กรุงเทพ--21 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2550 นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ณ ห้องแถลงข่าว กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์ เข้าร่วมรับฟังและซักถามในประเด็นต่าง ๆ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. การเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการของผู้นำสูงสุดทางศาสนาอิสลามของอียิปต์
ดร. มูฮัมหมัด ซัยยิด ฏอนฏอวี (Dr. Muhammad Sayid Tantawy) ผู้นำสูงสุดทางศาสนาอิสลามของอียิปต์ หรือ Grand Imam of Al Azhar มีกำหนดจะเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล ระหว่างวันที่ 23-27 มิถุนายน 2550 เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันในด้านกิจการศาสนาอิสลาม ตลอดจนการขยายความร่วมมือด้านการศึกษาของเยาวชนไทยมุสลิม และเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนา (interfaith dialogue) ตามนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาและเสริมสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้
กำหนดการสำคัญของ ดร.มูฮัมหมัด ซัยยิด ฏอนฏอวี ระหว่างการเยือนไทย ได้แก่ การเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีเพื่อรับฟังนโยบายการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาล การหารือกับผู้บัญชาการทหารบก/ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเพื่อรับฟังสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้และแนวทางแก้ไขปัญหาของกองทัพ นอกจากนั้น ดร. มูฮัมหมัด ซัยยิด ฏอนฏอวี มีกำหนดเข้าเฝ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและความร่วมมือระหว่างผู้นำศาสนาและเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีและความสันติสุขให้เกิดขึ้น
ในโอกาสนี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จะมอบปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัญฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาอิสลามศึกษาให้แก่ ดร. มูฮัมหมัด ซัยยิด ฏอนฏอวี ซึ่งท่านจะได้แสดงปาฐกถาธรรมแก่ผู้ร่วมงานทั้งที่เป็นชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม รวมประมาณ 1,000 คน
ดร. มูฮัมหมัด ซัยยิด ฏอนฏอวี เป็นผู้นำศาสนาอิสลามที่ประณามการก่อการร้าย โดยเฉพาะกลุ่มหัวรุนแรงที่ใช้การระเบิดฆ่าตัวตาย (suicide bombing) เป็นเครื่องมือว่า เป็นการกระทำที่ผิดหลักศาสนาอิสลาม และเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องกับระเบิดพลีชีพและกลุ่มหัวรุนแรงว่าเป็นศัตรูของอิสลาม (Enemy of Islam)
ตำแหน่ง Grand Imam of Al Azhar เป็นตำแหน่งผู้นำศาสนาสูงสุดของอียิปต์ที่มีอิทธิพลทางความคิดและจิตวิญญาณต่อมุสลิมในทุกยุคทุกสมัย คำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นข้อถกเถียงที่เกี่ยวข้องกับหลักการศาสนาของ Grand Imam จึงมักได้รับการยอมรับอย่างสูงของมุสลิมฝ่ายสุหนี่ นอกจากนั้น Grand Iman of Al Azhar ยังมีบทบาทสำคัญในด้านการศึกษา โดยมีฐานะเทียบเท่านายกสภามหาวิทยาลัย Al Azhar ที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงของอียิปต์ ทั้งนี้ ในประเทศอียิปต์ ตำแหน่ง Grand Imam of Al Azhar ถือว่ามีฐานะเทียบเท่าตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
นอกจากนี้ Grand Imam ยังเป็นผู้สนับสนุนอิสลามสายกลาง ส่งเสริมความปรองดองและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคมที่มีความหลากหลายทางศาสนา (dialogue and harmony among civilizations and religions) ดังจะเห็นได้จากคำกล่าวบางส่วนของ Grand Imam ที่มีต่อชาวไทยมุสลิม เมื่อครั้งที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าเยี่ยมคารวะ Grand Imam เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2550 โดยมีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า
“เราให้ความเคารพและให้เกียรติประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยมิได้แบ่งแยกระหว่างศาสนา และปฏิบัติต่อทุกศาสนิกชนอย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้น ผู้ประพฤติดี ควรได้รับผลตอบแทนที่ดี และนี่คือจิตใจอันสง่างามของประเทศไทยที่เรารู้จัก จึงทำให้เราทั้งหลายต่างให้เกียรติประเทศไทย เพราะเป็นอารยประเทศ ประเทศที่มีแต่สร้างและไม่เคยทำลาย ประเทศที่มีแต่สิ่งสร้างสรรค์และไม่เคยสร้างความหายนะ มีแต่ความดีและไม่มีสิ่งเลวร้าย ดังนั้น ขอแสดงความยินดีอย่างสุดซึ้งต่อประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นพระมหากษัตริย์ รัฐบาล และประชาชน และขออวยพรจากอัลเลาะห์ เพื่อทรงประทานให้ประเทศไทยประสบแต่ความเจริญรุ่งเรือง ความสงบสุข ความร่มเย็น”
2. การเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการของเลขาธิการสันนิบาตมุสลิมโลก
ศาสตราจารย์ ดร. อับดุลลอ ฮ บิน มุห ชินอัตตุรกี (H.E. Dr. Abdullah bin Abdul Mohsin Al-Turki) เลขาธิการสันนิบาตมุสลิมโลก (Muslim World League: MWL) จะเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล ระหว่างวันที่ 24-30 มิถุนายน 2550 โดยเลขาธิการฯ มีกำหนดเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผู้บัญชาการทหารบก/ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้อำนวยการศูนย์อำนวย การบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ จุฬาราชมนตรี ตลอดจนพบหารือกับผู้นำศาสนาและชาวมุสลิมในไทย และกล่าวปาฐกถาพิเศษที่ทำเนียบรัฐบาล มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา วิทยาเขตปัตตานี และโรงแรม ซี เอส ปัตตานี รวมทั้งเดินทางเยือนจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และเชียงใหม่
การเดินทางเยือนไทยของเลขาธิการฯ ครั้งนี้ เป็นโอกาสอันดีที่เลขาธิการฯ จะได้รับทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยสันติวิธีและสมานฉันท์ โดยอาศัยแนวทาง “3 Es” ประกอบด้วย การส่งเสริมการศึกษา (education) การจ้างงาน (employment) และทักษะด้านการประกอบการ (entrepreneurship) ซึ่ง MWL สามารถมีบทบาทช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินการของรัฐบาลไทยในเรื่องดังกล่าว
ที่ผ่านมา MWL ก็ได้มีบทบาทในการช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินการของรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเมื่อปี 2547 ในการประชุมสภามนตรีก่อตั้ง (เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลนโยบายของ MWL) ที่ประชุมฯ ได้ออกแถลงการณ์สุดท้ายเกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้เรียกร้องมิให้ชาวมุสลิมในพื้นที่ดังกล่าวรวมทั้งองค์กรต่างๆ เข้าไปมีส่วนร่วมในเหตุการณ์การก่อการร้ายทุกรูปแบบ ซึ่งจุฬาราชมนตรีได้อ้างแถลงการณ์ของ MWL ดังกล่าวในการเรียกร้องผ่านสื่อวิทยุโทรทัศน์ มิให้ชาวไทยมุสลิมสนับสนุน/เกี่ยวข้องกับการก่อความไม่สงบ และมีการประชาสัมพันธ์แถลงการณ์ในเรื่องดังกล่าวในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
นอกจากนี้ MWL ยังได้มอบความช่วยเหลือแก่ประเทศไทยในรูปแบบสาธารณกุศล อาทิ การให้เงินสนับสนุนมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ตลอดจนทุนสงเคราะห์เด็กกำพร้าในกรุงเทพฯ และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และมอบทุนช่วยเหลือในโอกาสสำคัญต่างๆ ของอิสลาม (การละศีลอดและงานตรุษ) รวมถึงการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยในไทยเมื่อปี 2547 ทั้งนี้ เงินช่วยเหลือจาก MWL ที่มอบให้กับประเทศไทย ดำเนินการผ่านช่องทางที่รัฐบาลรับทราบโดยตลอดเพื่อแสดงถึงความโปร่งใสในการดำเนินการ
3. การขยายผลกรอบความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งเขตการค้าเสรีไทย — อินเดีย
กระทรวงการต่างประเทศ โดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย จัดโครงการขยายผลกรอบความตกลงว่าด้วยการจัดทำเขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย ระหว่างวันที่ 26 มิถุนายน-3 กรกฎาคม 2550 ณ เมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของอินเดีย 4 แห่ง ได้แก่ นิวเดลี มุมไบ เจนไน และกัลกัตตา
พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ซึ่งกำหนดจะเยือนอินเดียอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 25-27 มิถุนายน 2550 จะเป็นประธานเปิดโครงการดังกล่าวในวันที่ 26 มิถุนายน 2550 ณ กรุงนิวเดลี หลังจากนั้น นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเป็นหัวหน้าคณะฯ นำผู้แทนภาครัฐและเอกชนไทยไปร่วมโครงการฯ ณ เมืองมุมไบ เมืองเจนไนและเมืองกัลกัตตา ระหว่างวันที่ 27 มิถุนายน-3 กรกฎาคม 2550
กรอบความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งเขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย ที่ได้มีการลงนามไปเมื่อเดือนตุลาคม 2546 ได้ก่อให้เกิดการลดภาษีรายการสินค้าล่วงหน้าระหว่างกันแล้วจำนวน 82 รายการ (Early Harvest Scheme: EHS) และลดภาษีเป็น 0% ตั้งแต่ปี 2549 และทั้งสองประเทศตั้งใจจะบรรลุการเจรจาเปิดเสรีการค้าสินค้าให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ทั้งนี้ มูลค่าการค้าโดยรวมระหว่างไทยและอินเดียภายหลังจากการลงนามความตกลง EHS แล้ว เพิ่มขึ้นจาก 1,184 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็น 3,406 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2545-2549) และทำให้ไทยได้ดุลการค้ากับอินเดียเป็นครั้งแรกในปี 2548 (มูลค่าการค้าประมาณ 2,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ในการนำคณะผู้แทนภาครัฐและเอกชนไทยไปร่วมโครงการที่ประเทศอินเดียในครั้งนี้ ได้แก่ 1) เพื่อเป็นการตอกย้ำโอกาสทางการค้าและการลงทุนที่จะเกิดจากความตกลง FTA ไทย-อินเดีย และเพื่อเป็นการเบิกทางและขยายโอกาสจากความตกลงแก่ภาคเอกชนไทย โดยมุ่งเน้นสาขาธุรกิจที่ไทยมีศักยภาพในตลาดอินเดีย 2) เพื่อให้ภาครัฐและเอกชนไทยได้ทำคามรู้จักกับ key players ทั้งภาครัฐและเอกชนของอินเดียในแต่ละเมืองเพื่อสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ 3) เพื่อเปิดโอกาสให้ภาครัฐและเอกชนไทยได้ศึกษา/เรียนรู้ตลาดอินเดีย ระบบและกฎระเบียบด้านการค้าการลงทุนจากภาครัฐและเอกชนของอินเดียโดยตรง
4. โครงการฝึกอบรมล่ามภาษาไทย-เขมรระดับมืออาชีพ
เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2550 ณ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร นายเตช บุนนาค อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ได้เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมล่ามภาษาไทย -เขมรระดับมืออาชีพ และร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ กับสาขาวิชาเขมร ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร เรื่องความร่วมมือในการดำเนินโครงการพัฒนาล่ามภาษาไทย — เขมร ระดับมืออาชีพ โดยมีนายอนุสนธิ์ ชินวรรโณ อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก และศาสตราจารย์ ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นผู้ร่วมลงนาม เพื่อยืนยันเจตนารมณ์และความเข้าใจร่วมกันในการดำเนินโครงการพัฒนาล่ามภาษาไทย — เขมร ระดับมืออาชีพ ภายใต้โครงการ Flagship เพื่อส่งเสริมความไว้วางใจระหว่างไทยกับเพื่อนบ้าน ประจำปีงบประมาณ 2550 ของกระทรวงการต่างประเทศ และเป็นไปตามความเห็นชอบร่วมกันระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชา
โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อฝึกอบรม เพิ่มพูนทักษะ เสริมสร้างสมรรถนะด้านความรู้และเทคนิคตามหลักวิชาการ แก่บุคลากรไทยเพื่อให้สามารถพัฒนาไปสู่การเป็นล่ามภาษาไทย — เขมร ระดับมืออาชีพ ซึ่งจะช่วยลดการขาดแคลนบุคลากรที่สามารถเป็นล่ามมืออาชีพและเป็นผู้รอบรู้ในด้านภาษาและวัฒนธรรมไทย — เขมร ได้ อีกทั้งเป็นการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของชาติและตอบสนองต่อความต้องการของภาครัฐและเอกชนในด้านการเป็นล่ามและผู้แปลภาษาไทย — เขมร อันจะมีส่วนช่วยสนับสนุนนโยบายของไทยในการส่งเสริมความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือ กับประเทศกัมพูชาในสาขาต่าง ๆ รวมทั้งเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้เกิดขึ้นทั้งในระดับรัฐบาลและระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศต่อไป และพัฒนาต่อยอดไปสู่การพัฒนาล่ามภาษาไทยกับภาษาประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ ในอนาคต
โครงการฝึกอบรมล่ามภาษาไทย-เขมร ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางจากทั้งนิสิต นักศึกษา และข้าราชการที่ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับกิจการชายแดนไทย-กัมพูชา ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมีเป้าหมายคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม จำนวน 10-15 คน เพื่อเข้าร่วมโครงการดังกล่าวและจะใช้เวลาฝึกอบรมประมาณ 6 เดือน (ระหว่างวันที่ 18 มิถุนายน -14 ธันวาคม 2550) ซึ่งคาดว่าจะสามารถผลิตบุคลากรล่ามภาษาไทย-เขมร ระดับมืออาชีพออกสู่ตลาดธุรกิจ การค้า และสนับสนุนงานต่าง ๆ ของภาครัฐได้ในราวต้นปี 2551
5. สำนักงานตำรวจสหประชาชาติ (UNPOL) มอบเหรียญเกียรติยศและประกาศนียบัตรแก่ตำรวจไทยในประเทศติมอร์ฯ
กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดิลีว่า ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2550 สำนักงานตำรวจสหประชาชาติ (UNPOL) จะจัดพิธีมอบเหรียญเกียรติยศและประกาศนียบัตรแก่ข้าราชการตำรวจไทยจำนวน 40 คน ในวาระที่ปฏิบัติภารกิจในกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในประเทศติมอร์ มาครบ 6 เดือน (ตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2549-ปัจจุบัน) ซึ่งที่ผ่านมา การปฏิบัติภารกิจของคณะข้าราชการตำรวจไทยประสบความสำเร็จ ได้รับความไว้วางใจและคำชมเชยจากผู้บังคับบัญชาเสมอมา
