1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่มีรายงานจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
เอกชนสนับสนุนเปิด FTA ญี่ปุ่น-สหรัฐอเมริกา
นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรมการบริษัทไทยยูเนี่ยนโฟรเซนโปรดักส์ จำกัด ให้ความเห็นเกี่ยวกับการเปิดเขตการค้าเสรี (FTA) ของไทยกับนานาประเทศว่า ในส่วนของภาคการประมงเห็นด้วยและสนับสนุนการทำเขตการค้าเสรีกับสหรัฐฯและญี่ปุ่น โดยเชื่อว่าไทยจะได้ประโยชน์อย่างมากโดยเฉพาะในภาคการส่งออกสินค้าประมง เพราะที่ผ่านมา มาตรการทางด้านภาษีถือเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการส่งออกสินค้าประมงและอาหารทะเลแปรรูปของไทย ในขณะเดียวกันสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ยังเป็นตลาดหลักในการส่งออกสินค้าประมง เชื่อว่าหากมีการเปิดเขตการค้าเสรีกับทั้งสองประเทศได้เป็นผลสำเร็จ จะทำให้ภาคอุตสาหกรรมประมงไทยได้รับผลประโยชน์อย่างมาก
ทั้งนี้ สินค้าประมงที่จะได้ประโยชน์อย่างชัดเจนที่สุด คือ ปลาทูน่า เนื่องจากปัจจุบันการส่งออกปลาทูน่าไปญี่ปุ่นต้องเสียภาษีในอัตรา 9% สหรัฐอเมริกา เสียภาษีนำเข้าในอัตรา 12.5% และอียู 24% ทำให้ไทยสูญเสียศักยภาพด้านการแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง ซึ่งหากมีการเปิดเขตการค้าเสรีและสามารถลดอัตราภาษีนำเข้าลงเหลือ 0% เชื่อว่า การส่งออกปลาทูน่าของไทยจะขยายตัวเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 50% อีกทั้งการเปิดเขตการค้าเสรีจะทำให้ไทยมีกองเรือปลาทูน่าเร็วขึ้น เนื่องจากข้อตกลงในการเปิดเขตการค้าเสรีจะกำหนดในเรื่อง Rule of Origin ที่ทุกประเทศต้องปฏิบัติตาม ซึ่งประเด็นดังกล่าวจะเป็นตัวเร่งให้ผู้ประกอบการจัดตั้งกองเรือปลาทูน่าของตัวเองมากขึ้น หากไทยสามารถบรรลุข้อตกลงและเปิดเขตการค้าเสรีกับสหรัฐฯ และญี่ปุ่นได้ เชื่อว่าจะส่งผลดีต่อการส่งออกสินค้าประมงของไทย เพราะที่ผ่านมามาตรการทางด้านภาษี ยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญในการส่งออกสินค้าประมงของไทย และทำให้ไทยต้องเสียเปรียบคู่แข่งตลอดมา
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.86 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.45 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.59 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.58 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 53.22 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.64 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 126.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 131.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.17 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 115.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.13 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.76 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 48.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.81 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.18 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.37 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 19 - 23 ก.พ. 2550) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.10 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 19-25 กุมภาพันธ์ 2550--
-พห-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่มีรายงานจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
เอกชนสนับสนุนเปิด FTA ญี่ปุ่น-สหรัฐอเมริกา
นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรมการบริษัทไทยยูเนี่ยนโฟรเซนโปรดักส์ จำกัด ให้ความเห็นเกี่ยวกับการเปิดเขตการค้าเสรี (FTA) ของไทยกับนานาประเทศว่า ในส่วนของภาคการประมงเห็นด้วยและสนับสนุนการทำเขตการค้าเสรีกับสหรัฐฯและญี่ปุ่น โดยเชื่อว่าไทยจะได้ประโยชน์อย่างมากโดยเฉพาะในภาคการส่งออกสินค้าประมง เพราะที่ผ่านมา มาตรการทางด้านภาษีถือเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการส่งออกสินค้าประมงและอาหารทะเลแปรรูปของไทย ในขณะเดียวกันสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ยังเป็นตลาดหลักในการส่งออกสินค้าประมง เชื่อว่าหากมีการเปิดเขตการค้าเสรีกับทั้งสองประเทศได้เป็นผลสำเร็จ จะทำให้ภาคอุตสาหกรรมประมงไทยได้รับผลประโยชน์อย่างมาก
ทั้งนี้ สินค้าประมงที่จะได้ประโยชน์อย่างชัดเจนที่สุด คือ ปลาทูน่า เนื่องจากปัจจุบันการส่งออกปลาทูน่าไปญี่ปุ่นต้องเสียภาษีในอัตรา 9% สหรัฐอเมริกา เสียภาษีนำเข้าในอัตรา 12.5% และอียู 24% ทำให้ไทยสูญเสียศักยภาพด้านการแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง ซึ่งหากมีการเปิดเขตการค้าเสรีและสามารถลดอัตราภาษีนำเข้าลงเหลือ 0% เชื่อว่า การส่งออกปลาทูน่าของไทยจะขยายตัวเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 50% อีกทั้งการเปิดเขตการค้าเสรีจะทำให้ไทยมีกองเรือปลาทูน่าเร็วขึ้น เนื่องจากข้อตกลงในการเปิดเขตการค้าเสรีจะกำหนดในเรื่อง Rule of Origin ที่ทุกประเทศต้องปฏิบัติตาม ซึ่งประเด็นดังกล่าวจะเป็นตัวเร่งให้ผู้ประกอบการจัดตั้งกองเรือปลาทูน่าของตัวเองมากขึ้น หากไทยสามารถบรรลุข้อตกลงและเปิดเขตการค้าเสรีกับสหรัฐฯ และญี่ปุ่นได้ เชื่อว่าจะส่งผลดีต่อการส่งออกสินค้าประมงของไทย เพราะที่ผ่านมามาตรการทางด้านภาษี ยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญในการส่งออกสินค้าประมงของไทย และทำให้ไทยต้องเสียเปรียบคู่แข่งตลอดมา
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.86 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.45 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.59 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.58 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 53.22 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.64 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 126.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 131.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.17 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 115.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.13 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.76 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 48.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.81 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.18 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.37 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 19 - 23 ก.พ. 2550) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.10 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 19-25 กุมภาพันธ์ 2550--
-พห-