แท็ก
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
กระทรวงการต่างประเทศ
สยาม โอเชี่ยน เวิร์ล
องค์การเภสัชกรรม
กฤษณา ไกรสินธุ์
เอกอัครราชทูต
กรุงเทพ--13 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ โดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดาการ์ ร่วมกับ ดร. กฤษณา ไกรสินธุ์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญ อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา องค์การเภสัชกรรม ได้ร่วมกันดำเนินโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตยารักษาโรคมาลาเรียในประเทศมาลี ทั้งนี้ สอท.ฯ และ ดร.กฤษณาฯ ได้เคยร่วมกันดำเนินโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการผลิตยารักษาโรคมาลาเรียและโรคเอดส์ในประเทศแอฟริกาตะวันตก เมื่อปี 2549
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตยารักษาโรคมาลาเรียในมาลีมีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกสอนให้บุคคลากรของโรงงาน Usine Malienne de Produits Pharmaceutiques (UMPP) มีความชำนาญในการผลิตยาต้านโรคมาลาเรียในขั้นอุตสาหกรรม รวมทั้งพัฒนาขีดความสามารถในการวิเคราะห์และควบคุมคุณภาพยาที่ผลิตก่อนนำออกจำหน่ายต่อไป
โรงงาน UMPP เป็นโรงงานผลิตยาของรัฐบาลมาลี (เป็นโรงงานแห่งเดียวในแอฟริกาตะวันตกที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ) ก่อตั้งมาเป็นเวลา 46 ปี แม้ว่าจะมีศักยภาพและประสบการณ์ในอุตสาหกรรมด้านเภสัชกรรม และบุคลากรที่มีประสิทธิภาพสูง แต่มีความต้องการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการผลิตยาประเภทต่าง ๆ รวมทั้งต้องการความช่วยเหลือในการปรับปรุงสมรรถภาพของโรงงาน และมีความสนใจอย่างยิ่งที่จะร่วมลงทุนกับบริษัทยาต่างชาติ ทั้งนี้ รัฐบาลมาลีมีนโยบายสนับสนุนเปิดโอกาสให้บริษัทยาต่างชาติสามารถเข้ามาร่วมลงทุนกับโรงงานของมาลี
โครงการนี้ประสบความสำเร็จอย่างสูง ขณะนี้ โรงงานยา UMPP สามารถผลิตยาต้านโรคมาลาเรียได้ 4 ชนิด ได้แก่ ยาเม็ด artesunate 100 mg. ยาเม็ด artesunate 50 mg. ยาเม็ด amodiaquine 153 mg. และยาเม็ดผสมระหว่างตัวยา artesunate และ amodiaquine ในเม็ดเดียวกัน (fixed — dose combination of AS/AQ) ผลสำเร็จของการผลิตยาทั้งสี่ชนิดนี้บรรลุเป้าหมายเกินกว่าที่ตั้งไว้ ที่จะผลิตยาเม็ด artesunate 100 mg. เพียงชนิดเดียว ฝ่ายมาลีแสดงความขอบคุณรัฐบาลและเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญของไทย ที่ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยี ความรู้ และประสบการณ์ ที่มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อการพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตของชาวมาลี ซึ่งส่วนใหญ่ป่วยด้วยโรคมาลาเรีย
การดำเนินการด้านมนุษยธรรมของสถานเอกอัครราชทูตฯ ภายใต้กรอบความร่วมมือใต้ - ใต้ (South — South Cooperation) หรือความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา ส่งผลดีอย่างยิ่งต่อภาพลักษณ์และความก้าวหน้าของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการส่งเสริมชื่อเสียงด้านเภสัชกรรมของไทยให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในภูมิภาค แอฟริกาตะวันตก และมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาความร่วมมือในด้านต่าง ๆ อาทิ การศึกษาและวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการค้าและการลงทุน โดยการดำเนินโครงการในครั้งนี้จะเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนไทยที่มีศักยภาพด้านเภสัชกรรมสามารถศึกษาความเป็นไปได้ในการร่วมลงทุนผลิตยากับประเทศมาลีเพื่อป้อนตลาดในประเทศมาลี และประเทศอื่น ๆ ในแอฟริกาตะวันตกต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