พิธีดังกล่าวจะจัดขึ้นที่สำนักงาน UNMIT (United Nations Integrated Mission in Timor-Leste) โดยมีผู้บัญชาการตำรวจของสหประชาชาติเป็นประธานในพิธี ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตฯ จะจัดงานเลี้ยงอาหารค่ำในวันเดียวกันเพื่อแสดงความยินดีแก่คณะข้าราชการตำรวจไทยด้วย
6. สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ชี้แจงกรณีมีผู้ตีพิมพ์สารจากเอกอัครราชทูตฯ ในวารสารจตุคามรามเทพโดยไม่ได้รับอนุญาต
ตามที่มีผู้นำสารของเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว เนื่องในวาระครบรอบ 120 ปี ความสัมพันธ์ ไทย-ญี่ปุ่น และบทความรวมทั้งเอกสารในวาระดังกล่าวซึ่งปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของสถานเอกอัครราชทูตฯ (www.thaiembassy.jp) ไปตีพิมพ์ในสิ่งพิมพ์ชื่อ “จตุคามรามเทพปริทรรศน์ ฉบับพิเศษ รุ่นทำมาค้าขึ้น” ฉบับเดือนพฤษภาคม 2550 โดยมีใจความสำคัญว่า สมาคมมิตรภาพนครศรีธรรมราช — ญี่ปุ่น จัดสร้างวัตถุมงคลจตุคามรามเทพ และตีพิมพ์สารของเอกอัครราชทูต และบทความของสถานเอกอัครราชทูตฯ ประกอบรวมกับเนื้อหาและโฆษณาการจัดสร้างและจำหน่ายวัตถุมงคลฯ ซึ่งอาจทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่า สถานเอกอัครราชทูตฯ และเอกอัครราชทูตฯ เกี่ยวข้องหรือสนับสนุนการจัดสร้างและจำหน่ายวัตถุมงคลฯ ดังกล่าว นั้น
สถานเอกอัครราชทูตฯ ขอชี้แจงว่าสถานเอกอัครราชทูตฯ และเอกอัครราชทูตฯ ไม่มีส่วนรู้เห็นหรือเกี่ยวข้องกับการจัดสร้างวัตถุมงคลฯ ดังกล่าวแต่อย่างใด นอกจากนี้สิ่งพิมพ์ดังกล่าวได้นำบทความของสถานเอกอัครราชทูตฯ ไปตีพิมพ์เผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต และผิดกฎหมาย เนื่องจากสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ระบุ “All right reserved” ไว้ในหน้าเว็บไซต์
ประเด็นถาม — ตอบ
- การเจรจาระหว่างรัฐบาลไทยกับผู้นำขบวนการแบ่งแยกดินแดนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งมีรายงานข่าวว่าพำนักอยู่ที่ประเทศกาตาร์
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศชี้แจงว่า กระทรวงฯ ยังไม่ได้รับรายงานและกำลังตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว ตลอดจนยังไม่ได้รับรายงานว่ารัฐบาลกำลังทำการเจรจากับผู้นำขบวนการแบ่งแยกดินแดนตามที่เป็นข่าว
- การเยือนไทยของผู้นำสูงสุดทางศาสนาอิสลามของอียิปต์และเลขาธิการสันนิบาตมุสลิมโลก
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า การเยือนไทยของผู้นำทางศาสนาอิสลามทั้งสองมีนัยสำคัญ 3 ประการ ได้แก่
1) เป็นโอกาสที่ผู้นำทางศาสนาอิสลามทั้งสองจะได้มารับฟังข้อเท็จจริงทั้งทางด้านภาคนโยบายเรื่องการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้จากนายกรัฐมนตรี และภาคปฏิบัติจากผู้บัญชาการทหารบก รวมทั้งได้ไปรับรู้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง ซึ่งกำหนดการของท่านในครั้งนี้ ทางการไทยได้จัดขึ้นตามความประสงค์ของท่าน ว่าต้องการจะเดินทางไปยังที่ใดและพบปะกับใคร เพื่อให้ทั้งสองท่านได้รับรู้และรับฟังข้อเท็จจริงด้วยตนเองได้มากที่สุด
2) ผู้นำทางศาสนาอิสลามทั้งสองยืนหยัดต่อต้านความรุนแรงใด ๆ ที่เกิดขึ้นในโลก และโอกาสนี้ ท่านจะได้แสดงปาฐกถา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเลขาธิการสันนิบาตมุสลิมโลกที่จะแสดงปาฐกถาถึง 3 ครั้ง) ซึ่งเป็นการยืนยันว่า “ศาสนาอิสลามคือศาสนาแห่งสันติ เรียกร้องสันติภาพและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ” ดังนั้น เมื่อมวลชนผู้ซึ่งเคยได้รับรู้ในสิ่งที่ไม่ถูกต้องได้รับฟังปาฐกถานี้ก็จะมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับคำสอนของศาสนาอิสลามพร่ำสอนที่แท้จริงคืออะไร
3) เมื่อผู้นำศาสนาอิสลามทั้งสองเดินทางกลับ ท่านจะได้ช่วยอธิบายข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและแนวทางการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลไทยชุดปัจจุบันที่ตั้งอยู่บนหลักสมานฉันท์และนิติธรรม เนื่องจากการที่ผู้นำศาสนาอิสลามทั้งสองได้รับทราบข้อมูล/ข้อเท็จจริงด้วยตนเอง จะเป็นผลดีต่อการใช้วิจารณญาณของทั้งสองท่านในการพิจารณาสถานการณ์อย่างถูกต้อง
ที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาภาคใต้มาโดยตลอด
โดยได้ทำการชี้แจงกับผู้นำและรัฐบาลประเทศมุสลิมต่าง ๆ ซึ่งล้วนให้การสนับสนุนแนวทางการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลไทยอย่างเต็มที่ และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ ประเทศมุสลิมหลายประเทศยังยอมรับว่าประชาชนไทยมีอิสระในการนับถือศาสนาเป็นอย่างมาก
