วันนี้ (15 กค.50) นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรว่า เป็นร่างกฎหมายที่รัฐบาลชุดนี้พยายามที่จะผลักดันออกมาใช้บังคับ ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ได้ติดตามความเคลื่อนไหวผลักดันกฎหมายฉบับดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง และพบว่ากฎหมาย หรือร่างพรบ.ฉบับนี้เป็นร่างพรบ.ที่ครอบจักรวาล ให้อำนาจเจ้าหน้าที่มากจนอาจจะกล่าวได้ว่าเกินขอบเขต จนสามารถที่จะเข้าไปดำเนินการโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการยุติธรรม ที่สำคัญคือไม่มีการตรวจสอบถ่วงดุล ไม่มีการตรวจสอบโดยศาล นอกจากนี้ยังมีการจำกัดสิทธิ เสรีภาพของประชาชน
“มีกฎหมายหลายฉบับที่จำเป็นต้องออกมาจำกัดสิทธิของประชาชนบางอย่างเพื่อประโยชน์ส่วนรวม แต่เมื่อเรามาพิจารณากฎหมายพรบ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรฉบับนี้แล้ว เราเห็นว่าการจำกัดสิทธิ เสรีภาพของประชาชนนั้นเป็นการจำกัดสิทธิ เสรีภาพที่มากเกินไป และก็เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพี่น้องประชาชนที่ควรจะมีหน่วยงานหรือองค์กรใดมาถ่วงดุล” นายองอาจกล่าว
เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมแล้ว นายองอาจ กล่าวว่า รัฐบาลควรจะปรับปรุงแก้ไขปัญหาข้อท้วงติงจากฝ่ายต่าง ๆ ไม่ว่าจากฝ่ายนักการเมือง นักวิชาการ NGO และผู้ที่ทำงานด้านสิทธิ มนุษยชน โดยการรับฟังความคิดเห็นเหล่านี้ และอะไรที่ปรับปรุงแก้ไขได้ ก็ควรปรับปรุงแก้ไข
“สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ จะต้องทำให้ประชาชนมีความรู้สึกว่า กฎหมายฉบับนี้นั้น ใช้กับเฉพาะกลุ่ม เฉพาะคนที่อาจเป็นปัญหาต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรอย่างแท้จริง จะต้องมีกระบวนการที่ทำให้สามารถรู้ได้ในระดับหนึ่งเบื้องต้นว่า บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดที่เป็นภัยต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร จึงสามารถใช้กฎหมายฉบับนี้ไป ซึ่งอาจจะมีศาล หรือใครที่จะต้องมาช่วยกรองดูข้อมูลระดับหนึ่งก่อนที่จะไปดำเนินการกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เราเห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร” นายองอาจกล่าว
นอกจากนี้นายองอาจ ยังเรียกร้องให้ นายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ ได้รับฟังและนำความคิดเห็นต่าง ๆ ไปหาทางแก้ไขปรับปรุง เพื่อให้กฎหมายที่ออกมานั้นเป็นไปเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง
สำหรับเรื่องการลงประชามติที่จะมีขึ้นในวันที่ 19 สิงหาคมนี้ นายองอาจกล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้สื่อสารผ่านไปยังสาขาพรรค และแกนนำของพรรคตามภูมิภาคต่าง ๆ ให้ประชาชน สมาชิกพรรค มีความเข้าในเนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญ และเรียกร้องให้ประชาชนใช้วิจารณญาณของตนเองในการพิจารณาว่าจะรับ หรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
นายองอาจกล่าวว่า ภาระหน้าที่ของพรรคการเมือง โดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์คือการสร้างความเข้าใจในเนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญ และพรรคฯ มองเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นร่างที่พอรับได้ มีข้อเด่น มากกว่าข้อด้อย และเป็นร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากโครงสร้างเดิมของรัฐธรรมนูญของปี 2540 ซึ่งหลายฝ่ายกล่าวว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่น่าจะมาบังคับใช้กับประเทศชาติบ้านเมือง ดังนั้นเมื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 50 มาจากโครงสร้างเดิมของปี 40 จึงเป็นเหตุผลที่ทำไมพรรคประชาธิปัตย์เห็นว่าพอรับได้ ประกอบกับเนื้อหาสาระในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้หลายส่วนได้พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นกว่าเดิม
