บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๑๔ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๔๘
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม
จากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่อง ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๗ (สมัยสามัญทั่วไป) วันจันทร์ที่ ๑๖
พฤษภาคม ๒๕๔๘ และครั้งที่ ๑๘ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๘ ได้ลงมติให้ขยายเวลา
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติออกไปเป็นกรณีพิเศษอีก ๓๐ วัน นับแต่วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๘
ตามมาตรา ๑๗๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๑๐ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. ….
๓. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๔. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. ….
๕. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. ….
๖. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. ….
๗. ร่างพระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๘. ร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ….
๙. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๑๐. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. ….
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระ ตามลำดับ คือ
๑. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบ เป็นกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
จำนวน ๒๔ คน และตั้งคณะกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๐๑. รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล ๐๒. นายดิสทัต โหตระกิตย์
๐๓. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ ๐๔. นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล
๐๕. นายชาญณรงค์ ปราณีจิตต์ ๐๖. พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์
๐๗. นายพินิจ จันทรสุรินทร์ ๑๘. นายปกิต พัฒนกุล
๐๙. นายชวลิต มหาจันทร์ ๑๐. นายธีระชาติ ปางวิรุฬห์รักษ์
๑๑. นายณรงค์ ดูดิง ๑๒. นายเกษม สรศักดิ์เกษม
๒. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบ เป็นกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
จำนวน ๒๔ คน และตั้งคณะกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๐๑. นายชัยพร ธนถาวรลาภ ๐๒. นายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว
๐๓. นายวีระ มุสิกพงศ์ ๐๔. นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์
๐๕. นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ ๐๖. นายประแสง มงคลศิริ
๐๗. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ๐๘. นายวัฒนา เซ่งไพเราะ
๐๙. นายสมศักดิ์ คุณเงิน ๑๐. ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค
๑๑. นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ๑๒. นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์
ต่อมา ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม โดยขอนำระเบียบวาระ
ตามลำดับดังต่อไปนี้ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุม เห็นชอบ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๔)
๒. ร่างพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. (ปรับปรุงวัตถุประสงค์ของ ธ.ก.ส. สัดส่วนการถือหุ้นของสถาบันการเงินและบุคคลอื่นใน ธ.ก.ส.)
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๕)
๓. ร่างพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๖)
ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี
เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๔)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายไชยยศ สะสมทรัพย์) แถลงหลักการและเหตุผล มีสมาชิกฯ
อภิปราย โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎรและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม
และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายไชยยศ สะสมทรัพย์) ตอบชี้แจงจนได้เวลา
พอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ตั้ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๐๑. นายไชยยศ สะสมทรัพย์๐ ๐๒. นางพรพิมล จุรุพันธุ์
๐๓. นายกฤษฎา อุทยานิน ๐๔. นายกฤษฎา พงษ์พันธุ์
๐๕. นายขรรค์ ประจวบเหมาะ ๐๖. นายพิมล ศรีวิกรม์
๐๗. หม่อมราชวงศ์ดำรงดิศ ดิศกุล ๐๘. นายวรัญญู เทพหัสดิน ณ อยุธยา
๐๙. นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ๑๐. นายอัมรินทร์ ตั้งประกอบ
๑๑. นายวิทยา บุรณศิริ ๑๒. นายปัญญา จีนาคำ
๑๓. นายสามารถ แก้วมีชัย ๑๔. นายไพศาล จันทรภักดี
๑๕. นายไพโรจน์ โล่ห์สุนทร ๑๖. ว่าที่ร้อยตรี พงศ์พันธ์ สุนทรชัย
๑๗. นายชัยยุทธ จรรย์โกมล ๑๘. นายสุรศักดิ์ นาคดี
๑๙. นางนันทนา ทิมสุวรรณ ๒๐. นายพงษ์ศักดิ์ บุญศล
๒๑. นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก ๒๒. นายประดุจ มั่นหมาย
๒๓. นายสิทธิรัตน์ รัตนวิจารณ์ ๒๔. นายชัยวัฒน์ กุลศักดิ์วิมล
๒๕. นายสิน กุมภะ ๒๖. นายยุทธนา ลับบัวงาม
๒๗. นายสมพงษ์ หิริกุล ๒๘. นายกรณ์ จาติกวณิช
๒๙. นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ๓๐. นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ
๓๑. นายบุรณัชย์ สมุทรักษ์ ๓๒. นายสุริยะ ศึกษากิจ
๓๓. นายธัชพงศ์ ธรรมพุฒิพงศ์ ๓๔. นายนิกร จำนง
๓๕. นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๒. ร่างพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(ปรับปรุงวัตถุประสงค์ของ ธ.ก.ส. สัดส่วนการถือหุ้นของสถาบันการเงินและบุคคลอื่นใน ธ.ก.ส.) ซึ่ง
คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๕)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) แถลงหลักการและเหตุผล มีสมาชิกฯ
อภิปราย โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎรและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม และ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ
จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๐๑. นายวราเทพ รัตนากร ๐๒. นายวิรัติ ศักดิ์จิรพาพงษ์
๐๓. นายกฤษฎา อุทยานิน๐ ๐๔. นายตรีทศ นิโครธางกูร
๐๕. นายธีระพงษ์ ตั้งธีระสุนันท์ ๐๖. นายกฤษ ศรีฟ้า
๐๗. พันตำรวจโท ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ ๐๘. นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร
๐๙. นายเรวัต สิรินุกุล ๑๐. นายชัยวัฒน์ ทรัพย์รวงทอง
๑๑. นายฉัตรชัย ศิลาพร ๑๒. นายวาสิต พยัคฆบุตร
๑๓. นายอำนวย ทงก๊ก ๑๔. นายเมธี ฉัตรจินดารัตน์
๑๕. พันจ่าอากาศโท กิตติคุณ นาคะบุตร ๑๖. นางสาวภัทรา วรามิตร
๑๗. นายธีระชัย แสนแก้ว ๑๘. นายปวีณ แซ่จึง
๑๙. นายโสภณ ซารัมย์ ๒๐. นายมานิตย์ สังข์พุ่ม
๒๑. นายศุภชัย โพธิ์สุ ๒๒. นายวิวัฒชัย โหตระไวศยะ
๒๓. นางสาวชะวรลัทธิ์ ชินธรรมมิตร ๒๔. นายจำนงค์ โพธิสาโร
๒๕. นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ ๒๖. นายประสพ บุษราคัม
๒๗. นายสหรัฐ กุลศรี ๒๘. นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล
๒๙. นายจุติ ไกรฤกษ์ ๓๐. นายนราพัฒน์ แก้วทอง
๓๑. นายยงยุทธ สุวภาพ ๓๒. นายประพันธ์ คูณมี
๓๓. นายเกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ๓๔. นายประภัตร โพธสุธน
๓๕. นายวิพัฒน์ คงมาลัย
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
เลิกประชุมเวลา ๑๙.๔๒ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไข เพิ่มเติม ตามมาตรา ๑๗๕ (๓)
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(ปรับปรุงวัตถุประสงค์ของ ธ.ก.ส. สัดส่วนการถือหุ้นของสถาบันการเงินและบุคคลอื่นใน ธ.ก.ส.)
******************************
ครั้งที่ ๑๔ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๔๘
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม
จากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่อง ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๗ (สมัยสามัญทั่วไป) วันจันทร์ที่ ๑๖
พฤษภาคม ๒๕๔๘ และครั้งที่ ๑๘ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๘ ได้ลงมติให้ขยายเวลา
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติออกไปเป็นกรณีพิเศษอีก ๓๐ วัน นับแต่วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๘
ตามมาตรา ๑๗๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๑๐ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. ….
๓. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๔. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. ….
๕. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. ….
๖. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. ….
๗. ร่างพระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๘. ร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ….
๙. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๑๐. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. ….
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระ ตามลำดับ คือ
๑. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบ เป็นกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
จำนวน ๒๔ คน และตั้งคณะกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๐๑. รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล ๐๒. นายดิสทัต โหตระกิตย์
๐๓. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ ๐๔. นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล
๐๕. นายชาญณรงค์ ปราณีจิตต์ ๐๖. พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์
๐๗. นายพินิจ จันทรสุรินทร์ ๑๘. นายปกิต พัฒนกุล
๐๙. นายชวลิต มหาจันทร์ ๑๐. นายธีระชาติ ปางวิรุฬห์รักษ์
๑๑. นายณรงค์ ดูดิง ๑๒. นายเกษม สรศักดิ์เกษม
๒. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบ เป็นกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
จำนวน ๒๔ คน และตั้งคณะกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๐๑. นายชัยพร ธนถาวรลาภ ๐๒. นายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว
๐๓. นายวีระ มุสิกพงศ์ ๐๔. นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์
๐๕. นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ ๐๖. นายประแสง มงคลศิริ
๐๗. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ๐๘. นายวัฒนา เซ่งไพเราะ
๐๙. นายสมศักดิ์ คุณเงิน ๑๐. ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค
๑๑. นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ๑๒. นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์
ต่อมา ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม โดยขอนำระเบียบวาระ
ตามลำดับดังต่อไปนี้ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุม เห็นชอบ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๔)
๒. ร่างพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. (ปรับปรุงวัตถุประสงค์ของ ธ.ก.ส. สัดส่วนการถือหุ้นของสถาบันการเงินและบุคคลอื่นใน ธ.ก.ส.)
