คำต่อคำรายการตรงไปตรงมากับอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ทางสถานีวิทยุ 101 ช่วงเวลา 08.00 — 08.30 น.
วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม 2550
ผู้ดำเนินรายการ สวัสดีค่ะ/ครับ คุณอภิสิทธิ์คะ / ครับ
คุณอภิสิทธิ์ สวัสดีครับ คุณอวัสดาครับ
ผู้ดำเนินรายการ ค่ะ คุณอภิสิทธิ์ ตอนนี้บ้านเรามีปัญหาตั้งแต่เหนือจรดใต้เลยนะคะ คุณอภิสิทธิ์ แล้วประชาชนรู้สึกหดหู่กัน คุณอภิสิทธิ์มีไอเดียอะไรดี ๆ ไม๊คะว่าเราจะแก้ปัญหาในช่วงนี้อย่างไรดี
คุณอภิสิทธิ์ ก่อนอื่นก็ขอแสดงความเห็นใจนะครับ และก็เป็นกำลังใจให้กับทุก ๆ คน และก็ขอแสดงความเสียใจโดยเฉพาะกับทางครอบครัวและผู้เกี่ยวข้องกับความสูญเสียที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ที่ภาคใต้นะครับ ผมคิดว่าสิ่งหนึ่งซึ่งควรจะเป็นกำลังใจก็คือผมเห็นว่ารัฐบาลได้มีความพยายามที่จะทำงานอย่างเชิงรุกมากขึ้น อย่างน้อยที่สุดสิ่งที่เราเห็นก็คือท่านรองนายกฯ ไพบูลย์ กับคณะก็ได้เดินทางลงพื้นที่ที่เชียงใหม่ และก็พยายามที่จะหาแนวทางแก้ไข ขณะเดียวกันทางใต้ก็เห็นมีความชัดเจนในส่วนของแม่ทัพภาค 4 และการออกประกาศในเรื่องของการห้ามออกจากเคหะสถาน ในเรื่องของการแต่เครื่องแบบ ก็คงขอพูดเรื่องทางใต้ก่อน
ที่จริงก็ต้องเรียนว่าเรื่องทางใต้นั้น เราก็ได้พูดถึงปัญหานี้มาต่อเนื่อง และในส่วนของรัฐบาลที่เข้ามาและมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ศอ.บต. ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของนโยบายที่ยึดหลักสมานฉันท์ ผมก็ได้ยืนยันมาโดยตลอดว่าน่าจะเป็นแนวทางที่ถูกต้อง แต่ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นและก็เคยแนะไปหลายครั้งก็คือว่า การผลักดันนโยบายการทำให้เกิดความเข้าใจตรงกันในส่วนของเจ้าหน้าที่โดยเฉพาะในระดับพื้นที่นั้นเราได้รับเสียงสะท้อนมาจากในพื้นที่อยู่ตลอดเวลาว่าความเป็นเอกภาพประสิทธิผลในการดำเนินการยังมีปัญหาอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเหตุการณ์ของฝ่ายที่ก่อให้เกิดความไม่สงบ คือเมื่อฝ่ายก่อความไม่สงบไม่ได้ลดละมีแต่จะเพิ่มเติมความโหดเหี้ยมและรูปแบบของการก่อเหตุการณ์ต่าง ๆ จะเป็นฆ่าตัดคอ หรือว่า มาถึงเรื่องของการยิงผู้บริสุทธิ์ในรถตู้นั้น ผมคิดว่าอันนี้ยิ่งท้าทายมาก ก็คือว่าต้องทำให้เรามีความชัดเจนว่าหลักในเรื่องความสมานฉันท์นั้นถูกต้อง แต่ว่าสมานฉันท์นั้นคนละเรื่องกับการไม่บังคับใช้กฎหมายนะครับ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เป็นข้อเรียกร้องมาโดยตลอดก็คือว่า ทำอย่างไรการขับเคลื่อนของการทำงานของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่นั้นจะเป็นไปในเชิงรุกมากขึ้น
ผมก็เคยเสนอว่าควรจะมีการมอบหมายผู้รับผิดชอบฝ่ายนโยบายที่ชัดเจน ผมอยากจะเรียนว่าในยามที่พรรคก็ดำเนินกิจกรรมไม่ได้ แต่ว่าอดีตส.ส.ของเรา รวมทั้งท่านรองเลขาธิการพรรค คือคุณนิพนธ์ บุญญามณี ผมก็ได้มอบหมายให้มีการหารือกันเป็นระยะ ๆ เพื่อรวบรวมสภาพปัญหาต่าง ๆ และส่งต่อไปให้ทาง ดร.สุรินทร์ (พิศสุวรรณ) ซึ่งก็เป็น สนช. ด้วย และก็ถ้ามีโอกาสในการสะท้อนปัญหาต่าง ๆ ก็ให้สะท้อนไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง สัปดาห์ที่แล้ว และเขาก็มีการหารือกัน โดยจะเวียนไปพูดคุยกันใน 3 จังหวัดเป็นระยะ ๆ และก็มีการลงไปเยี่ยมเยียนอยู่เป็นระยะ ๆ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผม แล้วก็ท่านประธานที่ปรึกษา และเลขาธิการพรรค และส.ส.ภาคใต้ทั้งหมดได้ทำหนังสือถึงประธานคมช. สะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนในพื้นที่มีความรู้สึกว่าขาดที่พึ่ง และก็ยืนยันความคิดที่จะให้มีการมอบหมายผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน
