ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. คาดว่าหากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจรอบใหม่จะไม่ส่งผลกระทบรุนแรง นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า
ขณะนี้การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทสอดคล้องกับค่าเงินในภูมิภาคแม้ไทยจะยังมีเงินทุนไหลเข้ามากก็ตาม ซึ่งน่าจะทำให้ไทยยังไม่สูญเสีย
ความสามารถในการแข่งขัน แต่ผู้ประกอบการไทยยังต้องปรับตัวเพื่อรองรับการแข่งขัน เพราะเมื่อเทียบกับบางประเทศไทยยังมีปัญหา
ค่าแรงงานสูงกว่า อย่างไรก็ตาม ยังเชื่อว่าปัจจุบันไทยไม่น่าเผชิญวิกฤติเศรษฐกิจอีกครั้งเนื่องจากภาครัฐและเอกชนตระหนักถึงความเสี่ยง
และมีการปรับตัวรวมถึงการป้องกันความเสี่ยงที่ดี โดยเฉพาะการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งหากวิกฤติเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นในอนาคตตามวัฏจักร แต่
ระบบและโครงสร้างเศรษฐกิจในปัจจุบันของไทยที่ได้ปรับตัวและวางพื้นฐานไว้น่าจะรองรับได้และไม่ทำให้วิกฤติดังกล่าวรุนแรงเกินไป
สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยครึ่งหลังปีนี้จะดีกว่าครึ่งปีแรก เนื่องจากมีแนวโน้มจะมีการเลือกตั้ง ขณะที่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ในช่วงที่ผ่านมาจะกระตุ้นการลงทุนและการบริโภคได้ โดยเฉพาะการลงทุนที่ปัจจุบันภาคเอกชนใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 75
และคาดว่าจีดีพีในปี 51 จะสูงกว่าปีนี้เล็กน้อย ทั้งนี้ ล่าสุด ธปท. ได้ปรับลดพยากรณ์เศรษฐกิจปีนี้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.8 — 4.8
หลังจากมองว่าการบริโภคและการลงทุนฟื้นตัวช้าทำให้แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ (สยามรัฐ, ผู้จัดการรายวัน)
2. พรบ.ธปท. ฉบับใหม่อาจทำให้บทบาทของ ธปท. ในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจลดลง นายอัมมาร สยามวาลา
นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวภายหลังการร่วมเสวนาเรื่อง “บทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของ ธปท.
ในอนาคต” ว่า บทบาทหน้าที่ของ ธปท. ในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจอาจจะลดลงหาก พรบ.ธปท. ฉบับใหม่ออกมาบังคับใช้
เพราะสัดส่วนของกรรมการจาก ธปท. จะถูกลดลง แต่กรรมการที่สรรหาจาก ก.คลังกลับเพิ่มขึ้น ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นบทบาทของผู้ว่าการ ธปท.
ในอนาคตอาจจะลดลงกว่าในปัจจุบัน มีผลต่อความเป็นอิสระได้ และการผลักดันนโยบายทางเศรษฐกิจด้านต่าง ๆ จาก ธปท. อาจน้อยลง
ส่วนเรื่องการให้ รมว.คลังแต่งตั้งผู้ว่าการ ธปท. พอรับได้ แต่การแก้ไขร่าง พรบ. ให้ รมว.คลังมีอำนาจในกระบวนการสรรหาคณะกรรมการ
ธปท. ควรทำให้ดีกว่านี้ สำหรับประเด็นสัดส่วนของคณะกรรมการที่แต่งตั้งจาก ก.คลังมากขึ้น อาจเป็นอุปสรรคในการดำเนินนโยบายของ
ธปท. ได้ เพราะผู้ว่าการ ธปท. อาจกุมคะแนนในที่ประชุมในประเด็นสำคัญไม่ได้ (โพสต์ทูเดย์, มติชน)
3. ธปท. รายงานว่าเครื่องชี้ภาวะอสังหาริมทรัพย์เริ่มปรับตัวดีขึ้น รายงานเศรษฐกิจและการเงิน ธปท. ระบุว่า เครื่องชี้
ภาวะอสังหาริมทรัพย์ในเดือน เม.ย. ปรับตัวดีขึ้นในบางรายการ ได้แก่ จำนวนรายการซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3
จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เทียบกับเดือน มี.ค. ที่ขยายตัวลดลงถึงร้อยละ 12 นับเป็นการปรับเพิ่มขึ้นหลังจากลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง
13 เดือนก่อนหน้านี้ ขณะที่ในส่วนของพื้นที่รับอนุญาตในเขตก่อสร้างเทศบาลก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
เทียบกับเดือน มี.ค. ที่หดตัวลงถึงร้อยละ 38.7 จากปีก่อน โดยพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่ของโครงการบ้านเอื้ออาทร สำหรับพื้นที่
