วันนี้ (26 ต.ค.48) ที่อาคารรัฐสภา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้กล่าวในรายการ “ผู้นำฝ่ายค้านคุยกับประชาชน” แสดงความคิดเห็นต่อปัญหาบ้านเมืองในขณะนี้.......
การสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีลมจากสถานีตากสิน- ถ.ตากสิน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีการสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีลม(จากสถานีตากสิน- ถ.ตากสิน) ว่า หลังจากที่ได้นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้นำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมสภา กทม. ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ผลปรากฎว่ายังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ เนื่องจากทางสมาชิกสภากรุงเทพมหานครของพรรคไทยรักไทยได้ตัดสินใจเดินออกจากห้องประชุม ส่งผลให้องค์ประชุมไม่ครบ จึงจำเป็นที่จะต้องเลื่อนเรื่องดังกล่าวมาพิจารณาอีกครั้งในสัปดาห์นี้
ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวว่า สำหรับการสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายนี้ เป็นการขยายเส้นทางเพิ่มเติมจากเดิมที่มีอยู่แล้วกว่า 20 กิโลเมตร โดยจะมีระยะทางเพิ่มขึ้นอีก 2.2 กิโลเมตร และอาจจะต้องมีส่วนต่อขยายอื่น ๆ ต่อไปด้วยในอนาคต เพื่อให้เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาว อันจะเป็นการช่วยลดปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ต้องสัญจรไปมาในพื้นที่ดังกล่าว สิ่งที่กทม.กำลังจะทำต่อไปก็คือขออนุมัติวงเงินที่จะไปวางรางสร้างสถานีและจัดทำระบบสัญญาณต่าง ๆให้เรียบร้อย โดยในวันนี้นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จะนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาในการประชุมสภา กทม. อีกครั้งหนึ่ง
แนวความคิดการสร้างเมืองใหม่ใกล้สนามบิน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวถึงเรื่องแนวความคิดในการพัฒนาเมืองรอบสนามบินสุวรรณภูมิว่าการสร้างเมืองล้อมสนามบินนั้นในต่างประเทศไม่นิยมทำ เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย ดังนั้นสนามบินจึงต้องอยู่ห่างจากตัวเมืองเล็กน้อย แต่ที่สำคัญคือต้องมีการเชื่อมต่อระบบสื่อมวลชน ตลอดทั้งถนน เพื่อที่จะอำนายความสะดวกต่อการเดินทางจากเมืองไปยังสนามบินนั้นๆ
“สิ่งที่เป็นภาระกิจสำคัญของรัฐบาล น่าจะเป็นเรื่องการดูแลโครงสร้างพื้นฐานเรื่องต่างๆ ที่จะอำนวยความสะดวก และรูปแบบของการจัดตั้งองค์กรที่จะเข้ามาบริหารเมืองใหม่ ยังไม่มีความชัดเจน ดังที่รัฐบาลยอมรับว่ายังไม่ตกผลึกทางความคิด และหากมีแนวทางที่จะตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใหม่ขึ้นมา ก็ต้องพิจารณาถึงเรื่องการส่งผลกระทบต่อโครงสร้างของท้องถิ่นอื่นมากน้อยแค่ไหน และหากจะให้องค์กรปกครองท้องถิ่นเป็นผู้บริหารจัดการนั้น ผมคิดว่าคงไม่สามารถทำได้ เพราะเป็นการนำองค์กรที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ มาบริหาร ถือเป็นการขัดกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญว่าด้วยเรื่องกระจายอำนาจ”นายอภิสิทธิ์ กล่าว
การปรับหนี้สินภาคประชาชน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวถึงเรื่องปรับหนี้สินภาคประชาชน ว่า เรื่องหนี้สินภาคประชาชน เป็นเรื่องที่พรรคประชาธิปัตย์แสคงความเป็นห่วงใยมา 2 -3 ปีแล้ว เพราะนโยบายของรัฐบาลส่วนใหญ่จะเป็นการกระตุ้น ให้ประชาชนใช้จ่ายมากขึ้น จนส่งผลให้ประชาชนที่มีรายได้ไม่พียงพอต้องมีการกู้ยืม สุดท้ายก็เกิดหนี้สินขึ้น