ผมคิดว่าขณะนี้การขยับตัวจากการตัดสินใจเมื่อวานนี้ก็คงเป็นตัวบ่งบอกว่ารัฐบาลคงมีความตื่นตัวมากขึ้น และก็มองเห็นแล้วว่าจำเป็นจะต้องแก้ปัญหาในเชิงรุกอย่างเช่น ประกาศที่ออกมาในเรื่องของการแต่งเครื่องแบบนั้นก็คงต้องเป็นสภาพปัญหาที่ว่า เวลามีการก่อเหตุก็มักจะมีการพูดอยู่เสมอว่า คนที่ไปยิง คนที่ไปก่อความวุ่นวายนั้น แต่งกายคล้ายกับเครื่องแบบ ซึ่งก็จะเป็นการสร้างความเข้าใจว่าเป็นฝีมือของเจ้าหน้าที่ ขณะเดียวกันเราก็จะเห็นว่าปรากฎการณ์ของการล้อมโดยผู้ชุมนุมที่เป็นผู้หญิง เวลาที่จะมีการไปจับกุมอะไรต่าง ๆ ระยะหลังก็มีความชัดเจนขึ้นว่ามีการแทรกตัวเข้าไปของผู้ก่อความไม่สงบที่มีลักษณะของการจัดตั้ง เพราะฉะนั้นการทำงานนั้นต้องลงไปคลุกกับพื้นที่จริง ๆ ในส่วนของเจ้าหน้าที่เพื่อให้มวลชนมีความเข้าใจที่ดี ตอนนี้ถ้ายิ่งเร่งทำความเข้าใจเพราะว่ามาตรการที่ไปจำกัดสิทธิ เสรีภาพ เพิ่มขึ้นนั้น ก็ต้องพยายามที่จะให้เกิดความเข้าใจ ต้องให้ประชาชนมีความรู้สึกว่ามันเป็นสิ่งที่จำเป็นจริง ๆ ซึ่งผมคิดว่าขณะนี้ทุกฝ่ายต้องช่วยกันให้เป็นอย่างนั้น และก็ผมคิดว่าการที่ฝ่ายก่อความไม่สงบได้เพิ่มความรุนแรง ความโหดร้าย และก็เห็นได้ชัดว่าเหยื่อของความรุนแรงในขณะนี้คือไม่เลือกใครทั้งสิ้น น่าจะเป็นจุดที่เราต้องพลิกกลับมาเพื่อที่จะให้พี่น้องของเราเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องรวมแรง รวมใจกันจริง ๆ นะครับ ในการประนามความรุนแรงในการที่จะให้ความสงบสุขกลับคืนมา เพราะฉะนั้นถ้าสมมติว่ารัฐบาลจะเติมเรื่องของการมีผู้รับผิดชอบฝ่ายนโยบายที่เข้าไปเพื่อขับเคลื่อนให้งานตรงนี้เป็นไปได้ในเชิงรุกมากขึ้นสัมผัสกับพื้นที่ กับประชาชนมากขึ้น ผมก็คิดว่ามันก็จะเป็นความหวัง เพราะว่านโยบายที่ผมพูดคงไม่ใช่เฉพาะในเรื่องของเจ้าหน้าที่ในส่วนที่มีหน้าที่ในการรักษากฎหมายหรือว่าปราบปรามเท่านั้น อาจจะมีนโยบายในเรื่องที่เติมเข้าไปได้จะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ เรื่องการศึกษา เรื่องอะไรต่อมิอะไร
ผมอยากจะเรียนอย่างนี้ครับว่า สภาพปัญหานี้เวลาเราพูดรวม ๆ 3 จังหวัด บวก 4 อำเภอ สงขลา ตอนนี้ที่พูดกัน มันก็จะดูว่าเป็นพื้นที่ที่กว้างขวางมาก ความจริงผมอยากจะย้ำว่าเจ้าหน้าที่เราไม่น้อยนะครับ ที่อยู่ตรงนั้น แต่ว่าสภาพพื้นที่จริง ๆ มันแตกต่างกันพอสมควร บางพื้นที่ก็ค่อนข้างปลอดจากเหตุต่าง ๆ แต่บางพื้นที่ต้องยอมรับตรง ๆ ว่า น่าเป็นห่วงมากว่า การกุมสภาพของสถานการณ์ในบางอำเภออย่างเช่นที่ประกาศไปอย่างเช่นที่ บันนังสตา หรือยะหา ก็จะรุนแรงมากเป็นพิเศษ เพราะฉะนั้นจริง ๆ แล้วในการใช้เจ้าหน้าที่ก็ต้องให้สอดคล้องกับสภาพความหนักเบาของปัญหาในแต่ละพื้นที่ที่มีความหลากหลายกัน แล้วก็เป้าของการก่อเหตุร้าย โดยเฉพาะที่เป็นเหตุใหญ่ ๆ มันก็ไม่ใช่ว่าจะกระจายไปทุกพื้นที่ ก็ต้องเป็นแหล่งชุมชน เส้นทางการคมนาคมหลัก อย่างนี้เป็นต้น อันนี้ผมคิดว่าถ้ามีผู้รับผิดชอบในเชิงนโยบายที่ชัดเจน ทำงานให้ละเอียด เกาะพื้นที่อยู่ตรงนั้น ผมคิดว่าก็น่าจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้นมาได้บ้าง ส่วนภาพใหญ่ของนโยบายในเรื่องความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ในเรื่องการสะสางปัญหาต่าง ๆ ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากนโยบายที่ผิดพลาด อันนี้ก็ต้องว่ากันไป อันนี้คือส่วนของภาคใต้
ผู้ดำเนินรายการ เมื่อวานท่านนายกฯ เปรียบเทียบปัญหาภาคใต้กับปัญหากลุ่มก่อการร้ายในไอร์แลนด์เหนือ เข้าใจว่าคงจะหมายถึง IRA นะครับ เหมือนต้องการจะส่งสัญญาณว่าปัญหานี้มันอาจจะคาราคาซังไปอีกนาน เราจะต้องอยู่กับมันไปอีกหลายปีนะครับ คุณอภิสิทธิ์
คุณอภิสิทธิ์ คือมันมีความเหมือนและความต่างนะครับ ความเหมือนก็คือว่า พอเกิดปัญหาในลักษณะนี้ขึ้นมา ความคาดหวังที่จะไปให้มันหมดไปในระยะเวลาอันสั้น มันเป็นความหวังที่ไม่เป็นจริง และก็ความผิดพลาดของนโยบายก่อนหน้านี้ส่วนหนึ่งก็คือความคิดที่ว่า มันคงจะ 3 เดือน 6 เดือน จบได้ ถ้าใช้ความรุนแรง แต่มันไม่ใช่ มันกลายเป็นไปสร้างเงื่อนไขใหม่แล้วก็ทำให้เหตุการณ์มันบานปลาย แต่ความต่างนั้นก็ต้องบอกว่า ผู้ที่สนใจเรื่องนี้ไม่ใช่เฉพาะคนไทยแต่ว่า ทั่วโลก สิ่งหนึ่งที่ค่อนข้างแปลกจากเหตุการณ์ใน 3 จังหวัดก็คือว่า มันไม่มีการแสดงความรับผิดชอบ
ผู้ดำเนินรายการ นั่นสิครับ ใช่ ๆ
คุณอภิสิทธิ์ IRA นั้นสมัยผมอยู่อังกฤษ ระเบิดเกิดที่ไหน เกิดตู้ม ออกข่าวปั๊บ เขาก็ออกแถลงการณ์ออกมาเลยว่า ฝีมือเขา เขาทำอันนี้เพื่อเรียกร้องอันนี้ เป็นฝีมือเขา ของเรานั้น จะเห็นว่าเหตุเกิดเป็นพันครั้ง แต่ว่าไม่มีคนแสดงตัว ยิ่งไปกว่านั้นถ้าเห็นข่าว ผมดูข่าวเร็ว ๆ เมื่อเช้าก็เห็นว่าทางพูโล ก็ไปออกข่าวว่า เขาก็พูดว่ามันยังไม่จบหรอกปัญหาอย่างนั้นอย่างนี้ แต่เขาก็พูดอีกว่า เหตุการณ์ที่ไปทำร้ายผู้บริสุทธิ์ไม่ใช่แนวทางเขา เขาบอกเขาไม่ทำเขาทำเฉพาะเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ อะไรทำนองนี้ เพราะฉะนั้นจริง ๆ ความต่างของเราขณะนี้ก็คือว่า ตัวตน ถ้าจะมีผู้ที่อยู่เบื้องหลังที่เป็นองค์กรเครือข่ายเขาไม่แสดงตัวตน อันนี้เป็นความต่างซึ่งค่อนข้างที่จะเป็นเงื่อนไขพิเศษ ไม่ค่อยพบนะครับในแม้กระทั่งในประเทศเพื่อนบ้านที่มีการก่อเหตุความไม่สงบ มักจะมีชื่อกลุ่มที่เขาประกาศตัว
ผู้ดำเนินรายการ ใช่ค่ะ
คุณอภิสิทธิ์ อันนี้คือความยากอย่างหนึ่ง แต่ว่ามันจึงทำให้การทำงานในระดับพื้นที่ ในการกระจายอำนาจในการเกาะติดกับชุมชน มันจึงสำคัญกว่า เพราะว่าถ้ามีการแสดงตัวตนในที่อื่นรัฐบาลจากส่วนกลางหรือ ผู้กำหนดนโยบายระดับชาติจะมีเป้าที่ชัดเจน แต่ว่าเขาพอเป็นอย่างนี้มันต้องทำมาจากฐานราก ต้องซึมลงไปในชุมชนเพื่อที่จะคลี่คลายตรงนี้ อันนี้ก็คือข้อคิดที่ผมก็คงจะขอเสนอเพิ่มเติมในขณะนี้
