กรุงเทพ--23 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ผลการประชุมว่าด้วยปฏิสัมพันธ์และมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจแห่งเอเชีย (Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia - CICA)
1. การประชุม CICA Special Working Group (วันที่ 12-13 มีนาคม)
1.1 มีผู้เข้าร่วม 16 จากทั้งหมด 18 ประเทศสมาชิก (อัฟกานิสถานและปาเลสไตน์ไม่ส่งผู้แทน) และผู้สังเกตการณ์จากมาเลเซีย เวียดนาม และ League of Arab States
1.2 เอกสาร Cooperative Approach for the Implementation of CICA Confidence-Building Measures (CBMs) ที่ประชุมได้พิจารณาเอกสารดังกล่าวเพื่อวางกรอบการดำเนินการด้าน CBMs ทั้งนี้ โดยอยู่บนพื้นฐานของการดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความสมัครใจ และยึดหลักฉันทามติ เอกสารดังกล่าวมีส่วนสำคัญ 2 ส่วน ดังนี้
1.2.1 มาตรการความร่วมมือที่ให้ความสำคัญสูงสุด ประกอบด้วย 4 สาขา ได้แก่ 1) เศรษฐกิจ อาทิ การส่งเสริมความเชื่อมโยงและความปลอดภัยด้านการขนส่ง การตรวจลงตรา การท่องเที่ยว การเงิน การลงทุน การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการค้า 2) สิ่งแวดล้อม อาทิ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน การปกป้องสิ่งแวดล้อม การจัดการภัยพิบัติ 3) ด้านมนุษย์ (human dimension) อาทิ การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การศึกษา dialogue among civilizations การสนับสนุนการมีส่วนร่วมและความร่วมมือของสื่อมวลชนและ NGOs และการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ 4) สิ่งท้าทายใหม่ อาทิ การแลกเปลี่ยนข้อมูล/ประสบการณ์ด้านการต่อต้านการก่อการร้าย separatism และ extremism การต่อต้านอาชญกรรมข้ามชาติ ความร่วมมือด้านโรคติดต่อและโรคระบาด
1.2.2 แนวทางในการดำเนินการ ที่ประชุมได้หารือเรื่องการวางกรอบความร่วมมือ โดยให้ประเทศผู้ประสานงานของแต่ละ CBM (ซึ่งจะมีการกำหนดต่อไป) ยกร่าง concept paper เพื่อใช้ในการหารือ ทั้งนี้ บางประเทศได้เสนอตัวเป็นผู้ประสานงานใน CBM เฉพาะเรื่อง เช่น เกาหลีใต้ในด้าน IT และความมั่นคงด้านพลังงาน ทาจิกิสถานในด้านการท่องเที่ยว และตุรกีในด้านสิ่งท้าทายใหม่ ที่ประชุมตกลงที่จะระบุเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ในแต่ละ CBM ระหว่างผู้เชี่ยวชาญและภาควิชาการของประเทศสมาชิกในเอกสาร โดยให้ประธานและ สลธ. เป็นผู้ประสานและรวบรวมจัดทำเป็นฐานข้อมูล
1.3 การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้าน human dimension ไทย (ผู้แทน ปปส.)ได้นำเสนอประสบการณ์ด้านการพัฒนาทางเลือก (alternative development) เพื่อไม่ให้มีการปลูกพืชที่สามารถนำมาผลิตเป็นยาเสพติด โดยนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการของโครงการดอยตุง และผู้แทนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้นำเสนอเรื่องการคุ้มครองฟื้นฟูเหยื่อการค้ามนุษย์ ในขณะที่คาซัคสถาน ตุรกี และปากีสถานได้นำเสนอประสบการณ์ด้านการส่งเสริมการหารือระหว่างอารยธรรม
1.4 Concept Paper on Enhancing Linkages between CICA and Other Regional Bodies ที่ประชุมได้พิจารณาเอกสารที่ไทยได้ยกร่าง โดยได้เปลี่ยนชื่อเป็น Guidelines for CICA’s External Relations