“รายได้ที่ได้มาก็มีทั้งส่วนการไปลงทุน และส่วนที่นำไปใช้ในการอุปโภค บริโภค จนวันนี้หนี้สินภาคครัวเรือนพุ่งสูงอย่างรวดเร็ว”นายอภิสิทธิ์ กล่าวและว่า ดังนั้นมาตรการในการแก้ไขปัญหาที่รัฐบาลประกาศออกมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหนี้สินที่เป็นหนี้สินทางด้านการเกษตร บัตรเครดิต ที่อยู่อาศัย ไม่รวมอยู่ในมาตรการดังกล่าว จึงเท่ากับว่าเป็นการจำกัดอยู่ในเฉพาะหนี้สินที่มีการฟ้องร้องคดีไว้ ก่อนวันที่ 30 มิถุนายน 2548 โดยแนวปฏิบัติคือให้สถานบันการเงินปรับหนี้ลงเหลือครึ่งหนึ่ง และไม่คิดดอกเบี้ย แต่มีเงื่อนไขว่าประชาชนจะต้องชำระภายในมิถุนายน 2549 และหากลูกหนี้มีหลักประกันสามารถกู้จากธนาคารออมสินเพื่อมาชำระหนี้ตรงนี้ได้ สิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์อยากเตือนรัฐบาลคือให้มีความระมัดระวังในการออกมาตรการเช่นนี้ เพราะอาจจะกระทบกระเทือนถึงวินัยการใช้จ่ายในอนาคต และอาจส่งกระทบต่อวินัยการทำงานของสถาบันการเงินด้วย ดังนั้นจึงมีข้อสังเกตว่าผู้ที่ได้ประโยชน์จากมาตรการนี้จะเป็นบุคคลกลุ่มใด
การแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิต
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวถึงเรื่องการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิต(กฟผ.) ว่า การแปรรูปที่รัฐบาลดำเนินการอยู่คือการเอาบริษัทการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเข้าในตลาดหลักทรัพย์ แต่หลักการสำคัญในทางเศรษฐกิจคือกิจการการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง เป็นกิจการบริการพื้นฐานของประชาชน และเป็นต้นทุนสำคัญของอุตสหกรรมต่างๆด้วย เพราะฉะนั้นไม่ว่าเอกชน หรือภาครัฐ ประกอบธุรกิจนี้ จำเป็นต้องมีการกำกับดูแล มีกติกาที่ดี เพราะเป็นหลักประกันว่าผลประโยชน์ส่วนร่วมจะได้รับการดูแล
“ผมเสนอมาตลอดว่ารัฐบาลควรจะออกกฎหมาย ว่าด้วยการกำกับดูแลพลังงานเสียก่อน ที่จะมีการคิดจะไปแปรรูปในกิจการใดก็ตาม จนถึงทุกวันนี้กฎหมายในด้านการกำกับพลังงานไฟฟ้า หรือกิจกรรมสาธารณูปโภคอื่นๆ รัฐบาลก็ยังไม่ได้ดำเนินการ เพราะฉะนั้นความเหมาะสมในการเดินหน้าแปรรูปไม่มีเพราะขาดเงื่อนไขตรงนี้” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวต่อว่า การที่ใช้วิธีการแปรรูป โดยเอาบางส่วนที่เป็นทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจ เป็นสมบัติของชาติ มายกให้บริษัทเอกชนรายหนึ่งรายใดเป็นเรื่องที่อันตรายมาก เพราะจะส่งผลกระทบต่อความเป็นธรรมในการแข่งขันในวันข้างหน้า กล่าวคือจะทำให้บริษัทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเอกชน เมื่อมีการกระจายหุ้นอาศัยการผูกขาด และอาจจะมีการเอารัด เอาเปรียบทั้งคู่แข่งขัน และที่สำคัญที่สุดคือเอาเปรียบประชาชน
“การที่เราไม่มีกฎหมายกำกับดูแล เมื่อมีการนำเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว การบริหารต่างๆจะถูกคำนึงถึงเรื่องกำไรเป็นหลัก เพราะต้องไปตอบแทนผู้ซื้อ หรือผู้ถือหุ้น เพราะฉะนั้นปัญหาที่ตามมาคือการเพิ่มขึ้นของค่าไฟฟ้า ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ รวมทั้งการใช้อำนาจรัฐเข้าไปก้าวก่ายการลงทุน การเข้าไปใช้ที่ดินต่างๆ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าห่วง ผมและพรรคฝ่ายค้านอยากเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวน หรือชะลอเรื่องนี้จนกว่าจะได้มีการดำเนินการตามแนวทางที่มีการองค์กรกำกับการแข่งขัน ”ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าว
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอีกว่า ในที่ประชุมพรรคประชาธิปัตย์ วานนี้ (25ต.ค.48) มีมติว่าพรรคจะยื่นหนังสือถึงกลต.และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อขอให้มีการระงับการนำการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เข้าตลาดหุ้น จนกว่าจะมีแนวทางพัฒนากิจการพลังที่ชัดเจน และมีหลักประกันว่าผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติจะได้รับการคุ้มครอง