ทีนี้ในส่วนของปัญหาที่อื่นนะครับ ทั้งอากาศ ทั้งน้ำนั้น ก็เช่นเดียวกัน ก็แสดงให้เห็นอย่างหนึ่งก็คือเรื่องของกลไกการขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ของเรา เป็นปัญหา อันนี้คือสิ่งที่อยากจะยืนยันนโยบายที่เราผลักดันมาตลอดก็คือว่าความเข้มแข็งขององค์กรท้องถิ่น และการกระจายอำนาจ อย่างกรณีของไฟ ที่ภาคเหนือ สดับตรับฟังมาก็ ธรรมชาติเสียส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งก็คือฝีมือของคนของเราเอง จะด้วยรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ก็มีส่วนในการก่อปัญหาตรงนี้ ซึ่งประเด็นอย่างนี้ไม่มีอะไรที่จะไปทดแทนความเข้มแข็งของกลไกในพื้นที่ที่จะดูแลได้ เพราะฉะนั้นอันนี้ผมจึงได้เคยเสนอก่อนหน้านี้ว่า อยากให้ทางรัฐบาลทำงานใกล้ชิดกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น เพราะว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเกาะพื้นที่อยู่ตลอด พอเขาเห็นสภาพปัญหาอย่างนี้ ถ้าเกิดประสานงานกับทางฝ่ายปกครอง ทางส่วนภูมิภาคแล้ว ผมว่ามันจะขับเคลื่อนเข้าไปที่จะป้องกันหรือบรรเทาปัญหาได้รวดเร็วมากขึ้น
เช่นเดียวกับกรณีของอ่างทอง ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจว่าเป็นข้อสรุปหรือยังว่า เป็นเรื่องของเรือน้ำตาลที่ล่ม แต่ว่าก็มีข้อสงสัยมาโดยตลอดว่า มันมีปัญหาของโรงงานซึ่งไม่ได้เจาะจงโรงงานใด โรงงานหนึ่งนะครับ เพราะว่าผมก็ฟังมาก็มีหลายโรงงานเหมือนกันที่เคยมีปัญหาในเรื่องของการปล่อยมลภาวะลงไป อันนี้ก็เช่นเดียวกันว่า ในระดับของพื้นที่นั้นการติดตามตรวจสอบมาตรฐานในเรื่องของมลพิษ มันจะเป็นหัวใจสำคัญ แล้วก็สิ่งหนึ่งที่มันบ่งชี้ก็คือว่าเราเองก็ต้องช่วยกระตุ้นองค์กรท้องถิ่น องค์กรท้องถิ่นต้องหันมาให้ความสนใจเรื่องของสิ่งแวดล้อม เรื่องของระบบนิเวศน์วิทยามากขึ้น เพราะว่าท้องถิ่นหลายคนก็ยังติดอยู่กับภาพของการที่ขณะนี้เริ่มไปลุยงานหนักในเรื่องเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน คือสร้างถนน สร้างอะไรต่าง ๆ มากกว่าที่จะเข้ามาดูแลในเรื่องของทรัพยากรธรรมชาติ ความสมดุลย์ของธรรมชาติ
และผมคิดว่าจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งที่ทางเหนือและทางภาคกลาง เป็นโอกาสของรัฐบาลเลยที่จะบอกว่า อันนี้แหละคือความจำเป็นในการที่เราจะต้องใช้ปรัชญาในเรื่องของความพอเพียง เพราะว่าเรื่องของไฟนั้นส่วนหนึ่งก็เป็นเรื่องของการที่มีการถางป่า พยายามที่จะหาพื้นที่การเกษตรส่วนหนึ่ง และก็เรื่องของปัญหามลพิษทางน้ำนั้นก็มาจากเรื่องของการที่เราพยายามที่จะมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจแต่ว่าไม่ได้ดูแลความสมดุลย์ในเรื่องของสิ่งแวดล้อมนั่นคือเหตุผลว่าทำไมในที่สุดปรัชญาพอเพียงจึงมีความสำคัญ ไม่อย่างนั้นถ้าน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเน่า คงไม่ต้องพูดถึงเรื่องอื่นเลย คุณภาพชีวิตของคนไทยจำนวนมากจะเป็นอย่างไร แล้วก็ทางเหนือที่เกิดขึ้นมันเป็นสภาพที่รุนแรง คิดก็แล้วกันว่า เมื่อก่อนเราก็คิดว่าเราอยู่กรุงเทพฯ อากาศไม่ได้เรื่องเลย เราก็อยากจะหาโอกาสขึ้นเหนือไปสูดอากาศบริสุทธิ์ วันนี้ผมเพิ่งเจอคนบอกว่าต้องหนีอากาศที่นั่นมาอยู่กรุงเทพฯ นะครับ อันนี้คือสิ่งที่เราต้องเน้นกันในเรื่องของความพอเพียง
ผู้ดำเนินรายการ ค่ะ มันพิสูจน์ด้วยตัวเองออกมานะคะ ตามเวลา เอาหล่ะค่ะ วันนี้ต้องขอบคุณคุณอภิสิทธิ์นะคะ สวัสดีค่ะ ขอบคุณครับคุณอภิสิทธิ์ครับ
******************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 16 มี.ค. 2550--จบ--
ทางสถานีวิทยุ 101 ช่วงเวลา 08.00 — 08.30 น.
วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม 2550
ผู้ดำเนินรายการ สวัสดีค่ะ/ครับ คุณอภิสิทธิ์คะ / ครับ
คุณอภิสิทธิ์ สวัสดีครับ คุณอวัสดาครับ
ผู้ดำเนินรายการ ค่ะ คุณอภิสิทธิ์ ตอนนี้บ้านเรามีปัญหาตั้งแต่เหนือจรดใต้เลยนะคะ คุณอภิสิทธิ์ แล้วประชาชนรู้สึกหดหู่กัน คุณอภิสิทธิ์มีไอเดียอะไรดี ๆ ไม๊คะว่าเราจะแก้ปัญหาในช่วงนี้อย่างไรดี
คุณอภิสิทธิ์ ก่อนอื่นก็ขอแสดงความเห็นใจนะครับ และก็เป็นกำลังใจให้กับทุก ๆ คน และก็ขอแสดงความเสียใจโดยเฉพาะกับทางครอบครัวและผู้เกี่ยวข้องกับความสูญเสียที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ที่ภาคใต้นะครับ ผมคิดว่าสิ่งหนึ่งซึ่งควรจะเป็นกำลังใจก็คือผมเห็นว่ารัฐบาลได้มีความพยายามที่จะทำงานอย่างเชิงรุกมากขึ้น อย่างน้อยที่สุดสิ่งที่เราเห็นก็คือท่านรองนายกฯ ไพบูลย์ กับคณะก็ได้เดินทางลงพื้นที่ที่เชียงใหม่ และก็พยายามที่จะหาแนวทางแก้ไข ขณะเดียวกันทางใต้ก็เห็นมีความชัดเจนในส่วนของแม่ทัพภาค 4 และการออกประกาศในเรื่องของการห้ามออกจากเคหะสถาน ในเรื่องของการแต่เครื่องแบบ ก็คงขอพูดเรื่องทางใต้ก่อน
ที่จริงก็ต้องเรียนว่าเรื่องทางใต้นั้น เราก็ได้พูดถึงปัญหานี้มาต่อเนื่อง และในส่วนของรัฐบาลที่เข้ามาและมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ศอ.บต. ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของนโยบายที่ยึดหลักสมานฉันท์ ผมก็ได้ยืนยันมาโดยตลอดว่าน่าจะเป็นแนวทางที่ถูกต้อง แต่ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นและก็เคยแนะไปหลายครั้งก็คือว่า การผลักดันนโยบายการทำให้เกิดความเข้าใจตรงกันในส่วนของเจ้าหน้าที่โดยเฉพาะในระดับพื้นที่นั้นเราได้รับเสียงสะท้อนมาจากในพื้นที่อยู่ตลอดเวลาว่าความเป็นเอกภาพประสิทธิผลในการดำเนินการยังมีปัญหาอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเหตุการณ์ของฝ่ายที่ก่อให้เกิดความไม่สงบ คือเมื่อฝ่ายก่อความไม่สงบไม่ได้ลดละมีแต่จะเพิ่มเติมความโหดเหี้ยมและรูปแบบของการก่อเหตุการณ์ต่าง ๆ จะเป็นฆ่าตัดคอ หรือว่า มาถึงเรื่องของการยิงผู้บริสุทธิ์ในรถตู้นั้น ผมคิดว่าอันนี้ยิ่งท้าทายมาก ก็คือว่าต้องทำให้เรามีความชัดเจนว่าหลักในเรื่องความสมานฉันท์นั้นถูกต้อง แต่ว่าสมานฉันท์นั้นคนละเรื่องกับการไม่บังคับใช้กฎหมายนะครับ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เป็นข้อเรียกร้องมาโดยตลอดก็คือว่า ทำอย่างไรการขับเคลื่อนของการทำงานของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่นั้นจะเป็นไปในเชิงรุกมากขึ้น
ผมก็เคยเสนอว่าควรจะมีการมอบหมายผู้รับผิดชอบฝ่ายนโยบายที่ชัดเจน ผมอยากจะเรียนว่าในยามที่พรรคก็ดำเนินกิจกรรมไม่ได้ แต่ว่าอดีตส.ส.ของเรา รวมทั้งท่านรองเลขาธิการพรรค คือคุณนิพนธ์ บุญญามณี ผมก็ได้มอบหมายให้มีการหารือกันเป็นระยะ ๆ เพื่อรวบรวมสภาพปัญหาต่าง ๆ และส่งต่อไปให้ทาง ดร.สุรินทร์ (พิศสุวรรณ) ซึ่งก็เป็น สนช. ด้วย และก็ถ้ามีโอกาสในการสะท้อนปัญหาต่าง ๆ ก็ให้สะท้อนไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง สัปดาห์ที่แล้ว และเขาก็มีการหารือกัน โดยจะเวียนไปพูดคุยกันใน 3 จังหวัดเป็นระยะ ๆ และก็มีการลงไปเยี่ยมเยียนอยู่เป็นระยะ ๆ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผม แล้วก็ท่านประธานที่ปรึกษา และเลขาธิการพรรค และส.ส.ภาคใต้ทั้งหมดได้ทำหนังสือถึงประธานคมช. สะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนในพื้นที่มีความรู้สึกว่าขาดที่พึ่ง และก็ยืนยันความคิดที่จะให้มีการมอบหมายผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน
