วันที่ 17 มกราคม 2550 นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปปัตย์ และประธานคณะกรรมการตรวจสอบการทุจริตของพรรคได้เข้ายื่นเรื่องต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ปปช.) โดยขอให้ ปปช.ขยายผลการสอบสวนคดี นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ กรณีทอท.ทำสัญญาจ้างบริษัทแท็กส์บริหารเขตปลอดอากรและศูนย์โลจิสติกส์ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 10,000 ล้านโดยไม่มีการประมูลแข่งขัน
จากกรณีที่ปปช.มีมติเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2549 ให้ตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนกรณี นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองร่ำรวยผิดปกติตามที่นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีต ส.ส.เพชรบุรี ในฐานะประธานคณะทำงานตรวจสอบการทุจริตของพรรคประชาธิปัตย์ได้ยื่นเรื่องต่อ ปปช.เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม2549 นั้น คณะทำงานตรวจสอบการทุจริตของพรรคประชาธิปัตย์ได้ติดตามตรวจสอบพยานและหลักฐานอย่างต่อเนื่องในกรณีที่เกี่ยวโยงกับคดีที่อ้างถึงเบื้องต้นพบว่า การที่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ได้ว่าจ้างบริษัทไทยแอร์พอตส์ กราวด์ เซอร์วิสเซส จำกัด (แท็กส์)ให้บริหารเขตปลอดอากรและศูนย์โลจิตส์ติกส์ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิลงนามในสัญญาวันที่ 28 เมษายน 2549 เป็นระยะเวลา 10 ปี มูลค่างาน 10,000 ล้านบาทโดยไม่มีการประมูลนั้น มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า 2 กรณีนี้มีเบื้องหน้าเบื้องหลังสัมพันธ์กันโดยเฉพาะสัญญาว่าจ้างบริษัทแท็กส์โดยทอท.เกิดขึ้นภายหลังจากที่บริษัทโฟรบิเชอร์(สิงคโปร์)เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทแท็กส์ ทั้งที่ก่อนหน้านี้บริษัท แท็กส์ไม่เคยได้รับงานในสนามบินสุวรรณภูมิเลยแต่เมื่อ บริษัทโฟรบิเซอร์ เข้ามาถือหุ้นใหญ่ 48.5 เปอร์เซ็นต์กลับปรากฏว่าบริษัท แท็กส์ ได้ทำสัญญามูลค่า 1 หมื่นล้านบาทโดยไม่มีการแข่งขัน
คณะทำงานตรวจสอบการทุจริตฯ จึงตรวจสอบหลักฐานการจดทะเบียนของบริษัท โฟรบิเซอร์ซึ่งถือว่าเป็นพันธมิตรธุรกิจของทอท. ปรากฏว่าเป็นบริษัทจดทะเบียนจัดตั้งในประเทศสิงคโปร์และเป็นบริษัทที่มีผลประกอบการต่ำมาก เพราะเอกสารงบดุลการเงินที่บริษัทรายงานต่อทางการสิงคโปร์ระบุผลประกอบการในปี 2546 ว่ามีรายได้5 เหรียญสิงคโปร์ คิดเป็นเงินไทย 120 บาท และปี 2547 มีรายได้ลดลงเหลือเพียง 4 เหรียญสิงคโปร์ประมาณ 100 บาท แต่เมื่อช่วงปี 2547-2548 กลับมีการรายงานต่อทางการสิงคโปร์ว่าใช้เงิน 198 ล้านบาทกว้านซื้อหุ้นของบริษัท แท็กส์จากผู้ถือหุ้นเดิมซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทสายการบินต่างๆจนกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ถือครองหุ้นร้อยละ28.5 ดังกล่าวข้างต้นโดยบริษัทดีเทคซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาธุรกิจของบริษัทแท็กส์ชักจูงให้เข้ามาถือหุ้นใหญ่ในบริษัทแท็กส์ขณะที่ ทอท.ยังคงถือหุ้นร้อยละ28.5 คงเดิมแต่เปลี่ยนจากผู้ถือหุ้นมากที่สุดเป็นผู้ถือหุ้นอันดับสอง
