ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.รอเวลาที่เหมาะสมในการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
หลังจากที่ ธปท.ให้นักลงทุนเลือกใช้วิธีป้องกันความเสี่ยงเต็มจำนวน (Fully Hedge) ได้เพิ่มเติมจากการกันสำรองเงินทุนนำเข้า 30% พบว่า
ไม่ค่อยมีนักลงทุนรายใดเลือกใช้มาตรการกันสำรอง 30% ขณะนี้ ธปท.จึงรอดูจังหวะเวลาที่จะยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% โดยให้คงไว้แค่การ
ป้องกันความเสี่ยง อย่างไรก็ตาม ในการยกเลิกดังกล่าวจะต้องค่อยๆ ดำเนินการเนื่องจากขณะนี้มาตรการกันสำรองยังคงมีผลทางจิตวิทยากับ
นักลงทุน รวมทั้งมีผลต่อผู้ส่งออกที่ยังไม่เข้าใจว่าป้องกันความเสี่ยงเต็มจำนวนนั้นจะไม่มีผลกระทบกับค่าเงินบาท ทั้งนี้ การป้องกันความเสี่ยงจะมี
ผลกระทบต่อตลาดทุนเพียงชั่วคราวในส่วนของอุปสงค์จากต่างประเทศที่จะหายไปเท่านั้น แต่ในส่วนอื่นๆ ที่เป็นโครงสร้างระยะยาวซึ่งเป็นการ
พัฒนาตลาดทุนจะไม่ได้รับผลกระทบ อีกทั้งการป้องกันความเสี่ยงถือเป็นการพัฒนาตลาดเงินตราต่างประเทศด้วย นอกจากนี้ หลังจากการบังคับใช้
มาตรการกันสำรองจะเห็นว่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเพียง 1% ใกล้เคียงกับค่าเงินในภูมิภาค จึงถือว่า ธปท.ประสบความสำเร็จกับมาตรการที่ได้ออกไป
(กรุงเทพธุรกิจ)
2. กองทุนฟื้นฟูฯ เตรียมซื้อหุ้นเพิ่มทุน ธ.ไทยธนาคารเพื่อรักษาสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง นายไพโรจน์ เฮงสกุล
ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน กล่าวว่า กองทุนฟื้นฟูฯ
จะเข้าไปเพิ่มทุนใน ธ.ไทยธนาคาร จำกัด เพื่อเป็นการช่วยให้ ธ.ไทยธนาคารมีเงินทุนเพียงพอในการรักษาระดับสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์
เสี่ยง (บีไอเอส) ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ ธปท. เนื่องจากขณะนี้เงินกองทุนของธนาคารติดลบ โดยรักษาสัดส่วนหุ้นที่เคยถืออยู่ประมาณ 1
ใน 3 ของหุ้นทั้งหมด เท่ากับสัดส่วนในปัจจุบัน หลังจากนั้นหากมีผู้สนใจซื้อหุ้นของ ธ.ไทยธนาคาร กองทุนฟื้นฟูฯ อาจพิจารณาขายในภายหลัง (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
3. ยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนช่วง 2 เดือนแรกปี 50 เพิ่มขึ้น 77% จากปีก่อน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม
การลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนผ่านบีโอไอ 2 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.พ.50) มีจำนวน 211 โครงการ
มูลค่าประมาณ 75,300 ล.บาท เพิ่มขึ้น 77% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีการขอรับการส่งเสริมการลงทุน 187 โครงการ มูลค่า
42,000 ล.บาท แสดงให้เห็นว่าการลงทุนของไทยไม่ได้ชะลอตัวลง และเชื่อมั่นว่ายอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนในปีนี้จะอยู่ในระดับ
500,000 ล.บาทตามเป้าหมายที่วางไว้ (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
4. มาตรการกันสำรอง 30% ไม่ส่งผลต่อการลงทุนในตลาดตราสารหนี้ กรรมการผู้จัดการ สมาคมตราสารหนี้ไทย เปิดเผยถึงการที่
ธปท.ผ่อนคลายมาตรการกันสำรอง 30% ว่าไม่ได้ช่วยให้ตลาดตราสารหนี้มีปริมาณการซื้อขายเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากนักลงทุนไม่ได้ให้ความสนใจกับ
ตลาดตราสารหนี้มากเท่าที่ควร ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจและการเมืองที่เป็นอยู่ในขณะนี้ไม่จูงใจให้นักลงทุนเข้ามาลงทุน ส่วนการที่ ธปท.