ผมคิดว่าขณะนี้การขยับตัวจากการตัดสินใจเมื่อวานนี้ก็คงเป็นตัวบ่งบอกว่ารัฐบาลคงมีความตื่นตัวมากขึ้น และก็มองเห็นแล้วว่าจำเป็นจะต้องแก้ปัญหาในเชิงรุกอย่างเช่น ประกาศที่ออกมาในเรื่องของการแต่งเครื่องแบบนั้นก็คงต้องเป็นสภาพปัญหาที่ว่า เวลามีการก่อเหตุก็มักจะมีการพูดอยู่เสมอว่า คนที่ไปยิง คนที่ไปก่อความวุ่นวายนั้น แต่งกายคล้ายกับเครื่องแบบ ซึ่งก็จะเป็นการสร้างความเข้าใจว่าเป็นฝีมือของเจ้าหน้าที่ ขณะเดียวกันเราก็จะเห็นว่าปรากฎการณ์ของการล้อมโดยผู้ชุมนุมที่เป็นผู้หญิง เวลาที่จะมีการไปจับกุมอะไรต่าง ๆ ระยะหลังก็มีความชัดเจนขึ้นว่ามีการแทรกตัวเข้าไปของผู้ก่อความไม่สงบที่มีลักษณะของการจัดตั้ง เพราะฉะนั้นการทำงานนั้นต้องลงไปคลุกกับพื้นที่จริง ๆ ในส่วนของเจ้าหน้าที่เพื่อให้มวลชนมีความเข้าใจที่ดี ตอนนี้ถ้ายิ่งเร่งทำความเข้าใจเพราะว่ามาตรการที่ไปจำกัดสิทธิ เสรีภาพ เพิ่มขึ้นนั้น ก็ต้องพยายามที่จะให้เกิดความเข้าใจ ต้องให้ประชาชนมีความรู้สึกว่ามันเป็นสิ่งที่จำเป็นจริง ๆ ซึ่งผมคิดว่าขณะนี้ทุกฝ่ายต้องช่วยกันให้เป็นอย่างนั้น และก็ผมคิดว่าการที่ฝ่ายก่อความไม่สงบได้เพิ่มความรุนแรง ความโหดร้าย และก็เห็นได้ชัดว่าเหยื่อของความรุนแรงในขณะนี้คือไม่เลือกใครทั้งสิ้น น่าจะเป็นจุดที่เราต้องพลิกกลับมาเพื่อที่จะให้พี่น้องของเราเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องรวมแรง รวมใจกันจริง ๆ นะครับ ในการประนามความรุนแรงในการที่จะให้ความสงบสุขกลับคืนมา เพราะฉะนั้นถ้าสมมติว่ารัฐบาลจะเติมเรื่องของการมีผู้รับผิดชอบฝ่ายนโยบายที่เข้าไปเพื่อขับเคลื่อนให้งานตรงนี้เป็นไปได้ในเชิงรุกมากขึ้นสัมผัสกับพื้นที่ กับประชาชนมากขึ้น ผมก็คิดว่ามันก็จะเป็นความหวัง เพราะว่านโยบายที่ผมพูดคงไม่ใช่เฉพาะในเรื่องของเจ้าหน้าที่ในส่วนที่มีหน้าที่ในการรักษากฎหมายหรือว่าปราบปรามเท่านั้น อาจจะมีนโยบายในเรื่องที่เติมเข้าไปได้จะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ เรื่องการศึกษา เรื่องอะไรต่อมิอะไร
ผมอยากจะเรียนอย่างนี้ครับว่า สภาพปัญหานี้เวลาเราพูดรวม ๆ 3 จังหวัด บวก 4 อำเภอ สงขลา ตอนนี้ที่พูดกัน มันก็จะดูว่าเป็นพื้นที่ที่กว้างขวางมาก ความจริงผมอยากจะย้ำว่าเจ้าหน้าที่เราไม่น้อยนะครับ ที่อยู่ตรงนั้น แต่ว่าสภาพพื้นที่จริง ๆ มันแตกต่างกันพอสมควร บางพื้นที่ก็ค่อนข้างปลอดจากเหตุต่าง ๆ แต่บางพื้นที่ต้องยอมรับตรง ๆ ว่า น่าเป็นห่วงมากว่า การกุมสภาพของสถานการณ์ในบางอำเภออย่างเช่นที่ประกาศไปอย่างเช่นที่ บันนังสตา หรือยะหา ก็จะรุนแรงมากเป็นพิเศษ เพราะฉะนั้นจริง ๆ แล้วในการใช้เจ้าหน้าที่ก็ต้องให้สอดคล้องกับสภาพความหนักเบาของปัญหาในแต่ละพื้นที่ที่มีความหลากหลายกัน แล้วก็เป้าของการก่อเหตุร้าย โดยเฉพาะที่เป็นเหตุใหญ่ ๆ มันก็ไม่ใช่ว่าจะกระจายไปทุกพื้นที่ ก็ต้องเป็นแหล่งชุมชน