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2550 นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ณ ห้องแถลงข่าว กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์ เข้าร่วมรับฟังและซักถามในประเด็นต่าง ๆ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. การเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการของผู้นำสูงสุดทางศาสนาอิสลามของอียิปต์
ดร. มูฮัมหมัด ซัยยิด ฏอนฏอวี (Dr. Muhammad Sayid Tantawy) ผู้นำสูงสุดทางศาสนาอิสลามของอียิปต์ หรือ Grand Imam of Al Azhar มีกำหนดจะเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล ระหว่างวันที่ 23-27 มิถุนายน 2550 เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันในด้านกิจการศาสนาอิสลาม ตลอดจนการขยายความร่วมมือด้านการศึกษาของเยาวชนไทยมุสลิม และเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนา (interfaith dialogue) ตามนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาและเสริมสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้
กำหนดการสำคัญของ ดร.มูฮัมหมัด ซัยยิด ฏอนฏอวี ระหว่างการเยือนไทย ได้แก่ การเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีเพื่อรับฟังนโยบายการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาล การหารือกับผู้บัญชาการทหารบก/ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเพื่อรับฟังสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้และแนวทางแก้ไขปัญหาของกองทัพ นอกจากนั้น ดร. มูฮัมหมัด ซัยยิด ฏอนฏอวี มีกำหนดเข้าเฝ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและความร่วมมือระหว่างผู้นำศาสนาและเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีและความสันติสุขให้เกิดขึ้น
ในโอกาสนี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จะมอบปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัญฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาอิสลามศึกษาให้แก่ ดร. มูฮัมหมัด ซัยยิด ฏอนฏอวี ซึ่งท่านจะได้แสดงปาฐกถาธรรมแก่ผู้ร่วมงานทั้งที่เป็นชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม รวมประมาณ 1,000 คน
ดร. มูฮัมหมัด ซัยยิด ฏอนฏอวี เป็นผู้นำศาสนาอิสลามที่ประณามการก่อการร้าย โดยเฉพาะกลุ่มหัวรุนแรงที่ใช้การระเบิดฆ่าตัวตาย (suicide bombing) เป็นเครื่องมือว่า เป็นการกระทำที่ผิดหลักศาสนาอิสลาม และเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องกับระเบิดพลีชีพและกลุ่มหัวรุนแรงว่าเป็นศัตรูของอิสลาม (Enemy of Islam)
ตำแหน่ง Grand Imam of Al Azhar เป็นตำแหน่งผู้นำศาสนาสูงสุดของอียิปต์ที่มีอิทธิพลทางความคิดและจิตวิญญาณต่อมุสลิมในทุกยุคทุกสมัย คำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นข้อถกเถียงที่เกี่ยวข้องกับหลักการศาสนาของ Grand Imam จึงมักได้รับการยอมรับอย่างสูงของมุสลิมฝ่ายสุหนี่ นอกจากนั้น Grand Iman of Al Azhar ยังมีบทบาทสำคัญในด้านการศึกษา โดยมีฐานะเทียบเท่านายกสภามหาวิทยาลัย Al Azhar ที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงของอียิปต์ ทั้งนี้ ในประเทศอียิปต์ ตำแหน่ง Grand Imam of Al Azhar ถือว่ามีฐานะเทียบเท่าตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
นอกจากนี้ Grand Imam ยังเป็นผู้สนับสนุนอิสลามสายกลาง ส่งเสริมความปรองดองและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคมที่มีความหลากหลายทางศาสนา (dialogue and harmony among civilizations and religions) ดังจะเห็นได้จากคำกล่าวบางส่วนของ Grand Imam ที่มีต่อชาวไทยมุสลิม เมื่อครั้งที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าเยี่ยมคารวะ Grand Imam เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2550 โดยมีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า
“เราให้ความเคารพและให้เกียรติประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยมิได้แบ่งแยกระหว่างศาสนา และปฏิบัติต่อทุกศาสนิกชนอย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้น ผู้ประพฤติดี ควรได้รับผลตอบแทนที่ดี และนี่คือจิตใจอันสง่างามของประเทศไทยที่เรารู้จัก จึงทำให้เราทั้งหลายต่างให้เกียรติประเทศไทย เพราะเป็นอารยประเทศ ประเทศที่มีแต่สร้างและไม่เคยทำลาย ประเทศที่มีแต่สิ่งสร้างสรรค์และไม่เคยสร้างความหายนะ มีแต่ความดีและไม่มีสิ่งเลวร้าย ดังนั้น ขอแสดงความยินดีอย่างสุดซึ้งต่อประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นพระมหากษัตริย์ รัฐบาล และประชาชน และขออวยพรจากอัลเลาะห์ เพื่อทรงประทานให้ประเทศไทยประสบแต่ความเจริญรุ่งเรือง ความสงบสุข ความร่มเย็น”
2. การเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการของเลขาธิการสันนิบาตมุสลิมโลก
ศาสตราจารย์ ดร. อับดุลลอ ฮ บิน มุห ชินอัตตุรกี (H.E. Dr. Abdullah bin Abdul Mohsin Al-Turki) เลขาธิการสันนิบาตมุสลิมโลก (Muslim World League: MWL) จะเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล ระหว่างวันที่ 24-30 มิถุนายน 2550 โดยเลขาธิการฯ มีกำหนดเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผู้บัญชาการทหารบก/ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้อำนวยการศูนย์อำนวย การบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ จุฬาราชมนตรี ตลอดจนพบหารือกับผู้นำศาสนาและชาวมุสลิมในไทย และกล่าวปาฐกถาพิเศษที่ทำเนียบรัฐบาล มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา วิทยาเขตปัตตานี และโรงแรม ซี เอส ปัตตานี รวมทั้งเดินทางเยือนจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และเชียงใหม่
การเดินทางเยือนไทยของเลขาธิการฯ ครั้งนี้ เป็นโอกาสอันดีที่เลขาธิการฯ จะได้รับทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยสันติวิธีและสมานฉันท์ โดยอาศัยแนวทาง “3 Es” ประกอบด้วย การส่งเสริมการศึกษา (education) การจ้างงาน (employment) และทักษะด้านการประกอบการ (entrepreneurship) ซึ่ง MWL สามารถมีบทบาทช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินการของรัฐบาลไทยในเรื่องดังกล่าว
ที่ผ่านมา MWL ก็ได้มีบทบาทในการช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินการของรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเมื่อปี 2547 ในการประชุมสภามนตรีก่อตั้ง (เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลนโยบายของ MWL) ที่ประชุมฯ ได้ออกแถลงการณ์สุดท้ายเกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้เรียกร้องมิให้ชาวมุสลิมในพื้นที่ดังกล่าวรวมทั้งองค์กรต่างๆ เข้าไปมีส่วนร่วมในเหตุการณ์การก่อการร้ายทุกรูปแบบ ซึ่งจุฬาราชมนตรีได้อ้างแถลงการณ์ของ MWL ดังกล่าวในการเรียกร้องผ่านสื่อวิทยุโทรทัศน์ มิให้ชาวไทยมุสลิมสนับสนุน/เกี่ยวข้องกับการก่อความไม่สงบ และมีการประชาสัมพันธ์แถลงการณ์ในเรื่องดังกล่าวในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
นอกจากนี้ MWL ยังได้มอบความช่วยเหลือแก่ประเทศไทยในรูปแบบสาธารณกุศล อาทิ การให้เงินสนับสนุนมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ตลอดจนทุนสงเคราะห์เด็กกำพร้าในกรุงเทพฯ และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และมอบทุนช่วยเหลือในโอกาสสำคัญต่างๆ ของอิสลาม (การละศีลอดและงานตรุษ) รวมถึงการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยในไทยเมื่อปี 2547 ทั้งนี้ เงินช่วยเหลือจาก MWL ที่มอบให้กับประเทศไทย ดำเนินการผ่านช่องทางที่รัฐบาลรับทราบโดยตลอดเพื่อแสดงถึงความโปร่งใสในการดำเนินการ
3. การขยายผลกรอบความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งเขตการค้าเสรีไทย — อินเดีย
กระทรวงการต่างประเทศ โดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย จัดโครงการขยายผลกรอบความตกลงว่าด้วยการจัดทำเขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย ระหว่างวันที่ 26 มิถุนายน-3 กรกฎาคม 2550 ณ เมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของอินเดีย 4 แห่ง ได้แก่ นิวเดลี มุมไบ เจนไน และกัลกัตตา
พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ซึ่งกำหนดจะเยือนอินเดียอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 25-27 มิถุนายน 2550 จะเป็นประธานเปิดโครงการดังกล่าวในวันที่ 26 มิถุนายน 2550 ณ กรุงนิวเดลี หลังจากนั้น นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเป็นหัวหน้าคณะฯ นำผู้แทนภาครัฐและเอกชนไทยไปร่วมโครงการฯ ณ เมืองมุมไบ เมืองเจนไนและเมืองกัลกัตตา ระหว่างวันที่ 27 มิถุนายน-3 กรกฎาคม 2550
กรอบความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งเขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย ที่ได้มีการลงนามไปเมื่อเดือนตุลาคม 2546 ได้ก่อให้เกิดการลดภาษีรายการสินค้าล่วงหน้าระหว่างกันแล้วจำนวน 82 รายการ (Early Harvest Scheme: EHS) และลดภาษีเป็น 0% ตั้งแต่ปี 2549 และทั้งสองประเทศตั้งใจจะบรรลุการเจรจาเปิดเสรีการค้าสินค้าให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ทั้งนี้ มูลค่าการค้าโดยรวมระหว่างไทยและอินเดียภายหลังจากการลงนามความตกลง EHS แล้ว เพิ่มขึ้นจาก 1,184 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็น 3,406 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2545-2549) และทำให้ไทยได้ดุลการค้ากับอินเดียเป็นครั้งแรกในปี 2548 (มูลค่าการค้าประมาณ 2,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ในการนำคณะผู้แทนภาครัฐและเอกชนไทยไปร่วมโครงการที่ประเทศอินเดียในครั้งนี้ ได้แก่ 1) เพื่อเป็นการตอกย้ำโอกาสทางการค้าและการลงทุนที่จะเกิดจากความตกลง FTA ไทย-อินเดีย และเพื่อเป็นการเบิกทางและขยายโอกาสจากความตกลงแก่ภาคเอกชนไทย โดยมุ่งเน้นสาขาธุรกิจที่ไทยมีศักยภาพในตลาดอินเดีย 2) เพื่อให้ภาครัฐและเอกชนไทยได้ทำคามรู้จักกับ key players ทั้งภาครัฐและเอกชนของอินเดียในแต่ละเมืองเพื่อสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ 3) เพื่อเปิดโอกาสให้ภาครัฐและเอกชนไทยได้ศึกษา/เรียนรู้ตลาดอินเดีย ระบบและกฎระเบียบด้านการค้าการลงทุนจากภาครัฐและเอกชนของอินเดียโดยตรง
4. โครงการฝึกอบรมล่ามภาษาไทย-เขมรระดับมืออาชีพ
เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2550 ณ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร นายเตช บุนนาค อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ได้เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมล่ามภาษาไทย -เขมรระดับมืออาชีพ และร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ กับสาขาวิชาเขมร ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร เรื่องความร่วมมือในการดำเนินโครงการพัฒนาล่ามภาษาไทย — เขมร ระดับมืออาชีพ โดยมีนายอนุสนธิ์ ชินวรรโณ อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก และศาสตราจารย์ ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นผู้ร่วมลงนาม เพื่อยืนยันเจตนารมณ์และความเข้าใจร่วมกันในการดำเนินโครงการพัฒนาล่ามภาษาไทย — เขมร ระดับมืออาชีพ ภายใต้โครงการ Flagship เพื่อส่งเสริมความไว้วางใจระหว่างไทยกับเพื่อนบ้าน ประจำปีงบประมาณ 2550 ของกระทรวงการต่างประเทศ และเป็นไปตามความเห็นชอบร่วมกันระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชา
โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อฝึกอบรม เพิ่มพูนทักษะ เสริมสร้างสมรรถนะด้านความรู้และเทคนิคตามหลักวิชาการ แก่บุคลากรไทยเพื่อให้สามารถพัฒนาไปสู่การเป็นล่ามภาษาไทย — เขมร ระดับมืออาชีพ ซึ่งจะช่วยลดการขาดแคลนบุคลากรที่สามารถเป็นล่ามมืออาชีพและเป็นผู้รอบรู้ในด้านภาษาและวัฒนธรรมไทย — เขมร ได้ อีกทั้งเป็นการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของชาติและตอบสนองต่อความต้องการของภาครัฐและเอกชนในด้านการเป็นล่ามและผู้แปลภาษาไทย — เขมร อันจะมีส่วนช่วยสนับสนุนนโยบายของไทยในการส่งเสริมความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือ กับประเทศกัมพูชาในสาขาต่าง ๆ รวมทั้งเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้เกิดขึ้นทั้งในระดับรัฐบาลและระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศต่อไป และพัฒนาต่อยอดไปสู่การพัฒนาล่ามภาษาไทยกับภาษาประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ ในอนาคต
โครงการฝึกอบรมล่ามภาษาไทย-เขมร ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางจากทั้งนิสิต นักศึกษา และข้าราชการที่ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับกิจการชายแดนไทย-กัมพูชา ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมีเป้าหมายคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม จำนวน 10-15 คน เพื่อเข้าร่วมโครงการดังกล่าวและจะใช้เวลาฝึกอบรมประมาณ 6 เดือน (ระหว่างวันที่ 18 มิถุนายน -14 ธันวาคม 2550) ซึ่งคาดว่าจะสามารถผลิตบุคลากรล่ามภาษาไทย-เขมร ระดับมืออาชีพออกสู่ตลาดธุรกิจ การค้า และสนับสนุนงานต่าง ๆ ของภาครัฐได้ในราวต้นปี 2551
5. สำนักงานตำรวจสหประชาชาติ (UNPOL) มอบเหรียญเกียรติยศและประกาศนียบัตรแก่ตำรวจไทยในประเทศติมอร์ฯ
กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดิลีว่า ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2550 สำนักงานตำรวจสหประชาชาติ (UNPOL) จะจัดพิธีมอบเหรียญเกียรติยศและประกาศนียบัตรแก่ข้าราชการตำรวจไทยจำนวน 40 คน ในวาระที่ปฏิบัติภารกิจในกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในประเทศติมอร์ มาครบ 6 เดือน (ตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2549-ปัจจุบัน) ซึ่งที่ผ่านมา การปฏิบัติภารกิจของคณะข้าราชการตำรวจไทยประสบความสำเร็จ ได้รับความไว้วางใจและคำชมเชยจากผู้บังคับบัญชาเสมอมา