1.5 การแต่งตั้งผู้สมัครดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ประจำประจำสำนักเลขาธิการ ที่ประชุมได้เห็นชอบให้ นาย Avinash C. Pandey ผู้สมัครจากกระทรวงการต่างประเทศอินเดียและนาย Majid Hamedani ผู้สมัครจากกระทรวงการต่างประเทศอิหร่าน ดำรงตำแหน่ง professional personnel ประจำสำนักเลขาธิการ
1.6 การสนับสนุนทางการเงิน อิสราเอลและตุรกีได้แจ้งความประสงค์ที่จะให้เงินสนับสนุน สลธ. สำหรับงบประมาณปี 2008 (ประเทศที่ได้บริจาคแล้วได้แก่ เกาหลีใต้สนับสนุนเป็นเงิน 50,000 ดอลลาร์สหรัฐและคาซัคสถานสนับสนุนการจัดตั้ง สลธ.) ส่วนไทยได้กล่าวว่าการจัดประชุมครั้งนี้ เป็นการที่ไทยให้การสนับสนุนแบบ in-kind และไทยจะพิจารณาเรื่องการให้การสนับสนุนทางการเงินต่อไป โดยได้ขอข้อมูลประมาณการงบประมาณของ สลธ.เพื่อประกอบการพิจารณา
2. การประชุม Senior Officials Committee (วันที่ 14 มีนาคม)
ที่ประชุมขอให้สมาชิกให้ความเห็นชอบเอกสาร Cooperative Approach โดย ad referendum และให้ยืนยันหรือแจ้งความจำนงเป็นผู้ประสานงาน/ผู้ประสานงานร่วมในแต่ละ CBM ต่อไป ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบเอกสาร Guidelines for CICA’s External Relations พร้อมรับทราบผลการหารือของ SWG
3. ข้อมูลเพิ่มเติม
3.1 ไทยได้มีบทบาทสำคัญในการยกร่างและผลักดันเอกสาร Guidelines for CICA’s External Relations เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่าง CICA กับองค์การหรือกรอบความร่วมมืออื่นๆ อย่างไรก็ตาม ประเทศสมาชิกหลายประเทศ อาทิ จีน อิสราเอล อินเดีย อิหร่าน รัสเซีย เห็นว่า CICA ควรเน้นพัฒนาความร่วมมือภายในระหว่างกันให้เป็นรูปธรรมในระดับหนึ่งก่อน รวมทั้งกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการเดินทางของเจ้าหน้าที่ สลธ. ในการติดต่อกับ สลธ.ของกรอบอื่นๆ ทั้งนี้ เจตนารมณ์ที่ไทยผลักดันให้ CICA มีปฎิสัมพันธ์กับองค์การอื่นๆ ก็เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดขององค์การอื่น เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาความร่วมมือในสาขาที่ CICA ประสงค์จะดำเนินการ
3.2 คาซัคสถานในฐานะประธาน CICA พยายามยกสถานะและสร้างความยอมรับให้แก่ CICA และผลักดันให้ไทยและประเทศสมาชิกทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานในหลายสาขา และให้บริจาคเงินสนับสนุนแก่ CICA
3.3 ไทยได้รับประโยชน์จากการประชุมครั้งนี้ในการกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีกับประเทศสมาชิกบางประเทศ (โดยเฉพาะกับคาซัคสถาน ตุรกี และทาจิกิสถาน) และการแสดงบทบาทนำในฐานะประเทสสมาชิก CICA ในการผลักดันการเชื่อมโยงระหว่าง CICA กับความร่วมมือกรอบต่างๆ โดยเฉพาะ ARF และ ASEAN ซึ่งสอดคล้องกับบทบาทไทยในเวทีอื่นๆ ที่ไทยทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมความร่วมมือระหว่างภูมิภาค อนึ่ง ไทยได้บรรยายเรื่องภูมิหลังและกิจกรรมของ ASEAN, ARF และ ACD ในช่วงงานเลี้ยงอาหารกลางวันภายหลังการประชุมเสร็จสิ้น เพื่อสร้างความคุ้นเคยของประเทศสมาชิก CICA ต่อองค์กรต่างๆ ข้างต้น ซึ่งได้รับความสนใจอย่างสูง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ผลการประชุมว่าด้วยปฏิสัมพันธ์และมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจแห่งเอเชีย (Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia - CICA)