เส้นทางการคมนาคมหลัก อย่างนี้เป็นต้น อันนี้ผมคิดว่าถ้ามีผู้รับผิดชอบในเชิงนโยบายที่ชัดเจน ทำงานให้ละเอียด เกาะพื้นที่อยู่ตรงนั้น ผมคิดว่าก็น่าจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้นมาได้บ้าง ส่วนภาพใหญ่ของนโยบายในเรื่องความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ในเรื่องการสะสางปัญหาต่าง ๆ ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากนโยบายที่ผิดพลาด อันนี้ก็ต้องว่ากันไป อันนี้คือส่วนของภาคใต้
ผู้ดำเนินรายการ เมื่อวานท่านนายกฯ เปรียบเทียบปัญหาภาคใต้กับปัญหากลุ่มก่อการร้ายในไอร์แลนด์เหนือ เข้าใจว่าคงจะหมายถึง IRA นะครับ เหมือนต้องการจะส่งสัญญาณว่าปัญหานี้มันอาจจะคาราคาซังไปอีกนาน เราจะต้องอยู่กับมันไปอีกหลายปีนะครับ คุณอภิสิทธิ์
คุณอภิสิทธิ์ คือมันมีความเหมือนและความต่างนะครับ ความเหมือนก็คือว่า พอเกิดปัญหาในลักษณะนี้ขึ้นมา ความคาดหวังที่จะไปให้มันหมดไปในระยะเวลาอันสั้น มันเป็นความหวังที่ไม่เป็นจริง และก็ความผิดพลาดของนโยบายก่อนหน้านี้ส่วนหนึ่งก็คือความคิดที่ว่า มันคงจะ 3 เดือน 6 เดือน จบได้ ถ้าใช้ความรุนแรง แต่มันไม่ใช่ มันกลายเป็นไปสร้างเงื่อนไขใหม่แล้วก็ทำให้เหตุการณ์มันบานปลาย แต่ความต่างนั้นก็ต้องบอกว่า ผู้ที่สนใจเรื่องนี้ไม่ใช่เฉพาะคนไทยแต่ว่า ทั่วโลก สิ่งหนึ่งที่ค่อนข้างแปลกจากเหตุการณ์ใน 3 จังหวัดก็คือว่า มันไม่มีการแสดงความรับผิดชอบ
ผู้ดำเนินรายการ นั่นสิครับ ใช่ ๆ
คุณอภิสิทธิ์ IRA นั้นสมัยผมอยู่อังกฤษ ระเบิดเกิดที่ไหน เกิดตู้ม ออกข่าวปั๊บ เขาก็ออกแถลงการณ์ออกมาเลยว่า ฝีมือเขา เขาทำอันนี้เพื่อเรียกร้องอันนี้ เป็นฝีมือเขา ของเรานั้น จะเห็นว่าเหตุเกิดเป็นพันครั้ง แต่ว่าไม่มีคนแสดงตัว ยิ่งไปกว่านั้นถ้าเห็นข่าว ผมดูข่าวเร็ว ๆ เมื่อเช้าก็เห็นว่าทางพูโล ก็ไปออกข่าวว่า เขาก็พูดว่ามันยังไม่จบหรอกปัญหาอย่างนั้นอย่างนี้ แต่เขาก็พูดอีกว่า เหตุการณ์ที่ไปทำร้ายผู้บริสุทธิ์ไม่ใช่แนวทางเขา เขาบอกเขาไม่ทำเขาทำเฉพาะเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ อะไรทำนองนี้ เพราะฉะนั้นจริง ๆ ความต่างของเราขณะนี้ก็คือว่า ตัวตน ถ้าจะมีผู้ที่อยู่เบื้องหลังที่เป็นองค์กรเครือข่ายเขาไม่แสดงตัวตน อันนี้เป็นความต่างซึ่งค่อนข้างที่จะเป็นเงื่อนไขพิเศษ ไม่ค่อยพบนะครับในแม้กระทั่งในประเทศเพื่อนบ้านที่มีการก่อเหตุความไม่สงบ มักจะมีชื่อกลุ่มที่เขาประกาศตัว
ผู้ดำเนินรายการ ใช่ค่ะ
คุณอภิสิทธิ์ อันนี้คือความยากอย่างหนึ่ง แต่ว่ามันจึงทำให้การทำงานในระดับพื้นที่ ในการกระจายอำนาจในการเกาะติดกับชุมชน มันจึงสำคัญกว่า เพราะว่าถ้ามีการแสดงตัวตนในที่อื่นรัฐบาลจากส่วนกลางหรือ ผู้กำหนดนโยบายระดับชาติจะมีเป้าที่ชัดเจน แต่ว่าเขาพอเป็นอย่างนี้มันต้องทำมาจากฐานราก ต้องซึมลงไปในชุมชนเพื่อที่จะคลี่คลายตรงนี้ อันนี้ก็คือข้อคิดที่ผมก็คงจะขอเสนอเพิ่มเติมในขณะนี้
