอาศัยแนวทางจากผลการประชุมระดับผู้นำครั้งที่ 6 ที่กรุงเฮลซิงกิ เมื่อเดือนกันยายน 2549
ในการประชุมครั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะกล่าวนำหัวข้อ มิติทางสังคม โดยเน้นเรื่องการศึกษา และความแตกต่างทางวัฒนธรรมและอารยธรรม เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างกันโดยเฉพาะในระดับเยาวชนของสองภูมิภาค และจะเป็นผู้กล่าวตอบในหัวข้อ พัฒนาการในยุโรป โดยเน้นเรื่องสหภาพยุโรปครบรอบ 50 ปี และความร่วมมือระหว่างสองภูมิภาคในอนาคต และอาจอาศัยหัวข้อพัฒนาการในเอเชียแจ้งพัฒนาการในไทยถึงความคืบหน้าในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และกำหนดการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในปลายปีนี้ นอกจากนี้ จะมีการหารือและผลักดันในประเด็นอื่นๆ โดยเฉพาะแนวทางการดำเนินงานของ ASEM ในอนาคต การกำหนดสาขาที่ประเทศสมาชิกสามารถมีความร่วมมือกันอย่างเป็นรูปธรรม การกระชับความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจและลดข้อกีดกันทางการค้า และการพัฒนาโครงสร้างการประสานงานภายใน ASEM เช่น Virtual Secretariat เป็นต้น
การประชุม ASEM FMM เป็นเวทีให้รัฐมนตรีต่างประเทศของเอเชียและยุโรปได้มีโอกาสพบปะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างเป็นกันเอง ถูกจัดขึ้นทุกๆ 2 ปี โดยครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่สมาชิกใหม่จะเข้าร่วมประชุมด้วย ได้แก่ บัลแกเรีย โรมาเนีย อินเดีย ปากีสถาน มองโกเลีย และสำนักเลขาธิการอาเซียน
การประชุม ASEM FMM อยู่ภายใต้กรอบการประชุมเอเชีย-ยุโรป หรือ ASEM ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกฝ่ายยุโรปและเอเชียทั้งหมด 43 ประเทศ (เอเชีย 16 ประเทศ และยุโรป 27 ประเทศ) และ 2 องค์กร (สหภาพยุโรป และสำนักเลขาธิการอาเซียน) ซึ่งประเทศไทยมีส่วนร่วมในพัฒนาการของการประชุมในกรอบ ASEM มาโดยตลอด โดยนอกจากจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ASEM ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 1-2 มีนาคม 2539 และเป็นประเทศผู้ประสานงาน ช่วงปี 2540-43 จนถึงการประชุมสุดยอด ASEM ครั้งที่ 3 ที่กรุงโซล แล้ว ไทยยังเป็นผู้ริเริ่มโครงการต่างๆ อาทิ ศูนย์เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมเอเชีย-ยุโรป (AEETC) ในประเทศไทย การเป็นเจ้าภาพการประชุมสภาธุรกิจเอเชีย-ยุโรป (AEBF) ครั้งที่ 2 การร่วมบริจาค ASEM Trust Fund ในช่วงวิกฤตการเงินปี 2544 การเป็นเจ้าภาพ ASEM Youth Games เมื่อ มิถุนายน ปี 2548 และการเข้าร่วมเป็น contributing partners ของโครงการทุนแลกเปลี่ยนนักศึกษา/อาจารย์ ASEM DUO Fellowship Programme ตั้งแต่ปี 2543
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะใช้โอกาสในระหว่างการประชุมดังกล่าว หารือระดับทวิภาคีกับประเทศสมาชิกทั้งฝ่ายเอเชียและยุโรป อาทิ จีน กัมพูชา โปรตุเกส กรรมาธิการยุโรป สหราชอาณาจักร สเปน และออสเตรีย เป็นต้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 8 (8th ASEM Foreign Ministers Meeting) ระหว่างวันที่ 28-29 พฤษภาคม 2550 ณ เมืองฮัมบูร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับรัฐมนตรีต่างประเทศของเอเชียและยุโรป และหารือเกี่ยวกับประเด็นในภูมิภาคและประเด็นระหว่างประเทศที่สำคัญๆ รวมทั้งพิจารณาแนวทางการดำเนินงานของ Asia-Europe Meeting (ASEM) ในอนาคต
