วันนี้ (22 กค. 50) นายองอาจ คล้ามไพบูลย์โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เมื่อ 2 วันที่ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์ได้ประกาศวาระประชาชนในเรื่องสำคัญ ๆ 4 เรื่อง อันประกอบด้วยการฟื้นฟูประชาธิปไตย การศึกษา สุขภาพ และการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงการทำให้เกิดความสงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเรื่องทั้งหมดเป็นเรื่องทุกข์ร้อนของประชาชน และพรรคประชาธิปัตย์ได้นำเสนอสิ่งเหล่านี้ผ่านทางหัวหน้าพรรค
นายองอาจกล่าวว่า วาระประชาชน ที่ได้ประกาศไปแล้วนั้นเป็นวาระประชาชนที่อยู่บนพื้นฐานของความต้องการของประชาชน เป็นความทุกข์ของประชาชน ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลที่พรรคหยิบยกเรื่องนี้มาเป็นวาระประชาชนที่สำคัญ และพรรคประชาธิปัตย์ต้องการมีส่วนเข้าไปแก้ไขความทุกข์ของประชาชน ทั้งนี้นายองอาจยังเปิดเผยอีกว่า ก่อนจะออกมาเป็นวาระประชาชนนั้นพรรคได้ทำงานหนักร่วมกับประชาชน และภาคประชาชน โดยทำการสำรวจตรวจสอบความต้องการของประชาชน ออกไปพบปะสอบถาม หลังจากนั้นรวบรวมสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มาทำการศึกษาวิจัยแล้วอย่างรอบด้าน ที่จะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเรื่องการเงิน การคลังของประเทศแล้ว จึงได้ประกาศออกมาเป็นวาระประชาชนเพื่อให้ประชาชนได้ตัดสินใจพิจารณา ที่สำคัญที่สุดสิ่งที่พรรคได้ประกาศออกไปนั้นมีหลายวาระที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับสวัสดิการ ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีสวัสดิการที่ดีขึ้นกว่าเดิม
นายองอาจยังยืนยันด้วยว่า วาระประชาชนที่ได้ประกาศออกไป เป็นวาระประชาชนที่ทำได้จริง และเกิดผลประโยชน์กับประชาชน สามารถแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากของประชาชนได้ อย่างไรก็ดี ขณะนี้พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้คิดว่าการดำเนินงานทางการเมืองของเรานั้นเป็นการไปสู้รบปรบมือกับใคร แต่เราพึงระลึกอยู่ตลอดเวลาว่าเรากำลังสู้กับตัวเอง เพื่อให้ประชาชนยอมรับในวาระประชาชนนี้ และยอมรับในบุคลากรของพรรคที่จะนำเสนอให้ประชาชนพิจารณาในการเลือกตั้งครั้งต่อไป
“การสู้กับตัวเองนี้ เราก็ต้องทำงานหนัก อดทน อดกลั้น แล้วก็ฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ ที่จะถาโถมมากขึ้นเรื่อย ๆ นับจากนี้เป็นต้นไป ก็เพียงอยากฝากให้กับพรรคการเมือง กลุ่มการเมืองและนักการเมือง อยากจะให้นับจากนี้เป็นต้นไปขอให้เราทำงานการเมืองกันอย่างสร้างสรรค์ นำเสนอแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์กับพี่น้องประชาชนมากกว่าที่จะมุ่งหน้าทำการเมืองแบบเก่า ๆ ด้วยการใส่ร้ายป้ายสี หรือสร้างเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องขึ้นมา ผมคิดว่า สิ่งที่เราเรียกร้องไปนี้เชื่อว่าไม่เหนือบ่ากว่าแรงที่พรรคการเมืองหรือนักการเมืองจะช่วยกันทำให้เกิดขึ้นได้” นายองอาจกล่าว
จากกรณีที่วานนี้ (21 กค.) ที่มีกลุ่มไทยรักไทยออกมาวิพากษ์วิจารณ์นโยบายวาระประชาชนของพรรคประชาธิปัตย์นั้น นายองอาจกล่าวว่า พรรคพร้อมที่จะน้อมรับคำวิพากษ์วิจารณ์คำติติงที่เป็นไปโดยบริสุทธิ์ใจ และเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ เพื่อที่เราจะได้นำคำวิพากษ์วิจารณ์เหล่านั้นมาแก้ไขปรับปรุงเพื่อการทำงานที่เป็นประโยชน์กับพี่น้องประชาชน
