(7 กค.50) นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าพรรคประชาธิปัตย์เห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีที่ สสร. มีมติผ่านร่างรัฐธรรมนูญ วานนี้ เพื่อนำไปสู่การทำประชามติต่อไป และหากผ่านการทำประชามติก็จะมีการเลือกตั้งในปลายปีนี้ แม้ว่าการเลือกตั้งจะไม่ใช่คำตอบของทุกอย่างก็ตาม แต่เชื่อว่าการเลือกตั้งเป็นความหวังของประชาชนที่ต้องการเห็นบ้านเมืองกลับสู่บรรยากาศปกติ
สำหรับในส่วนของรัฐธรรมนูญและการลงประชามติที่จะดำเนินการต่อไปนี้นั้น พรรคประชาธิปัตย์ โดยนายองอาจเห็นว่าการจะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและการลงประชามตินั้นต้องถือว่าเป็นสิทธิ เสรีภาพของประชาชนคนไทย แม้กระทั่งมีสิทธิ เสรีภาพในการรับ หรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ อย่างไรก็ดีการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พรรคประชาธิปัตย์ต้องการเห็นการแสดงออก การลงประชามติ เป็นไปด้วยความสุจริตใจ ไม่อยากเห็นกลุ่มบุคคล หรือคณะบุคคลใดใช้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ และการลงประชามติไปหาประโยชน์ทางการเมือง หรือประโยชน์อื่นใดแอบแฝง
ในส่วนของรัฐบาลนั้น นายองอาจ เห็นว่าควรเปิดช่องให้มีการถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง เพื่อกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัว และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในทางการเมือง อีกทั้งจะเป็นการปูพื้นฐานในการที่จะเข้าไปสู่บรรยากาศของการมีประชาธิปไตย บรรยากาศของการเลือกตั้งต่อไปในอนาคต
นายองอาจ กล่าวว่าพรรคมีข้อเสนอ 3 ข้อ ที่ต้องการฝากไปยังผู้เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น รัฐบาล กกต. สสร. ว่า 1. เปิดกว้างให้องค์กรภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการรณรงค์สร้างความเข้าใจต่อประชาชนในเรื่องเนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญ รวมทั้งขั้นตอน วิธีการลงประชามติ 2. ใช้ช่องทางการสื่อสารทุกรูปแบบให้เรื่องรัฐธรรมนูญและการลงประชามติไปสู่การรับรู้ของประชาชนให้มากที่สุด และรอบด้านที่สุด 3. ไม่ควรละเลยกลุ่มสถาบันการศึกษา ตั้งแต่ระดับประถม มัธยม จนกระทั่งถึงสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการเผยแพร่รัฐธรรมนูญและการลงประชามติ ทั้งนี้ข้อเสนอทั้ง 3 ส่วนนี้จะก่อให้เกิดการรับรู้ ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมในรัฐธรรมนูญซึ่งจะนำไปสู่การลงประชามติต่อไป
นอกจากนี้นายองอาจ ยังกล่าวถึงสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์มีความวิตกกังวลในเรื่องประชามติ 2 เรื่อง 1. ร่างประชามติมีการกำหนดโทษต่อบุคคลที่ไปลงประชามติรุนแรงเกินไป ฉะนั้นจึงต้องการให้มีการแปรญัตติแก้ไขในส่วนนี้ให้โทษอยู่ในสภาวะเหมาะสม 2. เรื่องการกำหนดให้ระหว่างวันที่ 10 - 19 กค. สำหรับให้บุคคลที่ไม่ได้อยู่ในภูมิลำเนาของตนเองยื่นเรื่องขอใช้สิทธิ์ลงประชามตินอกเขตนั้น ควรมีการยืดเวลาการขอใช้สิทธิ์ออกไปจนถึงปลายเดือน กค. หรือควรจัดตั้ง Call Center หรือสถานที่กลางสำหรับการรับแจ้งจากประชาชนที่ต้องการลงประชามตินอกเขต ทั้งนี้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกต่อผู้สนใจลงประชามติ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 7 ก.ค. 2550--จบ--
สำหรับในส่วนของรัฐธรรมนูญและการลงประชามติที่จะดำเนินการต่อไปนี้นั้น พรรคประชาธิปัตย์ โดยนายองอาจเห็นว่าการจะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและการลงประชามตินั้นต้องถือว่าเป็นสิทธิ เสรีภาพของประชาชนคนไทย แม้กระทั่งมีสิทธิ เสรีภาพในการรับ หรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ อย่างไรก็ดีการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พรรคประชาธิปัตย์ต้องการเห็นการแสดงออก การลงประชามติ เป็นไปด้วยความสุจริตใจ ไม่อยากเห็นกลุ่มบุคคล หรือคณะบุคคลใดใช้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ และการลงประชามติไปหาประโยชน์ทางการเมือง หรือประโยชน์อื่นใดแอบแฝง
ในส่วนของรัฐบาลนั้น นายองอาจ เห็นว่าควรเปิดช่องให้มีการถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง เพื่อกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัว และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในทางการเมือง อีกทั้งจะเป็นการปูพื้นฐานในการที่จะเข้าไปสู่บรรยากาศของการมีประชาธิปไตย บรรยากาศของการเลือกตั้งต่อไปในอนาคต
นายองอาจ กล่าวว่าพรรคมีข้อเสนอ 3 ข้อ ที่ต้องการฝากไปยังผู้เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น รัฐบาล กกต. สสร. ว่า 1. เปิดกว้างให้องค์กรภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการรณรงค์สร้างความเข้าใจต่อประชาชนในเรื่องเนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญ รวมทั้งขั้นตอน วิธีการลงประชามติ 2. ใช้ช่องทางการสื่อสารทุกรูปแบบให้เรื่องรัฐธรรมนูญและการลงประชามติไปสู่การรับรู้ของประชาชนให้มากที่สุด และรอบด้านที่สุด 3. ไม่ควรละเลยกลุ่มสถาบันการศึกษา ตั้งแต่ระดับประถม มัธยม จนกระทั่งถึงสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการเผยแพร่รัฐธรรมนูญและการลงประชามติ ทั้งนี้ข้อเสนอทั้ง 3 ส่วนนี้จะก่อให้เกิดการรับรู้ ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมในรัฐธรรมนูญซึ่งจะนำไปสู่การลงประชามติต่อไป
นอกจากนี้นายองอาจ ยังกล่าวถึงสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์มีความวิตกกังวลในเรื่องประชามติ 2 เรื่อง 1. ร่างประชามติมีการกำหนดโทษต่อบุคคลที่ไปลงประชามติรุนแรงเกินไป ฉะนั้นจึงต้องการให้มีการแปรญัตติแก้ไขในส่วนนี้ให้โทษอยู่ในสภาวะเหมาะสม 2. เรื่องการกำหนดให้ระหว่างวันที่ 10 - 19 กค. สำหรับให้บุคคลที่ไม่ได้อยู่ในภูมิลำเนาของตนเองยื่นเรื่องขอใช้สิทธิ์ลงประชามตินอกเขตนั้น ควรมีการยืดเวลาการขอใช้สิทธิ์ออกไปจนถึงปลายเดือน กค. หรือควรจัดตั้ง Call Center หรือสถานที่กลางสำหรับการรับแจ้งจากประชาชนที่ต้องการลงประชามตินอกเขต ทั้งนี้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกต่อผู้สนใจลงประชามติ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 7 ก.ค. 2550--จบ--