1. การประชุม CICA Special Working Group (วันที่ 12-13 มีนาคม)
1.1 มีผู้เข้าร่วม 16 จากทั้งหมด 18 ประเทศสมาชิก (อัฟกานิสถานและปาเลสไตน์ไม่ส่งผู้แทน) และผู้สังเกตการณ์จากมาเลเซีย เวียดนาม และ League of Arab States
1.2 เอกสาร Cooperative Approach for the Implementation of CICA Confidence-Building Measures (CBMs) ที่ประชุมได้พิจารณาเอกสารดังกล่าวเพื่อวางกรอบการดำเนินการด้าน CBMs ทั้งนี้ โดยอยู่บนพื้นฐานของการดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความสมัครใจ และยึดหลักฉันทามติ เอกสารดังกล่าวมีส่วนสำคัญ 2 ส่วน ดังนี้
1.2.1 มาตรการความร่วมมือที่ให้ความสำคัญสูงสุด ประกอบด้วย 4 สาขา ได้แก่ 1) เศรษฐกิจ อาทิ การส่งเสริมความเชื่อมโยงและความปลอดภัยด้านการขนส่ง การตรวจลงตรา การท่องเที่ยว การเงิน การลงทุน การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการค้า 2) สิ่งแวดล้อม อาทิ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน การปกป้องสิ่งแวดล้อม การจัดการภัยพิบัติ 3) ด้านมนุษย์ (human dimension) อาทิ การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การศึกษา dialogue among civilizations การสนับสนุนการมีส่วนร่วมและความร่วมมือของสื่อมวลชนและ NGOs และการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ 4) สิ่งท้าทายใหม่ อาทิ การแลกเปลี่ยนข้อมูล/ประสบการณ์ด้านการต่อต้านการก่อการร้าย separatism และ extremism การต่อต้านอาชญกรรมข้ามชาติ ความร่วมมือด้านโรคติดต่อและโรคระบาด
1.2.2 แนวทางในการดำเนินการ ที่ประชุมได้หารือเรื่องการวางกรอบความร่วมมือ โดยให้ประเทศผู้ประสานงานของแต่ละ CBM (ซึ่งจะมีการกำหนดต่อไป) ยกร่าง concept paper เพื่อใช้ในการหารือ ทั้งนี้ บางประเทศได้เสนอตัวเป็นผู้ประสานงานใน CBM เฉพาะเรื่อง เช่น เกาหลีใต้ในด้าน IT และความมั่นคงด้านพลังงาน ทาจิกิสถานในด้านการท่องเที่ยว และตุรกีในด้านสิ่งท้าทายใหม่ ที่ประชุมตกลงที่จะระบุเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ในแต่ละ CBM ระหว่างผู้เชี่ยวชาญและภาควิชาการของประเทศสมาชิกในเอกสาร โดยให้ประธานและ สลธ. เป็นผู้ประสานและรวบรวมจัดทำเป็นฐานข้อมูล
1.3 การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้าน human dimension ไทย (ผู้แทน ปปส.)ได้นำเสนอประสบการณ์ด้านการพัฒนาทางเลือก (alternative development) เพื่อไม่ให้มีการปลูกพืชที่สามารถนำมาผลิตเป็นยาเสพติด โดยนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการของโครงการดอยตุง และผู้แทนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้นำเสนอเรื่องการคุ้มครองฟื้นฟูเหยื่อการค้ามนุษย์ ในขณะที่คาซัคสถาน ตุรกี และปากีสถานได้นำเสนอประสบการณ์ด้านการส่งเสริมการหารือระหว่างอารยธรรม
1.4 Concept Paper on Enhancing Linkages between CICA and Other Regional Bodies ที่ประชุมได้พิจารณาเอกสารที่ไทยได้ยกร่าง โดยได้เปลี่ยนชื่อเป็น Guidelines for CICA’s External Relations