นายองอาจยังกล่าวต่อไปอีกว่า สำหรับการวิจารณ์หลายส่วนที่ไม่อยู่ในพื้นฐานของความเป็นจริง จากกรณีที่กลุ่มไทยรักไทยออกมาใส่ร้ายป้ายสีพรรคประชาธิปัตย์ว่า สมัยนายชวนนั้น ได้ทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจจนแก้ไขไม่ได้นั้น ในส่วนตนเห็นว่า วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงปี 40 หรือวิกฤติฟองสบู่นั้น ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยที่นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัยเป็นนายกฯ แต่เกิดขึ้นก่อนที่นายชวน จะเข้ามารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยเกิดขึ้นในสมัยพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี และมีบุคคลในรัฐบาลของอดีตนายกฯ ทักษิณเป็นรัฐบาลอยู่ในขณะนั้น เช่น นายทนง พิทยะ เป็นรมต.กระทรวงการคลัง เป็นต้น ปัญหาต่าง ๆ ที่กระทบต่อเศรษฐกิจไทยในขณะนั้นคือเรื่องการปิดสถาบันการเงิน การลดค่าเงินบาท จาก 25 บาท ต่อ 1 เหรียญสหรัฐฯ เป็นสูงขึ้นไปถึงเกือบ 50 บาท ต่อ 1 เหรียญสหรัฐฯ นั้น ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นก่อนที่นายชวน หลีกภัยจะเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีทั้งสิ้น
“รัฐบาลชวน 2 กลับต้องเข้ามาแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งถ้าเปรียบคนไข้ขณะนั้นก็เป็นคนไข้หนักที่อยู่ในห้องไอซียู ที่ยากต่อการแก้ไขเยียวยา และนั่นคือเหตุผลที่ทำไม พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ จึงลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะไม่ต้องการแบกศพเน่า ประเทศไทยเอาไว้ในมือของตัวเอง และนั่นคือเหตุผลว่า เมื่อเราเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีในยุคชวน 2 นั้นการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจจึงเป็นไปได้อย่างลำบากยากเข็ญเป็นอย่างยิ่ง แต่เราก็ช่วยประคองสถานะของประเทศไทย ซึ่งมีสภาวะอยู่ในสภาพวิกฤตินั้นอย่างต่อเนื่องตลอดมา ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่เป็นนายกฯ จนกระทั่งประเทศชาติบ้านเมืองเข้าสู่สภาวะปกติ” นายองอาจกล่าว
นายองอาจยังกล่าวอีกว่า การแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจในขณะนั้น เราต้องทำอะไรหลายอย่างซึ่งอาจจะไม่ถูกใจคนบางคน เราต้องทำอะไรหลายอย่างที่อาจจะเกิดผลกระทบต่อคนบางกลุ่ม แต่เมื่อคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติบ้านเมืองโดยรวมแล้ว ทำให้เราต้องตัดสินใจทำในสิ่งเหล่านั้น และหลังจากที่เราได้ยุติการเป็นรัฐบาลไปแล้ว รัฐบาลของคุณทักษิณเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ก็สามารถดำเนินเศรษฐกิจต่อเนื่องไปได้ มีการใช้เงินในโครงการประชานิยมมากมาย
“เงินในโครงการประชานิยมเหล่านั้น เกิดขึ้นทันทีทันใดได้หรือไม่ ถ้าไม่ใช่เกิดจากการปูพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่มั่นคงไว้ระดับหนึ่งแล้ว เพราะการบริหารประเทศชาติบ้านเมืองนั้น ไม่ใช่เข้ามาแล้วก็สามารถทำอะไรได้ทันที มันก็ต้องดำเนินการต่อเนื่องไปจากที่มีการปูพื้นฐานไว้ระดับหนึ่ง” นายองอาจกล่าว
สำหรับเรื่องการจัดตั้งพรรคการเมืองนั้น นายองอาจกล่าวว่า พรรคต้องการเรียกร้องให้เร่งให้มีการจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองได้อย่างรวดเร็ว เพื่อที่จะเปิดโอกาสให้นักการเมืองได้ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองภายใต้ชื่อพรรคการเมืองที่ตนเองประสงค์ที่จะให้มีการจัดตั้งขึ้นมา โดยเฉพาะมีนักการเมืองจำนวนมากที่ไม่ได้ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง ก็จะได้มีการเริ่มต้นในการทำกิจกรรมทางการเมืองต่าง ๆ และที่สำคัญคือการเปิดโอกาสให้มีการจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นนั้นจะทำให้ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้นในการแข่งขันทางการเมือง
