ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ยืนยันไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน ผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดย ดร.อัจนา ไวความดี
รองผู้ว่าการ ธปท. และนางสาวนิตยา พิบูลย์รัตนกิจ ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท. ได้เรียกประชุมผู้บริหาร ธพ.ไทยและ ธพ.ต่างประเทศทั้งหมด
เพื่อขอความร่วมมือในการดูแลค่าเงินบาทและชี้แจงนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่สำนักงานสุรวงศ์ เมื่อวันที่ 26 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่ง
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ธปท.ยืนยันว่าจะไม่มีการเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศตามที่มี
กระแสข่าว โดยจะยังคงใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวภายใต้การจัดการ (Manage float) เช่นเดิม นอกจากนี้ ธปท.ได้ขอความร่วมมือ
มายัง ธพ.ทุกแห่ง ไม่ให้ร่วมมือในการเก็งกำไรค่าเงินบาทด้วยการเทขายดอลลาร์ โดยให้ ธพ.รายงานสถานะการดำรงเงินตราต่างประเทศต่อ
ธปท.อย่างตรงเวลาและต่อเนื่อง (กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์)
2. คาดว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3/2550 จะขยายตัวต่ำสุดในรอบ 5 ปี นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ
และธุรกิจ เปิดเผยถึงทิศทางเศรษฐกิจไทยในปี 50 คาดว่าผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 1/2550 จะขยายตัว 3.5-4% ไตรมาส 2/2550
จะขยายตัวต่ำกว่า 4% ส่วนไตรมาส 3/2550 จะขยายตัวต่ำสุดในรอบ 5 ปี และเฉลี่ยทั้งปีอาจจะต่ำกว่า 4% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 4-4.5%
เนื่องจากเศรษฐกิจไทยกำลังประสบกับสถานการณ์วิกฤตความเชื่อมั่นที่ทำให้การบริโภคและการลงทุนชะลอตัวลง โดยเฉพาะดัชนีผู้บริโภคที่ลดลง
อย่างต่อเนื่องในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 5 ปี ส่วนเงินบาทที่แข็งค่านั้นจะกระทบกับภาคธุรกิจในไตรมาส 2/2550 ซึ่ง
จากการสำรวจข้อมูลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพบว่า ยอดคำสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเริ่มปรับตัวลดลง โดยประเมินว่าไตรมาส
1/2550 ค่าเงินบาทจะอยู่ที่ 34.5-35.2 บาท/ดอลลาร์ สรอ. ขณะที่การลดอัตราดอกเบี้ยซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นก็อาจไม่สามารถกระตุ้นการบริโภค
ในไตรมาส 2 ให้ฟื้นตัวได้ (โลกวันนี้, ข่าวสด, ผู้จัดการรายวัน, มติชน)
3. คลังระบุการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ต้องให้ ธปท.พิจารณา นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง กล่าวถึงกรณี
ที่ไอเอ็มเอฟเสนอให้ยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ว่า ขณะนี้มาตรการดังกล่าวไม่มีผลในทางปฏิบัติแล้ว เนื่องจาก ธปท.ได้เปิดทางเลือกอื่น
ให้ผู้ที่นำเงินเข้ามาในประเทศ อาทิ การทำสัญญาการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าเป็นเวลา 3 เดือน (Swap contract) ส่วนการ
ยกเลิกมาตรการต้องให้ ธปท.เป็นผู้พิจารณา (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน, ข่าวสด)
4. ธ.ทหารไทยนำเสนอแผนเพิ่มทุนต่อ ก.คลังเพื่อพิจารณา นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง กล่าวภายหลังการหารือ
ร่วมกับประธานกรรมการ ธ.ทหารไทย และประธานกรรมการบริหาร ธ.ทหารไทยว่า ประธานกรรมการ ธ.ทหารไทย ได้นำแผนเพิ่มทุนที่
คณะกรรมการธนาคารได้มีการพิจารณาอนุมัติเมื่อสัปดาห์ก่อนมานำเสนอให้ ก.คลังในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่พิจารณา โดย ก.คลังจะขอพิจารณา
ในรายละเอียดของแผนงานดังกล่าวก่อนการตัดสินใจ (ข่าวสด, กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. การตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำนานเกินควรอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะยาว รายงานจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
เมื่อวันที่ 26 มี.ค.50 Toshihiko Fukui ผู้ว่าการ ธ.กลางญี่ปุ่น กล่าวว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะยังคงใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายและจะ
ติดตามผลจากการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำด้วย รวมถึงจะเฝ้าติดตามสภาพเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด แต่ได้กล่าวเตือนว่า
การคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำนานเกินไปอาจไม่สะท้อนภาพการฟื้นตัวที่แท้จริงของเศรษฐกิจญี่ปุ่นและอาจจะทำให้เกิดการบิดเบือนในเรื่อง
การกระจายของสินทรัพย์ จนส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจแบบยั่งยืนในระยะยาวได้ จึงเป็นสัญญาณว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะมีการพิจารณา
ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้สะท้อนภาพเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อที่แท้จริง ทั้งนี้ ถ้อยแถลงดังกล่าวมีออกมาในช่วงเวลา
ที่เริ่มมีสัญญาณของอัตราเงินเฟ้อในภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยจากรายงานที่เปิดเผยออกมาเมื่อสัปดาห์ก่อนแสดงให้เห็นว่า ราคาที่ดินทั่วประเทศ
เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 16 ปี และราคาอสังหาริมทรัพย์ในเมืองใหญ่บ้างแห่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปี 2549 อนึ่ง เมื่อวันที่ 21 ก.พ.50
คณะกรรมการนโยบายการเงินของ ธ.กลางญี่ปุ่นได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเรียกเก็บข้ามคืนร้อยละ 0.25 ไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.5 ซึ่งเป็น
ระดับสูงสุดในรอบทศวรรษ (รอยเตอร์)
2. สถาบันการเงินชั้นนำต่างปรับเพิ่มคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปีนี้ รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 26 มี.ค. 50
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา Goldman Sachs ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้ของจีนจากเดิมร้อยละ 9.8 เป็นร้อยละ 10.8
เนื่องจากในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้การส่งออก และ ปริมาณเงินหมุนเวียนของจีนขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง และหากเป็นไปตามคาดการณ์ข้างต้น
จะส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจีนเป็นตัวเลข 2 หลักติดต่อกันเป็นปีที่ 5 โดยปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 10.7 ทั้งนี้
Goldman Sachs เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่ผู้ดำเนินนโยบายการเงินของจีนอาจต้องใช้นโยบายการเงินเข้มงวดขึ้นในไตรมาสที่ 2 เพื่อรองรับ
การขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างแข็งแกร่ง เนื่องจากมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของการลงทุน ปริมาณเงินหมุนเวียน และ
ภาวะเงินเฟ้อ และหากสามารถชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจลงได้คาดว่าในปีหน้าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจีนจะยังไม่เปลี่ยนแปลง
ที่ร้อยละ 10.0 ส่วนอัตราเงินเฟ้อในปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.6 ปรับเพิ่มขึ้นจากคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 2.4 เช่นเดียวกับ Lehman Brother
ที่ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนเป็นร้อยละ 9.8 จากเดิมร้อยละ 9.6 ซึ่งนาย Mingchun Sun นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า
ในไตรมาสแรกปีนี้เศรษฐกิจจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 10.1 เพิ่มขึ้นจากที่คาดไว้เดิมร้อยละ 9.8 ขณะเดียวกัน HSBC
และ JPMorgan ก็ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นร้อยละ 10 จากเดิมร้อยละ 9.1 (รอยเตอร์)
3. ยอดขายปลีกของจีนในเดือน ก.พ.50 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16.9 เทียบต่อปี รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 26 มี.ค.50 สำนักงาน
สถิติแห่งชาติของจีน เปิดเผยว่า ยอดขายปลีกของจีนในเดือน ก.พ.50 เพียงเดือนเดียวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16.9 เมื่อเทียบต่อปี ซึ่งเป็น
อัตราการเพิ่มที่รวดเร็วที่สุดตั้งแต่เดือน พ.ค.47 ทั้งนี้ สำนักงานสถิติไม่ได้รายงานตัวเลขยอดขายปลีกของเดือน ม.ค.50 โดยเมื่อเดือน
ก่อนสำนักงานสถิติรายงานว่า ยอดขายปลีกในรอบ 2 เดือนแรกของปี 50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 เทียบต่อปี ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์มีความเห็นว่า
ตัวเลขยอดขายปลีกของ 2 เดือนแรกปี 50 จะเป็นตัวเลขที่ให้ภาพการขายปลีกที่ชัดเจนกว่าตัวเลขที่แยกเป็นรายเดือน เนื่องจากตัวเลข
