กรุงเทพ--29 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
คำกล่าวของดร.มูฮัมหมัด ซัยยิด ฏอนฏอวี (Dr. Muhammad Sayid Tantawy) ผู้นำสูงสุดทางศาสนาอิสลามของสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ (Grand Imam of Al Azhar) ในโอกาสเข้าพบจุฬาราชมนตรี ผู้นำศาสนาและตัวแทนชุมชนไทยมุสลิม วันที่ 24 มิถุนายน 2550 เวลา 16.00 — 16.30 น. ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลามแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ
ท่านจุฬาราชมนตรี บรรดาพี่น้องมุสลิมที่เป็นมิตรกับเรา พี่น้องชายและหญิงที่เคารพ แขกผู้มีเกียรติทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอแสดงความคารวะต่อพวกท่าน
ความสัมพันธ์ระหว่างเรานั้น ถือว่ามีความเข้มแข็ง และองค์อัลเลาะห์ ได้ทำให้ความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งนี้ มีความเข้มแข็งขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างอัล อัซฮัรกับประเทศไทยมีมานานแล้ว และในบรรดานักศึกษาที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยอัล อัซฮัร กว่า 100 ประเทศ นักศึกษาไทยเป็นนักศึกษาชั้นแนวหน้า ซึ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมหาวิทยาลัยอัล อัซฮัร แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นทุกปี
เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว ก่อนที่ข้าพเจ้าจะเดินทางมาเยือนประเทศไทย ข้าพเจ้าได้พบกับนักศึกษาต่างชาติในหอพักนักศึกษา และได้พูดคุยกับนักศึกษาคนหนึ่ง ซึ่งจบการศึกษาไปแล้ว และจากการสนทนา พบว่า อัล อัซฮัร เป็นสถาบันอิสลามสายกลาง ที่ไม่มีการเล่นพรรคเล่นพวกหรือมีทิฐิหรือหัวรุนแรงแต่อย่างใด
ในอัล อัซฮัร มีสถาบันการศึกษามากกว่า 8,000 แห่ง และคณะต่างๆ มากกว่า 70 คณะ การศึกษาในอัล อัซฮัร สามารถแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ กล่าวคือ การท่องจำคัมภีร์อัลกุรอ่าน การเรียนรู้ด้านศาสนา และภาษาอาหรับ ขณะเดียวกัน อัล อัซฮัร ยังเปิดสอนวิชาสามัญอื่นๆ เช่น เคมี ฟิสิกส์ ภาษาต่างประเทศ และดังที่ข้าพเจ้ากล่าวมาแล้วว่า มหาวิทยาลัยอัล อัซฮัร มีคณะต่างๆ มากกว่า 70 คณะ แต่คณะที่มีความสำคัญ ได้แก่ นิติศาสตร์อิสลาม ศาสนศาสตร์ อิสลามศึกษาและภาษาอาหรับ ทั้งยังมีการเปิดสอนวิชาสามัญ เช่น แพทยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เกษตรศาสตร์ เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยไคโร
ข้าพเจ้าเห็นว่า ปัจจุบันนี้ นักศึกษาจำเป็นต้องศึกษาวิชาอื่นๆ ควบคู่ไปกับวิชาด้านศาสนา เพื่อจะได้นำความรู้กลับมาใช้พัฒนาประเทศของตน ซึ่งมหาวิทยาลัยอัล อัซฮัร มีนักศึกษาจากทุกทวีปทั่วโลกกว่า 100 ประเทศ ได้แก่ เอเชีย ยุโรป แอฟริกา ออสเตรเลีย และอเมริกา ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยฯ ยังเปิดโอกาสให้นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาได้ศึกษาวิชาด้านที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เพื่อนำความรู้ไปใช้ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในวิชาต่างๆ เช่น เศรษฐศาสตร์ เกษตรศาสตร์ แพทยศาสตร์ ซึ่งข้าพเจ้าปรารถนาให้นักศึกษาต่างชาติ ได้เข้าเรียนในคณะที่ต้องใช้วิชาความรู้ในทางปฏิบัติด้วย เพื่อพวกเขาจะได้นำความรู้ไปใช้ประกอบอาชีพแพทย์ วิศวกร หรือนักกฎหมาย เมื่อเดินทางกลับประเทศของตน