การประชุม ASEM FMM ในครั้งนี้ เน้น 3 ประเด็นหลัก คือ 1) ประเด็นด้านการเมือง อาทิ สถานการณ์ในตะวันออกกลาง คาบสมุทรเกาหลี และการต่อต้านการก่อการร้าย 2) ประเด็นความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ สังคม/วัฒนธรรม อาทิ การส่งเสริมโอกาสทางการค้าและการลงทุน พลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การศึกษา และความแตกต่างด้านวัฒนธรรม และ 3) การประสานงานในกรอบอาเซม เช่น การทำงานของมูลนิธิเอเชีย-ยุโรป หรือ ASEF โดยอาศัยแนวทางจากผลการประชุมระดับผู้นำครั้งที่ 6 ที่กรุงเฮลซิงกิ เมื่อเดือนกันยายน 2549
ในการประชุมครั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะกล่าวนำหัวข้อ มิติทางสังคม โดยเน้นเรื่องการศึกษา และความแตกต่างทางวัฒนธรรมและอารยธรรม เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างกันโดยเฉพาะในระดับเยาวชนของสองภูมิภาค และจะเป็นผู้กล่าวตอบในหัวข้อ พัฒนาการในยุโรป โดยเน้นเรื่องสหภาพยุโรปครบรอบ 50 ปี และความร่วมมือระหว่างสองภูมิภาคในอนาคต และอาจอาศัยหัวข้อพัฒนาการในเอเชียแจ้งพัฒนาการในไทยถึงความคืบหน้าในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และกำหนดการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในปลายปีนี้ นอกจากนี้ จะมีการหารือและผลักดันในประเด็นอื่นๆ โดยเฉพาะแนวทางการดำเนินงานของ ASEM ในอนาคต การกำหนดสาขาที่ประเทศสมาชิกสามารถมีความร่วมมือกันอย่างเป็นรูปธรรม การกระชับความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจและลดข้อกีดกันทางการค้า และการพัฒนาโครงสร้างการประสานงานภายใน ASEM เช่น Virtual Secretariat เป็นต้น
การประชุม ASEM FMM เป็นเวทีให้รัฐมนตรีต่างประเทศของเอเชียและยุโรปได้มีโอกาสพบปะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างเป็นกันเอง ถูกจัดขึ้นทุกๆ 2 ปี โดยครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่สมาชิกใหม่จะเข้าร่วมประชุมด้วย ได้แก่ บัลแกเรีย โรมาเนีย อินเดีย ปากีสถาน มองโกเลีย และสำนักเลขาธิการอาเซียน
การประชุม ASEM FMM อยู่ภายใต้กรอบการประชุมเอเชีย-ยุโรป หรือ ASEM ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกฝ่ายยุโรปและเอเชียทั้งหมด 43 ประเทศ (เอเชีย 16 ประเทศ และยุโรป 27 ประเทศ) และ 2 องค์กร (สหภาพยุโรป และสำนักเลขาธิการอาเซียน) ซึ่งประเทศไทยมีส่วนร่วมในพัฒนาการของการประชุมในกรอบ ASEM มาโดยตลอด โดยนอกจากจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ASEM ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 1-2 มีนาคม 2539 และเป็นประเทศผู้ประสานงาน ช่วงปี 2540-43 จนถึงการประชุมสุดยอด ASEM ครั้งที่ 3 ที่กรุงโซล แล้ว ไทยยังเป็นผู้ริเริ่มโครงการต่างๆ อาทิ ศูนย์เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมเอเชีย-ยุโรป (AEETC) ในประเทศไทย การเป็นเจ้าภาพการประชุมสภาธุรกิจเอเชีย-ยุโรป (AEBF) ครั้งที่ 2 การร่วมบริจาค ASEM Trust Fund ในช่วงวิกฤตการเงินปี 2544 การเป็นเจ้าภาพ ASEM Youth Games เมื่อ มิถุนายน ปี 2548 และการเข้าร่วมเป็น contributing partners ของโครงการทุนแลกเปลี่ยนนักศึกษา/อาจารย์ ASEM DUO Fellowship Programme ตั้งแต่ปี 2543
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะใช้โอกาสในระหว่างการประชุมดังกล่าว หารือระดับทวิภาคีกับประเทศสมาชิกทั้งฝ่ายเอเชียและยุโรป อาทิ จีน กัมพูชา โปรตุเกส กรรมาธิการยุโรป สหราชอาณาจักร สเปน และออสเตรีย เป็นต้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-