รายเดือนจะถูกบิดเบือนด้วยเทศกาลตรุษจีน ซึ่งในปีนี้อยู่ในเดือน ก.พ.50 ในขณะที่ปีที่แล้วอยู่ในช่วงคาบเกี่ยวระหว่างเดือน ม.ค.และ ก.พ. (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตโรงงานอุตสาหกรรมของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 ต่อเดือนในเดือน ก.พ.50 รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 26 มี.ค.50
ผลผลิตโรงงานอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ในเดือน ก.พ.50 หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 ต่อเดือนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ต่อปี
อันเป็นผลจากการเพิ่มผลผลิตของอุตสาหกรรมยาเพื่อให้ทันต่อความต้องการของผู้บริโภค โดยผลผลิตลดลงร้อยละ 5.4 และ 4.9 ต่อเดือนใน
เดือน ม.ค.50 และ ธ.ค.49 ตามลำดับ ในขณะที่ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ก่อนหน้านี้คาดว่าผลผลิตในเดือน ก.พ.50 จะลดลง
ร้อยละ 2.0 ต่อเดือนและลดลงร้อยละ 3.4 ต่อปี จากความต้องการสินค้าเทคโนโลยีของสิงคโปร์ในตลาดโลกลดลง ทั้งนี้หากไม่รวมผลผลิต
อุตสาหกรรมยาซึ่งค่อนข้างผันผวนแล้ว ผลผลิตโรงงานจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ต่อปีซึ่งสะท้อนพื้นฐานทางเศรษฐกิจได้ดีกว่าเนื่องจากบริษัทมัก
จะหยุดสายการผลิตเพื่อทำความสะอาดหรือเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ใหม่เสมอ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27 มี.ค. 50 26 มี.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.009 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.7554/35.1102 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.63313 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 679.04/9.25 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,950/11,050 10,850/10,950 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 60.22 59.76 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.59*/23.74* 27.59*/23.74* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 13 มี.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ยืนยันไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน ผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดย ดร.อัจนา ไวความดี
รองผู้ว่าการ ธปท. และนางสาวนิตยา พิบูลย์รัตนกิจ ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท. ได้เรียกประชุมผู้บริหาร ธพ.ไทยและ ธพ.ต่างประเทศทั้งหมด
เพื่อขอความร่วมมือในการดูแลค่าเงินบาทและชี้แจงนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่สำนักงานสุรวงศ์ เมื่อวันที่ 26 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่ง
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ธปท.ยืนยันว่าจะไม่มีการเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศตามที่มี
กระแสข่าว โดยจะยังคงใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวภายใต้การจัดการ (Manage float) เช่นเดิม นอกจากนี้ ธปท.ได้ขอความร่วมมือ
มายัง ธพ.ทุกแห่ง ไม่ให้ร่วมมือในการเก็งกำไรค่าเงินบาทด้วยการเทขายดอลลาร์ โดยให้ ธพ.รายงานสถานะการดำรงเงินตราต่างประเทศต่อ
ธปท.อย่างตรงเวลาและต่อเนื่อง (กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์)
2. คาดว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3/2550 จะขยายตัวต่ำสุดในรอบ 5 ปี นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ
และธุรกิจ เปิดเผยถึงทิศทางเศรษฐกิจไทยในปี 50 คาดว่าผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 1/2550 จะขยายตัว 3.5-4% ไตรมาส 2/2550
จะขยายตัวต่ำกว่า 4% ส่วนไตรมาส 3/2550 จะขยายตัวต่ำสุดในรอบ 5 ปี และเฉลี่ยทั้งปีอาจจะต่ำกว่า 4% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 4-4.5%
เนื่องจากเศรษฐกิจไทยกำลังประสบกับสถานการณ์วิกฤตความเชื่อมั่นที่ทำให้การบริโภคและการลงทุนชะลอตัวลง โดยเฉพาะดัชนีผู้บริโภคที่ลดลง
อย่างต่อเนื่องในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 5 ปี ส่วนเงินบาทที่แข็งค่านั้นจะกระทบกับภาคธุรกิจในไตรมาส 2/2550 ซึ่ง
จากการสำรวจข้อมูลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพบว่า ยอดคำสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเริ่มปรับตัวลดลง โดยประเมินว่าไตรมาส