นอกจากนี้นายองอาจยังเห็นว่าหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง อาทิ กกต. ไม่ควรคิดหยุมหยิมกับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น การใช้ชื่อย่อได้หรือไม่นั้น มาเป็นปัญหาให้การจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองล่าช้าออกไป แต่ควรพยายามเร่งให้มีการจัดตั้งพรรคการเมืองได้เร็วขึ้น
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 22 ก.ค. 2550--จบ--
นายองอาจกล่าวว่า วาระประชาชน ที่ได้ประกาศไปแล้วนั้นเป็นวาระประชาชนที่อยู่บนพื้นฐานของความต้องการของประชาชน เป็นความทุกข์ของประชาชน ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลที่พรรคหยิบยกเรื่องนี้มาเป็นวาระประชาชนที่สำคัญ และพรรคประชาธิปัตย์ต้องการมีส่วนเข้าไปแก้ไขความทุกข์ของประชาชน ทั้งนี้นายองอาจยังเปิดเผยอีกว่า ก่อนจะออกมาเป็นวาระประชาชนนั้นพรรคได้ทำงานหนักร่วมกับประชาชน และภาคประชาชน โดยทำการสำรวจตรวจสอบความต้องการของประชาชน ออกไปพบปะสอบถาม หลังจากนั้นรวบรวมสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มาทำการศึกษาวิจัยแล้วอย่างรอบด้าน ที่จะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเรื่องการเงิน การคลังของประเทศแล้ว จึงได้ประกาศออกมาเป็นวาระประชาชนเพื่อให้ประชาชนได้ตัดสินใจพิจารณา ที่สำคัญที่สุดสิ่งที่พรรคได้ประกาศออกไปนั้นมีหลายวาระที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับสวัสดิการ ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีสวัสดิการที่ดีขึ้นกว่าเดิม
นายองอาจยังยืนยันด้วยว่า วาระประชาชนที่ได้ประกาศออกไป เป็นวาระประชาชนที่ทำได้จริง และเกิดผลประโยชน์กับประชาชน สามารถแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากของประชาชนได้ อย่างไรก็ดี ขณะนี้พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้คิดว่าการดำเนินงานทางการเมืองของเรานั้นเป็นการไปสู้รบปรบมือกับใคร แต่เราพึงระลึกอยู่ตลอดเวลาว่าเรากำลังสู้กับตัวเอง เพื่อให้ประชาชนยอมรับในวาระประชาชนนี้ และยอมรับในบุคลากรของพรรคที่จะนำเสนอให้ประชาชนพิจารณาในการเลือกตั้งครั้งต่อไป
“การสู้กับตัวเองนี้ เราก็ต้องทำงานหนัก อดทน อดกลั้น แล้วก็ฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ ที่จะถาโถมมากขึ้นเรื่อย ๆ นับจากนี้เป็นต้นไป ก็เพียงอยากฝากให้กับพรรคการเมือง กลุ่มการเมืองและนักการเมือง อยากจะให้นับจากนี้เป็นต้นไปขอให้เราทำงานการเมืองกันอย่างสร้างสรรค์ นำเสนอแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์กับพี่น้องประชาชนมากกว่าที่จะมุ่งหน้าทำการเมืองแบบเก่า ๆ ด้วยการใส่ร้ายป้ายสี หรือสร้างเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องขึ้นมา ผมคิดว่า สิ่งที่เราเรียกร้องไปนี้เชื่อว่าไม่เหนือบ่ากว่าแรงที่พรรคการเมืองหรือนักการเมืองจะช่วยกันทำให้เกิดขึ้นได้” นายองอาจกล่าว
จากกรณีที่วานนี้ (21 กค.) ที่มีกลุ่มไทยรักไทยออกมาวิพากษ์วิจารณ์นโยบายวาระประชาชนของพรรคประชาธิปัตย์นั้น นายองอาจกล่าวว่า พรรคพร้อมที่จะน้อมรับคำวิพากษ์วิจารณ์คำติติงที่เป็นไปโดยบริสุทธิ์ใจ และเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ เพื่อที่เราจะได้นำคำวิพากษ์วิจารณ์เหล่านั้นมาแก้ไขปรับปรุงเพื่อการทำงานที่เป็นประโยชน์กับพี่น้องประชาชน
นายองอาจยังกล่าวต่อไปอีกว่า สำหรับการวิจารณ์หลายส่วนที่ไม่อยู่ในพื้นฐานของความเป็นจริง จากกรณีที่กลุ่มไทยรักไทยออกมาใส่ร้ายป้ายสีพรรคประชาธิปัตย์ว่า สมัยนายชวนนั้น ได้ทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจจนแก้ไขไม่ได้นั้น ในส่วนตนเห็นว่า วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงปี 40 หรือวิกฤติฟองสบู่นั้น ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยที่นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัยเป็นนายกฯ แต่เกิดขึ้นก่อนที่นายชวน จะเข้ามารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยเกิดขึ้นในสมัยพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี และมีบุคคลในรัฐบาลของอดีตนายกฯ ทักษิณเป็นรัฐบาลอยู่ในขณะนั้น เช่น นายทนง พิทยะ เป็นรมต.