สหภาพยุโรป (European Union: EU) ให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preferences: GSP) มาตั้งแต่ปี 2514 ด้วยการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุดและประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทย ล่าสุด EU อยู่ระหว่างการปรับระบบการให้สิทธิ GSP สำหรับโครงการที่ 4 รอบปี 2549-2558 ซึ่งเป็นที่คาดว่าการปรับระบบในรอบใหม่นี้จะทำให้สินค้าหลายรายการของไทยได้รับคืนสิทธิ โดยเฉพาะสินค้าจำพวกกุ้งคาดว่าจะได้รับผลดีค่อนข้างมากเนื่องจากเป็นหนึ่งในกลุ่มสินค้าประมงที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการถูกตัดสิทธิตั้งแต่ปี 2542 เพราะมีการพึ่งพาการใช้สิทธิ GSP ในสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับสินค้ากลุ่มอื่นๆ
สาระสำคัญของการเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การให้สิทธิ GSP โครงการที่ 4
เกณฑ์การจัดแบ่งกลุ่มสินค้าที่ให้สิทธิ GSP เปลี่ยนจากแบบรายกลุ่ม (Sector) เป็นรายหมวด (Section) ตามระบบพิกัดศุลกากร เช่น กลุ่มประมง คือ สินค้าประมงสดแช่เย็นแช่แข็ง แปรรูป และบรรจุกระป๋อง จะแยกเป็นหมวดพิกัดศุลกากร 03 แบบแช่เย็นแช่แข็ง และหมวดพิกัดศุลกากร 16 แบบแปรรูปและบรรจุกระป๋อง
เกณฑ์การพิจารณาตัดสิทธิ GSP เปลี่ยนจากเดิมที่ใช้ผลการคำนวณจากดัชนีการพัฒนาประเทศ (Development Index) หารด้วยดัชนีความชำนาญเฉพาะด้าน (Specialization Index) มาใช้ส่วนแบ่งตลาดเป็นเกณฑ์พิจารณาแทน กล่าวคือ หากสินค้ารายการใดที่ EU นำเข้าจากประเทศที่ได้รับสิทธิ GSP มีมูลค่าสูงกว่าร้อยละ 15 ของมูลค่านำเข้าสินค้ากลุ่มนั้นทั้งหมดของ EU ภายใต้สิทธิ GSP เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน สินค้ารายการนั้นของประเทศนั้นจะถูกตัดสิทธิทันที
ประเภทการให้สิทธิ GSP ปรับลดลงจากเดิม 5 ประเภท เหลือ 3 ประเภท โดยรวมเงื่อนไขด้านการคุ้มครองสิทธิแรงงานและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการปราบปรามยาเสพติดไว้ภายใต้โครงการ GSP Plus ดังนี้
- การให้สิทธิ GSP เป็นการทั่วไป (General Arrangement) EU จะลดอัตราภาษีนำเข้าลงเหลือร้อยละ 0 สำหรับสินค้าทั่วไป และลดลงส่วนหนึ่งจากอัตราปกติ (Most Favored Nation: MFN) สำหรับสินค้าอ่อนไหว
- การให้สิทธิ GSP ภายใต้โครงการ “Everything but Arms” EU จะลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าทุกชนิดยกเว้นอาวุธยุทโธปกรณ์เหลือร้อยละ 0 ให้แก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด 50 ประเทศ
- การให้สิทธิ GSP ภายใต้โครงการ “GSP Plus” EU จะลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากเดิมจำนวน 6,900 รายการ เป็น 7,200 รายการ เหลือร้อยละ 0 ให้แก่ประเทศที่มีการพัฒนาแบบยั่งยืนและมีรัฐธรรมาภิบาล รวมทั้งประเทศที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขด้านการคุ้มครองแรงงาน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการปราบปรามยาเสพติด
ผลกระทบต่อการส่งออกกุ้งของไทย