นอกจากนี้ในเรื่องการลงประชามตินั้น พรรคประชาธิปัตย์ โดยนายองอาจ ยังเรียกร้อง กกต. ให้ความรู้กับประชาชนในเรื่องการลงประชามติให้มากขึ้นกว่าเดิม แม้ว่านับจากนี้จนถึงวันลงประชามติจะมีเวลา 1 เดือนเศษก็ตาม แต่น่าจะเป็นระยะเวลาที่เพียงพอต่อการให้ความรู้ในเรื่องการลงประชามติ หากกกต.ไม่เร่งรัดไม่เอาจริงเอาจังในเรื่องนี้การลงประชามติก็จะเป็นเรื่องที่ประชาชนยังไม่รับรู้มากนัก เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ของบ้านเมือง
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 15 ก.ค. 2550--จบ--
“มีกฎหมายหลายฉบับที่จำเป็นต้องออกมาจำกัดสิทธิของประชาชนบางอย่างเพื่อประโยชน์ส่วนรวม แต่เมื่อเรามาพิจารณากฎหมายพรบ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรฉบับนี้แล้ว เราเห็นว่าการจำกัดสิทธิ เสรีภาพของประชาชนนั้นเป็นการจำกัดสิทธิ เสรีภาพที่มากเกินไป และก็เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพี่น้องประชาชนที่ควรจะมีหน่วยงานหรือองค์กรใดมาถ่วงดุล” นายองอาจกล่าว
เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมแล้ว นายองอาจ กล่าวว่า รัฐบาลควรจะปรับปรุงแก้ไขปัญหาข้อท้วงติงจากฝ่ายต่าง ๆ ไม่ว่าจากฝ่ายนักการเมือง นักวิชาการ NGO และผู้ที่ทำงานด้านสิทธิ มนุษยชน โดยการรับฟังความคิดเห็นเหล่านี้ และอะไรที่ปรับปรุงแก้ไขได้ ก็ควรปรับปรุงแก้ไข
“สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ จะต้องทำให้ประชาชนมีความรู้สึกว่า กฎหมายฉบับนี้นั้น ใช้กับเฉพาะกลุ่ม เฉพาะคนที่อาจเป็นปัญหาต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรอย่างแท้จริง จะต้องมีกระบวนการที่ทำให้สามารถรู้ได้ในระดับหนึ่งเบื้องต้นว่า บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดที่เป็นภัยต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร จึงสามารถใช้กฎหมายฉบับนี้ไป ซึ่งอาจจะมีศาล หรือใครที่จะต้องมาช่วยกรองดูข้อมูลระดับหนึ่งก่อนที่จะไปดำเนินการกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เราเห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร” นายองอาจกล่าว
นอกจากนี้นายองอาจ ยังเรียกร้องให้ นายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ ได้รับฟังและนำความคิดเห็นต่าง ๆ ไปหาทางแก้ไขปรับปรุง เพื่อให้กฎหมายที่ออกมานั้นเป็นไปเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง
สำหรับเรื่องการลงประชามติที่จะมีขึ้นในวันที่ 19 สิงหาคมนี้ นายองอาจกล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้สื่อสารผ่านไปยังสาขาพรรค และแกนนำของพรรคตามภูมิภาคต่าง ๆ ให้ประชาชน สมาชิกพรรค มีความเข้าในเนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญ และเรียกร้องให้ประชาชนใช้วิจารณญาณของตนเองในการพิจารณาว่าจะรับ หรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
นายองอาจกล่าวว่า ภาระหน้าที่ของพรรคการเมือง โดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์คือการสร้างความเข้าใจในเนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญ และพรรคฯ มองเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นร่างที่พอรับได้ มีข้อเด่น มากกว่าข้อด้อย และเป็นร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากโครงสร้างเดิมของรัฐธรรมนูญของปี 2540 ซึ่งหลายฝ่ายกล่าวว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่น่าจะมาบังคับใช้กับประเทศชาติบ้านเมือง ดังนั้นเมื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 50 มาจากโครงสร้างเดิมของปี 40 จึงเป็นเหตุผลที่ทำไมพรรคประชาธิปัตย์เห็นว่าพอรับได้ ประกอบกับเนื้อหาสาระในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้หลายส่วนได้พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นกว่าเดิม
นอกจากนี้ในเรื่องการลงประชามตินั้น พรรคประชาธิปัตย์ โดยนายองอาจ ยังเรียกร้อง กกต. ให้ความรู้กับประชาชนในเรื่องการลงประชามติให้มากขึ้นกว่าเดิม แม้ว่านับจากนี้จนถึงวันลงประชามติจะมีเวลา 1 เดือนเศษก็ตาม แต่น่าจะเป็นระยะเวลาที่เพียงพอต่อการให้ความรู้ในเรื่องการลงประชามติ หากกกต.ไม่เร่งรัดไม่เอาจริงเอาจังในเรื่องนี้การลงประชามติก็จะเป็นเรื่องที่ประชาชนยังไม่รับรู้มากนัก เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ของบ้านเมือง
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 15 ก.ค. 2550--จบ--