กรุงเทพ--16 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2550 นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง ประเทศ ได้พบหารือทวิภาคีกับ Dr. Frank-Walter Steinmeierรัฐมนตรีต่างประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เวลา 16.00-16.50 น. และนาย Per Stig Moller รัฐมนตรีต่างประเทศเดนมาร์ก เวลา 17.40-18.10 น.
ในช่วงการหารือรวม 50 นาที รัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมนีได้แสดงความสนใจขอให้ฝ่ายไทยเล่าถึงสถานการณ์ทางการเมืองของไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ลำดับเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในไทยช่วง 13 เดือนก่อนการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเมื่อ 19 กันยายน 2549 ถึงปัญหาความตึงเครียดและความชะงักงันทางการเมืองที่นำไปสู่การยุบสภาเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2549 การจัดเลือกตั้งเมื่อ 2 เมษายน 2549 ที่พรรคการเมืองใหญ่เพียงพรรคเดียวเหลืออยู่ในการแข่งขัน ไม่มีพรรคการเมืองสำคัญๆ อื่นส่งผู้สมัคร และผลการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่ปรากฏเสียงไม่เห็นด้วย (ประมาณ 11 ล้านเสียง) ที่ไม่แตกต่างจากเสียงสนับสนุน (ประมาณ 13 ล้านเสียง) มากนัก จากนั้นฝ่ายตุลาการโดยศาลปกครองสูงสุดตัดสินให้การเลือกตั้งดังกล่าวเป็นโมฆะ และการเมืองถึงทางตัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวถึงสภาพสังคมในระยะก่อน 19 กันยายน 2549 ที่มีความแตกแยกอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน องค์กรอิสระไม่สามารถทำหน้าที่ได้ จนเป็นเหตุที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เกิดการสูญเสียเลือดเนื้อแต่ประการใด
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งให้ทราบถึงการดำเนินกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญตามกรอบเวลาที่จะนำไปสู่การออกเสียงประชามติ การเลือกตั้งทั่วไป และรัฐบาลชุดปัจจุบันจะพยายามให้รัฐบาลชุดใหม่รับช่วงการบริหารงานต่อโดยเร็วที่สุด กล่าวคือประมาณปลายปี 2550
ภายหลังการหารือ รัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมนีกล่าวว่า ข้อเท็จจริงที่ได้รับทำให้เยอรมนีมีความเข้าในที่ถูกต้อง (correct impression) เกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองไทย
ประเด็นอื่นๆ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้ความกระจ่างเพิ่มเติม ได้แก่ การแก้ไขร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจคนต่างด้าว พ.ศ.2542 โดยได้ย้ำเป้าหมายของการสร้างการแข่งขันที่เป็นธรรมทางธุรกิจและโปร่งใส รวมทั้งชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักธุรกิจต่างประเทศที่ยังมีต่อการลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง รัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมนีให้ความสนใจในเรื่องการแก้ไขปัญหาม้ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้ทัศนะในเรื่องนี้ว่าเป็นปัญหาที่ต้องการการแก้ไขอย่างยั่งยืน ซึ่งต้องคำนึงถึงหลายมิติ ที่สำคัญมากประการหนึ่งคือ ความร่วมมือและไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างไทยกับลาว ซึ่งขณะนี้ มีบรรยากาศที่ดีและทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะร่วมกันหารือแก้ปัญหาด้วยความเข้าอกเข้าใจกัน
สำหรับการหารือกับรัฐมนตรีต่างประเทศเดนมาร์กนั้น นอกเหนือจากเรื่องสถานการณ์การเมืองของไทยที่ฝ่ายเดนมาร์กสอบถามถึงด้วยความสนใจและได้รับฟังคำอธิบายแล้ว ได้แสดงถึงความเข้าใจต่อข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมากขึ้น นอกจากนี้ ได้สอบถามเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศได้ย้ำแนวทางของรัฐบาลที่เน้นสันติวิธี การพัฒนา ตลอดจนการศึกษาเพื่อให้เยาวชนมุสลิมได้รับการศึกษาทั้งภาคปกติและศาสนาตามประเพณีท้องถิ่น ซึ่งเดนมาร์กได้รับจะพิจารณาว่าจะให้การสนับสนุนได้อย่างไรต่อไปด้วย
ในฐานะที่เยอรมนีดำรงตำแหน่งประธานสหภาพยุโรปในขณะนี้และเป็นประเทศสำคัญในยุโรป ขณะที่เดนมาร์กเป็นประเทศหนึ่งที่มีข้อสังเกตในหลายวาระต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทยเมื่อ 19 ก.ย.2549 การได้ชี้แจงข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมาในระดับรัฐมนตรีต่างประเทศได้ส่งผลดีต่อการเสริมสร้างความเชื่อมั่นและมั่นใจให้แก่ภาครัฐและภาคเอกชนของประเทศทั้งสอง และของยุโรปในภาพ รวมถึงความตั้งใจจริงของรัฐบาลไทยชุดปัจจุบันที่ต้องการปฏิรูปการเมืองของไทยไปสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริง ความพยายามในการสร้างสมานฉันท์และแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยสันติวิธี และการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่เปิดกว้างของไทย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2550 นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง ประเทศ ได้พบหารือทวิภาคีกับ Dr. Frank-Walter Steinmeierรัฐมนตรีต่างประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เวลา 16.00-16.50 น. และนาย Per Stig Moller รัฐมนตรีต่างประเทศเดนมาร์ก เวลา 17.40-18.10 น.
