ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ระบุสามารถทำงานร่วมกับว่าที่ รมว.คลังได้ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงกระแสข่าวที่มีการ
คาดหมายว่า นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) จะได้รับแต่งตั้งเข้าดำรงตำแหน่ง
รมว.คลัง แทน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ว่า ธปท.สามารถทำงานร่วมกับรัฐมนตรีคนใดก็ได้ และนายฉลองภพก็เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีความรู้ดี
ส่วนกรณีที่นายฉลองภพ เคยออกมาแสดงความเห็นคัดค้าน ธปท.ที่ใช้มาตรการสำรองเงินทุนนำเข้าระยะสั้น 30% นั้น เห็นว่ามาตรการดังกล่าวมี
ทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ซึ่งคงต้องมีการหารือกัน (กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด, ไทยโพสต์)
2. ธปท.ระบุเงินบาทแข็งค่าขึ้นสาเหตุจากการเกินดุลการค้า-ดุลบัญชีเดินสะพัด และการแข็งค่าของเงินเยน
นางสาวนิตยา พิบูลย์รัตนกิจ ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเมื่อวันที่ 6 มี.ค. เนื่องจากการ
เกินดุลการค้าและเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ประกอบกับการแข็งค่าของเงินเยนญี่ปุ่น โดยการส่งออกของไทยยังขยายตัวได้ดี และการที่เงินบาทแข็งค่า
ตามภูมิภาคถือว่าเป็นเรื่องปกติไม่มีประเด็นที่น่าเป็นห่วง สำหรับค่าเงินบาทเปิดตลาดช่วงเช้าวันนี้อยู่ที่ 35.29-35.32 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.
แข็งค่าขึ้นจากปิดตลาดเมื่อวันที่ 2 มี.ค.ที่ 35.35-35.40 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. (ข่าวสด, โลกวันนี้)
3. ธปท.ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาปรับปรุงระบบการประชาสัมพันธ์ รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
สายสนับสนุนการบริหาร ได้ว่าจ้างบริษัทโอกิลวี่ พับลิค รีเลชั่น เวิลด์วายด์ หรือโอกิลวี่ ให้ปรับปรุงระบบการประชาสัมพันธ์ทั้งระบบ และเป็นที่
ปรึกษาของฝ่ายสนับสนุนการบริหารซึ่งดูแลสำนักผู้ว่าการ ธปท. และทำกิจกรรมภายนอกองค์กร รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ของ ธปท. โดยเฉพาะ
การสื่อสารกับสื่อมวลชนในประเด็นข่าวต่างๆ (โลกวันนี้)
4. คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 50 จะขยายตัว 4-5% เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(สศช.) เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ(จีดีพี) ของไทยในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 49 ขยายตัว 4.2% ชะลอลงจาก 3 ไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว
6.1% 5% และ 4.7% ตามลำดับ สำหรับทั้งปี 49 เศรษฐกิจไทยขยายตัว 5% สูงกว่า 4.5% ในปี 48 โดยแรงกระตุ้นหลักเกิดจากการส่งออก
ขยายตัวได้ดี ขณะที่ปริมาณการนำเข้าลดลงและการท่องเที่ยวฟื้นตัว สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจปี 50 คาดว่าจีดีพีจะขยายตัวที่ 4-5% ด้วยปัจจัยบวก
จากราคาน้ำมันดิบที่ค่อนข้างทรงตัว ด้านเงินเฟ้อจะลดลงจาก 4.7% ในปีก่อนเป็น 2.5-3% ในปีนี้ เนื่องจากนโยบายการเงินผ่อนคลายลงจากการ
ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท.มาอยู่ที่ 4.5% ขณะที่การส่งออกยังมีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ดี แม้จะต่ำกว่าปี 49 เพราะข้อจำกัดของ
เศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจของสหรัฐ จีน ญี่ปุ่น และยุโรป โดยคาดว่าการส่งออกจะขยายตัวที่ 8-9% (ข่าวสด, โลกวันนี้)
5. บริษัทจดทะเบียนกำไรลดลง 12% ในปี 49 นางนงราม วงษ์วานิช รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)
เปิดเผยว่า บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ใน ตลท. และตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ 519 บริษัทหรือ 98% ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด 532 บริษัท
รวมกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ 13 กองทุน ได้ส่งงบการเงินงวดสิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค.49 แล้ว โดยมีกำไรรวม 469,354 ล.บาท ลดลง
