แท็ก
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
อรรชกา สีบุญเรือง
วันวิสาขบูชา
สหการประมูล
กรีนบีนส์
สศอ.เผยดัชนีอุตฯ เคลื่อนไหวบวก อุตฯส่งออกขยายตัวไปได้ดีและการบริโภคในประเทศเริ่มฟื้น ชี้การผลิตคอมฯ-ปิโตรเลียม-อุปกรณ์ก่อ
สร้าง เป็นปัจจัยหลักหนุนดัชนีอุตฯพ.ย. เพิ่มร้อยละ 4.8 จากเดือนเดียวกันของปี 2548
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยถึงทิศทางการขยายตัวของภาค
อุตสาหกรรม จากการจัดทำรายงานดัชนีอุตสาหกรรมรายเดือนว่า เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ดัชนีอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับเดือน
เดียวกันของปีก่อน โดยมีอุตสาหกรรมหลักหนุนการขยายตัวที่สำคัญ คือ การผลิตคอมพิวเตอร์ การผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และอุปกรณ์ก่อ
สร้าง
ดร.อรรชกา กล่าวว่า การผลิตคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยผลิตภัณฑ์
หลักในกลุ่ม คือ การผลิต Hard Disk ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.6 และจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.7 เนื่องจากความต้องการของตลาดยังมีสูง
อีกทั้งผู้ผลิตทุกรายได้มีการใช้กลยุทธ์ต่างๆ เพื่อช่วงชิงฐานลูกค้าที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลต่อยอดการผลิตและจำหน่ายดังกล่าว โดยเฉพาะ
Hard Disk ยังเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก เนื่องจากสามารถเก็บข้อมูลได้มาก และประยุกต์ใช้ได้กับอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีได้หลากหลาย ซึ่ง
ถือเป็นมิติใหม่แห่งการแข่งขันของโลกอนาคต โดยตลอดปี 2549 อุตสาหกรรมการผลิตคอมพิวเตอร์ขยายตัวร้อยละ 24 สามารถนำรายได้เข้าประเทศ
สูงถึง 420,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.2 ของการส่งออกรวมทั้งหมด
การกลั่นปิโตรเลียม เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.69 และการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4
อย่างไรก็ตามทั้งปี 2549 การใช้รวมลดลงร้อยละ 6 จากปีก่อน เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปริมาณการใช้น้ำมันในประเทศลด
ลง อย่างไรก็ตามในปี 2550 คาดว่าราคาน้ำมันจะทรงตัวอย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจส่งผลต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรม
ต่อไป
การผลิตอุปกรณ์ก่อสร้าง เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีภาวการผลิตและจำหน่ายสูงขึ้น เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาประเทศไทย
ประสบปัญหาน้ำท่วมใหญ่ เกือบทั่วทุกพื้นที่ ทำให้มียอดคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างมาก เพื่อใช้ในการต่อเติม ซ่อมแซมต่างๆ ภายหลังน้ำลด
ดร.อรรชกา ยังกล่าวอีกว่า ในเดือนพ.ย. มีอุตสาหกรรมที่มีการผลิตลดลง เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนที่สำคัญได้แก่ การผลิต
ยานยนต์ และการผลิตโทรทัศน์
โดย การผลิตยานยนต์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีการผลิตและจำหน่ายชะลอลงเล็กน้อย โดยเฉพาะในประเทศมียอดการ
จำหน่ายลดลง เนื่องจากภาวะน้ำท่วมเกือบทั่วทุกพื้นที่ ส่งผลต่อภาวะตลาดในประเทศ อย่างไรก็ตามยังสามารถส่งออกได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี
2549 การผลิตรถยนต์ ขยายตัวร้อยละ 7.8 การจำหน่ายขยายตัว ร้อยละ 6.7 โดยตลาดในประเทศชะลอตัวร้อยละ 9.9 ในขณะที่การส่งออกขยาย
ตัวร้อยละ 19 สัดส่วนของการส่งออกต่อการจำหน่ายในประเทศเป็น 45 : 55
การผลิตโทรทัศน์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลงร้อยละ 7.8 การจำหน่ายลดลงร้อยละ 7.04 เนื่องจากการส่ง
ออกลดลง และอีกปัจจัยที่ทำให้มีการผลิตลดลง เนื่องจากตลาดเครื่องรับโทรทัศน์กำลังก้าวเข้าสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลง โดยเทคโนโลยี LCD จะเข้า
มาแทนที่โทรทัศน์ที่ใช้หลอดภาพ จึงทำให้ภาวการผลิตและจำหน่ายลดลง อย่างไรก็ตามผู้ผลิตส่วนใหญ่ได้เตรียมแผนรองรับไว้ในบางส่วนแล้ว
สำหรับรายละเอียดของตัวเลขดัชนีอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน 2549 จากการรวบรวมทั้งสิ้น 53 กลุ่มอุตสาหกรรม 215 ผลิตภัณฑ์
ครอบคลุมผู้ประกอบการ 2,121 โรงงาน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2548 ดัชนีผลผลิต(มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 162.03 เพิ่มขึ้นร้อยละ
4.80 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 167.36 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.10 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 168.52 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.56 ดัชนีสินค้า
สำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 176.28 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.81 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 138.28 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.45 ดัชนีผลิต
ภาพแรงงานแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 135.03 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.38 ขณะที่ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 116.01 ลดลงเล็ก
