ในภาวะที่สังคมกำลังจดจ้องอยู่กับการตรวจสอบการทุจริต ความสนใจส่วนใหญ่ก็พุ่งไปที่ประเด็นว่า ใครโกง และคนโกงจะถูกจับได้ ถูกลงโทษหรือไม่ หน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) หรือ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) ก็กำลังทำงานอย่างหนัก แข่งขันกับเวลา เพื่อสรุปคดีต่างๆที่อยู่ในความรับผิดชอบ
แน่นอนที่สุด ความสำเร็จของกระบวนการตรวจสอบเป็นสิ่งที่สำคัญมากเพื่อยืนหยัดหลักนิติธรรม และเพื่อเป็นอุทาหรณ์สำหรับผู้มีอำนาจในอนาคต แต่การจับคนโกงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการรักษาผลประโยชน์ชาติเท่านั้น การเรียกคืนผลประโยชน์ของรัฐก็ต้องทำ และ สิ่งที่จำเป็นจะต้องมีการทบทวนครั้งใหญ่ คือการสังคายนาระบบสัญญาระหว่างรัฐกับเอกชน ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นเครื่องมือในการทุจริต แต่ทำให้ประชาชนสูญเสีย ทั้งงบประมาณและบริการสาธารณะที่พึงจะได้ในราคาและคุณภาพที่เหมาะสม
หากมองดูเฉพาะบางสัญญาที่อยู่ในความสนใจ ก็จะเห็นถึงความเสียหายอย่างมหาศาลที่เกิดขึ้น เช่น
- ปัญหาว่าสัญญาบางสัญญาเป็นโมฆะหรือไม่ เพราะทำขึ้นโดยไม่ถูกต้อง เช่นกรณีหวยออนไลน์ คิงเพาวเวอร์ เป็นต้น
- ปัญหาการซื้อของที่แพงกว่าความเป็นจริง เช่น กรณี CTX รถดับเพลิง เป็นต้น
- ปัญหาการบริหารหรือตีความสัญญาจนเกิดข้อพิพาท เช่น กรณีค่าโง่ทางด่วน กรณีปัญหา
ระหว่างบริษัท ทศท.โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน)หรือ ทีโอที กับ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น หรือ กรณีปัญหา ITV เป็นต้น
- ปัญหาสัญญาที่รัฐหรือประชาชนเสียเปรียบ เช่น กรณีรถไฟฟ้า เป็นต้น
ในหลายปัญหากว่าจะมีการคลี่คลายได้ ก็ต้องเผชิญกับความสับสนอลหม่าน บางปัญหา
เช่นกรณี ITV ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะไปยุติที่ตรงไหน อย่างไร
การทบทวนระบบสัญญาระหว่างรัฐกับเอกชน จึงเป็นส่วนสำคัญในการปฏิรูประบบการเมืองและการบริหาร การจัดบริการสาธารณะ เพื่อความโปร่งใสของระบบ และ ความเป็นธรรมสำหรับประชาชนผู้เสียภาษีอากร และผู้ใช้บริการ
สภาพปัญหาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน อาจแยกแยะได้ดังนี้
๑. ขั้นตอนและรูปแบบการทำสัญญา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐบาลอานันท์ ๑ ได้พยายามแก้ปัญหาการเสนอโครงการสัมปทาน หรือ โครงการร่วมทุนต่างๆ โดยใช้ “กระดาษแผ่นเดียว” เสนอขออนุมัติ โดยการตรา พรบ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งกำหนดให้โครงการต่างๆต้องผ่านขั้นตอนการกลั่นกรองจากหน่วยงานต่างๆของรัฐที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม ในระยะหลัง ก็มักจะมีความพยายามที่จะหลีกเลี่ยง การปฏิบัติตามขั้นตอนในกฎหมายนี้ โดยวิธีการที่หลากหลาย เช่น
- การซอยสัญญาให้เป็นหลายฉบับ เพื่อให้มูลค่าของโครงการน้อยกว่า ๑,๐๐๐ ล้าน