กระทรวงการคลัง เป็นต้น ปัญหาต่าง ๆ ที่กระทบต่อเศรษฐกิจไทยในขณะนั้นคือเรื่องการปิดสถาบันการเงิน การลดค่าเงินบาท จาก 25 บาท ต่อ 1 เหรียญสหรัฐฯ เป็นสูงขึ้นไปถึงเกือบ 50 บาท ต่อ 1 เหรียญสหรัฐฯ นั้น ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นก่อนที่นายชวน หลีกภัยจะเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีทั้งสิ้น
“รัฐบาลชวน 2 กลับต้องเข้ามาแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งถ้าเปรียบคนไข้ขณะนั้นก็เป็นคนไข้หนักที่อยู่ในห้องไอซียู ที่ยากต่อการแก้ไขเยียวยา และนั่นคือเหตุผลที่ทำไม พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ จึงลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะไม่ต้องการแบกศพเน่า ประเทศไทยเอาไว้ในมือของตัวเอง และนั่นคือเหตุผลว่า เมื่อเราเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีในยุคชวน 2 นั้นการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจจึงเป็นไปได้อย่างลำบากยากเข็ญเป็นอย่างยิ่ง แต่เราก็ช่วยประคองสถานะของประเทศไทย ซึ่งมีสภาวะอยู่ในสภาพวิกฤตินั้นอย่างต่อเนื่องตลอดมา ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่เป็นนายกฯ จนกระทั่งประเทศชาติบ้านเมืองเข้าสู่สภาวะปกติ” นายองอาจกล่าว
นายองอาจยังกล่าวอีกว่า การแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจในขณะนั้น เราต้องทำอะไรหลายอย่างซึ่งอาจจะไม่ถูกใจคนบางคน เราต้องทำอะไรหลายอย่างที่อาจจะเกิดผลกระทบต่อคนบางกลุ่ม แต่เมื่อคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติบ้านเมืองโดยรวมแล้ว ทำให้เราต้องตัดสินใจทำในสิ่งเหล่านั้น และหลังจากที่เราได้ยุติการเป็นรัฐบาลไปแล้ว รัฐบาลของคุณทักษิณเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ก็สามารถดำเนินเศรษฐกิจต่อเนื่องไปได้ มีการใช้เงินในโครงการประชานิยมมากมาย
“เงินในโครงการประชานิยมเหล่านั้น เกิดขึ้นทันทีทันใดได้หรือไม่ ถ้าไม่ใช่เกิดจากการปูพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่มั่นคงไว้ระดับหนึ่งแล้ว เพราะการบริหารประเทศชาติบ้านเมืองนั้น ไม่ใช่เข้ามาแล้วก็สามารถทำอะไรได้ทันที มันก็ต้องดำเนินการต่อเนื่องไปจากที่มีการปูพื้นฐานไว้ระดับหนึ่ง” นายองอาจกล่าว
สำหรับเรื่องการจัดตั้งพรรคการเมืองนั้น นายองอาจกล่าวว่า พรรคต้องการเรียกร้องให้เร่งให้มีการจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองได้อย่างรวดเร็ว เพื่อที่จะเปิดโอกาสให้นักการเมืองได้ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองภายใต้ชื่อพรรคการเมืองที่ตนเองประสงค์ที่จะให้มีการจัดตั้งขึ้นมา โดยเฉพาะมีนักการเมืองจำนวนมากที่ไม่ได้ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง ก็จะได้มีการเริ่มต้นในการทำกิจกรรมทางการเมืองต่าง ๆ และที่สำคัญคือการเปิดโอกาสให้มีการจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นนั้นจะทำให้ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้นในการแข่งขันทางการเมือง
นอกจากนี้นายองอาจยังเห็นว่าหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง อาทิ กกต. ไม่ควรคิดหยุมหยิมกับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น การใช้ชื่อย่อได้หรือไม่นั้น มาเป็นปัญหาให้การจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองล่าช้าออกไป แต่ควรพยายามเร่งให้มีการจัดตั้งพรรคการเมืองได้เร็วขึ้น
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 22 ก.ค. 2550--จบ--