สรุปการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ
วันพุธที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๐
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๒๔/๒๕๕๐ วันพุธที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๐ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา โดยมีนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานการประชุม เมื่อครบองค์ประชุมประธานฯ ได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
๑. เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม ประธานฯ ได้แจ้งว่า สภาร่างรัฐธรรมนูญจะพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญจากการแปรญัตติ ตั้งแต่วันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๐ เป็นต้นไป อยากให้ทุกอย่างเรียบร้อยภายในเดือนมิถุนายน และเพื่อให้สภาร่างรัฐธรรมนูญมีเวลาพิจารณารับร่างทั้งฉบับ ก่อนวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ดังนั้นขอให้สมาชิกเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง
๒. รับรองรายงานการประชุม ไม่มี
๓. เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
- ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช …. ซึ่งกรรมาธิการ
ยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทำเสร็จแล้ว (เป็นการพิจารณาต่อการการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งที่แล้ว)
สมาชิกฯ หารือที่ประชุมในกรณีขอให้อภิปรายแปรญัตติแบบกระชับเวลา ซึ่งประธานฯ กล่าวต่อที่ประชุมว่า การประชุม ๒ วันที่ผ่านมาค่อนข้างล่าช้า อาจจะต้องมีการประชุม วันเสาร์ - อาทิตย์ ด้วย ซึ่งเบื้องต้นการประชุมในวันศุกร์จะเลิกเวลา ๑๖.๐๐ นาฬิกา และงดประชุม วันเสาร์
ที่ประชุมรับทราบ
จากนั้นที่ประชุมฯ ได้เริ่มพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ หมวด ๓ เรื่อง สิทธิ เสรีภาพของชนชาวไทย ในส่วนที่ ๗ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน ในมาตรา ๔๕ เรื่องสิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น ซึ่งเห็นชอบให้การเสนอข้อมูลส่วนบุคคลเป็นกรรมสิทธิ์ต้องได้รับการคุ้มครอง โดยได้พิจารณาไปพร้อมกับมาตรา ๓๕ ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ ส่วนบุคคล ชื่อเสียง ตลอดจนความเป็นส่วนตัวย่อมได้รับการคุ้มครอง และมาตรา ๕๕ บุคคลย่อมมีสิทธิรับทราบและเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เว้นแต่จะมีผลกระทบถึงความมั่นคง ซึ่งเนื้อหาเกี่ยวโยงกัน โดยที่ประชุมอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากทั้ง ๓ มาตรา ถือว่ามีความสำคัญในการป้องกัน การนำข้อมูลส่วนบุคคลไปแสวงหาผลประโยชน์ ขณะเดียวกันด้านการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในเรื่องของคดี จึงจำเป็นต้องคุ้มครองสิทธิของจำเลย ซึ่งจะครอบคลุมเนื้อหาสาระที่ต้องการคุ้มครอง ดูแลสิทธิข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเพียงพอ
ในที่สุดที่ประชุมฯ มีมติให้คงตามร่างเดิม
จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณามาตรา ๔๖ เกี่ยวกับการประกอบอาชีพของ องค์กรสื่อ โดยสมาชิกฯ ได้ขอแปรญัตติให้เพิ่มว่า “จะต้องกลไกควบคุมกันเองขององค์กรวิชาชีพ ซึ่ง กรรมาธิการยกร่างฯ เห็นชอบ และเพิ่มเติมในวรรคหนึ่งให้แล้ว และได้ขอแปรญัตติให้เพิ่มในวรรคสี่ ระบุว่า “เจ้าของกิจการสื่อต้องสนับสนุนให้พนักงานจัดตั้งองค์กรเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพและความเป็นธรรม โดยไม่เกี่ยวข้องกับสหภาพที่เรียกร้องเกี่ยวกับสวัสดิการใด ๆ“
กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญชี้แจงว่า ในวรรคสามได้บัญญัติเรื่องการป้องกันการแทรกแซงนักวิชาชีพสื่อจากนักการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐ และเจ้าของกิจการ ซึ่งถือว่าครอบคลุมแล้ว ซึ่งถ้ากฎหมายบัญญัติให้เจ้าของกิจการต้องสนับสนุนให้มีองค์กรเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพของวิชาชีพสื่อ ก็จะเป็นการไม่เหมาะสม
ที่ประชุมเห็นชอบ จากนั้นพักการประชุมเวลา ๑๒.๑๐ นาฬิกา
ส่วนการประชุมในช่วงบ่ายเป็นการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ในส่วนที่ ๗ มาตรา ๔๗ เกี่ยวกับคลื่นความถี่ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติ เพื่อประโยชน์สาธารณะ ได้พิจารณาในวรรคสอง ซึ่งกรรมาธิการยกร่างฯ บัญญัติไว้ว่า “ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่ง ทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ ตามวรรคหนึ่ง และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ทั้งนี้ตามกฎหมายบัญญัติ”
สมาชิกฯ ส่วนใหญ่ขอสงวนคำแปรญัตติ ซึ่งมีความเห็นว่า ให้ตัดคำว่า “องค์กรหนึ่ง” ออก โดยเสนอให้มี ๒ องค์กร แยกกันดำเนินการระหว่างวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เนื่องจากรูปแบบของการใช้คลื่นความถี่และกิจการโทรคมนาคมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา รวมทั้งจุดประสงค์ของการใช้คลื่นความถี่เพื่อประโยชน์ของประเทศ จะต้องมีทั้งองค์กรที่มุ่งหวังผลกำไรและองค์กรที่ทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ การกำหนดไว้เพียงองค์กรเดียวเพื่อกำกับดูแลนั้น จะทำให้เกิดปัญหาได้
กรรมาธิการยกร่างฯ ชี้แจงถึงเหตุผลของการยกร่างฯ ให้มีองค์กรอิสระองค์กรเดียวก็เพียงพอกับการควบคุมการใช้คลื่นความถี่ ซึ่งองค์กรนี้สามารถไปจัดรูปแบบองค์กรให้มีหน้าที่กว้างขวางสำหรับสื่อหลายรูปแบบได้
ในที่สุดประธานฯ ขอมติที่ประชุมฯ ซึ่งที่ประชุมมีมติยืนตามร่างของกรรมาธิการยกร่างฯ ด้วยคะแนน ๖๐ ต่อ ๑๐ งดออกเสียง ๑ เสียง
จากนั้น นายการุณ ใสงาม สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้นำเรื่องที่นายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ระบุในรายการ “คมชัดลึก” วันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๐ เกี่ยวกับสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญมีขบวนการดิสเครดิตนายพิเชียรขัดวางไม่ให้มีการพิจารณาประเด็นศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่เป็นความจริง และสร้างความเข้าใจผิดแก่สังคม นอกจากนี้ยังได้อธิบายเรื่องที่ตนและนางสดศรี สัตยธรรม ถูกหักหลัง โดยมีหลักฐานอ้างอิงหลายอย่าง ซึ่งนายพิเชียรได้ยกมือประท้วงและกดไมค์พูดด้วยความโกรธ
ที่ประชุมฯ อภิปรายในเรื่องนี้อย่างเคร่งเครียด
จากนั้นนายพิเชียรได้น้อมรับความผิดไว้แต่ผู้เดียวและยกมือไหว้ขอโทษสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญทุกคน
จากนั้นนาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่าง รัฐธรรมนูญ และนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ยืนยันกรรมาธิการยกร่างฯ และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญไม่มีเจตนาให้เรื่องพุทธศาสนาตกไป ซึ่งขอให้สมาชิกฯ ให้อภัยนายพิเชียร ที่ได้ขอโทษแล้วด้วย นายพิเชียรยกมือไว้ซ้ำอีกครั้ง
จากนั้นประธานฯ ได้สั่งพักการประชุม เพื่อให้สมาชิกรับประทานอาหาร