บาท ซึ่งเป็นวงเงินขั้นต่ำที่ทำให้โครงการเข้าเงื่อนไขกฎหมายฉบับนี้
- การปรับรูปแบบของโครงการให้เป็นการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ จ้างทำของ จึงไม่เข้าเงื่อนไขของการร่วมทุนหรือร่วมงาน
นอกจากนี้ยังมีปัญหาการทำสัญญาที่เกี่ยวกับ โครงการความร่วมมือ การช่วยเหลือ หรือ การกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ ซึ่งมักจะต้องมีเงื่อนไขเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างจากชาตินั้น หรือการผูกปมไว้หลายชั้น อย่างกรณีรถดับเพลิง ที่กทม. ต้องเปิด L/C ตาม AOU ที่กระทรวงมหาดไทยไปผูกพันไว้กับประเทศออสเตรีย แม้จะต้องการยกเลิกหรือแก้ไขสัญญาที่กทม. โดยผู้บริหารชุดก่อนไปทำไว้กับบริษัทก็ตาม
๒. ปัญหาผลประโยชน์รัฐ-ผลประโยชน์ประชาชน สัญญาที่ทำขึ้นระหว่างรัฐกับเอกชน อาจถูกมองว่าเป็นการตกลงในเรื่องผลประโยชน์ระหว่าง ๒ ฝ่ายที่เป็นคู่สัญญา แต่ที่จริงแล้ว สัญญาที่เกี่ยวกับบริการสาธารณะ จะมีผลประโยชน์ของประชาชนในฐานะผู้ใช้บริการอยู่ด้วย ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของคู่สัญญาที่เป็นหน่วยงานของรัฐเสมอไป เช่น กรณีที่คู่สัญญาแบ่งปันรายได้กัน ก็อาจมีผลประโยชน์ร่วมกันในการกำหนดค่าบริการที่เรียกเก็บจากประชาชนอย่างไม่เป็นธรรม หรือ กรณีที่การปกป้องผลประโยชน์ของหน่วยงานของรัฐ อาจทำให้ผู้รับบริการได้รับผลกระทบได้ (เช่นกรณีปัญหา “จอมืด” ของ ITV)
๓. การบริหารสัญญา เป็นธรรมดาของธุรกิจที่จะเกิดเหตุการณ์ หรือเงื่อนไขที่ไม่คาดคิดไว้ในขณะที่ทำสัญญา ทำให้ต้องมีการเจรจาแก้ไข เปลี่ยนแปลงสัญญา หรือทำข้อตกลงกันใหม่ เช่น กรณี BTS อ้างปัญหาการใช้พื้นที่สวนลุมพินีไม่ได้ ทางด่วนอ้างปัญหาการส่งมอบที่ดินล่าช้า AIS อ้างการที่ DTAC ได้รับการปรับเงื่อนไขการส่งเงินให้รัฐลดลงเพื่อขอลดการส่งเงินของตน ขณะที่ DTAC อ้างก่อนหน้านี้อ้างว่าการเสียค่าเชื่อมต่อ (ที่ AIS ไม่ต้องเสีย) ทำให้ต้องขอลดการแบ่งรายได้จากระบบ prepaid ฯลฯ บางกรณีก็เป็นเหตุสุดวิสัย บางกรณีก็อาจเป็นเพียงข้ออ้างในการทำทุจริตเชิงนโยบาย หลายกรณีดำเนินการกันโดยสาธารณชนไม่มีโอกาสรับรู้รับทราบ แต่ต้องเป็นผู้แบกรับภาระเพิ่มในที่สุด
๔. การตัดสินข้อพิพาท ในปัจจุบันสัญญาส่วนใหญ่ใช้ระบบอนุญาโตตุลาการเมื่อเกิดข้อโต้แย้งขึ้นระหว่างคู่สัญญา แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า เกือบทุกกรณี อนุญาโตตุลาการ ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนของฝ่ายรัฐและเอกชน ฝ่ายละ ๑ คน กับ “คนกลาง” อีก ๑ คน จะตัดสินให้เอกชนเป็นฝ่ายชนะ และเมื่อมีกฎหมายรองรับ ศาลก็จะยืนยันคำวินิจฉัยนั้น ยกเว้นกรณีที่มีการต่อสู้อย่างเข้มแข็งจริงๆ เช่น กรณี ITV ที่อนุญาโตตุลาการตัดสินให้ลดค่าปรับ แต่ศาลปกครองชี้ว่าอนุญาโตตุลาการไม่มีอำนาจที่จะไปวินิจฉัยเช่นนั้น หรือ กรณีค่าโง่ทางด่วน ที่ศาลยุติธรรมชี้ว่า การทำสัญญามีการฉ้อฉลมาตั้งแต่ต้น จึงตัดสินให้รัฐไม่ต้องจ่ายค่าโง่ ล่าสุด กำลังเกิดกรณี ทีโอที ที่มีการตั้งอนุญาโตตุลาการเข้าไปทั้งๆที่บุคคลนั้นมีส่วนได้เสียกับคู่สัญญา และกรณีของรถดับเพลิงนั้น ก็กำหนดให้ไปใช้อนุญาโตตุลาการในต่างประเทศ