รับอนุญาตก่อสร้างประเภทที่อยู่อาศัยในเขตเทศบาลทั้งประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.2 จากปีก่อน ส่วนพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างประเภทที่อยู่อาศัย
ในเขตกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 70.5 จากปีก่อน อย่างไรก็ตาม คาดว่าในเดือน พ.ค.นี้การขยายตัวของพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างน่าจะ
ปรับลดลงอีกครั้งหนึ่งเนื่องจากในเดือน พ.ค.49 ซึ่งเป็นฐานการคำนวณมีพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างจำนวนสูงมากจากการเร่งขออนุญาตก่อสร้าง
ก่อนการประกาศใช้กฎหมายผังเมืองฉบับใหม่ ทั้งนี้ แม้ว่าจำนวนรายการซื้อขายที่ดินและพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างจะขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่ยังคง
มีเครื่องชี้บางรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง ได้แก่ ยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์ที่ยังคงหดตัวลงจากปีก่อนร้อยละ 11 มากกว่าเดือน มี.ค. ที่หดตัวลง
ร้อยละ 3.8 จากปีก่อน ซึ่งการหดตัวลงของยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์ได้หดตัวต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี 50 นอกจากนี้ การซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูก
สร้างในดือน เม.ย. ที่มีมูลค่า 38,216 ล้านบาท ก็หดตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.1 แม้ว่าจำนวนรายการซื้อขายจะเพิ่มขึ้น
ก็ตาม (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.ในเดือน มิ.ย.50 ลดลงต่ำสุดในรอบ 10 เดือน แต่ยังคงสูงกว่าการคาดหมาย รายงาน
จากนิวยอร์กเมื่อ 29 มิ.ย.50 The Reuters/University of Michigan เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.ใน
เดือน มิ.ย.50 ว่าอยู่ที่ระดับ 85.3 สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ระดับ 84.0 แต่ต่ำกว่าเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 88.3
และเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค.49 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 82.0 โดยความเชื่อมั่นเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 101.9
สูงกว่าการคาดการณ์ที่ระดับ 100.2 แต่ต่ำกว่าเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ 105.1 และความคาดหวังของผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 74.7 สูงกว่าการ
คาดการณ์ที่ระดับ 73.0 แต่ต่ำกว่าเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ 77.6 สำหรับผลการสำรวจภาวะเงินเฟ้อในช่วง 1 ปี คาดว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.4
เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.3 ในเดือนก่อนหน้า และเป็นระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือน ส่วนภาวะเงินเฟ้อในช่วง 5 ปีคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.9
ลดลงจากร้อยละ 3.1 ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเป็นดัชนีที่ใช้ชี้วัดการใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งมีสัดส่วนเป็น 2 ใน 3
ของระบบเศรษฐกิจ สรอ. (รอยเตอร์)
2. อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนในเดือน มิ.ย.50 ทรงตัวที่ระดับร้อยละ 1.9 รายงานจากบรัสเซลส์เมื่อ 29 มิ.ย.50 European
Union Statistics Office (Eurostat) เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อของ 13 ประเทศเขตเศรษฐกิจยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโร (ยูโรโซน)
ในเดือน มิ.ย.50 ทรงตัวที่ระดับร้อยละ 1.9 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งยังคงอยู่ในระดับเป้าหมายของ ธ.กลาง (ECB) ที่กำหนด
ไว้ที่ระดับร้อยละ 2 ขณะที่ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคและธุรกิจในเดือน มิ.ย. โดย The European Commission พบว่าระดับ