ในช่วงการหารือรวม 50 นาที รัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมนีได้แสดงความสนใจขอให้ฝ่ายไทยเล่าถึงสถานการณ์ทางการเมืองของไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ลำดับเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในไทยช่วง 13 เดือนก่อนการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเมื่อ 19 กันยายน 2549 ถึงปัญหาความตึงเครียดและความชะงักงันทางการเมืองที่นำไปสู่การยุบสภาเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2549 การจัดเลือกตั้งเมื่อ 2 เมษายน 2549 ที่พรรคการเมืองใหญ่เพียงพรรคเดียวเหลืออยู่ในการแข่งขัน ไม่มีพรรคการเมืองสำคัญๆ อื่นส่งผู้สมัคร และผลการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่ปรากฏเสียงไม่เห็นด้วย (ประมาณ 11 ล้านเสียง) ที่ไม่แตกต่างจากเสียงสนับสนุน (ประมาณ 13 ล้านเสียง) มากนัก จากนั้นฝ่ายตุลาการโดยศาลปกครองสูงสุดตัดสินให้การเลือกตั้งดังกล่าวเป็นโมฆะ และการเมืองถึงทางตัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวถึงสภาพสังคมในระยะก่อน 19 กันยายน 2549 ที่มีความแตกแยกอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน องค์กรอิสระไม่สามารถทำหน้าที่ได้ จนเป็นเหตุที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เกิดการสูญเสียเลือดเนื้อแต่ประการใด
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งให้ทราบถึงการดำเนินกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญตามกรอบเวลาที่จะนำไปสู่การออกเสียงประชามติ การเลือกตั้งทั่วไป และรัฐบาลชุดปัจจุบันจะพยายามให้รัฐบาลชุดใหม่รับช่วงการบริหารงานต่อโดยเร็วที่สุด กล่าวคือประมาณปลายปี 2550
ภายหลังการหารือ รัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมนีกล่าวว่า ข้อเท็จจริงที่ได้รับทำให้เยอรมนีมีความเข้าในที่ถูกต้อง (correct impression) เกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองไทย
ประเด็นอื่นๆ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้ความกระจ่างเพิ่มเติม ได้แก่ การแก้ไขร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจคนต่างด้าว พ.ศ.2542 โดยได้ย้ำเป้าหมายของการสร้างการแข่งขันที่เป็นธรรมทางธุรกิจและโปร่งใส รวมทั้งชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักธุรกิจต่างประเทศที่ยังมีต่อการลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง รัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมนีให้ความสนใจในเรื่องการแก้ไขปัญหาม้ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้ทัศนะในเรื่องนี้ว่าเป็นปัญหาที่ต้องการการแก้ไขอย่างยั่งยืน ซึ่งต้องคำนึงถึงหลายมิติ ที่สำคัญมากประการหนึ่งคือ ความร่วมมือและไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างไทยกับลาว ซึ่งขณะนี้ มีบรรยากาศที่ดีและทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะร่วมกันหารือแก้ปัญหาด้วยความเข้าอกเข้าใจกัน
สำหรับการหารือกับรัฐมนตรีต่างประเทศเดนมาร์กนั้น นอกเหนือจากเรื่องสถานการณ์การเมืองของไทยที่ฝ่ายเดนมาร์กสอบถามถึงด้วยความสนใจและได้รับฟังคำอธิบายแล้ว ได้แสดงถึงความเข้าใจต่อข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมากขึ้น นอกจากนี้ ได้สอบถามเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศได้ย้ำแนวทางของรัฐบาลที่เน้นสันติวิธี การพัฒนา ตลอดจนการศึกษาเพื่อให้เยาวชนมุสลิมได้รับการศึกษาทั้งภาคปกติและศาสนาตามประเพณีท้องถิ่น ซึ่งเดนมาร์กได้รับจะพิจารณาว่าจะให้การสนับสนุนได้อย่างไรต่อไปด้วย
ในฐานะที่เยอรมนีดำรงตำแหน่งประธานสหภาพยุโรปในขณะนี้และเป็นประเทศสำคัญในยุโรป ขณะที่เดนมาร์กเป็นประเทศหนึ่งที่มีข้อสังเกตในหลายวาระต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทยเมื่อ 19 ก.ย.2549 การได้ชี้แจงข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมาในระดับรัฐมนตรีต่างประเทศได้ส่งผลดีต่อการเสริมสร้างความเชื่อมั่นและมั่นใจให้แก่ภาครัฐและภาคเอกชนของประเทศทั้งสอง และของยุโรปในภาพ รวมถึงความตั้งใจจริงของรัฐบาลไทยชุดปัจจุบันที่ต้องการปฏิรูปการเมืองของไทยไปสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริง ความพยายามในการสร้างสมานฉันท์และแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยสันติวิธี และการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่เปิดกว้างของไทย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-