๕. การตรวจสอบการทุจริตกับการเรียกคืนผลประโยชน์ของชาติ แม้มีการตรวจสอบ พบว่ามีการทุจริต หรือ ประพฤติมิชอบ หรือมีการผิดสัญญาแล้ว การแก้ปัญหาในการเรียกคืนผลประโยชน์ ก็ยังมีอุปสรรค เช่น กรณี ITV ก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะมีทางออกอย่างไร กรณี CTX เมื่อพบว่ามีปัญหากับกฎหมายการป้องกันการทุจริตกับสหรัฐฯ ก็ยังไปทำสัญญากันใหม่ โดยซื้อของแพงกว่าเดิม สำหรับกรณีของรถดับเพลิง หากอัยการยังไม่ชี้ว่าจะเลิกสัญญาได้หรือไม่ หากจะยกเลิกสัญญาโดยไม่เสี่ยงต่อการถูกฟ้องกลับ ก็ต้องให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ซึ่งเคยคุยว่ามีหลักฐานว่าทางฝ่ายบริษัทสมรู้ร่วมคิดในการทำทุจริตยืนยันหลักฐานดังกล่าว หรือต้องให้กระทรวงการต่างประเทศขอความร่วมมือจากบริษัทสหรัฐให้บริษัทที่เข้าไปควบกิจการของบริษัทเดิมเปิดเผยว่าไปค้นพบอะไรเกี่ยวกับบัญชี ถึงขั้นต้องมีการให้ผู้บริหารเดิมออก ทั้งนี้ เพื่อให้ กทม.ยกเลิกสัญญาได้
บ่อยครั้งเราจะได้ยินว่า การตรวจสอบการทุจริต เป็นเพียงเรื่องการเมือง แต่ที่จริงแล้ว การทุจริตเป็นต้นทุนของเศรษฐกิจ สังคม การเมืองที่สำคัญ การแก้ปัญหานี้ จึงควรมีมาตรการคุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชนไปควบคู่กับการป้องกันและปราบปราม ซึ่งผมขอเสนอ ดังนี้
๑. แก้ไข พรบ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. ๒๕๓๕ เพื่ออุดช่องโหว่ที่มีอยู่ จากข้อสังเกตข้างต้น จะเห็นได้ว่า เจตนารมณ์ของพรบ. ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นสิ่งที่ถูกต้อง รัฐบาลควรเร่งสรุปปัญหาการหลีกเลี่ยงกฎหมายฉบับนี้ แล้วเสนอแก้ไขกฎหมาย หรือ ตรากฎหมายเกี่ยวกับการทำสัญญาของรัฐกับเอกชน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต
๒. มีองค์กรกำกับดูแลบริการสาธารณะ เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชน ในการ
ดำเนินกิจการของรัฐ โดยแยกผู้ดูแลผลประโยชน์ของผู้ใช้บริการ ออกมาจากผลประโยชน์ของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง องค์กรนี้จะมีความจำเป็นมากขึ้นเมื่อเอกชนเข้ามาจัดบริการสาธารณะมากขึ้นในรูปแบบต่างๆ
๓. ยกเลิกการใช้ระบบอนุญาโตตุลาการกับสัญญารัฐ เพราะประสบการณ์ที่ผ่านมาบ่งบอก
ชัดเจนว่า เป็นระบบที่เอื้อต่อคู่สัญญาฝ่ายเอกชนมากกว่า
๔. กำหนดกระบวนการสะสางสัญญาหลังการตรวจสอบ เพื่อสามารถเชื่อมโยงประเด็นการทุจริตที่ค้นพบไปสู่การแก้ปัญหาเกี่ยวกับโครงการ หรือ บริการสาธารณะอย่างสอดคล้อง และ ไม่เป็นปัญหาโต้แย้งต่อไปในอนาคต
หลายฝ่ายคาดหวังแต่ไม่มั่นใจว่า คตส. จะทำงานได้ทันตามกรอบเวลาที่เหลืออยู่ แต่ปัญหาสืบเนื่องจากการทุจริตในสัญญาต่างๆ จะยืดเยื้อเกินอายุของคตส. อย่างแน่นอน ถึงเวลาแล้วที่ทุกฝ่ายจะเก็บเกี่ยวบทเรียนราคาแพงทั้งหลาย เพื่อวางระบบที่ดีกว่าสำหรับคนไทยในอนาคต