1/2550 ค่าเงินบาทจะอยู่ที่ 34.5-35.2 บาท/ดอลลาร์ สรอ. ขณะที่การลดอัตราดอกเบี้ยซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นก็อาจไม่สามารถกระตุ้นการบริโภค
ในไตรมาส 2 ให้ฟื้นตัวได้ (โลกวันนี้, ข่าวสด, ผู้จัดการรายวัน, มติชน)
3. คลังระบุการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ต้องให้ ธปท.พิจารณา นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง กล่าวถึงกรณี
ที่ไอเอ็มเอฟเสนอให้ยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ว่า ขณะนี้มาตรการดังกล่าวไม่มีผลในทางปฏิบัติแล้ว เนื่องจาก ธปท.ได้เปิดทางเลือกอื่น
ให้ผู้ที่นำเงินเข้ามาในประเทศ อาทิ การทำสัญญาการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าเป็นเวลา 3 เดือน (Swap contract) ส่วนการ
ยกเลิกมาตรการต้องให้ ธปท.เป็นผู้พิจารณา (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน, ข่าวสด)
4. ธ.ทหารไทยนำเสนอแผนเพิ่มทุนต่อ ก.คลังเพื่อพิจารณา นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง กล่าวภายหลังการหารือ
ร่วมกับประธานกรรมการ ธ.ทหารไทย และประธานกรรมการบริหาร ธ.ทหารไทยว่า ประธานกรรมการ ธ.ทหารไทย ได้นำแผนเพิ่มทุนที่
คณะกรรมการธนาคารได้มีการพิจารณาอนุมัติเมื่อสัปดาห์ก่อนมานำเสนอให้ ก.คลังในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่พิจารณา โดย ก.คลังจะขอพิจารณา
ในรายละเอียดของแผนงานดังกล่าวก่อนการตัดสินใจ (ข่าวสด, กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. การตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำนานเกินควรอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะยาว รายงานจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
เมื่อวันที่ 26 มี.ค.50 Toshihiko Fukui ผู้ว่าการ ธ.กลางญี่ปุ่น กล่าวว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะยังคงใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายและจะ
ติดตามผลจากการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำด้วย รวมถึงจะเฝ้าติดตามสภาพเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด แต่ได้กล่าวเตือนว่า
การคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำนานเกินไปอาจไม่สะท้อนภาพการฟื้นตัวที่แท้จริงของเศรษฐกิจญี่ปุ่นและอาจจะทำให้เกิดการบิดเบือนในเรื่อง
การกระจายของสินทรัพย์ จนส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจแบบยั่งยืนในระยะยาวได้ จึงเป็นสัญญาณว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะมีการพิจารณา
ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้สะท้อนภาพเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อที่แท้จริง ทั้งนี้ ถ้อยแถลงดังกล่าวมีออกมาในช่วงเวลา
ที่เริ่มมีสัญญาณของอัตราเงินเฟ้อในภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยจากรายงานที่เปิดเผยออกมาเมื่อสัปดาห์ก่อนแสดงให้เห็นว่า ราคาที่ดินทั่วประเทศ
เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 16 ปี และราคาอสังหาริมทรัพย์ในเมืองใหญ่บ้างแห่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปี 2549 อนึ่ง เมื่อวันที่ 21 ก.พ.50
คณะกรรมการนโยบายการเงินของ ธ.กลางญี่ปุ่นได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเรียกเก็บข้ามคืนร้อยละ 0.25 ไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.5 ซึ่งเป็น
ระดับสูงสุดในรอบทศวรรษ (รอยเตอร์)
2. สถาบันการเงินชั้นนำต่างปรับเพิ่มคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปีนี้ รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 26 มี.ค. 50
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา Goldman Sachs ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้ของจีนจากเดิมร้อยละ 9.8 เป็นร้อยละ 10.8
เนื่องจากในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้การส่งออก และ ปริมาณเงินหมุนเวียนของจีนขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง และหากเป็นไปตามคาดการณ์ข้างต้น
จะส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจีนเป็นตัวเลข 2 หลักติดต่อกันเป็นปีที่ 5 โดยปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 10.7 ทั้งนี้