1.5 การแต่งตั้งผู้สมัครดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ประจำประจำสำนักเลขาธิการ ที่ประชุมได้เห็นชอบให้ นาย Avinash C. Pandey ผู้สมัครจากกระทรวงการต่างประเทศอินเดียและนาย Majid Hamedani ผู้สมัครจากกระทรวงการต่างประเทศอิหร่าน ดำรงตำแหน่ง professional personnel ประจำสำนักเลขาธิการ
1.6 การสนับสนุนทางการเงิน อิสราเอลและตุรกีได้แจ้งความประสงค์ที่จะให้เงินสนับสนุน สลธ. สำหรับงบประมาณปี 2008 (ประเทศที่ได้บริจาคแล้วได้แก่ เกาหลีใต้สนับสนุนเป็นเงิน 50,000 ดอลลาร์สหรัฐและคาซัคสถานสนับสนุนการจัดตั้ง สลธ.) ส่วนไทยได้กล่าวว่าการจัดประชุมครั้งนี้ เป็นการที่ไทยให้การสนับสนุนแบบ in-kind และไทยจะพิจารณาเรื่องการให้การสนับสนุนทางการเงินต่อไป โดยได้ขอข้อมูลประมาณการงบประมาณของ สลธ.เพื่อประกอบการพิจารณา
2. การประชุม Senior Officials Committee (วันที่ 14 มีนาคม)
ที่ประชุมขอให้สมาชิกให้ความเห็นชอบเอกสาร Cooperative Approach โดย ad referendum และให้ยืนยันหรือแจ้งความจำนงเป็นผู้ประสานงาน/ผู้ประสานงานร่วมในแต่ละ CBM ต่อไป ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบเอกสาร Guidelines for CICA’s External Relations พร้อมรับทราบผลการหารือของ SWG
3. ข้อมูลเพิ่มเติม
3.1 ไทยได้มีบทบาทสำคัญในการยกร่างและผลักดันเอกสาร Guidelines for CICA’s External Relations เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่าง CICA กับองค์การหรือกรอบความร่วมมืออื่นๆ อย่างไรก็ตาม ประเทศสมาชิกหลายประเทศ อาทิ จีน อิสราเอล อินเดีย อิหร่าน รัสเซีย เห็นว่า CICA ควรเน้นพัฒนาความร่วมมือภายในระหว่างกันให้เป็นรูปธรรมในระดับหนึ่งก่อน รวมทั้งกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการเดินทางของเจ้าหน้าที่ สลธ. ในการติดต่อกับ สลธ.ของกรอบอื่นๆ ทั้งนี้ เจตนารมณ์ที่ไทยผลักดันให้ CICA มีปฎิสัมพันธ์กับองค์การอื่นๆ ก็เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดขององค์การอื่น เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาความร่วมมือในสาขาที่ CICA ประสงค์จะดำเนินการ
3.2 คาซัคสถานในฐานะประธาน CICA พยายามยกสถานะและสร้างความยอมรับให้แก่ CICA และผลักดันให้ไทยและประเทศสมาชิกทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานในหลายสาขา และให้บริจาคเงินสนับสนุนแก่ CICA
3.3 ไทยได้รับประโยชน์จากการประชุมครั้งนี้ในการกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีกับประเทศสมาชิกบางประเทศ (โดยเฉพาะกับคาซัคสถาน ตุรกี และทาจิกิสถาน) และการแสดงบทบาทนำในฐานะประเทสสมาชิก CICA ในการผลักดันการเชื่อมโยงระหว่าง CICA กับความร่วมมือกรอบต่างๆ โดยเฉพาะ ARF และ ASEAN ซึ่งสอดคล้องกับบทบาทไทยในเวทีอื่นๆ ที่ไทยทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมความร่วมมือระหว่างภูมิภาค อนึ่ง ไทยได้บรรยายเรื่องภูมิหลังและกิจกรรมของ ASEAN, ARF และ ACD ในช่วงงานเลี้ยงอาหารกลางวันภายหลังการประชุมเสร็จสิ้น เพื่อสร้างความคุ้นเคยของประเทศสมาชิก CICA ต่อองค์กรต่างๆ ข้างต้น ซึ่งได้รับความสนใจอย่างสูง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-