เวลา ๑๘.๓๐ นาฬิกา หลังจากพักการประชุมได้เริ่มพิจารณาในมาตรา ๔๗/๑ (ซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพิ่มขึ้นใหม่) กรณีการห้ามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือโทรคมนาคมมิได้ ไม่ว่า ในนามตนเองหรือให้ผู้อื่นเป็นเจ้าของกิจการ หรือถือหุ้นแทน หรือจะดำเนินการโดยวิธีอื่น ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อมที่สามารถบริหารกิจการดังกล่าวได้ ในทำนองเดียวกับการเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการดังกล่าวมิได้
สมาชิกฯ เสนอให้ย้ายข้อความดังกล่าวไปไว้ในมาตรา ๒๕๖ (๔) ในเรื่องของคุณสมบัติต้องห้ามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเห็นว่า หากจะห้ามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเจ้าของกิจการนั้นควรห้ามนักการเมืองท้องถิ่นด้วย ที่ประชุมฯ อภิปรายกันอย่างเคร่งเครียด กรรมาธิการฯ จึงขอเสนอแขวนมาตรานี้ไว้เพื่อนำไปพิจารณาพร้อมกับมาตรา ๒๕๖ ที่มีความ คล้ายคลึงกัน
ที่ประชุมเห็นชอบ
ต่อมาที่ประชุมฯ พิจารณาในส่วนที่ ๘ มาตรา ๔๘-๔๙ สิทธิเสรีภาพในการศึกษา
ประธานฯ หารือกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญถึงเรื่องชื่อของส่วนที่ ๘ ขอให้แขวนไว้ก่อน เนื่องจากมีสมาชิกฯ เสนอให้เป็นหมวด
กรรมาธิการฯ เห็นชอบ
สมาชิกฯ ส่วนใหญ่อภิปรายถึงสิทธิของบุคคลในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า ๙ ปี หรือ ๑๒ ปี และสมาชิกฯ เสนอว่า ถ้าเป็นการศึกษาภาคบังคับควรละเว้นค่าเล่าเรียน
ที่ประชุมฯ พิจารณากันมาพอสมควร ประธานฯ หารือที่ประชุมขอปิดการประชุม และเลื่อนการพิจารณาในส่วนที่ ๘ นี้ ไปพิจารณาในวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๐
ที่ประชุมเห็นชอบ
ปิดประชุมเวลา ๒๐.๐๐ นาฬิกา
--------------------------------------------------
วันพุธที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๐
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๒๔/๒๕๕๐ วันพุธที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๐ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา โดยมีนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานการประชุม เมื่อครบองค์ประชุมประธานฯ ได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
๑. เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม ประธานฯ ได้แจ้งว่า สภาร่างรัฐธรรมนูญจะพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญจากการแปรญัตติ ตั้งแต่วันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๐ เป็นต้นไป อยากให้ทุกอย่างเรียบร้อยภายในเดือนมิถุนายน และเพื่อให้สภาร่างรัฐธรรมนูญมีเวลาพิจารณารับร่างทั้งฉบับ ก่อนวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ดังนั้นขอให้สมาชิกเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง
๒. รับรองรายงานการประชุม ไม่มี
๓. เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
- ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช …. ซึ่งกรรมาธิการ
ยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทำเสร็จแล้ว (เป็นการพิจารณาต่อการการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งที่แล้ว)
สมาชิกฯ หารือที่ประชุมในกรณีขอให้อภิปรายแปรญัตติแบบกระชับเวลา ซึ่งประธานฯ กล่าวต่อที่ประชุมว่า การประชุม ๒ วันที่ผ่านมาค่อนข้างล่าช้า อาจจะต้องมีการประชุม วันเสาร์ - อาทิตย์ ด้วย ซึ่งเบื้องต้นการประชุมในวันศุกร์จะเลิกเวลา ๑๖.๐๐ นาฬิกา และงดประชุม วันเสาร์
ที่ประชุมรับทราบ