ราคาสินค้ามีแนวโน้มสูงขึ้น โดยความคาดหวังของภาคการผลิตเกี่ยวกับราคาขายเพิ่มขึ้นที่ระดับ 14 จากระดับ 12 ในเดือนก่อนหน้า และ
ความคาดหวังของผู้บริโภคเกี่ยวกับแนวโน้มราคาสินค้าในช่วง 12 เดือนเพิ่มขึ้นที่ระดับ 19 จากระดับ 17 นอกจากนี้ ผลการสำรวจความ
เชื่อมั่นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจลดลงที่ระดับ 111.7 จากระดับ 112.1 ในเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงสูงกว่าหลายๆ เดือนก่อนหน้า เช่นเดียว
กับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคซึ่งลดลงที่ระดับ -2 จากระดับ -1 ในเดือนก่อนหน้า ไม่เป็นไปตามการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่า
จะไม่เปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม ดัชนีชี้วัดสถานการณ์ทางธุรกิจในเดือนเดียวกัน กลับเพิ่มขึ้นที่ระดับ 1.54 จากระดับ 1.52 ในเดือนก่อนหน้า
สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ระดับ 1.50 สะท้อนว่าภาคธุรกิจของยูโรโซนอาจฟื้นตัวขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี (รอยเตอร์)
3. ยอดค้าปลีกของเยอรมนีในเดือน พ.ค.50 ลดลงร้อยละ 0.1 เทียบต่อเดือน รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 29 มิ.ย.50
ยอดค้าปลีกตามวิธีการวัดของ ธ.กลางเยอรมนีซึ่งรวมยอดขายรถยนต์และยอดขายของปั๊มน้ำมันลดลงหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วร้อยละ 0.1
ในเดือน พ.ค.50 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ต่อเดือนในเดือน เม.ย.50 ในขณะที่ สนง.สถิติกลางของเยอรมนี
รายงานยอดค้าปลีกที่ไม่รวมยอดขายรถยนต์และยอดขายของปั๊มน้ำมันลดลงร้อยละ 1.8 ต่อเดือน ผิดจากที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ต่อเดือน
จากผลสำรวจโดยรอยเตอร์ก่อนหน้านี้ แต่อย่างไรก็ดี ตัวเลขของเดือน พ.ค.50 ดังกล่าวแม้ว่าลดลงแต่ชี้ให้เห็นว่าการใช้จ่ายภาคครัวเรือน
ในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ได้ฟื้นตัวจากไตรมาสก่อนแล้ว โดยเป็นผลจากตลาดแรงงานที่ดีขึ้นจากอัตราว่างงานที่ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 ติดต่อ
กันมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 12 ปีเมื่อเดือน มิ.ย.50 ซึ่งช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคและคาดว่าจะมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจในปีนี้
ขยายตัวในอัตราใกล้เคียงกับปีที่แล้วซึ่งเศรษฐกิจขยายตัวถึงร้อยละ 2.8 ต่อปี สูงสุดในรอบ 6 ปี (รอยเตอร์)
4. การส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน มิ.ย.50 ขยายตัวร้อยละ 15.9 เทียบต่อปี สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานจากโซล
เมื่อ 2 ก.ค.50 ก.พาณิชย์เกาหลีใต้ เปิดเผยว่า การส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน มิ.ย.50 ขยายตัวรวดเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่จำนวน
32.39 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 เทียบต่อปี สูงกว่าผลสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์ที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัว
เพียงร้อยละ 11.6 หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 11.4 ในเดือน พ.ค.50 (ตัวเลขที่ทบทวนแล้ว) ขณะที่การนำเข้าในเดือน มิ.ย.อยู่ที่จำนวน
28.45 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 เทียบต่อปี ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 และชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 13.4 ในเดือน พ.ค.50 (ตัวเลขที่ทบทวนแล้ว) ส่งผลให้เกาหลีใต้เกินดุลการค้าจำนวน 3.95 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่
เกินดุลจำนวน 1.93 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในปีก่อนหน้า ทั้งนี้ เกาหลีใต้เป็นประเทศแรกในภูมิภาคที่รายงานตัวเลขดุลการค้าเดือน มิ.ย.