คณะทำงานฯ.จึงสอบสวนต่อไปว่า เหตุใดบริษัทโฟรบิเชอร์ซึ่งมีสถานะทางการเงินน่าเคลือบแคลงดังกล่าวจึงผ่านการตรวจสอบโดยบอร์ดของทอท.และบอร์ดของบริษัทแท็กส์ และยิ่งน่าสงสัยมากขึ้นเมื่อปรากฏว่าผู้ถือหุ้นของบริษัท โฟรบิชเซอร์ เป็นคนสิงคโปร์และคนไทยฝ่ายละ50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจาก
การตรวจสอบบ้านของผู้ถือหุ้นที่เป็นคนไทยตามทะเบียนบริษัท พบว่าเป็นบ้านร้าง แต่ปัจจุบันถูกรื้อทิ้งไปแล้วและมีบ้านที่ปรากฏตามทะเบียนราษฎรของทางการไทยพบว่าเป็นเพียงบ้านทาวเฮ้าส์หลังเล็กๆทำให้ไม่น่าเชื่อว่าจะมีฐานะเป็นหุ้นส่วนเจ้าของบริษัทโฟรบิเชอร์ด้วยตัวเองซึ่งสอดคล้องกับการที่ผู้ถือหุ้นคนไทยรายนี้แจ้งในทะเบียนพาณิชย์สิงคโปร์ว่าถือหุ้นในนามของ”ทรัสต์” จึงเชื่อได้ว่าผู้ถือหุ้นรายนี้เป็นนอมินีของบุคคลบางคน
นอกจากนี้ ยังตรวจสอบพบว่าบริษัท ดีเทค ซึ่งจดทะเบียนบริษัทที่เกาะบริติช เวอร์จิ้นไอส์แลนด์นั้นมีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับบริษัท โฟรบิเซอร์ เพราะบริษัท ดีเทค และบริษัท โฟรบิชเซอร์ มีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่เดียวกันในประเทศสิงคโปร์คือ128 Tanjong Pagar Road,Singapore 088535 ส่อให้เห็นชัดเจนว่า บริษัททั้งสองเป็นกลุ่มเดียวกัน และเมื่อตรวจสอบผู้ถือหุ้นและตัวแทนในประเทศไทยของทั้งสองบริษัทปรากฏว่าเป็นคณะบุคคลกลุ่มเดียวกัน(เอกสารแนบ)โดยมีความเกี่ยวโยงไปถึงคนใกล้ชิดชื่อ “ส”ของผู้บริหารคนหนึ่งของ ทอท.และบอร์ดของบริษัทแท็กส์และหลานสาวชื่อ”นางสาว ป.”ของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ซึ่งจากการสอบสวนพบว่าเป็นตัวแทนทำงานคนสำคัญของบุคคลที่กล่าวถึงเบื้องต้นโดยเข้าไปมีบทบาทในบริษัทแท็กส์กรณีการโอนเงินระหว่างบริษัทแท็กส์กับบริษัทแท็กส์และบริษัทโฟรบิเชอร์ทั้งที่ไม่ได้มีตำแหน่งใดๆในบริษัทแท็กส์รวมถึงบุคคลอื่นๆที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลทักษิณชินวัตรที่มีชื่อว่า”นาย ท.” และ”นาย ธ.”
จากการสืบสวนสอบสวนพยานและหลักฐานดังกล่าว คณะทำงานตรวจสอบการทุจริตฯ.เชื่อว่ามีขบวนการปล้นชาติวางแผนและดำเนินการยักยอกเงิน400 ล้านออกจากบริษัทแท็กส์ ซึ่งเป็นบริษัทลูกของรัฐวิสาหกิจไทยคือ ทอท.ในรูปค่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา(บริษัทดีเทค)400 ล้านแล้วฟอกเงินดังกล่าวผ่านบริษัทโฟรบิเชอร์เข้ามาซื้อหุ้นใหญ่ในบริษัทแท็กส์อีกทีหนึ่ง โดยการสมรู่ร่วมคิดทุจริตกับผู้บริหารและบอร์ดบางคนของ ทอท.สมัยนายศรีสุข จันทรางสุเป็นประธานและบริษัทแท็กส์ที่มี นายอนุพงษ์ โรจน์นครินทร์เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ หลังจากนั้นก็ป้อนงานสัญญาจ้าง10,000 ล้านและงานต่างๆในสนามบินสุวรรณภูมิให้กับบริษัทแท็กส์ ซึ่งหาก ปปช.จะได้ตรวจสอบเส้นทางการเงินและบัญชีธนาคารของบริษัทต่างๆและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้ทั้งหมดก็เชื่อได้ว่าจะสามารถขยายผลการสอบสวนเป็นประโยชน์ต่อรูปคดีการไต่สวนกรณีนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ที่ปปช.กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้พร้อมกับหาผู้กระทำผิดมาลงโทษต่อไป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 17 ม.ค. 2550--จบ--