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 25 มี.ค. 2550--จบ--
แน่นอนที่สุด ความสำเร็จของกระบวนการตรวจสอบเป็นสิ่งที่สำคัญมากเพื่อยืนหยัดหลักนิติธรรม และเพื่อเป็นอุทาหรณ์สำหรับผู้มีอำนาจในอนาคต แต่การจับคนโกงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการรักษาผลประโยชน์ชาติเท่านั้น การเรียกคืนผลประโยชน์ของรัฐก็ต้องทำ และ สิ่งที่จำเป็นจะต้องมีการทบทวนครั้งใหญ่ คือการสังคายนาระบบสัญญาระหว่างรัฐกับเอกชน ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นเครื่องมือในการทุจริต แต่ทำให้ประชาชนสูญเสีย ทั้งงบประมาณและบริการสาธารณะที่พึงจะได้ในราคาและคุณภาพที่เหมาะสม
หากมองดูเฉพาะบางสัญญาที่อยู่ในความสนใจ ก็จะเห็นถึงความเสียหายอย่างมหาศาลที่เกิดขึ้น เช่น
- ปัญหาว่าสัญญาบางสัญญาเป็นโมฆะหรือไม่ เพราะทำขึ้นโดยไม่ถูกต้อง เช่นกรณีหวยออนไลน์ คิงเพาวเวอร์ เป็นต้น
- ปัญหาการซื้อของที่แพงกว่าความเป็นจริง เช่น กรณี CTX รถดับเพลิง เป็นต้น
- ปัญหาการบริหารหรือตีความสัญญาจนเกิดข้อพิพาท เช่น กรณีค่าโง่ทางด่วน กรณีปัญหา
ระหว่างบริษัท ทศท.โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน)หรือ ทีโอที กับ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น หรือ กรณีปัญหา ITV เป็นต้น
- ปัญหาสัญญาที่รัฐหรือประชาชนเสียเปรียบ เช่น กรณีรถไฟฟ้า เป็นต้น
ในหลายปัญหากว่าจะมีการคลี่คลายได้ ก็ต้องเผชิญกับความสับสนอลหม่าน บางปัญหา
เช่นกรณี ITV ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะไปยุติที่ตรงไหน อย่างไร
การทบทวนระบบสัญญาระหว่างรัฐกับเอกชน จึงเป็นส่วนสำคัญในการปฏิรูประบบการเมืองและการบริหาร การจัดบริการสาธารณะ เพื่อความโปร่งใสของระบบ และ ความเป็นธรรมสำหรับประชาชนผู้เสียภาษีอากร และผู้ใช้บริการ
สภาพปัญหาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน อาจแยกแยะได้ดังนี้
๑. ขั้นตอนและรูปแบบการทำสัญญา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐบาลอานันท์ ๑ ได้พยายามแก้ปัญหาการเสนอโครงการสัมปทาน หรือ โครงการร่วมทุนต่างๆ โดยใช้ “กระดาษแผ่นเดียว” เสนอขออนุมัติ โดยการตรา พรบ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งกำหนดให้โครงการต่างๆต้องผ่านขั้นตอนการกลั่นกรองจากหน่วยงานต่างๆของรัฐที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม ในระยะหลัง ก็มักจะมีความพยายามที่จะหลีกเลี่ยง การปฏิบัติตามขั้นตอนในกฎหมายนี้ โดยวิธีการที่หลากหลาย เช่น
- การซอยสัญญาให้เป็นหลายฉบับ เพื่อให้มูลค่าของโครงการน้อยกว่า ๑,๐๐๐ ล้าน
บาท ซึ่งเป็นวงเงินขั้นต่ำที่ทำให้โครงการเข้าเงื่อนไขกฎหมายฉบับนี้
- การปรับรูปแบบของโครงการให้เป็นการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ จ้างทำของ จึงไม่เข้าเงื่อนไขของการร่วมทุนหรือร่วมงาน