พิธีดังกล่าวจะจัดขึ้นที่สำนักงาน UNMIT (United Nations Integrated Mission in Timor-Leste) โดยมีผู้บัญชาการตำรวจของสหประชาชาติเป็นประธานในพิธี ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตฯ จะจัดงานเลี้ยงอาหารค่ำในวันเดียวกันเพื่อแสดงความยินดีแก่คณะข้าราชการตำรวจไทยด้วย
6. สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ชี้แจงกรณีมีผู้ตีพิมพ์สารจากเอกอัครราชทูตฯ ในวารสารจตุคามรามเทพโดยไม่ได้รับอนุญาต
ตามที่มีผู้นำสารของเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว เนื่องในวาระครบรอบ 120 ปี ความสัมพันธ์ ไทย-ญี่ปุ่น และบทความรวมทั้งเอกสารในวาระดังกล่าวซึ่งปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของสถานเอกอัครราชทูตฯ (www.thaiembassy.jp) ไปตีพิมพ์ในสิ่งพิมพ์ชื่อ “จตุคามรามเทพปริทรรศน์ ฉบับพิเศษ รุ่นทำมาค้าขึ้น” ฉบับเดือนพฤษภาคม 2550 โดยมีใจความสำคัญว่า สมาคมมิตรภาพนครศรีธรรมราช — ญี่ปุ่น จัดสร้างวัตถุมงคลจตุคามรามเทพ และตีพิมพ์สารของเอกอัครราชทูต และบทความของสถานเอกอัครราชทูตฯ ประกอบรวมกับเนื้อหาและโฆษณาการจัดสร้างและจำหน่ายวัตถุมงคลฯ ซึ่งอาจทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่า สถานเอกอัครราชทูตฯ และเอกอัครราชทูตฯ เกี่ยวข้องหรือสนับสนุนการจัดสร้างและจำหน่ายวัตถุมงคลฯ ดังกล่าว นั้น
สถานเอกอัครราชทูตฯ ขอชี้แจงว่าสถานเอกอัครราชทูตฯ และเอกอัครราชทูตฯ ไม่มีส่วนรู้เห็นหรือเกี่ยวข้องกับการจัดสร้างวัตถุมงคลฯ ดังกล่าวแต่อย่างใด นอกจากนี้สิ่งพิมพ์ดังกล่าวได้นำบทความของสถานเอกอัครราชทูตฯ ไปตีพิมพ์เผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต และผิดกฎหมาย เนื่องจากสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ระบุ “All right reserved” ไว้ในหน้าเว็บไซต์
ประเด็นถาม — ตอบ
- การเจรจาระหว่างรัฐบาลไทยกับผู้นำขบวนการแบ่งแยกดินแดนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งมีรายงานข่าวว่าพำนักอยู่ที่ประเทศกาตาร์
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศชี้แจงว่า กระทรวงฯ ยังไม่ได้รับรายงานและกำลังตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว ตลอดจนยังไม่ได้รับรายงานว่ารัฐบาลกำลังทำการเจรจากับผู้นำขบวนการแบ่งแยกดินแดนตามที่เป็นข่าว
- การเยือนไทยของผู้นำสูงสุดทางศาสนาอิสลามของอียิปต์และเลขาธิการสันนิบาตมุสลิมโลก
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า การเยือนไทยของผู้นำทางศาสนาอิสลามทั้งสองมีนัยสำคัญ 3 ประการ ได้แก่
1) เป็นโอกาสที่ผู้นำทางศาสนาอิสลามทั้งสองจะได้มารับฟังข้อเท็จจริงทั้งทางด้านภาคนโยบายเรื่องการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้จากนายกรัฐมนตรี และภาคปฏิบัติจากผู้บัญชาการทหารบก รวมทั้งได้ไปรับรู้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง ซึ่งกำหนดการของท่านในครั้งนี้ ทางการไทยได้จัดขึ้นตามความประสงค์ของท่าน ว่าต้องการจะเดินทางไปยังที่ใดและพบปะกับใคร เพื่อให้ทั้งสองท่านได้รับรู้และรับฟังข้อเท็จจริงด้วยตนเองได้มากที่สุด
2) ผู้นำทางศาสนาอิสลามทั้งสองยืนหยัดต่อต้านความรุนแรงใด ๆ ที่เกิดขึ้นในโลก และโอกาสนี้ ท่านจะได้แสดงปาฐกถา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเลขาธิการสันนิบาตมุสลิมโลกที่จะแสดงปาฐกถาถึง 3 ครั้ง) ซึ่งเป็นการยืนยันว่า “ศาสนาอิสลามคือศาสนาแห่งสันติ เรียกร้องสันติภาพและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ” ดังนั้น เมื่อมวลชนผู้ซึ่งเคยได้รับรู้ในสิ่งที่ไม่ถูกต้องได้รับฟังปาฐกถานี้ก็จะมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับคำสอนของศาสนาอิสลามพร่ำสอนที่แท้จริงคืออะไร
3) เมื่อผู้นำศาสนาอิสลามทั้งสองเดินทางกลับ ท่านจะได้ช่วยอธิบายข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและแนวทางการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลไทยชุดปัจจุบันที่ตั้งอยู่บนหลักสมานฉันท์และนิติธรรม เนื่องจากการที่ผู้นำศาสนาอิสลามทั้งสองได้รับทราบข้อมูล/ข้อเท็จจริงด้วยตนเอง จะเป็นผลดีต่อการใช้วิจารณญาณของทั้งสองท่านในการพิจารณาสถานการณ์อย่างถูกต้อง
ที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาภาคใต้มาโดยตลอด
โดยได้ทำการชี้แจงกับผู้นำและรัฐบาลประเทศมุสลิมต่าง ๆ ซึ่งล้วนให้การสนับสนุนแนวทางการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลไทยอย่างเต็มที่ และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ ประเทศมุสลิมหลายประเทศยังยอมรับว่าประชาชนไทยมีอิสระในการนับถือศาสนาเป็นอย่างมาก
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-