จากนั้นที่ประชุมฯ ได้เริ่มพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ หมวด ๓ เรื่อง สิทธิ เสรีภาพของชนชาวไทย ในส่วนที่ ๗ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน ในมาตรา ๔๕ เรื่องสิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น ซึ่งเห็นชอบให้การเสนอข้อมูลส่วนบุคคลเป็นกรรมสิทธิ์ต้องได้รับการคุ้มครอง โดยได้พิจารณาไปพร้อมกับมาตรา ๓๕ ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ ส่วนบุคคล ชื่อเสียง ตลอดจนความเป็นส่วนตัวย่อมได้รับการคุ้มครอง และมาตรา ๕๕ บุคคลย่อมมีสิทธิรับทราบและเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เว้นแต่จะมีผลกระทบถึงความมั่นคง ซึ่งเนื้อหาเกี่ยวโยงกัน โดยที่ประชุมอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากทั้ง ๓ มาตรา ถือว่ามีความสำคัญในการป้องกัน การนำข้อมูลส่วนบุคคลไปแสวงหาผลประโยชน์ ขณะเดียวกันด้านการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในเรื่องของคดี จึงจำเป็นต้องคุ้มครองสิทธิของจำเลย ซึ่งจะครอบคลุมเนื้อหาสาระที่ต้องการคุ้มครอง ดูแลสิทธิข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเพียงพอ
ในที่สุดที่ประชุมฯ มีมติให้คงตามร่างเดิม
จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณามาตรา ๔๖ เกี่ยวกับการประกอบอาชีพของ องค์กรสื่อ โดยสมาชิกฯ ได้ขอแปรญัตติให้เพิ่มว่า “จะต้องกลไกควบคุมกันเองขององค์กรวิชาชีพ ซึ่ง กรรมาธิการยกร่างฯ เห็นชอบ และเพิ่มเติมในวรรคหนึ่งให้แล้ว และได้ขอแปรญัตติให้เพิ่มในวรรคสี่ ระบุว่า “เจ้าของกิจการสื่อต้องสนับสนุนให้พนักงานจัดตั้งองค์กรเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพและความเป็นธรรม โดยไม่เกี่ยวข้องกับสหภาพที่เรียกร้องเกี่ยวกับสวัสดิการใด ๆ“
กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญชี้แจงว่า ในวรรคสามได้บัญญัติเรื่องการป้องกันการแทรกแซงนักวิชาชีพสื่อจากนักการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐ และเจ้าของกิจการ ซึ่งถือว่าครอบคลุมแล้ว ซึ่งถ้ากฎหมายบัญญัติให้เจ้าของกิจการต้องสนับสนุนให้มีองค์กรเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพของวิชาชีพสื่อ ก็จะเป็นการไม่เหมาะสม
ที่ประชุมเห็นชอบ จากนั้นพักการประชุมเวลา ๑๒.๑๐ นาฬิกา
ส่วนการประชุมในช่วงบ่ายเป็นการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ในส่วนที่ ๗ มาตรา ๔๗ เกี่ยวกับคลื่นความถี่ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติ เพื่อประโยชน์สาธารณะ ได้พิจารณาในวรรคสอง ซึ่งกรรมาธิการยกร่างฯ บัญญัติไว้ว่า “ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่ง ทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ ตามวรรคหนึ่ง และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ทั้งนี้ตามกฎหมายบัญญัติ”
สมาชิกฯ ส่วนใหญ่ขอสงวนคำแปรญัตติ ซึ่งมีความเห็นว่า ให้ตัดคำว่า “องค์กรหนึ่ง” ออก โดยเสนอให้มี ๒ องค์กร แยกกันดำเนินการระหว่างวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เนื่องจากรูปแบบของการใช้คลื่นความถี่และกิจการโทรคมนาคมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา รวมทั้งจุดประสงค์ของการใช้คลื่นความถี่เพื่อประโยชน์ของประเทศ จะต้องมีทั้งองค์กรที่มุ่งหวังผลกำไรและองค์กรที่ทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ การกำหนดไว้เพียงองค์กรเดียวเพื่อกำกับดูแลนั้น จะทำให้เกิดปัญหาได้