เข้ามาแทรกแซงตลาดตราสารหนี้ดวยการออก พธบ.ระยะสั้น ทำให้อัตราผลตอบแทนของ พธบ.ระยะสั้นและระยะยาวต่างกันเพียง 0.2% นั้น
มีความเห็นว่า ธปท.ควรลดการแทรกแซงด้วยการลดอัตราดอกเบี้ย พธบ.ระยะสั้นให้ลงมาอยู่ที่ระดับ 2-3% เพื่อให้อัตราผลตอบแทน พธบ.
ในตลาดตราสารหนี้กลับมาอยู่ในระดับปกติที่ควรจะเป็น ส่วนประเด็นเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่ ธปท.เป็นห่วงจึงเข้าแทรกแซงตลาดตราสารหนี้นั้น
เห็นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองขณะนี้ไม่น่าจะทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงเกินไป (โลกวันนี้ , มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมโรงงานของเยอรมนีในเดือน ม.ค.50 ลดลงร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.49 รายงานจาก
เบอร์ลิน เมื่อ 7 มี.ค.50 ก.เศรษฐกิจของเยอรมนีรายงานตัวเลขเบื้องต้นคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมโรงงานของเยอรมนีลดลงร้อยละ 1.0
ในเดือน ม.ค.50 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.49 เทียบกับผลสำรวจโดยรอยเตอร์ก่อนหน้านี้ที่คาดว่าคำสั่งซื้อดังกล่าวในเดือน ม.ค.50 จะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.4 ต่อเดือน ในขณะเดียวกันได้ปรับตัวเลขคำสั่งซื้อฯ ในเดือน ธ.ค.49 เป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากที่รายงานครั้งก่อนว่าลดลงร้อยละ
0.2 ต่อเดือน โดยคำสั่งซื้อฯ ที่ลดลงในเดือน ม.ค.50 เป็นการลดลงของสินค้าขั้นกลางเพื่อนำไปผลิตต่อร้อยละ 1.5 สินค้าทุนร้อยละ 1.3
ในขณะที่สินค้าสำหรับผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ต่อเดือน ทั้งนี้เป็นผลจากคำสั่งซื้อฯ จากต่างประเทศที่ลดลงถึงร้อยละ 1.9 ต่อเดือนโดยได้รับ
ผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะ สรอ.ที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลงและจีนที่ทางการต้องการชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจลง ใน
ขณะที่คำสั่งซื้อฯ จากในประเทศลดลงเพียงร้อยละ 0.1 ต่อเดือน สะท้อนให้เห็นว่าความต้องการในประเทศได้รับผลกระทบจากการขึ้นอัตราภาษี
VAT อีกร้อยละ 3.0 ตั้งแต่ต้นปี 50 ที่ผ่านมาน้อยกว่าที่คาดไว้ นักเศรษฐศาสตร์บางคนคาดว่าเศรษฐกิจเยอรมนีจะขยายตัวร้อยละ 2.1 ในปี 50
หลังจากขยายตัวร้อยละ 2.7 ในปี 49 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 6 ปี (รอยเตอร์)
2. จีนจะจัดเก็บภาษีเงินได้ของธุรกิจต่างชาติและธุรกิจจีนในอัตราเดียวกันที่ร้อยละ 25 รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 8 มี.ค. 50
โฆษกรัฐบาลจีนเปิดเผยว่า ทางการจีนได้เสนอให้มีการจัดเก็บภาษีเงินได้ของธุรกิจในประเทศ และธุรกิจต่างชาติเป็นอัตราเดียวกันที่ร้อยละ 25
และยังเปิดเผยตารางอัตราภาษีที่แตกต่างกันที่กำหนดขึ้นเพื่อส่งเสริมธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยี่ระดับสูง และธุรกิจที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมรวมทั้งปกป้อง
ทรัพยากรธรรมชาติ ที่ผ่านมาการจัดเก็บภาษีเงินได้จากธุรกิจในประเทศและธุรกิจต่างชาติแตกต่างกันโดยธุรกิจในประเทศจ่ายภาษีร้อยละ 33
ขณะที่ธุรกิจต่างชาติจ่ายในอัตราระหว่างร้อยละ 15 — 24 ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวอยู่ระหว่างการนำเสนอต่อรัฐสภาจีน ทั้งนี้นักวิเคราะห์กล่าวว่า
กฎหมายใหม่จะไม่กระทบมากนักต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศซึ่งไหลเข้าสู่จีนในอัตรามากกว่า 1 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ต่อสัปดาห์