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๕)
๓. ร่างพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๖)
ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี
เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๔)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายไชยยศ สะสมทรัพย์) แถลงหลักการและเหตุผล มีสมาชิกฯ
อภิปราย โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎรและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม
และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายไชยยศ สะสมทรัพย์) ตอบชี้แจงจนได้เวลา
พอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ตั้ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๐๑. นายไชยยศ สะสมทรัพย์๐ ๐๒. นางพรพิมล จุรุพันธุ์
๐๓. นายกฤษฎา อุทยานิน ๐๔. นายกฤษฎา พงษ์พันธุ์
๐๕. นายขรรค์ ประจวบเหมาะ ๐๖. นายพิมล ศรีวิกรม์
๐๗. หม่อมราชวงศ์ดำรงดิศ ดิศกุล ๐๘. นายวรัญญู เทพหัสดิน ณ อยุธยา
๐๙. นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ๑๐. นายอัมรินทร์ ตั้งประกอบ
๑๑. นายวิทยา บุรณศิริ ๑๒. นายปัญญา จีนาคำ
๑๓. นายสามารถ แก้วมีชัย ๑๔. นายไพศาล จันทรภักดี
๑๕. นายไพโรจน์ โล่ห์สุนทร ๑๖. ว่าที่ร้อยตรี พงศ์พันธ์ สุนทรชัย
๑๗. นายชัยยุทธ จรรย์โกมล ๑๘. นายสุรศักดิ์ นาคดี
๑๙. นางนันทนา ทิมสุวรรณ ๒๐. นายพงษ์ศักดิ์ บุญศล
๒๑. นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก ๒๒. นายประดุจ มั่นหมาย
๒๓. นายสิทธิรัตน์ รัตนวิจารณ์ ๒๔. นายชัยวัฒน์ กุลศักดิ์วิมล
๒๕. นายสิน กุมภะ ๒๖. นายยุทธนา ลับบัวงาม
๒๗. นายสมพงษ์ หิริกุล ๒๘. นายกรณ์ จาติกวณิช
๒๙. นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ๓๐. นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ
๓๑. นายบุรณัชย์ สมุทรักษ์ ๓๒. นายสุริยะ ศึกษากิจ
๓๓. นายธัชพงศ์ ธรรมพุฒิพงศ์ ๓๔. นายนิกร จำนง
๓๕. นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๒. ร่างพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(ปรับปรุงวัตถุประสงค์ของ ธ.ก.ส. สัดส่วนการถือหุ้นของสถาบันการเงินและบุคคลอื่นใน ธ.ก.ส.) ซึ่ง
คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๕)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) แถลงหลักการและเหตุผล มีสมาชิกฯ
อภิปราย โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎรและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม และ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ
จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๐๑. นายวราเทพ รัตนากร ๐๒. นายวิรัติ ศักดิ์จิรพาพงษ์
๐๓. นายกฤษฎา อุทยานิน๐ ๐๔. นายตรีทศ นิโครธางกูร
๐๕. นายธีระพงษ์ ตั้งธีระสุนันท์ ๐๖. นายกฤษ ศรีฟ้า
๐๗. พันตำรวจโท ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ ๐๘. นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร
๐๙. นายเรวัต สิรินุกุล ๑๐. นายชัยวัฒน์ ทรัพย์รวงทอง
๑๑. นายฉัตรชัย ศิลาพร ๑๒. นายวาสิต พยัคฆบุตร
๑๓. นายอำนวย ทงก๊ก ๑๔. นายเมธี ฉัตรจินดารัตน์
๑๕. พันจ่าอากาศโท กิตติคุณ นาคะบุตร ๑๖. นางสาวภัทรา วรามิตร
๑๗. นายธีระชัย แสนแก้ว ๑๘. นายปวีณ แซ่จึง
๑๙. นายโสภณ ซารัมย์ ๒๐. นายมานิตย์ สังข์พุ่ม
๒๑. นายศุภชัย โพธิ์สุ ๒๒. นายวิวัฒชัย โหตระไวศยะ
๒๓. นางสาวชะวรลัทธิ์ ชินธรรมมิตร ๒๔. นายจำนงค์ โพธิสาโร
๒๕. นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ ๒๖. นายประสพ บุษราคัม
๒๗. นายสหรัฐ กุลศรี ๒๘. นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล
๒๙. นายจุติ ไกรฤกษ์ ๓๐. นายนราพัฒน์ แก้วทอง
๓๑. นายยงยุทธ สุวภาพ ๓๒. นายประพันธ์ คูณมี
๓๓. นายเกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ๓๔. นายประภัตร โพธสุธน
๓๕. นายวิพัฒน์ คงมาลัย
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
เลิกประชุมเวลา ๑๙.๔๒ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไข เพิ่มเติม ตามมาตรา ๑๗๕ (๓)
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(ปรับปรุงวัตถุประสงค์ของ ธ.ก.ส. สัดส่วนการถือหุ้นของสถาบันการเงินและบุคคลอื่นใน ธ.ก.ส.)
******************************