66,063 ล.บาท หรือ 12% จากปี 48 สาเหตุหลักมาจากต้นทุนพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นทำให้ต้นทุนขายเพิ่มขึ้นส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นลดลง
ประกอบกับผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทำให้ภาระจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น รวมทั้งการที่ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนมีการตั้ง
สำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่ม ตามเกณฑ์ใหม่ของ ธปท.เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานบัญชี IAS 39 (ข่าวสด, โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ,
ผู้จัดการรายวัน)
6. ธ.กรุงศรีอยุธยา ธ.กรุงเทพ และ ธ.ทหารไทย ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำลง 0.25-0.50% ผู้สื่อข่าวรายงานว่า
ธ.กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธ.กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และ ธ.ทหารไทย จำกัด (มหาชน) ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
ประจำลง 0.25-0.50% มีผลตั้งแต่วันที่ 6 มี.ค.50 เป็นต้นไป โดยยังคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ระดับเดิม (โลกวันนี้, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เศรษฐกิจ Euro zone ในไตรมาสสุดท้ายปี 49 ขยายตัวร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 49 รายงานจากบรัสเซลส์
เมื่อ 6 มี.ค.50 Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของสหภาพยุโรปรายงานเศรษฐกิจของ Euro zone ในไตรมาสสุดท้ายปี 49 ขยายตัวเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 49 ดีกว่าเศรษฐกิจ สรอ.ซึ่งขยายตัวร้อยละ 0.6 ในไตรมาสเดียวกัน และส่งผลให้ตลอดทั้งปี 49
เศรษฐกิจ Euro zone ขยายตัวร้อยละ 2.7 ต่อปี สูงสุดในรอบ 6 ปีนับตั้งแต่ปี 43 โดยเป็นผลจากการส่งออก การลงทุนและการใช้จ่ายภาค
ครัวเรือนยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่งซึ่งคาดว่าจะส่งผลดีให้เศรษฐกิจในปี 50 ขยายตัวต่อเนื่องจากปี 49 แม้ว่ายอดค้าปลีกลดลงร้อยละ 1.0
ต่อเดือนในเดือน ม.ค.50 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.49 และลดลงร้อยละ 0.1 ต่อปีเมื่อเทียบกับเดือน ม.ค.49 ลดลงมากกว่าที่คาดไว้ว่าจะลดลง
ร้อยละ 0.4 ต่อเดือนและคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ต่อปี โดยยอดค้าปลีกในเยอรมนีลดลงมากสุดถึงร้อยละ 5.1 ต่อเดือนและร้อยละ 4.3
ต่อปีอันเป็นผลจากการขึ้นอัตราภาษี VAT อีกร้อยละ 3.0 เป็นร้อยละ 19.0 นับตั้งแต่ต้นปี 50 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ประมาณการของคณะกรรมาธิการ
สภายุโรปเมื่อวันที่ 13 ก.พ.50 ที่ผ่านมาคาดว่าเศรษฐกิจ Euro zone จะขยายตัวระหว่างร้อยละ 0.4 — 0.8 ในไตรมาสแรกปี 50 และ
ขยายตัวระหว่างร้อยละ 0.5 — 0.9 ในไตรมาสที่ 2 ปี 50 เพิ่มขึ้นจากประมาณการครั้งก่อนที่อยู่ระหว่างร้อยละ 0.4 — 0.9 ต่อไตรมาส
ในขณะที่ยังคงประมาณการสำหรับไตรมาสที่ 3 ปี 50 ไว้ที่ร้อยละ 0.3 — 0.9 ต่อไตรมาส โดยเป็นที่คาดกันในตลาดว่า ธ.กลางยุโรปหรือ ECB
จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 3.75 ต่อปีในการประชุมในวันที่ 8 มี.ค.50 ที่จะถึงนี้เพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อจากการ
ขยายตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจ (รอยเตอร์)
2. ทุนสำรองระหว่างประเทศของญี่ปุ่น ณ สิ้นสุดเดือน ก.พ.เพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดที่ 905.048 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. รายงานจาก
โตเกียว เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 50 รมว.คลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ณ สิ้นสุดเดือน ก.พ. ทุนสำรองระหว่างประเทศของญี่ปุ่นทำสถิติสูงสุดที่ระดับ
905.048 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระดับ 895.383 ดอลลาร์ สรอ. เมื่อเดือนก่อนหน้า และเป็นครั้งแรกที่ทุนสำรองระหว่างประเทศ
สูงถึงระดับ 900 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เนื่องจากพันธบัตรเงินตราต่างประเทศที่ญี่ปุ่นถือครองมีมูลค่าเมื่อคิดเป็นเงินดอลลาร์ สรอ.
