กรุงเทพ--28 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
? ในเรื่องข้อคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายการต่างประเทศของรัฐบาลว่า เป็น ”เชิงรุก” หรือ ”เชิงรับ” นั้น เป็นการพิจารณาในเรื่องการนิยามว่าอะไรเป็น “รุก” อะไรเป็น “รับ” กระผมเข้าใจ เพราะเป็นเรื่องที่เผชิญมาตลอดในฐานะนักการทูต ทั้งนี้ ถ้าพูดถึงกลางวัน ในบางกรณีท่านอาจจะต้องพูดถึงเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้น แต่สำหรับบางประเทศ เราก็อาจต้องพูดถึงการที่พระอาทิตย์ขึ้นตอนกลางคืนด้วยเช่นกัน
? อย่างไรก็ดี เราไม่ได้พูดถึงคำนิยาม แต่กระผมอยากกราบเรียนว่า นโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันเริ่มต้นจากการที่จะต้องชี้แจงประเด็นติดลบของรัฐบาลไทย ประเทศไทย และคนไทย การที่จะต้องชี้แจงเรื่องนี้ กระผมถือว่าจะต้องเป็นการตีตื้นกลับมา โดยเฉพาะประเทศตะวันตกที่ประณามประเทศไทยว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นความผิดพลาดเป็นอย่างยิ่ง เป็นการถอยหลังเข้าคลองและใช้อำนาจประเทศไม่ถูกต้อง ประเทศเหล่านี้เห็นว่าสิ่งที่ถูกต้องคือ รัฐบาลที่มาจากวิถีทางที่ถูกต้องคือต้องมาจากการเลือกตั้งอย่างเดียว
? กระผมเป็นห่วงประเด็นหนึ่งว่า เรื่องนี้เราต้องดูให้ดี หากท่านไม่เข้าใจอดีตมาจากไหน จะไม่เข้าใจว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร ตามภาษิตที่ว่า “อดีตคืออารัมภบทของอนาคต” ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องชี้แจงให้นานาประเทศได้รับทราบ
? โอกาสหาไม่ง่าย การที่เราแสวงหาทุกๆ โอกาสที่มีอยู่ เพื่อนำความจริงและความปรารถนาของรัฐบาลที่จะพัฒนาประเทศกลับสู่กระบวนการประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ ให้ต่างประเทศได้รับทราบ เป็นสิ่งที่มีความจำเป็น ทั้งหมดนี้ กระผมจึงคิดว่าเป็นการตีตื้น แล้วการตีตื้นสำคัญอย่างไรต่อรัฐบาลนี้
? หากจะนึกย้อนหลังไปสักนิด จะเห็นภาพที่แน่ชัดว่า หลังเหตุการณ์ 19 ก.ย. 2549 มีประเทศที่สำคัญกับไทยในทุกด้าน ไม่น้อยกว่า 25 ประเทศได้ออกมาประณามประเทศไทย การแก้ต่างเรื่องนี้จึงจำเป็นต้องทำ เพื่อให้รู้ว่าเรามีเจตนาอย่างไร จนกระทั่งปัจจุบัน ภาวะความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ในเชิงสารัตถะน่าจะเรียกได้ว่าปกติ
? รัฐบาลเริ่มต้นด้วยการติดต่อ ประสานงาน หารือชี้แจง ชี้ให้เขาเห็นว่า เรามาจากไหน อดีตของเราเป็นอย่างไร เดือนเมษายนปีที่แล้วเป็นอย่างไร การไม่มีรัฐสภาเป็นอย่างไร บัดนี้ แนวทางที่จะนำไปสู่จุดจบในภาวะชั่วคราวนี้จะเป็นอย่างไร ไม่ใช่ว่าเราไม่พยายามชี้แจง เรากล่าวโดยละเอียดเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนปรารถนาให้เกิดประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วม ทั้งหมดใช้เวลา 4 - 5 เดือนที่เราได้ตีตื้นกลับมาสู่สภาพปกติ