น้อยร้อยละ 0.14 โดยมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 66.94
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
สร้าง เป็นปัจจัยหลักหนุนดัชนีอุตฯพ.ย. เพิ่มร้อยละ 4.8 จากเดือนเดียวกันของปี 2548
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยถึงทิศทางการขยายตัวของภาค
อุตสาหกรรม จากการจัดทำรายงานดัชนีอุตสาหกรรมรายเดือนว่า เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ดัชนีอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับเดือน
เดียวกันของปีก่อน โดยมีอุตสาหกรรมหลักหนุนการขยายตัวที่สำคัญ คือ การผลิตคอมพิวเตอร์ การผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และอุปกรณ์ก่อ
สร้าง
ดร.อรรชกา กล่าวว่า การผลิตคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยผลิตภัณฑ์
หลักในกลุ่ม คือ การผลิต Hard Disk ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.6 และจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.7 เนื่องจากความต้องการของตลาดยังมีสูง
อีกทั้งผู้ผลิตทุกรายได้มีการใช้กลยุทธ์ต่างๆ เพื่อช่วงชิงฐานลูกค้าที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลต่อยอดการผลิตและจำหน่ายดังกล่าว โดยเฉพาะ
Hard Disk ยังเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก เนื่องจากสามารถเก็บข้อมูลได้มาก และประยุกต์ใช้ได้กับอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีได้หลากหลาย ซึ่ง
ถือเป็นมิติใหม่แห่งการแข่งขันของโลกอนาคต โดยตลอดปี 2549 อุตสาหกรรมการผลิตคอมพิวเตอร์ขยายตัวร้อยละ 24 สามารถนำรายได้เข้าประเทศ
สูงถึง 420,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.2 ของการส่งออกรวมทั้งหมด
การกลั่นปิโตรเลียม เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.69 และการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4
อย่างไรก็ตามทั้งปี 2549 การใช้รวมลดลงร้อยละ 6 จากปีก่อน เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปริมาณการใช้น้ำมันในประเทศลด
ลง อย่างไรก็ตามในปี 2550 คาดว่าราคาน้ำมันจะทรงตัวอย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจส่งผลต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรม
ต่อไป
การผลิตอุปกรณ์ก่อสร้าง เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีภาวการผลิตและจำหน่ายสูงขึ้น เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาประเทศไทย
ประสบปัญหาน้ำท่วมใหญ่ เกือบทั่วทุกพื้นที่ ทำให้มียอดคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างมาก เพื่อใช้ในการต่อเติม ซ่อมแซมต่างๆ ภายหลังน้ำลด
ดร.อรรชกา ยังกล่าวอีกว่า ในเดือนพ.ย. มีอุตสาหกรรมที่มีการผลิตลดลง เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนที่สำคัญได้แก่ การผลิต
ยานยนต์ และการผลิตโทรทัศน์
โดย การผลิตยานยนต์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีการผลิตและจำหน่ายชะลอลงเล็กน้อย โดยเฉพาะในประเทศมียอดการ
จำหน่ายลดลง เนื่องจากภาวะน้ำท่วมเกือบทั่วทุกพื้นที่ ส่งผลต่อภาวะตลาดในประเทศ อย่างไรก็ตามยังสามารถส่งออกได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี
2549 การผลิตรถยนต์ ขยายตัวร้อยละ 7.8 การจำหน่ายขยายตัว ร้อยละ 6.7 โดยตลาดในประเทศชะลอตัวร้อยละ 9.9 ในขณะที่การส่งออกขยาย
ตัวร้อยละ 19 สัดส่วนของการส่งออกต่อการจำหน่ายในประเทศเป็น 45 : 55
การผลิตโทรทัศน์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลงร้อยละ 7.8 การจำหน่ายลดลงร้อยละ 7.04 เนื่องจากการส่ง
ออกลดลง และอีกปัจจัยที่ทำให้มีการผลิตลดลง เนื่องจากตลาดเครื่องรับโทรทัศน์กำลังก้าวเข้าสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลง โดยเทคโนโลยี LCD จะเข้า
มาแทนที่โทรทัศน์ที่ใช้หลอดภาพ จึงทำให้ภาวการผลิตและจำหน่ายลดลง อย่างไรก็ตามผู้ผลิตส่วนใหญ่ได้เตรียมแผนรองรับไว้ในบางส่วนแล้ว
สำหรับรายละเอียดของตัวเลขดัชนีอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน 2549 จากการรวบรวมทั้งสิ้น 53 กลุ่มอุตสาหกรรม 215 ผลิตภัณฑ์
ครอบคลุมผู้ประกอบการ 2,121 โรงงาน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2548 ดัชนีผลผลิต(มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 162.03 เพิ่มขึ้นร้อยละ
4.80 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 167.36 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.10 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 168.52 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.56 ดัชนีสินค้า
สำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 176.28 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.81 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 138.28 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.45 ดัชนีผลิต
ภาพแรงงานแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 135.03 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.38 ขณะที่ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 116.01 ลดลงเล็ก
น้อยร้อยละ 0.14 โดยมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 66.94
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-