สิ่งที่ข้าพเจ้ารู้สึกยินดี ก็คือ มีนักศึกษาไทยจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอัล อัซฮัร เป็นจำนวนมาก และมหาวิทยาลัยฯ ได้มอบทุนการศึกษาแก่เยาวชนไทย กว่า 80 ทุน เป็นประจำทุกปี
ข้าพเจ้าอยากกล่าวว่า อียิปต์เกี่ยวข้องกับประเทศไทย และประเทศไทยก็เกี่ยวข้องอียิปต์ ดังนั้น พวกเราจึงสามารถร่วมมือกันได้ในการกระทำความดี เพื่อก่อให้เกิดสิ่งที่ดีที่สุด ไม่ใช่ในการกระทำความชั่ว หรือการเป็นศัตรูกัน เพราะบัญญัติแห่งอิสลาม ได้บัญญัติให้พวกเรากระทำเช่นนั้น และยังได้บัญญัติว่า พวกเราต่างมีบิดาและมาดาคนเดียวกัน ดังที่บทบัญญัติกล่าวว่า “โอ้มนุษย์ทั้งหลาย เราให้พวกเจ้าบังเกิดเป็นชายและหญิง เป็นเชื้อชาติต่างๆ ก็เพื่อให้พวกเจ้าร่วมมือกัน” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสมานฉันท์ ไม่ใช่การทำลายกัน ทั้งยังให้ยับยั้งสิ่งที่ชั่วร้าย คำกล่าวเหล่านี้ เราได้สั่งสอนบุตรหลานของเราในอัล อัซฮัร และยังได้สั่งสอนให้พวกเขากลับไปส่งเสริมความผาสุก และความมั่นคงให้กับประเทศของตน ซึ่งประชาชาติทั้งหลาย ควรจะมีความยำเกรง เพราะความอ่อนแอ ก็คือความแตกแยกกันนั่นเอง
สำหรับคนไทย เป็นคนที่มีจิตใจรักสงบ รักการเสริมสร้างความดีงาม มีความยำเกรง และไม่รักความชั่วร้าย บทบัญญัติแห่งอิสลามยังได้กล่าวกับพวกเราว่า แม้พวกเราจะมีความแตกต่างกันทางความเชื่อ แต่ก็ไม่ใช่แตกแยกกัน และเราได้เรียกร้องให้ยึดถือในหลักการของศาสนา แต่ไม่ได้บอกให้คนอื่นต้องมายึดถือตามแบบของเรา
ท้ายที่สุดนี้ อัล อัซฮัร จะเสริมสร้างผลประโยชน์ให้กับประเทศไทย และจะไม่ทอดทิ้งให้พี่น้องของเราได้รับในสิ่งที่ไม่ดี ข้าพเจ้าขอกล่าวอีกครั้งหนึ่งว่า ข้าพเจ้ามีความยินดีที่ได้พบปะกับพวกท่านทั้งหลาย และข้าพเจ้าขอให้ความดี และความผาสุก จงมีแก่พวกท่านทุกคน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
คำกล่าวของดร.มูฮัมหมัด ซัยยิด ฏอนฏอวี (Dr. Muhammad Sayid Tantawy) ผู้นำสูงสุดทางศาสนาอิสลามของสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ (Grand Imam of Al Azhar) ในโอกาสเข้าพบจุฬาราชมนตรี ผู้นำศาสนาและตัวแทนชุมชนไทยมุสลิม วันที่ 24 มิถุนายน 2550 เวลา 16.00 — 16.30 น. ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลามแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ
ท่านจุฬาราชมนตรี บรรดาพี่น้องมุสลิมที่เป็นมิตรกับเรา พี่น้องชายและหญิงที่เคารพ แขกผู้มีเกียรติทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอแสดงความคารวะต่อพวกท่าน
ความสัมพันธ์ระหว่างเรานั้น ถือว่ามีความเข้มแข็ง และองค์อัลเลาะห์ ได้ทำให้ความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งนี้ มีความเข้มแข็งขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างอัล อัซฮัรกับประเทศไทยมีมานานแล้ว และในบรรดานักศึกษาที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยอัล อัซฮัร กว่า 100 ประเทศ นักศึกษาไทยเป็นนักศึกษาชั้นแนวหน้า ซึ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมหาวิทยาลัยอัล อัซฮัร แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นทุกปี
เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว ก่อนที่ข้าพเจ้าจะเดินทางมาเยือนประเทศไทย ข้าพเจ้าได้พบกับนักศึกษาต่างชาติในหอพักนักศึกษา และได้พูดคุยกับนักศึกษาคนหนึ่ง ซึ่งจบการศึกษาไปแล้ว และจากการสนทนา พบว่า อัล อัซฮัร เป็นสถาบันอิสลามสายกลาง ที่ไม่มีการเล่นพรรคเล่นพวกหรือมีทิฐิหรือหัวรุนแรงแต่อย่างใด