? ขอให้ท่านวางใจได้ว่า เราได้พูดและจะพูดอีก จะชี้แจงกับมวลมิตรประเทศของเรา ว่าเราต้องการแก้ไขสิ่งที่ไม่ถูกต้อง โดยดำเนินมาตรการหลายอย่างในปัจจุบัน รวมทั้งการมีคณะกรรมการตรวจสอบ ชี้แจงผลการดำเนินงานที่ชัดเจนของคณะกรรมการฯ และผลที่คาดว่าจะตามมาในอนาคต
? สิ่งที่ต้องชี้แจงต่อไปในอนาคต คือ พื้นฐานของประชาธิปไตยของไทยน่าจะเป็นพื้นฐานที่มั่นคงมากขึ้น เรามีการร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นตามกำหนด วันที่ 3 ก.ย. ศกนี้ จะมีการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ จากนั้น จะมีการออกกฎหมายลูกรองรับรัฐธรรมนูญ และจะมีการเลือกตั้งในเดือน ธ.ค. ศกนี้ เพื่อให้ประชาชนได้เลือกรัฐบาลของตนเอง
? เราคงไม่สามารถนั่งเฉยๆ โดยไม่ชี้แจงให้เขาเห็นและเข้าใจว่าประเด็นของปัญหาอยู่ตรงไหน นำมาสู่ปัญหาอะไร สิ่งที่มาถึงจุดนี้จนกระทั่งการเลือกตั้งในอนาคตนั้นจะเป็นอะไร เพราะทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่รัฐบาลจะต้องทำ และเป็นการดำเนินนโยบายในเชิงรุก ใช้โอกาสที่มีอยู่
? อีกประเด็นที่ทำและทำในเชิงรุก คือ ภาคใต้ เมื่อ 2 ปีที่แล้วประเด็นนี้กลายเป็นประเด็นสากล เพราะมีการนำเรื่องภาคใต้บรรจุในกรอบการประชุมสากลของประเทศมุสลิม สร้างความลำบากให้รัฐบาลไทยอย่างมาก
? ประเด็นที่บรรจุในกรอบองค์การการประชุมอิสลาม (OIC) เป็นประเด็นในเชิงลบกับประเทศไทยทั้งสิ้น เช่น เรื่องการใช้กำลังในทางที่ไม่ถูกต้อง และการข่มเหงชาวมุสลิม เรื่องนี้ค่อนข้างจะบานปลายพอสมควร รัฐบาลปัจจุบันพยายามดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อตีตื้นในเรื่องนี้ โดยการชี้แจงในเชิงรุกให้สมาชิก OIC ได้รับทราบข้อเท็จจริงและการพัฒนาของนโยบายการแก้ไขปัญหาภาคใต้ของไทย
? รัฐบาลไทยได้กลับมาสู่จุดที่ได้รับการยอมรับจาก OIC ว่าแนวนโยบายปัจจุบัน ถูกต้อง และประเด็นสำคัญคือ รัฐบาลปัจจุบันไม่ใช้ความรุนแรงซึ่งเป็นมาตรการที่กลุ่มประเทศมุสลิมนี้ต่อต้านอย่างยิ่งแต่รัฐบาลยึดแนวทางสันติวิธีในการแก้ปัญหาสามจังหวัดภาคใต้
? สิ่งที่ได้มาเหล่านี้เป็นการดำเนินการในเชิงรุกทั้งสิ้น ตั้งแต่ประเทศข้างเคียง ที่เราดึงเข้ามาสนับสนุนไทยและเข้าใจเจตนาที่แน่วแน่ของรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี ขยายไปสู่การทำความเข้าใจกับประเทศในกลุ่มโลกมุสลิมทั้งหลาย จนถึงการประชุมระดับรัฐมนตรี OIC ครั้งที่ 34 ที่ปากีสถาน ซึ่งที่ประชุมได้มีการถกเถียงกันในเรื่องนี้ ในที่สุดด้วยความพยายามของฝ่ายเราและมิตรประเทศทั้งหลาย เอกสารทางการของการประชุมฯ ที่เรียกว่า “ปฏิญญาของกรุงอิสลามาบัด” ได้ออกมาในลักษณะที่เป็นคุณต่อรัฐบาลไทยและประเทศไทย
? ทั้งหมดไม่ใช่พูดซ้ำพูดซาก แต่เป็นการดำเนินนโยบายเชิงรุกของไทยเพื่อผลักดันวาระแห่งชาติที่สำคัญของรัฐบาล 2 เรื่อง
? นอกจากนั้น รัฐบาลยังได้ดำเนินการเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในกรอบของอนุภูมิภาค การพัฒนา และการรวมตัวเพื่อสร้างความแข็งแกร่งของมวลมิตรของไทย ซึ่งในท้ายที่สุด ประเทศไทยก็จะได้รับประโยชน์ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