ทั้งนี้ข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงอัตราการจัดเก็บภาษีดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ในปี 51 ซึ่งรัฐสภาจีนภายใต้การปกครองของพรรคคอมมูนิสต์ไม่เคย
ปฎิเสธข้อเสนอทางกฎหมายมาก่อน โดยคาดว่ากฎหมายการจัดเก็บภาษีดังกล่าวและกฎหมายอื่นๆจะได้รับการอนุมัติก่อนปิดสมัยประชุมในวันที่
16 มี.ค. ทั้งนี้นาย Jin Renqing รมว.คลังจีนคาดว่าภาษีเงินได้จากธุรกิจในประเทศในปีหน้าจะลดลงราว 134 พัน ล. หยวน ขณะที่ภาษี
จากธุรกิจต่างประเทศจะเพิ่มขึ้นกว่า 41 พัน ล. หยวน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจีนต้องการยุติเศรษฐกิจที่ต้องพึ่งพาการส่งออก
และต้องการจัดการกับปัญหามลภาวะจำนวนมากที่มีสาเหตุมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูงถึงเฉลี่ยร้อยละ 9.6 มานับตั้งแต่ปี 21
(รอยเตอร์)
3. ธ.กลางเกาหลีใต้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมร้อยละ 4.50 รายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่
8 มี.ค.50 คณะกรรมการนโยบายการเงินของ ธ.กลางเกาหลีใต้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยเรียกเก็บข้ามคืนซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่
ระดับเดิมคือ ร้อยละ 4.50 เป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ ท่ามกลางความกังวลว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้กำลังชะลอตัว
ซึ่งการไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้นับเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกัน หลังจากที่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายร้อยละ 0.25 เมื่อเดือน ส.ค.49
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์หลายคนคาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะต้องมีการออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อเน้นย้ำการเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งดูเหมือนว่า
กำลังชะลอตัว และส่งสัญญาณว่าอัตราเงินเฟ้อกำลังอยู่ต่ำกว่าเป้าหมายที่ทางการตั้งไว้ที่ประมาณร้อยละ 2.5 — 3.5 (รอยเตอร์)
4. คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของมาเลเซียในเดือน ม.ค.50 จะขยายตัวเพียงร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบต่อปี รายงานจาก
กัวลาลัมเปอร์ เมื่อ 7 มี.ค.50 ผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์ พบว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของมาเลเซียในเดือน ม.ค.50 จะขยาย
ตัวเพียงร้อยละ 5.5 เทียบต่อปี ชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 6.3 ในเดือน ธ.ค.49 เนื่องจากคำสั่งซื้อสินค้าจาก สรอ. (ซึ่งประมาณครึ่งหนึ่ง
เป็นสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้า) ลดลง อย่างไรก็ตาม ผลผลิตอุตสาหกรรมของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้กลับฟื้นตัว
เพิ่มขึ้นในเดือน พ.ย.49 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 1.6 ในเดือน ต.ค.49 ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ปี โดยเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ
7.8 ทั้งนี้ ตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมของประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียนในเดือน ม.ค.50 เช่น สิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 ขณะที่เกาหลีใต้
เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 อนึ่ง รัฐบาลมาเลเซียจะประกาศตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมอย่างเป็นทางการในวันพฤหัสบดีที่ 8 มี.ค.นี้ เวลา 12.01 น.
ตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 8 มี.ค. 50 7 มี.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.237 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.0274/35.3523 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.63625 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 670.37/10.15 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,800/10,900 10,750/10,850 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 57.96 57.16 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.19*/23.34** 26.79/23.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 8 มี.ค. 50
** ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 1 มี.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.รอเวลาที่เหมาะสมในการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
หลังจากที่ ธปท.ให้นักลงทุนเลือกใช้วิธีป้องกันความเสี่ยงเต็มจำนวน (Fully Hedge) ได้เพิ่มเติมจากการกันสำรองเงินทุนนำเข้า 30% พบว่า
ไม่ค่อยมีนักลงทุนรายใดเลือกใช้มาตรการกันสำรอง 30% ขณะนี้ ธปท.จึงรอดูจังหวะเวลาที่จะยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% โดยให้คงไว้แค่การ
ป้องกันความเสี่ยง อย่างไรก็ตาม ในการยกเลิกดังกล่าวจะต้องค่อยๆ ดำเนินการเนื่องจากขณะนี้มาตรการกันสำรองยังคงมีผลทางจิตวิทยากับ
นักลงทุน รวมทั้งมีผลต่อผู้ส่งออกที่ยังไม่เข้าใจว่าป้องกันความเสี่ยงเต็มจำนวนนั้นจะไม่มีผลกระทบกับค่าเงินบาท ทั้งนี้ การป้องกันความเสี่ยงจะมี
ผลกระทบต่อตลาดทุนเพียงชั่วคราวในส่วนของอุปสงค์จากต่างประเทศที่จะหายไปเท่านั้น แต่ในส่วนอื่นๆ ที่เป็นโครงสร้างระยะยาวซึ่งเป็นการ
พัฒนาตลาดทุนจะไม่ได้รับผลกระทบ อีกทั้งการป้องกันความเสี่ยงถือเป็นการพัฒนาตลาดเงินตราต่างประเทศด้วย นอกจากนี้ หลังจากการบังคับใช้
มาตรการกันสำรองจะเห็นว่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเพียง 1% ใกล้เคียงกับค่าเงินในภูมิภาค จึงถือว่า ธปท.ประสบความสำเร็จกับมาตรการที่ได้ออกไป
(กรุงเทพธุรกิจ)
2. กองทุนฟื้นฟูฯ เตรียมซื้อหุ้นเพิ่มทุน ธ.ไทยธนาคารเพื่อรักษาสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง นายไพโรจน์ เฮงสกุล
ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน กล่าวว่า กองทุนฟื้นฟูฯ
จะเข้าไปเพิ่มทุนใน ธ.ไทยธนาคาร จำกัด เพื่อเป็นการช่วยให้ ธ.ไทยธนาคารมีเงินทุนเพียงพอในการรักษาระดับสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์
เสี่ยง (บีไอเอส) ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ ธปท. เนื่องจากขณะนี้เงินกองทุนของธนาคารติดลบ โดยรักษาสัดส่วนหุ้นที่เคยถืออยู่ประมาณ 1
ใน 3 ของหุ้นทั้งหมด เท่ากับสัดส่วนในปัจจุบัน หลังจากนั้นหากมีผู้สนใจซื้อหุ้นของ ธ.ไทยธนาคาร กองทุนฟื้นฟูฯ อาจพิจารณาขายในภายหลัง (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
3. ยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนช่วง 2 เดือนแรกปี 50 เพิ่มขึ้น 77% จากปีก่อน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม
การลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนผ่านบีโอไอ 2 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.พ.50) มีจำนวน 211 โครงการ
มูลค่าประมาณ 75,300 ล.บาท เพิ่มขึ้น 77% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีการขอรับการส่งเสริมการลงทุน 187 โครงการ มูลค่า
42,000 ล.บาท แสดงให้เห็นว่าการลงทุนของไทยไม่ได้ชะลอตัวลง และเชื่อมั่นว่ายอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนในปีนี้จะอยู่ในระดับ
500,000 ล.บาทตามเป้าหมายที่วางไว้ (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
4. มาตรการกันสำรอง 30% ไม่ส่งผลต่อการลงทุนในตลาดตราสารหนี้ กรรมการผู้จัดการ สมาคมตราสารหนี้ไทย เปิดเผยถึงการที่
ธปท.ผ่อนคลายมาตรการกันสำรอง 30% ว่าไม่ได้ช่วยให้ตลาดตราสารหนี้มีปริมาณการซื้อขายเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากนักลงทุนไม่ได้ให้ความสนใจกับ
ตลาดตราสารหนี้มากเท่าที่ควร ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจและการเมืองที่เป็นอยู่ในขณะนี้ไม่จูงใจให้นักลงทุนเข้ามาลงทุน ส่วนการที่ ธปท.