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 26 ต.ค. 2548--จบ--
การสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีลมจากสถานีตากสิน- ถ.ตากสิน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีการสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีลม(จากสถานีตากสิน- ถ.ตากสิน) ว่า หลังจากที่ได้นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้นำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมสภา กทม. ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ผลปรากฎว่ายังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ เนื่องจากทางสมาชิกสภากรุงเทพมหานครของพรรคไทยรักไทยได้ตัดสินใจเดินออกจากห้องประชุม ส่งผลให้องค์ประชุมไม่ครบ จึงจำเป็นที่จะต้องเลื่อนเรื่องดังกล่าวมาพิจารณาอีกครั้งในสัปดาห์นี้
ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวว่า สำหรับการสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายนี้ เป็นการขยายเส้นทางเพิ่มเติมจากเดิมที่มีอยู่แล้วกว่า 20 กิโลเมตร โดยจะมีระยะทางเพิ่มขึ้นอีก 2.2 กิโลเมตร และอาจจะต้องมีส่วนต่อขยายอื่น ๆ ต่อไปด้วยในอนาคต เพื่อให้เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาว อันจะเป็นการช่วยลดปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ต้องสัญจรไปมาในพื้นที่ดังกล่าว สิ่งที่กทม.กำลังจะทำต่อไปก็คือขออนุมัติวงเงินที่จะไปวางรางสร้างสถานีและจัดทำระบบสัญญาณต่าง ๆให้เรียบร้อย โดยในวันนี้นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จะนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาในการประชุมสภา กทม. อีกครั้งหนึ่ง
แนวความคิดการสร้างเมืองใหม่ใกล้สนามบิน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวถึงเรื่องแนวความคิดในการพัฒนาเมืองรอบสนามบินสุวรรณภูมิว่าการสร้างเมืองล้อมสนามบินนั้นในต่างประเทศไม่นิยมทำ เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย ดังนั้นสนามบินจึงต้องอยู่ห่างจากตัวเมืองเล็กน้อย แต่ที่สำคัญคือต้องมีการเชื่อมต่อระบบสื่อมวลชน ตลอดทั้งถนน เพื่อที่จะอำนายความสะดวกต่อการเดินทางจากเมืองไปยังสนามบินนั้นๆ
“สิ่งที่เป็นภาระกิจสำคัญของรัฐบาล น่าจะเป็นเรื่องการดูแลโครงสร้างพื้นฐานเรื่องต่างๆ ที่จะอำนวยความสะดวก และรูปแบบของการจัดตั้งองค์กรที่จะเข้ามาบริหารเมืองใหม่ ยังไม่มีความชัดเจน ดังที่รัฐบาลยอมรับว่ายังไม่ตกผลึกทางความคิด และหากมีแนวทางที่จะตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใหม่ขึ้นมา ก็ต้องพิจารณาถึงเรื่องการส่งผลกระทบต่อโครงสร้างของท้องถิ่นอื่นมากน้อยแค่ไหน และหากจะให้องค์กรปกครองท้องถิ่นเป็นผู้บริหารจัดการนั้น ผมคิดว่าคงไม่สามารถทำได้ เพราะเป็นการนำองค์กรที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ มาบริหาร ถือเป็นการขัดกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญว่าด้วยเรื่องกระจายอำนาจ”นายอภิสิทธิ์ กล่าว
การปรับหนี้สินภาคประชาชน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวถึงเรื่องปรับหนี้สินภาคประชาชน ว่า เรื่องหนี้สินภาคประชาชน เป็นเรื่องที่พรรคประชาธิปัตย์แสคงความเป็นห่วงใยมา 2 -3 ปีแล้ว เพราะนโยบายของรัฐบาลส่วนใหญ่จะเป็นการกระตุ้น ให้ประชาชนใช้จ่ายมากขึ้น จนส่งผลให้ประชาชนที่มีรายได้ไม่พียงพอต้องมีการกู้ยืม สุดท้ายก็เกิดหนี้สินขึ้น