? ในเรื่องข้อคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายการต่างประเทศของรัฐบาลว่า เป็น ”เชิงรุก” หรือ ”เชิงรับ” นั้น เป็นการพิจารณาในเรื่องการนิยามว่าอะไรเป็น “รุก” อะไรเป็น “รับ” กระผมเข้าใจ เพราะเป็นเรื่องที่เผชิญมาตลอดในฐานะนักการทูต ทั้งนี้ ถ้าพูดถึงกลางวัน ในบางกรณีท่านอาจจะต้องพูดถึงเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้น แต่สำหรับบางประเทศ เราก็อาจต้องพูดถึงการที่พระอาทิตย์ขึ้นตอนกลางคืนด้วยเช่นกัน
? อย่างไรก็ดี เราไม่ได้พูดถึงคำนิยาม แต่กระผมอยากกราบเรียนว่า นโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันเริ่มต้นจากการที่จะต้องชี้แจงประเด็นติดลบของรัฐบาลไทย ประเทศไทย และคนไทย การที่จะต้องชี้แจงเรื่องนี้ กระผมถือว่าจะต้องเป็นการตีตื้นกลับมา โดยเฉพาะประเทศตะวันตกที่ประณามประเทศไทยว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นความผิดพลาดเป็นอย่างยิ่ง เป็นการถอยหลังเข้าคลองและใช้อำนาจประเทศไม่ถูกต้อง ประเทศเหล่านี้เห็นว่าสิ่งที่ถูกต้องคือ รัฐบาลที่มาจากวิถีทางที่ถูกต้องคือต้องมาจากการเลือกตั้งอย่างเดียว
? กระผมเป็นห่วงประเด็นหนึ่งว่า เรื่องนี้เราต้องดูให้ดี หากท่านไม่เข้าใจอดีตมาจากไหน จะไม่เข้าใจว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร ตามภาษิตที่ว่า “อดีตคืออารัมภบทของอนาคต” ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องชี้แจงให้นานาประเทศได้รับทราบ
? โอกาสหาไม่ง่าย การที่เราแสวงหาทุกๆ โอกาสที่มีอยู่ เพื่อนำความจริงและความปรารถนาของรัฐบาลที่จะพัฒนาประเทศกลับสู่กระบวนการประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ ให้ต่างประเทศได้รับทราบ เป็นสิ่งที่มีความจำเป็น ทั้งหมดนี้ กระผมจึงคิดว่าเป็นการตีตื้น แล้วการตีตื้นสำคัญอย่างไรต่อรัฐบาลนี้
? หากจะนึกย้อนหลังไปสักนิด จะเห็นภาพที่แน่ชัดว่า หลังเหตุการณ์ 19 ก.ย. 2549 มีประเทศที่สำคัญกับไทยในทุกด้าน ไม่น้อยกว่า 25 ประเทศได้ออกมาประณามประเทศไทย การแก้ต่างเรื่องนี้จึงจำเป็นต้องทำ เพื่อให้รู้ว่าเรามีเจตนาอย่างไร จนกระทั่งปัจจุบัน ภาวะความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ในเชิงสารัตถะน่าจะเรียกได้ว่าปกติ
? รัฐบาลเริ่มต้นด้วยการติดต่อ ประสานงาน หารือชี้แจง ชี้ให้เขาเห็นว่า เรามาจากไหน อดีตของเราเป็นอย่างไร เดือนเมษายนปีที่แล้วเป็นอย่างไร การไม่มีรัฐสภาเป็นอย่างไร บัดนี้ แนวทางที่จะนำไปสู่จุดจบในภาวะชั่วคราวนี้จะเป็นอย่างไร ไม่ใช่ว่าเราไม่พยายามชี้แจง เรากล่าวโดยละเอียดเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนปรารถนาให้เกิดประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วม ทั้งหมดใช้เวลา 4 - 5 เดือนที่เราได้ตีตื้นกลับมาสู่สภาพปกติ