นอกจากนี้ยังมีปัญหาการทำสัญญาที่เกี่ยวกับ โครงการความร่วมมือ การช่วยเหลือ หรือ การกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ ซึ่งมักจะต้องมีเงื่อนไขเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างจากชาตินั้น หรือการผูกปมไว้หลายชั้น อย่างกรณีรถดับเพลิง ที่กทม. ต้องเปิด L/C ตาม AOU ที่กระทรวงมหาดไทยไปผูกพันไว้กับประเทศออสเตรีย แม้จะต้องการยกเลิกหรือแก้ไขสัญญาที่กทม. โดยผู้บริหารชุดก่อนไปทำไว้กับบริษัทก็ตาม
๒. ปัญหาผลประโยชน์รัฐ-ผลประโยชน์ประชาชน สัญญาที่ทำขึ้นระหว่างรัฐกับเอกชน อาจถูกมองว่าเป็นการตกลงในเรื่องผลประโยชน์ระหว่าง ๒ ฝ่ายที่เป็นคู่สัญญา แต่ที่จริงแล้ว สัญญาที่เกี่ยวกับบริการสาธารณะ จะมีผลประโยชน์ของประชาชนในฐานะผู้ใช้บริการอยู่ด้วย ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของคู่สัญญาที่เป็นหน่วยงานของรัฐเสมอไป เช่น กรณีที่คู่สัญญาแบ่งปันรายได้กัน ก็อาจมีผลประโยชน์ร่วมกันในการกำหนดค่าบริการที่เรียกเก็บจากประชาชนอย่างไม่เป็นธรรม หรือ กรณีที่การปกป้องผลประโยชน์ของหน่วยงานของรัฐ อาจทำให้ผู้รับบริการได้รับผลกระทบได้ (เช่นกรณีปัญหา “จอมืด” ของ ITV)
๓. การบริหารสัญญา เป็นธรรมดาของธุรกิจที่จะเกิดเหตุการณ์ หรือเงื่อนไขที่ไม่คาดคิดไว้ในขณะที่ทำสัญญา ทำให้ต้องมีการเจรจาแก้ไข เปลี่ยนแปลงสัญญา หรือทำข้อตกลงกันใหม่ เช่น กรณี BTS อ้างปัญหาการใช้พื้นที่สวนลุมพินีไม่ได้ ทางด่วนอ้างปัญหาการส่งมอบที่ดินล่าช้า AIS อ้างการที่ DTAC ได้รับการปรับเงื่อนไขการส่งเงินให้รัฐลดลงเพื่อขอลดการส่งเงินของตน ขณะที่ DTAC อ้างก่อนหน้านี้อ้างว่าการเสียค่าเชื่อมต่อ (ที่ AIS ไม่ต้องเสีย) ทำให้ต้องขอลดการแบ่งรายได้จากระบบ prepaid ฯลฯ บางกรณีก็เป็นเหตุสุดวิสัย บางกรณีก็อาจเป็นเพียงข้ออ้างในการทำทุจริตเชิงนโยบาย หลายกรณีดำเนินการกันโดยสาธารณชนไม่มีโอกาสรับรู้รับทราบ แต่ต้องเป็นผู้แบกรับภาระเพิ่มในที่สุด
๔. การตัดสินข้อพิพาท ในปัจจุบันสัญญาส่วนใหญ่ใช้ระบบอนุญาโตตุลาการเมื่อเกิดข้อโต้แย้งขึ้นระหว่างคู่สัญญา แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า เกือบทุกกรณี อนุญาโตตุลาการ ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนของฝ่ายรัฐและเอกชน ฝ่ายละ ๑ คน กับ “คนกลาง” อีก ๑ คน จะตัดสินให้เอกชนเป็นฝ่ายชนะ และเมื่อมีกฎหมายรองรับ ศาลก็จะยืนยันคำวินิจฉัยนั้น ยกเว้นกรณีที่มีการต่อสู้อย่างเข้มแข็งจริงๆ เช่น กรณี ITV ที่อนุญาโตตุลาการตัดสินให้ลดค่าปรับ แต่ศาลปกครองชี้ว่าอนุญาโตตุลาการไม่มีอำนาจที่จะไปวินิจฉัยเช่นนั้น หรือ กรณีค่าโง่ทางด่วน ที่ศาลยุติธรรมชี้ว่า การทำสัญญามีการฉ้อฉลมาตั้งแต่ต้น จึงตัดสินให้รัฐไม่ต้องจ่ายค่าโง่ ล่าสุด กำลังเกิดกรณี ทีโอที ที่มีการตั้งอนุญาโตตุลาการเข้าไปทั้งๆที่บุคคลนั้นมีส่วนได้เสียกับคู่สัญญา และกรณีของรถดับเพลิงนั้น ก็กำหนดให้ไปใช้อนุญาโตตุลาการในต่างประเทศ