“รายได้ที่ได้มาก็มีทั้งส่วนการไปลงทุน และส่วนที่นำไปใช้ในการอุปโภค บริโภค จนวันนี้หนี้สินภาคครัวเรือนพุ่งสูงอย่างรวดเร็ว”นายอภิสิทธิ์ กล่าวและว่า ดังนั้นมาตรการในการแก้ไขปัญหาที่รัฐบาลประกาศออกมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหนี้สินที่เป็นหนี้สินทางด้านการเกษตร บัตรเครดิต ที่อยู่อาศัย ไม่รวมอยู่ในมาตรการดังกล่าว จึงเท่ากับว่าเป็นการจำกัดอยู่ในเฉพาะหนี้สินที่มีการฟ้องร้องคดีไว้ ก่อนวันที่ 30 มิถุนายน 2548 โดยแนวปฏิบัติคือให้สถานบันการเงินปรับหนี้ลงเหลือครึ่งหนึ่ง และไม่คิดดอกเบี้ย แต่มีเงื่อนไขว่าประชาชนจะต้องชำระภายในมิถุนายน 2549 และหากลูกหนี้มีหลักประกันสามารถกู้จากธนาคารออมสินเพื่อมาชำระหนี้ตรงนี้ได้ สิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์อยากเตือนรัฐบาลคือให้มีความระมัดระวังในการออกมาตรการเช่นนี้ เพราะอาจจะกระทบกระเทือนถึงวินัยการใช้จ่ายในอนาคต และอาจส่งกระทบต่อวินัยการทำงานของสถาบันการเงินด้วย ดังนั้นจึงมีข้อสังเกตว่าผู้ที่ได้ประโยชน์จากมาตรการนี้จะเป็นบุคคลกลุ่มใด
การแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิต
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวถึงเรื่องการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิต(กฟผ.) ว่า การแปรรูปที่รัฐบาลดำเนินการอยู่คือการเอาบริษัทการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเข้าในตลาดหลักทรัพย์ แต่หลักการสำคัญในทางเศรษฐกิจคือกิจการการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง เป็นกิจการบริการพื้นฐานของประชาชน และเป็นต้นทุนสำคัญของอุตสหกรรมต่างๆด้วย เพราะฉะนั้นไม่ว่าเอกชน หรือภาครัฐ ประกอบธุรกิจนี้ จำเป็นต้องมีการกำกับดูแล มีกติกาที่ดี เพราะเป็นหลักประกันว่าผลประโยชน์ส่วนร่วมจะได้รับการดูแล
“ผมเสนอมาตลอดว่ารัฐบาลควรจะออกกฎหมาย ว่าด้วยการกำกับดูแลพลังงานเสียก่อน ที่จะมีการคิดจะไปแปรรูปในกิจการใดก็ตาม จนถึงทุกวันนี้กฎหมายในด้านการกำกับพลังงานไฟฟ้า หรือกิจกรรมสาธารณูปโภคอื่นๆ รัฐบาลก็ยังไม่ได้ดำเนินการ เพราะฉะนั้นความเหมาะสมในการเดินหน้าแปรรูปไม่มีเพราะขาดเงื่อนไขตรงนี้” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวต่อว่า การที่ใช้วิธีการแปรรูป โดยเอาบางส่วนที่เป็นทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจ เป็นสมบัติของชาติ มายกให้บริษัทเอกชนรายหนึ่งรายใดเป็นเรื่องที่อันตรายมาก เพราะจะส่งผลกระทบต่อความเป็นธรรมในการแข่งขันในวันข้างหน้า กล่าวคือจะทำให้บริษัทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเอกชน เมื่อมีการกระจายหุ้นอาศัยการผูกขาด และอาจจะมีการเอารัด เอาเปรียบทั้งคู่แข่งขัน และที่สำคัญที่สุดคือเอาเปรียบประชาชน
“การที่เราไม่มีกฎหมายกำกับดูแล เมื่อมีการนำเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว การบริหารต่างๆจะถูกคำนึงถึงเรื่องกำไรเป็นหลัก เพราะต้องไปตอบแทนผู้ซื้อ หรือผู้ถือหุ้น เพราะฉะนั้นปัญหาที่ตามมาคือการเพิ่มขึ้นของค่าไฟฟ้า ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ รวมทั้งการใช้อำนาจรัฐเข้าไปก้าวก่ายการลงทุน การเข้าไปใช้ที่ดินต่างๆ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าห่วง ผมและพรรคฝ่ายค้านอยากเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวน หรือชะลอเรื่องนี้จนกว่าจะได้มีการดำเนินการตามแนวทางที่มีการองค์กรกำกับการแข่งขัน ”ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าว
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอีกว่า ในที่ประชุมพรรคประชาธิปัตย์ วานนี้ (25ต.ค.48) มีมติว่าพรรคจะยื่นหนังสือถึงกลต.และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อขอให้มีการระงับการนำการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เข้าตลาดหุ้น จนกว่าจะมีแนวทางพัฒนากิจการพลังที่ชัดเจน และมีหลักประกันว่าผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติจะได้รับการคุ้มครอง
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 26 ต.ค. 2548--จบ--