? ขอให้ท่านวางใจได้ว่า เราได้พูดและจะพูดอีก จะชี้แจงกับมวลมิตรประเทศของเรา ว่าเราต้องการแก้ไขสิ่งที่ไม่ถูกต้อง โดยดำเนินมาตรการหลายอย่างในปัจจุบัน รวมทั้งการมีคณะกรรมการตรวจสอบ ชี้แจงผลการดำเนินงานที่ชัดเจนของคณะกรรมการฯ และผลที่คาดว่าจะตามมาในอนาคต
? สิ่งที่ต้องชี้แจงต่อไปในอนาคต คือ พื้นฐานของประชาธิปไตยของไทยน่าจะเป็นพื้นฐานที่มั่นคงมากขึ้น เรามีการร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นตามกำหนด วันที่ 3 ก.ย. ศกนี้ จะมีการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ จากนั้น จะมีการออกกฎหมายลูกรองรับรัฐธรรมนูญ และจะมีการเลือกตั้งในเดือน ธ.ค. ศกนี้ เพื่อให้ประชาชนได้เลือกรัฐบาลของตนเอง
? เราคงไม่สามารถนั่งเฉยๆ โดยไม่ชี้แจงให้เขาเห็นและเข้าใจว่าประเด็นของปัญหาอยู่ตรงไหน นำมาสู่ปัญหาอะไร สิ่งที่มาถึงจุดนี้จนกระทั่งการเลือกตั้งในอนาคตนั้นจะเป็นอะไร เพราะทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่รัฐบาลจะต้องทำ และเป็นการดำเนินนโยบายในเชิงรุก ใช้โอกาสที่มีอยู่
? อีกประเด็นที่ทำและทำในเชิงรุก คือ ภาคใต้ เมื่อ 2 ปีที่แล้วประเด็นนี้กลายเป็นประเด็นสากล เพราะมีการนำเรื่องภาคใต้บรรจุในกรอบการประชุมสากลของประเทศมุสลิม สร้างความลำบากให้รัฐบาลไทยอย่างมาก
? ประเด็นที่บรรจุในกรอบองค์การการประชุมอิสลาม (OIC) เป็นประเด็นในเชิงลบกับประเทศไทยทั้งสิ้น เช่น เรื่องการใช้กำลังในทางที่ไม่ถูกต้อง และการข่มเหงชาวมุสลิม เรื่องนี้ค่อนข้างจะบานปลายพอสมควร รัฐบาลปัจจุบันพยายามดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อตีตื้นในเรื่องนี้ โดยการชี้แจงในเชิงรุกให้สมาชิก OIC ได้รับทราบข้อเท็จจริงและการพัฒนาของนโยบายการแก้ไขปัญหาภาคใต้ของไทย
? รัฐบาลไทยได้กลับมาสู่จุดที่ได้รับการยอมรับจาก OIC ว่าแนวนโยบายปัจจุบัน ถูกต้อง และประเด็นสำคัญคือ รัฐบาลปัจจุบันไม่ใช้ความรุนแรงซึ่งเป็นมาตรการที่กลุ่มประเทศมุสลิมนี้ต่อต้านอย่างยิ่งแต่รัฐบาลยึดแนวทางสันติวิธีในการแก้ปัญหาสามจังหวัดภาคใต้
? สิ่งที่ได้มาเหล่านี้เป็นการดำเนินการในเชิงรุกทั้งสิ้น ตั้งแต่ประเทศข้างเคียง ที่เราดึงเข้ามาสนับสนุนไทยและเข้าใจเจตนาที่แน่วแน่ของรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี ขยายไปสู่การทำความเข้าใจกับประเทศในกลุ่มโลกมุสลิมทั้งหลาย จนถึงการประชุมระดับรัฐมนตรี OIC ครั้งที่ 34 ที่ปากีสถาน ซึ่งที่ประชุมได้มีการถกเถียงกันในเรื่องนี้ ในที่สุดด้วยความพยายามของฝ่ายเราและมิตรประเทศทั้งหลาย เอกสารทางการของการประชุมฯ ที่เรียกว่า “ปฏิญญาของกรุงอิสลามาบัด” ได้ออกมาในลักษณะที่เป็นคุณต่อรัฐบาลไทยและประเทศไทย
? ทั้งหมดไม่ใช่พูดซ้ำพูดซาก แต่เป็นการดำเนินนโยบายเชิงรุกของไทยเพื่อผลักดันวาระแห่งชาติที่สำคัญของรัฐบาล 2 เรื่อง
? นอกจากนั้น รัฐบาลยังได้ดำเนินการเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในกรอบของอนุภูมิภาค การพัฒนา และการรวมตัวเพื่อสร้างความแข็งแกร่งของมวลมิตรของไทย ซึ่งในท้ายที่สุด ประเทศไทยก็จะได้รับประโยชน์ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-