การปรับระบบการให้สิทธิ GSP รอบใหม่ของ EU คาดว่าจะทำให้สินค้าจำพวกกุ้งของไทยเป็นสินค้าหนึ่งที่จะได้รับคืนสิทธิซึ่งจะทำให้กุ้งไทยได้รับผลดี ดังนี้
ขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น เนื่องจากการได้รับคืนสิทธิ GSP จะทำให้อัตราภาษีนำเข้ากุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งและกุ้งแปรรูปที่ EU เรียกเก็บจากไทยลดลงเท่ากับหรือใกล้เคียงกับประเทศคู่แข่ง ส่งผลให้การส่งออกกุ้งของไทยมีแนวโน้มสดใสขึ้น ทั้งนี้ ปัจจุบันอัตราภาษีนำเข้ากุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งและกุ้งแปรรูปอยู่ในระดับร้อยละ 12 และร้อยละ 20 ตามลำดับ ขณะที่เรียกเก็บจากอินโดนีเซีย อินเดีย มาเลเซีย และเวียดนาม ในอัตราร้อยละ 4.2 และร้อยละ 7 ตามลำดับ
โอกาสในการขยายตลาดเพิ่มขึ้น เนื่องจากเดิมกุ้งไทยถูกตัดสิทธิ GSP เพราะ EU ให้เหตุผลว่ามูลค่าส่งออกกุ้งของไทยสูงเกินเพดานที่กำหนด ซึ่งในความเป็นจริงมูลค่าส่งออกสินค้าประมงส่วนใหญ่ของไทย คือ ปลาทูน่ากระป๋อง ดังนั้น การที่มีแนวโน้มปรับเปลี่ยนการจัดแบ่งกลุ่มสินค้าเป็นรายหมวดตามหลักพิกัดศุลกากร จะทำให้สินค้ากุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งและปลาทูน่ากระป๋องของไทยถูกพิจารณาแยกออกจากกัน ซึ่งจะส่งผลให้การส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งของไทยสามารถขยายตลาดได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากุ้งที่ส่งออกจากไทยจะได้รับผลดีจากการคืนสิทธิ GSP แต่การที่ EU ควบคุม
มิให้สินค้ามีส่วนแบ่งตลาดเกินร้อยละ 15 ของมูลค่านำเข้าสินค้านั้นทั้งหมดของ EU ผู้ผลิตและผู้ส่งออกกุ้งไทย จึงควรควบคุมการส่งออกกุ้งมิให้มีมูลค่าเกินกว่าที่ EU กำหนด นอกจากนี้ มีความเป็นไปได้ที่ EU จะประกาศเลื่อนการให้สิทธิ GSP โครงการที่ 4 ให้มีผลบังคับใช้เร็วขึ้นเป็นวันที่ 1 กรกฎาคม 2548
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีนาคม 2548--
-พห-
สาระสำคัญของการเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การให้สิทธิ GSP โครงการที่ 4
เกณฑ์การจัดแบ่งกลุ่มสินค้าที่ให้สิทธิ GSP เปลี่ยนจากแบบรายกลุ่ม (Sector) เป็นรายหมวด (Section) ตามระบบพิกัดศุลกากร เช่น กลุ่มประมง คือ สินค้าประมงสดแช่เย็นแช่แข็ง แปรรูป และบรรจุกระป๋อง จะแยกเป็นหมวดพิกัดศุลกากร 03 แบบแช่เย็นแช่แข็ง และหมวดพิกัดศุลกากร 16 แบบแปรรูปและบรรจุกระป๋อง
เกณฑ์การพิจารณาตัดสิทธิ GSP เปลี่ยนจากเดิมที่ใช้ผลการคำนวณจากดัชนีการพัฒนาประเทศ (Development Index) หารด้วยดัชนีความชำนาญเฉพาะด้าน (Specialization Index) มาใช้ส่วนแบ่งตลาดเป็นเกณฑ์พิจารณาแทน กล่าวคือ หากสินค้ารายการใดที่ EU นำเข้าจากประเทศที่ได้รับสิทธิ GSP มีมูลค่าสูงกว่าร้อยละ 15 ของมูลค่านำเข้าสินค้ากลุ่มนั้นทั้งหมดของ EU ภายใต้สิทธิ GSP เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน สินค้ารายการนั้นของประเทศนั้นจะถูกตัดสิทธิทันที
ประเภทการให้สิทธิ GSP ปรับลดลงจากเดิม 5 ประเภท เหลือ 3 ประเภท โดยรวมเงื่อนไขด้านการคุ้มครองสิทธิแรงงานและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการปราบปรามยาเสพติดไว้ภายใต้โครงการ GSP Plus ดังนี้