อนึ่ง ยอดรวมการส่งออกของเกาหลีใต้ไปยังประเทศจีนและ สรอ. รวมกันเป็นสัดส่วนถึง 2 ใน 5 ของการส่งออกโดยรวม โดยเป็นการ
ส่งออกสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์และรถยนต์ประมาณร้อยละ 45 ขณะเดียวกัน ก.พาณิชย์ยังได้ประมาณการขยายตัวการส่งออกทั้งปี 50 ว่า
จะชะลอตัวอยู่ที่ร้อยละ 10.4 จากร้อยละ 14.4 ในปีก่อน เนื่องจากคาดการณ์ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจของ สรอ.จะชะลอตัว (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 2 ก.ค. 50 29 มิ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.540 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.3250/34.6679 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.69000 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 776.79/16.97 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,600/10,700 10,550/10,650 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 67.49 66.06 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 29.99*/25.34** 29.99*/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 2 มิ.ย. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. คาดว่าหากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจรอบใหม่จะไม่ส่งผลกระทบรุนแรง นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า
ขณะนี้การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทสอดคล้องกับค่าเงินในภูมิภาคแม้ไทยจะยังมีเงินทุนไหลเข้ามากก็ตาม ซึ่งน่าจะทำให้ไทยยังไม่สูญเสีย
ความสามารถในการแข่งขัน แต่ผู้ประกอบการไทยยังต้องปรับตัวเพื่อรองรับการแข่งขัน เพราะเมื่อเทียบกับบางประเทศไทยยังมีปัญหา
ค่าแรงงานสูงกว่า อย่างไรก็ตาม ยังเชื่อว่าปัจจุบันไทยไม่น่าเผชิญวิกฤติเศรษฐกิจอีกครั้งเนื่องจากภาครัฐและเอกชนตระหนักถึงความเสี่ยง
และมีการปรับตัวรวมถึงการป้องกันความเสี่ยงที่ดี โดยเฉพาะการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งหากวิกฤติเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นในอนาคตตามวัฏจักร แต่
ระบบและโครงสร้างเศรษฐกิจในปัจจุบันของไทยที่ได้ปรับตัวและวางพื้นฐานไว้น่าจะรองรับได้และไม่ทำให้วิกฤติดังกล่าวรุนแรงเกินไป
สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยครึ่งหลังปีนี้จะดีกว่าครึ่งปีแรก เนื่องจากมีแนวโน้มจะมีการเลือกตั้ง ขณะที่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ในช่วงที่ผ่านมาจะกระตุ้นการลงทุนและการบริโภคได้ โดยเฉพาะการลงทุนที่ปัจจุบันภาคเอกชนใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 75
และคาดว่าจีดีพีในปี 51 จะสูงกว่าปีนี้เล็กน้อย ทั้งนี้ ล่าสุด ธปท. ได้ปรับลดพยากรณ์เศรษฐกิจปีนี้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.8 — 4.8
หลังจากมองว่าการบริโภคและการลงทุนฟื้นตัวช้าทำให้แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ (สยามรัฐ, ผู้จัดการรายวัน)
2. พรบ.ธปท. ฉบับใหม่อาจทำให้บทบาทของ ธปท. ในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจลดลง นายอัมมาร สยามวาลา
นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวภายหลังการร่วมเสวนาเรื่อง “บทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของ ธปท.
ในอนาคต” ว่า บทบาทหน้าที่ของ ธปท. ในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจอาจจะลดลงหาก พรบ.ธปท. ฉบับใหม่ออกมาบังคับใช้
เพราะสัดส่วนของกรรมการจาก ธปท. จะถูกลดลง แต่กรรมการที่สรรหาจาก ก.คลังกลับเพิ่มขึ้น ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นบทบาทของผู้ว่าการ ธปท.
ในอนาคตอาจจะลดลงกว่าในปัจจุบัน มีผลต่อความเป็นอิสระได้ และการผลักดันนโยบายทางเศรษฐกิจด้านต่าง ๆ จาก ธปท. อาจน้อยลง
ส่วนเรื่องการให้ รมว.คลังแต่งตั้งผู้ว่าการ ธปท. พอรับได้ แต่การแก้ไขร่าง พรบ. ให้ รมว.คลังมีอำนาจในกระบวนการสรรหาคณะกรรมการ
ธปท. ควรทำให้ดีกว่านี้ สำหรับประเด็นสัดส่วนของคณะกรรมการที่แต่งตั้งจาก ก.คลังมากขึ้น อาจเป็นอุปสรรคในการดำเนินนโยบายของ
ธปท. ได้ เพราะผู้ว่าการ ธปท. อาจกุมคะแนนในที่ประชุมในประเด็นสำคัญไม่ได้ (โพสต์ทูเดย์, มติชน)
3. ธปท. รายงานว่าเครื่องชี้ภาวะอสังหาริมทรัพย์เริ่มปรับตัวดีขึ้น รายงานเศรษฐกิจและการเงิน ธปท. ระบุว่า เครื่องชี้
ภาวะอสังหาริมทรัพย์ในเดือน เม.ย. ปรับตัวดีขึ้นในบางรายการ ได้แก่ จำนวนรายการซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3
จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เทียบกับเดือน มี.ค. ที่ขยายตัวลดลงถึงร้อยละ 12 นับเป็นการปรับเพิ่มขึ้นหลังจากลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง
13 เดือนก่อนหน้านี้ ขณะที่ในส่วนของพื้นที่รับอนุญาตในเขตก่อสร้างเทศบาลก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
เทียบกับเดือน มี.ค. ที่หดตัวลงถึงร้อยละ 38.7 จากปีก่อน โดยพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่ของโครงการบ้านเอื้ออาทร สำหรับพื้นที่
รับอนุญาตก่อสร้างประเภทที่อยู่อาศัยในเขตเทศบาลทั้งประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.2 จากปีก่อน ส่วนพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างประเภทที่อยู่อาศัย
ในเขตกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 70.5 จากปีก่อน อย่างไรก็ตาม คาดว่าในเดือน พ.ค.นี้การขยายตัวของพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างน่าจะ
ปรับลดลงอีกครั้งหนึ่งเนื่องจากในเดือน พ.ค.49 ซึ่งเป็นฐานการคำนวณมีพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างจำนวนสูงมากจากการเร่งขออนุญาตก่อสร้าง
ก่อนการประกาศใช้กฎหมายผังเมืองฉบับใหม่ ทั้งนี้ แม้ว่าจำนวนรายการซื้อขายที่ดินและพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างจะขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่ยังคง
มีเครื่องชี้บางรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง ได้แก่ ยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์ที่ยังคงหดตัวลงจากปีก่อนร้อยละ 11 มากกว่าเดือน มี.ค. ที่หดตัวลง
ร้อยละ 3.8 จากปีก่อน ซึ่งการหดตัวลงของยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์ได้หดตัวต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี 50 นอกจากนี้ การซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูก
สร้างในดือน เม.ย. ที่มีมูลค่า 38,216 ล้านบาท ก็หดตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.1 แม้ว่าจำนวนรายการซื้อขายจะเพิ่มขึ้น
ก็ตาม (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.ในเดือน มิ.ย.50 ลดลงต่ำสุดในรอบ 10 เดือน แต่ยังคงสูงกว่าการคาดหมาย รายงาน
จากนิวยอร์กเมื่อ 29 มิ.ย.50 The Reuters/University of Michigan เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.ใน
เดือน มิ.ย.50 ว่าอยู่ที่ระดับ 85.3 สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ระดับ 84.0 แต่ต่ำกว่าเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 88.3
และเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค.49 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 82.0 โดยความเชื่อมั่นเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 101.9
สูงกว่าการคาดการณ์ที่ระดับ 100.2 แต่ต่ำกว่าเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ 105.1 และความคาดหวังของผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 74.7 สูงกว่าการ
คาดการณ์ที่ระดับ 73.0 แต่ต่ำกว่าเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ 77.6 สำหรับผลการสำรวจภาวะเงินเฟ้อในช่วง 1 ปี คาดว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.4
เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.3 ในเดือนก่อนหน้า และเป็นระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือน ส่วนภาวะเงินเฟ้อในช่วง 5 ปีคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.9
ลดลงจากร้อยละ 3.1 ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเป็นดัชนีที่ใช้ชี้วัดการใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งมีสัดส่วนเป็น 2 ใน 3
ของระบบเศรษฐกิจ สรอ. (รอยเตอร์)
2. อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนในเดือน มิ.ย.50 ทรงตัวที่ระดับร้อยละ 1.9 รายงานจากบรัสเซลส์เมื่อ 29 มิ.ย.50 European
Union Statistics Office (Eurostat) เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อของ 13 ประเทศเขตเศรษฐกิจยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโร (ยูโรโซน)
ในเดือน มิ.ย.50 ทรงตัวที่ระดับร้อยละ 1.9 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งยังคงอยู่ในระดับเป้าหมายของ ธ.กลาง (ECB) ที่กำหนด
ไว้ที่ระดับร้อยละ 2 ขณะที่ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคและธุรกิจในเดือน มิ.ย. โดย The European Commission พบว่าระดับ
ราคาสินค้ามีแนวโน้มสูงขึ้น โดยความคาดหวังของภาคการผลิตเกี่ยวกับราคาขายเพิ่มขึ้นที่ระดับ 14 จากระดับ 12 ในเดือนก่อนหน้า และ
ความคาดหวังของผู้บริโภคเกี่ยวกับแนวโน้มราคาสินค้าในช่วง 12 เดือนเพิ่มขึ้นที่ระดับ 19 จากระดับ 17 นอกจากนี้ ผลการสำรวจความ
เชื่อมั่นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจลดลงที่ระดับ 111.7 จากระดับ 112.1 ในเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงสูงกว่าหลายๆ เดือนก่อนหน้า เช่นเดียว
กับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคซึ่งลดลงที่ระดับ -2 จากระดับ -1 ในเดือนก่อนหน้า ไม่เป็นไปตามการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่า
จะไม่เปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม ดัชนีชี้วัดสถานการณ์ทางธุรกิจในเดือนเดียวกัน กลับเพิ่มขึ้นที่ระดับ 1.54 จากระดับ 1.52 ในเดือนก่อนหน้า
สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ระดับ 1.50 สะท้อนว่าภาคธุรกิจของยูโรโซนอาจฟื้นตัวขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี (รอยเตอร์)
3. ยอดค้าปลีกของเยอรมนีในเดือน พ.ค.50 ลดลงร้อยละ 0.1 เทียบต่อเดือน รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 29 มิ.ย.50
ยอดค้าปลีกตามวิธีการวัดของ ธ.กลางเยอรมนีซึ่งรวมยอดขายรถยนต์และยอดขายของปั๊มน้ำมันลดลงหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วร้อยละ 0.1
ในเดือน พ.ค.50 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ต่อเดือนในเดือน เม.ย.50 ในขณะที่ สนง.สถิติกลางของเยอรมนี
รายงานยอดค้าปลีกที่ไม่รวมยอดขายรถยนต์และยอดขายของปั๊มน้ำมันลดลงร้อยละ 1.8 ต่อเดือน ผิดจากที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ต่อเดือน
จากผลสำรวจโดยรอยเตอร์ก่อนหน้านี้ แต่อย่างไรก็ดี ตัวเลขของเดือน พ.ค.50 ดังกล่าวแม้ว่าลดลงแต่ชี้ให้เห็นว่าการใช้จ่ายภาคครัวเรือน
ในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ได้ฟื้นตัวจากไตรมาสก่อนแล้ว โดยเป็นผลจากตลาดแรงงานที่ดีขึ้นจากอัตราว่างงานที่ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 ติดต่อ
กันมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 12 ปีเมื่อเดือน มิ.ย.50 ซึ่งช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคและคาดว่าจะมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจในปีนี้
ขยายตัวในอัตราใกล้เคียงกับปีที่แล้วซึ่งเศรษฐกิจขยายตัวถึงร้อยละ 2.8 ต่อปี สูงสุดในรอบ 6 ปี (รอยเตอร์)
4. การส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน มิ.ย.50 ขยายตัวร้อยละ 15.9 เทียบต่อปี สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานจากโซล
เมื่อ 2 ก.ค.50 ก.พาณิชย์เกาหลีใต้ เปิดเผยว่า การส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน มิ.ย.50 ขยายตัวรวดเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่จำนวน
32.39 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 เทียบต่อปี สูงกว่าผลสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์ที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัว
เพียงร้อยละ 11.6 หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 11.4 ในเดือน พ.ค.50 (ตัวเลขที่ทบทวนแล้ว) ขณะที่การนำเข้าในเดือน มิ.ย.อยู่ที่จำนวน
28.45 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 เทียบต่อปี ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 และชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 13.4 ในเดือน พ.ค.50 (ตัวเลขที่ทบทวนแล้ว) ส่งผลให้เกาหลีใต้เกินดุลการค้าจำนวน 3.95 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่
เกินดุลจำนวน 1.93 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในปีก่อนหน้า ทั้งนี้ เกาหลีใต้เป็นประเทศแรกในภูมิภาคที่รายงานตัวเลขดุลการค้าเดือน มิ.ย.
อนึ่ง ยอดรวมการส่งออกของเกาหลีใต้ไปยังประเทศจีนและ สรอ. รวมกันเป็นสัดส่วนถึง 2 ใน 5 ของการส่งออกโดยรวม โดยเป็นการ
ส่งออกสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์และรถยนต์ประมาณร้อยละ 45 ขณะเดียวกัน ก.พาณิชย์ยังได้ประมาณการขยายตัวการส่งออกทั้งปี 50 ว่า
จะชะลอตัวอยู่ที่ร้อยละ 10.4 จากร้อยละ 14.4 ในปีก่อน เนื่องจากคาดการณ์ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจของ สรอ.จะชะลอตัว (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 2 ก.ค. 50 29 มิ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.540 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.3250/34.6679 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.69000 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 776.79/16.97 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,600/10,700 10,550/10,650 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 67.49 66.06 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 29.99*/25.34** 29.99*/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 2 มิ.ย. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--