กระทรวงการต่างประเทศ โดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดาการ์ ร่วมกับ ดร. กฤษณา ไกรสินธุ์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญ อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา องค์การเภสัชกรรม ได้ร่วมกันดำเนินโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตยารักษาโรคมาลาเรียในประเทศมาลี ทั้งนี้ สอท.ฯ และ ดร.กฤษณาฯ ได้เคยร่วมกันดำเนินโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการผลิตยารักษาโรคมาลาเรียและโรคเอดส์ในประเทศแอฟริกาตะวันตก เมื่อปี 2549
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตยารักษาโรคมาลาเรียในมาลีมีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกสอนให้บุคคลากรของโรงงาน Usine Malienne de Produits Pharmaceutiques (UMPP) มีความชำนาญในการผลิตยาต้านโรคมาลาเรียในขั้นอุตสาหกรรม รวมทั้งพัฒนาขีดความสามารถในการวิเคราะห์และควบคุมคุณภาพยาที่ผลิตก่อนนำออกจำหน่ายต่อไป
โรงงาน UMPP เป็นโรงงานผลิตยาของรัฐบาลมาลี (เป็นโรงงานแห่งเดียวในแอฟริกาตะวันตกที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ) ก่อตั้งมาเป็นเวลา 46 ปี แม้ว่าจะมีศักยภาพและประสบการณ์ในอุตสาหกรรมด้านเภสัชกรรม และบุคลากรที่มีประสิทธิภาพสูง แต่มีความต้องการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการผลิตยาประเภทต่าง ๆ รวมทั้งต้องการความช่วยเหลือในการปรับปรุงสมรรถภาพของโรงงาน และมีความสนใจอย่างยิ่งที่จะร่วมลงทุนกับบริษัทยาต่างชาติ ทั้งนี้ รัฐบาลมาลีมีนโยบายสนับสนุนเปิดโอกาสให้บริษัทยาต่างชาติสามารถเข้ามาร่วมลงทุนกับโรงงานของมาลี
โครงการนี้ประสบความสำเร็จอย่างสูง ขณะนี้ โรงงานยา UMPP สามารถผลิตยาต้านโรคมาลาเรียได้ 4 ชนิด ได้แก่ ยาเม็ด artesunate 100 mg. ยาเม็ด artesunate 50 mg. ยาเม็ด amodiaquine 153 mg. และยาเม็ดผสมระหว่างตัวยา artesunate และ amodiaquine ในเม็ดเดียวกัน (fixed — dose combination of AS/AQ) ผลสำเร็จของการผลิตยาทั้งสี่ชนิดนี้บรรลุเป้าหมายเกินกว่าที่ตั้งไว้ ที่จะผลิตยาเม็ด artesunate 100 mg. เพียงชนิดเดียว ฝ่ายมาลีแสดงความขอบคุณรัฐบาลและเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญของไทย ที่ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยี ความรู้ และประสบการณ์ ที่มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อการพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตของชาวมาลี ซึ่งส่วนใหญ่ป่วยด้วยโรคมาลาเรีย
การดำเนินการด้านมนุษยธรรมของสถานเอกอัครราชทูตฯ ภายใต้กรอบความร่วมมือใต้ - ใต้ (South — South Cooperation) หรือความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา ส่งผลดีอย่างยิ่งต่อภาพลักษณ์และความก้าวหน้าของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการส่งเสริมชื่อเสียงด้านเภสัชกรรมของไทยให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในภูมิภาค แอฟริกาตะวันตก และมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาความร่วมมือในด้านต่าง ๆ อาทิ การศึกษาและวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการค้าและการลงทุน โดยการดำเนินโครงการในครั้งนี้จะเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนไทยที่มีศักยภาพด้านเภสัชกรรมสามารถศึกษาความเป็นไปได้ในการร่วมลงทุนผลิตยากับประเทศมาลีเพื่อป้อนตลาดในประเทศมาลี และประเทศอื่น ๆ ในแอฟริกาตะวันตกต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-