เข้ามาแทรกแซงตลาดตราสารหนี้ดวยการออก พธบ.ระยะสั้น ทำให้อัตราผลตอบแทนของ พธบ.ระยะสั้นและระยะยาวต่างกันเพียง 0.2% นั้น
มีความเห็นว่า ธปท.ควรลดการแทรกแซงด้วยการลดอัตราดอกเบี้ย พธบ.ระยะสั้นให้ลงมาอยู่ที่ระดับ 2-3% เพื่อให้อัตราผลตอบแทน พธบ.
ในตลาดตราสารหนี้กลับมาอยู่ในระดับปกติที่ควรจะเป็น ส่วนประเด็นเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่ ธปท.เป็นห่วงจึงเข้าแทรกแซงตลาดตราสารหนี้นั้น
เห็นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองขณะนี้ไม่น่าจะทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงเกินไป (โลกวันนี้ , มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมโรงงานของเยอรมนีในเดือน ม.ค.50 ลดลงร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.49 รายงานจาก
เบอร์ลิน เมื่อ 7 มี.ค.50 ก.เศรษฐกิจของเยอรมนีรายงานตัวเลขเบื้องต้นคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมโรงงานของเยอรมนีลดลงร้อยละ 1.0
ในเดือน ม.ค.50 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.49 เทียบกับผลสำรวจโดยรอยเตอร์ก่อนหน้านี้ที่คาดว่าคำสั่งซื้อดังกล่าวในเดือน ม.ค.50 จะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.4 ต่อเดือน ในขณะเดียวกันได้ปรับตัวเลขคำสั่งซื้อฯ ในเดือน ธ.ค.49 เป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากที่รายงานครั้งก่อนว่าลดลงร้อยละ
0.2 ต่อเดือน โดยคำสั่งซื้อฯ ที่ลดลงในเดือน ม.ค.50 เป็นการลดลงของสินค้าขั้นกลางเพื่อนำไปผลิตต่อร้อยละ 1.5 สินค้าทุนร้อยละ 1.3
ในขณะที่สินค้าสำหรับผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ต่อเดือน ทั้งนี้เป็นผลจากคำสั่งซื้อฯ จากต่างประเทศที่ลดลงถึงร้อยละ 1.9 ต่อเดือนโดยได้รับ
ผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะ สรอ.ที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลงและจีนที่ทางการต้องการชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจลง ใน
ขณะที่คำสั่งซื้อฯ จากในประเทศลดลงเพียงร้อยละ 0.1 ต่อเดือน สะท้อนให้เห็นว่าความต้องการในประเทศได้รับผลกระทบจากการขึ้นอัตราภาษี
VAT อีกร้อยละ 3.0 ตั้งแต่ต้นปี 50 ที่ผ่านมาน้อยกว่าที่คาดไว้ นักเศรษฐศาสตร์บางคนคาดว่าเศรษฐกิจเยอรมนีจะขยายตัวร้อยละ 2.1 ในปี 50
หลังจากขยายตัวร้อยละ 2.7 ในปี 49 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 6 ปี (รอยเตอร์)
2. จีนจะจัดเก็บภาษีเงินได้ของธุรกิจต่างชาติและธุรกิจจีนในอัตราเดียวกันที่ร้อยละ 25 รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 8 มี.ค. 50
โฆษกรัฐบาลจีนเปิดเผยว่า ทางการจีนได้เสนอให้มีการจัดเก็บภาษีเงินได้ของธุรกิจในประเทศ และธุรกิจต่างชาติเป็นอัตราเดียวกันที่ร้อยละ 25
และยังเปิดเผยตารางอัตราภาษีที่แตกต่างกันที่กำหนดขึ้นเพื่อส่งเสริมธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยี่ระดับสูง และธุรกิจที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมรวมทั้งปกป้อง
ทรัพยากรธรรมชาติ ที่ผ่านมาการจัดเก็บภาษีเงินได้จากธุรกิจในประเทศและธุรกิจต่างชาติแตกต่างกันโดยธุรกิจในประเทศจ่ายภาษีร้อยละ 33
ขณะที่ธุรกิจต่างชาติจ่ายในอัตราระหว่างร้อยละ 15 — 24 ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวอยู่ระหว่างการนำเสนอต่อรัฐสภาจีน ทั้งนี้นักวิเคราะห์กล่าวว่า
กฎหมายใหม่จะไม่กระทบมากนักต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศซึ่งไหลเข้าสู่จีนในอัตรามากกว่า 1 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ต่อสัปดาห์
ทั้งนี้ข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงอัตราการจัดเก็บภาษีดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ในปี 51 ซึ่งรัฐสภาจีนภายใต้การปกครองของพรรคคอมมูนิสต์ไม่เคย
ปฎิเสธข้อเสนอทางกฎหมายมาก่อน โดยคาดว่ากฎหมายการจัดเก็บภาษีดังกล่าวและกฎหมายอื่นๆจะได้รับการอนุมัติก่อนปิดสมัยประชุมในวันที่
16 มี.ค. ทั้งนี้นาย Jin Renqing รมว.คลังจีนคาดว่าภาษีเงินได้จากธุรกิจในประเทศในปีหน้าจะลดลงราว 134 พัน ล. หยวน ขณะที่ภาษี