เพิ่มขึ้น จากการที่เงินยูโรแข็งค่าขึ้น รวมทั้งรายได้จากอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรและเงินฝาก ส่งผลให้ทุนสำรองระหว่างประเทศของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้จากข้อมูลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศชี้ว่า ญี่ปุ่นมีทุนสำรองระหว่างประเทศมากที่สุดเป็นอันดับที่สองรองจากจีนที่มีมากกว่า
1 ล้าน ล้าน ดอลลาร์ สรอ. ส่วนรัสเซีย และไต้หวันมีทุนสำรองระหว่างประเทศมากเป็นอันดับที่ 3 และ 4 ตามลำดับ สำหรับสัดส่วนเงินตรา
ต่างประเทศในทุนสำรองฯของญี่ปุ่นนั้นไม่มีการเปิดเผย แต่จากอดีตที่ผ่านมาการเข้าแทรกแซงตลาดเงินตราต่างประเทศของญี่ปุ่นนั้นส่วนใหญ่จะ
เป็นการซื้อดอลลาร์ — ขายเยน ทำให้คาดได้ว่าเงินตราต่างประเทศส่วนใหญ่ในบัญชีทุนสำรองฯของญี่ปุ่นน่าจะเป็นเงินดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของอังกฤษในเดือน ก.พ.50 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 85 รายงานจากลอนดอน เมื่อ 7 มี.ค.50
Mortgage lender Nationwide ของอังกฤษ เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของอังกฤษในเดือน ก.พ.50 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ
85 จากระดับ 84 เมื่อเดือน ม.ค.50 ในขณะที่ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เกี่ยวกับสถานกาณ์ปัจจุบันลดลงมาอยู่ที่ระดับ 84 จากระดับ 86
ในเดือนก่อนหน้า และนับเป็นระดับต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน พ.ค.47 ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวสะท้อนว่า ผู้บริโภคมีปฏิกิริยาโต้ตอบต่อการปรับเพิ่มอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายของ ธ.กลางอังกฤษ (ซึ่งประกาศปรับเพิ่มไปแล้ว 3 ครั้งตั้งแต่เดือน ส.ค.49) เนื่องจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคทุกตัวปัจจุบัน
อยู่ในระดับต่ำกว่าก่อนการประกาศปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยครั้งแรก อย่างไรก็ตาม แม้ดัชนีดังกล่าวยังคงอยู่ในระดับต่ำ แต่ผู้บริโภคยังมีความรู้สึก
เป็นบวกเกี่ยวกับงานและรายได้ ซึ่งสะท้อนว่าพื้นฐานทางเศรษฐกิจของอังกฤษยังคงมีเสถียรภาพ อนึ่ง มีการคาดการณ์กันอย่างมากว่า
ธ.กลางอังกฤษอาจคงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิม คือ ร้อยละ 5.25 ในการประชุมในวันพฤหัสบดีที่จะถึงนี้ หลังจากที่ปรับเพิ่มไป
แล้วรวมร้อยละ 0.75 ตั้งแต่เดือน ส.ค.49 (รอยเตอร์)
4. คาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมร้อยละ 4.50 รายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้
เมื่อวันที่ 6 มี.ค.50 สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ไว้ที่ระดับเดิมติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 คือ ร้อยละ 4.50 ในการประชุมวันพฤหัสบดีที่จะถึงนี้ และคาดว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงสำหรับช่วงเวลาที่เหลือ
ของปีนี้จนถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือน ธ.ค.50 โดยมีเหตุผลสนับสนุนการวิเคราะห์ครั้งนี้จากการที่ความต้องการบริโภคภายในประเทศ
ยังชะลอตัวและความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลก ถึงแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.พ.50 จะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.2 จากปีก่อน สูงกว่าที่