- การให้สิทธิ GSP เป็นการทั่วไป (General Arrangement) EU จะลดอัตราภาษีนำเข้าลงเหลือร้อยละ 0 สำหรับสินค้าทั่วไป และลดลงส่วนหนึ่งจากอัตราปกติ (Most Favored Nation: MFN) สำหรับสินค้าอ่อนไหว
- การให้สิทธิ GSP ภายใต้โครงการ “Everything but Arms” EU จะลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าทุกชนิดยกเว้นอาวุธยุทโธปกรณ์เหลือร้อยละ 0 ให้แก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด 50 ประเทศ
- การให้สิทธิ GSP ภายใต้โครงการ “GSP Plus” EU จะลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากเดิมจำนวน 6,900 รายการ เป็น 7,200 รายการ เหลือร้อยละ 0 ให้แก่ประเทศที่มีการพัฒนาแบบยั่งยืนและมีรัฐธรรมาภิบาล รวมทั้งประเทศที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขด้านการคุ้มครองแรงงาน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการปราบปรามยาเสพติด
ผลกระทบต่อการส่งออกกุ้งของไทย
การปรับระบบการให้สิทธิ GSP รอบใหม่ของ EU คาดว่าจะทำให้สินค้าจำพวกกุ้งของไทยเป็นสินค้าหนึ่งที่จะได้รับคืนสิทธิซึ่งจะทำให้กุ้งไทยได้รับผลดี ดังนี้
ขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น เนื่องจากการได้รับคืนสิทธิ GSP จะทำให้อัตราภาษีนำเข้ากุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งและกุ้งแปรรูปที่ EU เรียกเก็บจากไทยลดลงเท่ากับหรือใกล้เคียงกับประเทศคู่แข่ง ส่งผลให้การส่งออกกุ้งของไทยมีแนวโน้มสดใสขึ้น ทั้งนี้ ปัจจุบันอัตราภาษีนำเข้ากุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งและกุ้งแปรรูปอยู่ในระดับร้อยละ 12 และร้อยละ 20 ตามลำดับ ขณะที่เรียกเก็บจากอินโดนีเซีย อินเดีย มาเลเซีย และเวียดนาม ในอัตราร้อยละ 4.2 และร้อยละ 7 ตามลำดับ
โอกาสในการขยายตลาดเพิ่มขึ้น เนื่องจากเดิมกุ้งไทยถูกตัดสิทธิ GSP เพราะ EU ให้เหตุผลว่ามูลค่าส่งออกกุ้งของไทยสูงเกินเพดานที่กำหนด ซึ่งในความเป็นจริงมูลค่าส่งออกสินค้าประมงส่วนใหญ่ของไทย คือ ปลาทูน่ากระป๋อง ดังนั้น การที่มีแนวโน้มปรับเปลี่ยนการจัดแบ่งกลุ่มสินค้าเป็นรายหมวดตามหลักพิกัดศุลกากร จะทำให้สินค้ากุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งและปลาทูน่ากระป๋องของไทยถูกพิจารณาแยกออกจากกัน ซึ่งจะส่งผลให้การส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งของไทยสามารถขยายตลาดได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากุ้งที่ส่งออกจากไทยจะได้รับผลดีจากการคืนสิทธิ GSP แต่การที่ EU ควบคุม
มิให้สินค้ามีส่วนแบ่งตลาดเกินร้อยละ 15 ของมูลค่านำเข้าสินค้านั้นทั้งหมดของ EU ผู้ผลิตและผู้ส่งออกกุ้งไทย จึงควรควบคุมการส่งออกกุ้งมิให้มีมูลค่าเกินกว่าที่ EU กำหนด นอกจากนี้ มีความเป็นไปได้ที่ EU จะประกาศเลื่อนการให้สิทธิ GSP โครงการที่ 4 ให้มีผลบังคับใช้เร็วขึ้นเป็นวันที่ 1 กรกฎาคม 2548
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีนาคม 2548--
-พห-