จากธุรกิจต่างประเทศจะเพิ่มขึ้นกว่า 41 พัน ล. หยวน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจีนต้องการยุติเศรษฐกิจที่ต้องพึ่งพาการส่งออก
และต้องการจัดการกับปัญหามลภาวะจำนวนมากที่มีสาเหตุมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูงถึงเฉลี่ยร้อยละ 9.6 มานับตั้งแต่ปี 21
(รอยเตอร์)
3. ธ.กลางเกาหลีใต้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมร้อยละ 4.50 รายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่
8 มี.ค.50 คณะกรรมการนโยบายการเงินของ ธ.กลางเกาหลีใต้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยเรียกเก็บข้ามคืนซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่
ระดับเดิมคือ ร้อยละ 4.50 เป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ ท่ามกลางความกังวลว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้กำลังชะลอตัว
ซึ่งการไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้นับเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกัน หลังจากที่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายร้อยละ 0.25 เมื่อเดือน ส.ค.49
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์หลายคนคาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะต้องมีการออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อเน้นย้ำการเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งดูเหมือนว่า
กำลังชะลอตัว และส่งสัญญาณว่าอัตราเงินเฟ้อกำลังอยู่ต่ำกว่าเป้าหมายที่ทางการตั้งไว้ที่ประมาณร้อยละ 2.5 — 3.5 (รอยเตอร์)
4. คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของมาเลเซียในเดือน ม.ค.50 จะขยายตัวเพียงร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบต่อปี รายงานจาก
กัวลาลัมเปอร์ เมื่อ 7 มี.ค.50 ผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์ พบว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของมาเลเซียในเดือน ม.ค.50 จะขยาย
ตัวเพียงร้อยละ 5.5 เทียบต่อปี ชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 6.3 ในเดือน ธ.ค.49 เนื่องจากคำสั่งซื้อสินค้าจาก สรอ. (ซึ่งประมาณครึ่งหนึ่ง
เป็นสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้า) ลดลง อย่างไรก็ตาม ผลผลิตอุตสาหกรรมของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้กลับฟื้นตัว
เพิ่มขึ้นในเดือน พ.ย.49 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 1.6 ในเดือน ต.ค.49 ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ปี โดยเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ
7.8 ทั้งนี้ ตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมของประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียนในเดือน ม.ค.50 เช่น สิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 ขณะที่เกาหลีใต้
เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 อนึ่ง รัฐบาลมาเลเซียจะประกาศตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมอย่างเป็นทางการในวันพฤหัสบดีที่ 8 มี.ค.นี้ เวลา 12.01 น.
ตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 8 มี.ค. 50 7 มี.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.237 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.0274/35.3523 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.63625 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 670.37/10.15 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,800/10,900 10,750/10,850 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 57.96 57.16 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.19*/23.34** 26.79/23.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 8 มี.ค. 50
** ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 1 มี.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--