ทีนี้ในส่วนของปัญหาที่อื่นนะครับ ทั้งอากาศ ทั้งน้ำนั้น ก็เช่นเดียวกัน ก็แสดงให้เห็นอย่างหนึ่งก็คือเรื่องของกลไกการขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ของเรา เป็นปัญหา อันนี้คือสิ่งที่อยากจะยืนยันนโยบายที่เราผลักดันมาตลอดก็คือว่าความเข้มแข็งขององค์กรท้องถิ่น และการกระจายอำนาจ อย่างกรณีของไฟ ที่ภาคเหนือ สดับตรับฟังมาก็ ธรรมชาติเสียส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งก็คือฝีมือของคนของเราเอง จะด้วยรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ก็มีส่วนในการก่อปัญหาตรงนี้ ซึ่งประเด็นอย่างนี้ไม่มีอะไรที่จะไปทดแทนความเข้มแข็งของกลไกในพื้นที่ที่จะดูแลได้ เพราะฉะนั้นอันนี้ผมจึงได้เคยเสนอก่อนหน้านี้ว่า อยากให้ทางรัฐบาลทำงานใกล้ชิดกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น เพราะว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเกาะพื้นที่อยู่ตลอด พอเขาเห็นสภาพปัญหาอย่างนี้ ถ้าเกิดประสานงานกับทางฝ่ายปกครอง ทางส่วนภูมิภาคแล้ว ผมว่ามันจะขับเคลื่อนเข้าไปที่จะป้องกันหรือบรรเทาปัญหาได้รวดเร็วมากขึ้น
เช่นเดียวกับกรณีของอ่างทอง ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจว่าเป็นข้อสรุปหรือยังว่า เป็นเรื่องของเรือน้ำตาลที่ล่ม แต่ว่าก็มีข้อสงสัยมาโดยตลอดว่า มันมีปัญหาของโรงงานซึ่งไม่ได้เจาะจงโรงงานใด โรงงานหนึ่งนะครับ เพราะว่าผมก็ฟังมาก็มีหลายโรงงานเหมือนกันที่เคยมีปัญหาในเรื่องของการปล่อยมลภาวะลงไป อันนี้ก็เช่นเดียวกันว่า ในระดับของพื้นที่นั้นการติดตามตรวจสอบมาตรฐานในเรื่องของมลพิษ มันจะเป็นหัวใจสำคัญ แล้วก็สิ่งหนึ่งที่มันบ่งชี้ก็คือว่าเราเองก็ต้องช่วยกระตุ้นองค์กรท้องถิ่น องค์กรท้องถิ่นต้องหันมาให้ความสนใจเรื่องของสิ่งแวดล้อม เรื่องของระบบนิเวศน์วิทยามากขึ้น เพราะว่าท้องถิ่นหลายคนก็ยังติดอยู่กับภาพของการที่ขณะนี้เริ่มไปลุยงานหนักในเรื่องเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน คือสร้างถนน สร้างอะไรต่าง ๆ มากกว่าที่จะเข้ามาดูแลในเรื่องของทรัพยากรธรรมชาติ ความสมดุลย์ของธรรมชาติ
และผมคิดว่าจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งที่ทางเหนือและทางภาคกลาง เป็นโอกาสของรัฐบาลเลยที่จะบอกว่า อันนี้แหละคือความจำเป็นในการที่เราจะต้องใช้ปรัชญาในเรื่องของความพอเพียง เพราะว่าเรื่องของไฟนั้นส่วนหนึ่งก็เป็นเรื่องของการที่มีการถางป่า พยายามที่จะหาพื้นที่การเกษตรส่วนหนึ่ง และก็เรื่องของปัญหามลพิษทางน้ำนั้นก็มาจากเรื่องของการที่เราพยายามที่จะมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจแต่ว่าไม่ได้ดูแลความสมดุลย์ในเรื่องของสิ่งแวดล้อมนั่นคือเหตุผลว่าทำไมในที่สุดปรัชญาพอเพียงจึงมีความสำคัญ ไม่อย่างนั้นถ้าน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเน่า คงไม่ต้องพูดถึงเรื่องอื่นเลย คุณภาพชีวิตของคนไทยจำนวนมากจะเป็นอย่างไร แล้วก็ทางเหนือที่เกิดขึ้นมันเป็นสภาพที่รุนแรง คิดก็แล้วกันว่า เมื่อก่อนเราก็คิดว่าเราอยู่กรุงเทพฯ อากาศไม่ได้เรื่องเลย เราก็อยากจะหาโอกาสขึ้นเหนือไปสูดอากาศบริสุทธิ์ วันนี้ผมเพิ่งเจอคนบอกว่าต้องหนีอากาศที่นั่นมาอยู่กรุงเทพฯ นะครับ อันนี้คือสิ่งที่เราต้องเน้นกันในเรื่องของความพอเพียง
ผู้ดำเนินรายการ ค่ะ มันพิสูจน์ด้วยตัวเองออกมานะคะ ตามเวลา เอาหล่ะค่ะ วันนี้ต้องขอบคุณคุณอภิสิทธิ์นะคะ สวัสดีค่ะ ขอบคุณครับคุณอภิสิทธิ์ครับ
******************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 16 มี.ค. 2550--จบ--