Goldman Sachs เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่ผู้ดำเนินนโยบายการเงินของจีนอาจต้องใช้นโยบายการเงินเข้มงวดขึ้นในไตรมาสที่ 2 เพื่อรองรับ
การขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างแข็งแกร่ง เนื่องจากมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของการลงทุน ปริมาณเงินหมุนเวียน และ
ภาวะเงินเฟ้อ และหากสามารถชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจลงได้คาดว่าในปีหน้าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจีนจะยังไม่เปลี่ยนแปลง
ที่ร้อยละ 10.0 ส่วนอัตราเงินเฟ้อในปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.6 ปรับเพิ่มขึ้นจากคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 2.4 เช่นเดียวกับ Lehman Brother
ที่ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนเป็นร้อยละ 9.8 จากเดิมร้อยละ 9.6 ซึ่งนาย Mingchun Sun นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า
ในไตรมาสแรกปีนี้เศรษฐกิจจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 10.1 เพิ่มขึ้นจากที่คาดไว้เดิมร้อยละ 9.8 ขณะเดียวกัน HSBC
และ JPMorgan ก็ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นร้อยละ 10 จากเดิมร้อยละ 9.1 (รอยเตอร์)
3. ยอดขายปลีกของจีนในเดือน ก.พ.50 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16.9 เทียบต่อปี รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 26 มี.ค.50 สำนักงาน
สถิติแห่งชาติของจีน เปิดเผยว่า ยอดขายปลีกของจีนในเดือน ก.พ.50 เพียงเดือนเดียวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16.9 เมื่อเทียบต่อปี ซึ่งเป็น
อัตราการเพิ่มที่รวดเร็วที่สุดตั้งแต่เดือน พ.ค.47 ทั้งนี้ สำนักงานสถิติไม่ได้รายงานตัวเลขยอดขายปลีกของเดือน ม.ค.50 โดยเมื่อเดือน
ก่อนสำนักงานสถิติรายงานว่า ยอดขายปลีกในรอบ 2 เดือนแรกของปี 50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 เทียบต่อปี ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์มีความเห็นว่า
ตัวเลขยอดขายปลีกของ 2 เดือนแรกปี 50 จะเป็นตัวเลขที่ให้ภาพการขายปลีกที่ชัดเจนกว่าตัวเลขที่แยกเป็นรายเดือน เนื่องจากตัวเลข
รายเดือนจะถูกบิดเบือนด้วยเทศกาลตรุษจีน ซึ่งในปีนี้อยู่ในเดือน ก.พ.50 ในขณะที่ปีที่แล้วอยู่ในช่วงคาบเกี่ยวระหว่างเดือน ม.ค.และ ก.พ. (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตโรงงานอุตสาหกรรมของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 ต่อเดือนในเดือน ก.พ.50 รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 26 มี.ค.50
ผลผลิตโรงงานอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ในเดือน ก.พ.50 หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 ต่อเดือนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ต่อปี
อันเป็นผลจากการเพิ่มผลผลิตของอุตสาหกรรมยาเพื่อให้ทันต่อความต้องการของผู้บริโภค โดยผลผลิตลดลงร้อยละ 5.4 และ 4.9 ต่อเดือนใน
เดือน ม.ค.50 และ ธ.ค.49 ตามลำดับ ในขณะที่ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ก่อนหน้านี้คาดว่าผลผลิตในเดือน ก.พ.50 จะลดลง
ร้อยละ 2.0 ต่อเดือนและลดลงร้อยละ 3.4 ต่อปี จากความต้องการสินค้าเทคโนโลยีของสิงคโปร์ในตลาดโลกลดลง ทั้งนี้หากไม่รวมผลผลิต
อุตสาหกรรมยาซึ่งค่อนข้างผันผวนแล้ว ผลผลิตโรงงานจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ต่อปีซึ่งสะท้อนพื้นฐานทางเศรษฐกิจได้ดีกว่าเนื่องจากบริษัทมัก
จะหยุดสายการผลิตเพื่อทำความสะอาดหรือเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ใหม่เสมอ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27 มี.ค. 50 26 มี.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.009 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.7554/35.1102 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.63313 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 679.04/9.25 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,950/11,050 10,850/10,950 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 60.22 59.76 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.59*/23.74* 27.59*/23.74* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 13 มี.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--