คาดการณ์ไว้ แต่ยังคงต่ำกว่าระดับเป้าหมายที่ ธ.กลางเกาหลีใต้ตั้งไว้ระหว่างร้อยละ 2.5 — 3.5 สำหรับปี 50 — 52 นอกจากนี้ การไม่ปรับ
ขึ้นอัตราดอกเบี้ยยังจะช่วยควบคุมและสร้างเสถียรภาพด้านราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ ธ.กลางเกาหลีใต้ได้คงอัตราดอกเบี้ย
ไว้ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา หลังจากที่ได้ปรับขึ้นรวมร้อยละ 1.25 นับตั้งแต่เดือน ต.ค.48 ในขณะที่ผู้ว่าการ ธ.กลางเกาหลีใต้ ได้กล่าวหลัง
จากการประชุมครั้งก่อนว่าจำเป็นต้องสร้างความสมดุลมากขึ้นระหว่างอัตราเงินเฟ้อและการเติบโตทางเศรษฐกิจในส่วนที่มีความสัมพันธ์กับนโยบาย
อัตราดอกเบี้ยในอนาคต โดย ธ.กลางเกาหลีใต้คาดการณ์ไว้เมื่อเดือน ธ.ค.49 ว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 50 จะชะลอตัวลง
เหลือร้อยละ 4.4 ลดลงจากตัวเลขประมาณการของปี 49 ที่คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 5.0 และคาดว่าเศรษฐกิจจะไม่ชะลอตัวรุนแรงมากนัก(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 7 มี.ค. 50 6 มี.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.267 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.0701/35.3823 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.63625 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 674.24/10.96 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,750/10,850 10,750/10,850 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 57.16 56.38 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 26.79*/23.34** 26.79*/23.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 4 มี.ค. 50
** ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 1 มี.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ระบุสามารถทำงานร่วมกับว่าที่ รมว.คลังได้ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงกระแสข่าวที่มีการ
คาดหมายว่า นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) จะได้รับแต่งตั้งเข้าดำรงตำแหน่ง
รมว.คลัง แทน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ว่า ธปท.สามารถทำงานร่วมกับรัฐมนตรีคนใดก็ได้ และนายฉลองภพก็เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีความรู้ดี
ส่วนกรณีที่นายฉลองภพ เคยออกมาแสดงความเห็นคัดค้าน ธปท.ที่ใช้มาตรการสำรองเงินทุนนำเข้าระยะสั้น 30% นั้น เห็นว่ามาตรการดังกล่าวมี
ทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ซึ่งคงต้องมีการหารือกัน (กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด, ไทยโพสต์)
2. ธปท.ระบุเงินบาทแข็งค่าขึ้นสาเหตุจากการเกินดุลการค้า-ดุลบัญชีเดินสะพัด และการแข็งค่าของเงินเยน
นางสาวนิตยา พิบูลย์รัตนกิจ ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเมื่อวันที่ 6 มี.ค. เนื่องจากการ
เกินดุลการค้าและเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ประกอบกับการแข็งค่าของเงินเยนญี่ปุ่น โดยการส่งออกของไทยยังขยายตัวได้ดี และการที่เงินบาทแข็งค่า
ตามภูมิภาคถือว่าเป็นเรื่องปกติไม่มีประเด็นที่น่าเป็นห่วง สำหรับค่าเงินบาทเปิดตลาดช่วงเช้าวันนี้อยู่ที่ 35.29-35.32 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.