จากกรณีที่ปปช.มีมติเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2549 ให้ตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนกรณี นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองร่ำรวยผิดปกติตามที่นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีต ส.ส.เพชรบุรี ในฐานะประธานคณะทำงานตรวจสอบการทุจริตของพรรคประชาธิปัตย์ได้ยื่นเรื่องต่อ ปปช.เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม2549 นั้น คณะทำงานตรวจสอบการทุจริตของพรรคประชาธิปัตย์ได้ติดตามตรวจสอบพยานและหลักฐานอย่างต่อเนื่องในกรณีที่เกี่ยวโยงกับคดีที่อ้างถึงเบื้องต้นพบว่า การที่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ได้ว่าจ้างบริษัทไทยแอร์พอตส์ กราวด์ เซอร์วิสเซส จำกัด (แท็กส์)ให้บริหารเขตปลอดอากรและศูนย์โลจิตส์ติกส์ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิลงนามในสัญญาวันที่ 28 เมษายน 2549 เป็นระยะเวลา 10 ปี มูลค่างาน 10,000 ล้านบาทโดยไม่มีการประมูลนั้น มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า 2 กรณีนี้มีเบื้องหน้าเบื้องหลังสัมพันธ์กันโดยเฉพาะสัญญาว่าจ้างบริษัทแท็กส์โดยทอท.เกิดขึ้นภายหลังจากที่บริษัทโฟรบิเชอร์(สิงคโปร์)เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทแท็กส์ ทั้งที่ก่อนหน้านี้บริษัท แท็กส์ไม่เคยได้รับงานในสนามบินสุวรรณภูมิเลยแต่เมื่อ บริษัทโฟรบิเซอร์ เข้ามาถือหุ้นใหญ่ 48.5 เปอร์เซ็นต์กลับปรากฏว่าบริษัท แท็กส์ ได้ทำสัญญามูลค่า 1 หมื่นล้านบาทโดยไม่มีการแข่งขัน
คณะทำงานตรวจสอบการทุจริตฯ จึงตรวจสอบหลักฐานการจดทะเบียนของบริษัท โฟรบิเซอร์ซึ่งถือว่าเป็นพันธมิตรธุรกิจของทอท. ปรากฏว่าเป็นบริษัทจดทะเบียนจัดตั้งในประเทศสิงคโปร์และเป็นบริษัทที่มีผลประกอบการต่ำมาก เพราะเอกสารงบดุลการเงินที่บริษัทรายงานต่อทางการสิงคโปร์ระบุผลประกอบการในปี 2546 ว่ามีรายได้5 เหรียญสิงคโปร์ คิดเป็นเงินไทย 120 บาท และปี 2547 มีรายได้ลดลงเหลือเพียง 4 เหรียญสิงคโปร์ประมาณ 100 บาท แต่เมื่อช่วงปี 2547-2548 กลับมีการรายงานต่อทางการสิงคโปร์ว่าใช้เงิน 198 ล้านบาทกว้านซื้อหุ้นของบริษัท แท็กส์จากผู้ถือหุ้นเดิมซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทสายการบินต่างๆจนกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ถือครองหุ้นร้อยละ28.5 ดังกล่าวข้างต้นโดยบริษัทดีเทคซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาธุรกิจของบริษัทแท็กส์ชักจูงให้เข้ามาถือหุ้นใหญ่ในบริษัทแท็กส์ขณะที่ ทอท.ยังคงถือหุ้นร้อยละ28.5 คงเดิมแต่เปลี่ยนจากผู้ถือหุ้นมากที่สุดเป็นผู้ถือหุ้นอันดับสอง