๕. การตรวจสอบการทุจริตกับการเรียกคืนผลประโยชน์ของชาติ แม้มีการตรวจสอบ พบว่ามีการทุจริต หรือ ประพฤติมิชอบ หรือมีการผิดสัญญาแล้ว การแก้ปัญหาในการเรียกคืนผลประโยชน์ ก็ยังมีอุปสรรค เช่น กรณี ITV ก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะมีทางออกอย่างไร กรณี CTX เมื่อพบว่ามีปัญหากับกฎหมายการป้องกันการทุจริตกับสหรัฐฯ ก็ยังไปทำสัญญากันใหม่ โดยซื้อของแพงกว่าเดิม สำหรับกรณีของรถดับเพลิง หากอัยการยังไม่ชี้ว่าจะเลิกสัญญาได้หรือไม่ หากจะยกเลิกสัญญาโดยไม่เสี่ยงต่อการถูกฟ้องกลับ ก็ต้องให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ซึ่งเคยคุยว่ามีหลักฐานว่าทางฝ่ายบริษัทสมรู้ร่วมคิดในการทำทุจริตยืนยันหลักฐานดังกล่าว หรือต้องให้กระทรวงการต่างประเทศขอความร่วมมือจากบริษัทสหรัฐให้บริษัทที่เข้าไปควบกิจการของบริษัทเดิมเปิดเผยว่าไปค้นพบอะไรเกี่ยวกับบัญชี ถึงขั้นต้องมีการให้ผู้บริหารเดิมออก ทั้งนี้ เพื่อให้ กทม.ยกเลิกสัญญาได้
บ่อยครั้งเราจะได้ยินว่า การตรวจสอบการทุจริต เป็นเพียงเรื่องการเมือง แต่ที่จริงแล้ว การทุจริตเป็นต้นทุนของเศรษฐกิจ สังคม การเมืองที่สำคัญ การแก้ปัญหานี้ จึงควรมีมาตรการคุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชนไปควบคู่กับการป้องกันและปราบปราม ซึ่งผมขอเสนอ ดังนี้
๑. แก้ไข พรบ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. ๒๕๓๕ เพื่ออุดช่องโหว่ที่มีอยู่ จากข้อสังเกตข้างต้น จะเห็นได้ว่า เจตนารมณ์ของพรบ. ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นสิ่งที่ถูกต้อง รัฐบาลควรเร่งสรุปปัญหาการหลีกเลี่ยงกฎหมายฉบับนี้ แล้วเสนอแก้ไขกฎหมาย หรือ ตรากฎหมายเกี่ยวกับการทำสัญญาของรัฐกับเอกชน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต
๒. มีองค์กรกำกับดูแลบริการสาธารณะ เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชน ในการ
ดำเนินกิจการของรัฐ โดยแยกผู้ดูแลผลประโยชน์ของผู้ใช้บริการ ออกมาจากผลประโยชน์ของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง องค์กรนี้จะมีความจำเป็นมากขึ้นเมื่อเอกชนเข้ามาจัดบริการสาธารณะมากขึ้นในรูปแบบต่างๆ
๓. ยกเลิกการใช้ระบบอนุญาโตตุลาการกับสัญญารัฐ เพราะประสบการณ์ที่ผ่านมาบ่งบอก
ชัดเจนว่า เป็นระบบที่เอื้อต่อคู่สัญญาฝ่ายเอกชนมากกว่า
๔. กำหนดกระบวนการสะสางสัญญาหลังการตรวจสอบ เพื่อสามารถเชื่อมโยงประเด็นการทุจริตที่ค้นพบไปสู่การแก้ปัญหาเกี่ยวกับโครงการ หรือ บริการสาธารณะอย่างสอดคล้อง และ ไม่เป็นปัญหาโต้แย้งต่อไปในอนาคต
หลายฝ่ายคาดหวังแต่ไม่มั่นใจว่า คตส. จะทำงานได้ทันตามกรอบเวลาที่เหลืออยู่ แต่ปัญหาสืบเนื่องจากการทุจริตในสัญญาต่างๆ จะยืดเยื้อเกินอายุของคตส. อย่างแน่นอน ถึงเวลาแล้วที่ทุกฝ่ายจะเก็บเกี่ยวบทเรียนราคาแพงทั้งหลาย เพื่อวางระบบที่ดีกว่าสำหรับคนไทยในอนาคต
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 25 มี.ค. 2550--จบ--