กรรมาธิการยกร่างฯ ชี้แจงถึงเหตุผลของการยกร่างฯ ให้มีองค์กรอิสระองค์กรเดียวก็เพียงพอกับการควบคุมการใช้คลื่นความถี่ ซึ่งองค์กรนี้สามารถไปจัดรูปแบบองค์กรให้มีหน้าที่กว้างขวางสำหรับสื่อหลายรูปแบบได้
ในที่สุดประธานฯ ขอมติที่ประชุมฯ ซึ่งที่ประชุมมีมติยืนตามร่างของกรรมาธิการยกร่างฯ ด้วยคะแนน ๖๐ ต่อ ๑๐ งดออกเสียง ๑ เสียง
จากนั้น นายการุณ ใสงาม สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้นำเรื่องที่นายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ระบุในรายการ “คมชัดลึก” วันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๐ เกี่ยวกับสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญมีขบวนการดิสเครดิตนายพิเชียรขัดวางไม่ให้มีการพิจารณาประเด็นศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่เป็นความจริง และสร้างความเข้าใจผิดแก่สังคม นอกจากนี้ยังได้อธิบายเรื่องที่ตนและนางสดศรี สัตยธรรม ถูกหักหลัง โดยมีหลักฐานอ้างอิงหลายอย่าง ซึ่งนายพิเชียรได้ยกมือประท้วงและกดไมค์พูดด้วยความโกรธ
ที่ประชุมฯ อภิปรายในเรื่องนี้อย่างเคร่งเครียด
จากนั้นนายพิเชียรได้น้อมรับความผิดไว้แต่ผู้เดียวและยกมือไหว้ขอโทษสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญทุกคน
จากนั้นนาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่าง รัฐธรรมนูญ และนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ยืนยันกรรมาธิการยกร่างฯ และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญไม่มีเจตนาให้เรื่องพุทธศาสนาตกไป ซึ่งขอให้สมาชิกฯ ให้อภัยนายพิเชียร ที่ได้ขอโทษแล้วด้วย นายพิเชียรยกมือไว้ซ้ำอีกครั้ง
จากนั้นประธานฯ ได้สั่งพักการประชุม เพื่อให้สมาชิกรับประทานอาหาร
เวลา ๑๘.๓๐ นาฬิกา หลังจากพักการประชุมได้เริ่มพิจารณาในมาตรา ๔๗/๑ (ซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพิ่มขึ้นใหม่) กรณีการห้ามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือโทรคมนาคมมิได้ ไม่ว่า ในนามตนเองหรือให้ผู้อื่นเป็นเจ้าของกิจการ หรือถือหุ้นแทน หรือจะดำเนินการโดยวิธีอื่น ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อมที่สามารถบริหารกิจการดังกล่าวได้ ในทำนองเดียวกับการเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการดังกล่าวมิได้
สมาชิกฯ เสนอให้ย้ายข้อความดังกล่าวไปไว้ในมาตรา ๒๕๖ (๔) ในเรื่องของคุณสมบัติต้องห้ามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเห็นว่า หากจะห้ามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเจ้าของกิจการนั้นควรห้ามนักการเมืองท้องถิ่นด้วย ที่ประชุมฯ อภิปรายกันอย่างเคร่งเครียด กรรมาธิการฯ จึงขอเสนอแขวนมาตรานี้ไว้เพื่อนำไปพิจารณาพร้อมกับมาตรา ๒๕๖ ที่มีความ คล้ายคลึงกัน
ที่ประชุมเห็นชอบ
ต่อมาที่ประชุมฯ พิจารณาในส่วนที่ ๘ มาตรา ๔๘-๔๙ สิทธิเสรีภาพในการศึกษา
ประธานฯ หารือกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญถึงเรื่องชื่อของส่วนที่ ๘ ขอให้แขวนไว้ก่อน เนื่องจากมีสมาชิกฯ เสนอให้เป็นหมวด
กรรมาธิการฯ เห็นชอบ
สมาชิกฯ ส่วนใหญ่อภิปรายถึงสิทธิของบุคคลในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า ๙ ปี หรือ ๑๒ ปี และสมาชิกฯ เสนอว่า ถ้าเป็นการศึกษาภาคบังคับควรละเว้นค่าเล่าเรียน
ที่ประชุมฯ พิจารณากันมาพอสมควร ประธานฯ หารือที่ประชุมขอปิดการประชุม และเลื่อนการพิจารณาในส่วนที่ ๘ นี้ ไปพิจารณาในวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๐
ที่ประชุมเห็นชอบ
ปิดประชุมเวลา ๒๐.๐๐ นาฬิกา
--------------------------------------------------