คณะทำงานฯ.จึงสอบสวนต่อไปว่า เหตุใดบริษัทโฟรบิเชอร์ซึ่งมีสถานะทางการเงินน่าเคลือบแคลงดังกล่าวจึงผ่านการตรวจสอบโดยบอร์ดของทอท.และบอร์ดของบริษัทแท็กส์ และยิ่งน่าสงสัยมากขึ้นเมื่อปรากฏว่าผู้ถือหุ้นของบริษัท โฟรบิชเซอร์ เป็นคนสิงคโปร์และคนไทยฝ่ายละ50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจาก
การตรวจสอบบ้านของผู้ถือหุ้นที่เป็นคนไทยตามทะเบียนบริษัท พบว่าเป็นบ้านร้าง แต่ปัจจุบันถูกรื้อทิ้งไปแล้วและมีบ้านที่ปรากฏตามทะเบียนราษฎรของทางการไทยพบว่าเป็นเพียงบ้านทาวเฮ้าส์หลังเล็กๆทำให้ไม่น่าเชื่อว่าจะมีฐานะเป็นหุ้นส่วนเจ้าของบริษัทโฟรบิเชอร์ด้วยตัวเองซึ่งสอดคล้องกับการที่ผู้ถือหุ้นคนไทยรายนี้แจ้งในทะเบียนพาณิชย์สิงคโปร์ว่าถือหุ้นในนามของ”ทรัสต์” จึงเชื่อได้ว่าผู้ถือหุ้นรายนี้เป็นนอมินีของบุคคลบางคน
นอกจากนี้ ยังตรวจสอบพบว่าบริษัท ดีเทค ซึ่งจดทะเบียนบริษัทที่เกาะบริติช เวอร์จิ้นไอส์แลนด์นั้นมีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับบริษัท โฟรบิเซอร์ เพราะบริษัท ดีเทค และบริษัท โฟรบิชเซอร์ มีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่เดียวกันในประเทศสิงคโปร์คือ128 Tanjong Pagar Road,Singapore 088535 ส่อให้เห็นชัดเจนว่า บริษัททั้งสองเป็นกลุ่มเดียวกัน และเมื่อตรวจสอบผู้ถือหุ้นและตัวแทนในประเทศไทยของทั้งสองบริษัทปรากฏว่าเป็นคณะบุคคลกลุ่มเดียวกัน(เอกสารแนบ)โดยมีความเกี่ยวโยงไปถึงคนใกล้ชิดชื่อ “ส”ของผู้บริหารคนหนึ่งของ ทอท.และบอร์ดของบริษัทแท็กส์และหลานสาวชื่อ”นางสาว ป.”ของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ซึ่งจากการสอบสวนพบว่าเป็นตัวแทนทำงานคนสำคัญของบุคคลที่กล่าวถึงเบื้องต้นโดยเข้าไปมีบทบาทในบริษัทแท็กส์กรณีการโอนเงินระหว่างบริษัทแท็กส์กับบริษัทแท็กส์และบริษัทโฟรบิเชอร์ทั้งที่ไม่ได้มีตำแหน่งใดๆในบริษัทแท็กส์รวมถึงบุคคลอื่นๆที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลทักษิณชินวัตรที่มีชื่อว่า”นาย ท.” และ”นาย ธ.”
จากการสืบสวนสอบสวนพยานและหลักฐานดังกล่าว คณะทำงานตรวจสอบการทุจริตฯ.เชื่อว่ามีขบวนการปล้นชาติวางแผนและดำเนินการยักยอกเงิน400 ล้านออกจากบริษัทแท็กส์ ซึ่งเป็นบริษัทลูกของรัฐวิสาหกิจไทยคือ ทอท.ในรูปค่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา(บริษัทดีเทค)400 ล้านแล้วฟอกเงินดังกล่าวผ่านบริษัทโฟรบิเชอร์เข้ามาซื้อหุ้นใหญ่ในบริษัทแท็กส์อีกทีหนึ่ง โดยการสมรู่ร่วมคิดทุจริตกับผู้บริหารและบอร์ดบางคนของ ทอท.สมัยนายศรีสุข จันทรางสุเป็นประธานและบริษัทแท็กส์ที่มี นายอนุพงษ์ โรจน์นครินทร์เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ หลังจากนั้นก็ป้อนงานสัญญาจ้าง10,000 ล้านและงานต่างๆในสนามบินสุวรรณภูมิให้กับบริษัทแท็กส์ ซึ่งหาก ปปช.จะได้ตรวจสอบเส้นทางการเงินและบัญชีธนาคารของบริษัทต่างๆและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้ทั้งหมดก็เชื่อได้ว่าจะสามารถขยายผลการสอบสวนเป็นประโยชน์ต่อรูปคดีการไต่สวนกรณีนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ที่ปปช.กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้พร้อมกับหาผู้กระทำผิดมาลงโทษต่อไป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 17 ม.ค. 2550--จบ--