ในอัล อัซฮัร มีสถาบันการศึกษามากกว่า 8,000 แห่ง และคณะต่างๆ มากกว่า 70 คณะ การศึกษาในอัล อัซฮัร สามารถแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ กล่าวคือ การท่องจำคัมภีร์อัลกุรอ่าน การเรียนรู้ด้านศาสนา และภาษาอาหรับ ขณะเดียวกัน อัล อัซฮัร ยังเปิดสอนวิชาสามัญอื่นๆ เช่น เคมี ฟิสิกส์ ภาษาต่างประเทศ และดังที่ข้าพเจ้ากล่าวมาแล้วว่า มหาวิทยาลัยอัล อัซฮัร มีคณะต่างๆ มากกว่า 70 คณะ แต่คณะที่มีความสำคัญ ได้แก่ นิติศาสตร์อิสลาม ศาสนศาสตร์ อิสลามศึกษาและภาษาอาหรับ ทั้งยังมีการเปิดสอนวิชาสามัญ เช่น แพทยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เกษตรศาสตร์ เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยไคโร
ข้าพเจ้าเห็นว่า ปัจจุบันนี้ นักศึกษาจำเป็นต้องศึกษาวิชาอื่นๆ ควบคู่ไปกับวิชาด้านศาสนา เพื่อจะได้นำความรู้กลับมาใช้พัฒนาประเทศของตน ซึ่งมหาวิทยาลัยอัล อัซฮัร มีนักศึกษาจากทุกทวีปทั่วโลกกว่า 100 ประเทศ ได้แก่ เอเชีย ยุโรป แอฟริกา ออสเตรเลีย และอเมริกา ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยฯ ยังเปิดโอกาสให้นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาได้ศึกษาวิชาด้านที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เพื่อนำความรู้ไปใช้ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในวิชาต่างๆ เช่น เศรษฐศาสตร์ เกษตรศาสตร์ แพทยศาสตร์ ซึ่งข้าพเจ้าปรารถนาให้นักศึกษาต่างชาติ ได้เข้าเรียนในคณะที่ต้องใช้วิชาความรู้ในทางปฏิบัติด้วย เพื่อพวกเขาจะได้นำความรู้ไปใช้ประกอบอาชีพแพทย์ วิศวกร หรือนักกฎหมาย เมื่อเดินทางกลับประเทศของตน
สิ่งที่ข้าพเจ้ารู้สึกยินดี ก็คือ มีนักศึกษาไทยจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอัล อัซฮัร เป็นจำนวนมาก และมหาวิทยาลัยฯ ได้มอบทุนการศึกษาแก่เยาวชนไทย กว่า 80 ทุน เป็นประจำทุกปี
ข้าพเจ้าอยากกล่าวว่า อียิปต์เกี่ยวข้องกับประเทศไทย และประเทศไทยก็เกี่ยวข้องอียิปต์ ดังนั้น พวกเราจึงสามารถร่วมมือกันได้ในการกระทำความดี เพื่อก่อให้เกิดสิ่งที่ดีที่สุด ไม่ใช่ในการกระทำความชั่ว หรือการเป็นศัตรูกัน เพราะบัญญัติแห่งอิสลาม ได้บัญญัติให้พวกเรากระทำเช่นนั้น และยังได้บัญญัติว่า พวกเราต่างมีบิดาและมาดาคนเดียวกัน ดังที่บทบัญญัติกล่าวว่า “โอ้มนุษย์ทั้งหลาย เราให้พวกเจ้าบังเกิดเป็นชายและหญิง เป็นเชื้อชาติต่างๆ ก็เพื่อให้พวกเจ้าร่วมมือกัน” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสมานฉันท์ ไม่ใช่การทำลายกัน ทั้งยังให้ยับยั้งสิ่งที่ชั่วร้าย คำกล่าวเหล่านี้ เราได้สั่งสอนบุตรหลานของเราในอัล อัซฮัร และยังได้สั่งสอนให้พวกเขากลับไปส่งเสริมความผาสุก และความมั่นคงให้กับประเทศของตน ซึ่งประชาชาติทั้งหลาย ควรจะมีความยำเกรง เพราะความอ่อนแอ ก็คือความแตกแยกกันนั่นเอง
สำหรับคนไทย เป็นคนที่มีจิตใจรักสงบ รักการเสริมสร้างความดีงาม มีความยำเกรง และไม่รักความชั่วร้าย บทบัญญัติแห่งอิสลามยังได้กล่าวกับพวกเราว่า แม้พวกเราจะมีความแตกต่างกันทางความเชื่อ แต่ก็ไม่ใช่แตกแยกกัน และเราได้เรียกร้องให้ยึดถือในหลักการของศาสนา แต่ไม่ได้บอกให้คนอื่นต้องมายึดถือตามแบบของเรา
ท้ายที่สุดนี้ อัล อัซฮัร จะเสริมสร้างผลประโยชน์ให้กับประเทศไทย และจะไม่ทอดทิ้งให้พี่น้องของเราได้รับในสิ่งที่ไม่ดี ข้าพเจ้าขอกล่าวอีกครั้งหนึ่งว่า ข้าพเจ้ามีความยินดีที่ได้พบปะกับพวกท่านทั้งหลาย และข้าพเจ้าขอให้ความดี และความผาสุก จงมีแก่พวกท่านทุกคน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-