แข็งค่าขึ้นจากปิดตลาดเมื่อวันที่ 2 มี.ค.ที่ 35.35-35.40 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. (ข่าวสด, โลกวันนี้)
3. ธปท.ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาปรับปรุงระบบการประชาสัมพันธ์ รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
สายสนับสนุนการบริหาร ได้ว่าจ้างบริษัทโอกิลวี่ พับลิค รีเลชั่น เวิลด์วายด์ หรือโอกิลวี่ ให้ปรับปรุงระบบการประชาสัมพันธ์ทั้งระบบ และเป็นที่
ปรึกษาของฝ่ายสนับสนุนการบริหารซึ่งดูแลสำนักผู้ว่าการ ธปท. และทำกิจกรรมภายนอกองค์กร รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ของ ธปท. โดยเฉพาะ
การสื่อสารกับสื่อมวลชนในประเด็นข่าวต่างๆ (โลกวันนี้)
4. คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 50 จะขยายตัว 4-5% เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(สศช.) เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ(จีดีพี) ของไทยในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 49 ขยายตัว 4.2% ชะลอลงจาก 3 ไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว
6.1% 5% และ 4.7% ตามลำดับ สำหรับทั้งปี 49 เศรษฐกิจไทยขยายตัว 5% สูงกว่า 4.5% ในปี 48 โดยแรงกระตุ้นหลักเกิดจากการส่งออก
ขยายตัวได้ดี ขณะที่ปริมาณการนำเข้าลดลงและการท่องเที่ยวฟื้นตัว สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจปี 50 คาดว่าจีดีพีจะขยายตัวที่ 4-5% ด้วยปัจจัยบวก
จากราคาน้ำมันดิบที่ค่อนข้างทรงตัว ด้านเงินเฟ้อจะลดลงจาก 4.7% ในปีก่อนเป็น 2.5-3% ในปีนี้ เนื่องจากนโยบายการเงินผ่อนคลายลงจากการ
ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท.มาอยู่ที่ 4.5% ขณะที่การส่งออกยังมีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ดี แม้จะต่ำกว่าปี 49 เพราะข้อจำกัดของ
เศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจของสหรัฐ จีน ญี่ปุ่น และยุโรป โดยคาดว่าการส่งออกจะขยายตัวที่ 8-9% (ข่าวสด, โลกวันนี้)
5. บริษัทจดทะเบียนกำไรลดลง 12% ในปี 49 นางนงราม วงษ์วานิช รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)
เปิดเผยว่า บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ใน ตลท. และตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ 519 บริษัทหรือ 98% ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด 532 บริษัท
รวมกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ 13 กองทุน ได้ส่งงบการเงินงวดสิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค.49 แล้ว โดยมีกำไรรวม 469,354 ล.บาท ลดลง
66,063 ล.บาท หรือ 12% จากปี 48 สาเหตุหลักมาจากต้นทุนพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นทำให้ต้นทุนขายเพิ่มขึ้นส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นลดลง
ประกอบกับผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทำให้ภาระจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น รวมทั้งการที่ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนมีการตั้ง
สำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่ม ตามเกณฑ์ใหม่ของ ธปท.เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานบัญชี IAS 39 (ข่าวสด, โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ,
ผู้จัดการรายวัน)
6. ธ.กรุงศรีอยุธยา ธ.กรุงเทพ และ ธ.ทหารไทย ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำลง 0.25-0.50% ผู้สื่อข่าวรายงานว่า
ธ.กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธ.กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และ ธ.ทหารไทย จำกัด (มหาชน) ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
ประจำลง 0.25-0.50% มีผลตั้งแต่วันที่ 6 มี.ค.50 เป็นต้นไป โดยยังคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ระดับเดิม (โลกวันนี้, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เศรษฐกิจ Euro zone ในไตรมาสสุดท้ายปี 49 ขยายตัวร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 49 รายงานจากบรัสเซลส์
เมื่อ 6 มี.ค.50 Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของสหภาพยุโรปรายงานเศรษฐกิจของ Euro zone ในไตรมาสสุดท้ายปี 49 ขยายตัวเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 49 ดีกว่าเศรษฐกิจ สรอ.ซึ่งขยายตัวร้อยละ 0.6 ในไตรมาสเดียวกัน และส่งผลให้ตลอดทั้งปี 49
เศรษฐกิจ Euro zone ขยายตัวร้อยละ 2.7 ต่อปี สูงสุดในรอบ 6 ปีนับตั้งแต่ปี 43 โดยเป็นผลจากการส่งออก การลงทุนและการใช้จ่ายภาค
ครัวเรือนยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่งซึ่งคาดว่าจะส่งผลดีให้เศรษฐกิจในปี 50 ขยายตัวต่อเนื่องจากปี 49 แม้ว่ายอดค้าปลีกลดลงร้อยละ 1.0
ต่อเดือนในเดือน ม.ค.50 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.49 และลดลงร้อยละ 0.1 ต่อปีเมื่อเทียบกับเดือน ม.ค.49 ลดลงมากกว่าที่คาดไว้ว่าจะลดลง
ร้อยละ 0.4 ต่อเดือนและคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ต่อปี โดยยอดค้าปลีกในเยอรมนีลดลงมากสุดถึงร้อยละ 5.1 ต่อเดือนและร้อยละ 4.3
ต่อปีอันเป็นผลจากการขึ้นอัตราภาษี VAT อีกร้อยละ 3.0 เป็นร้อยละ 19.0 นับตั้งแต่ต้นปี 50 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ประมาณการของคณะกรรมาธิการ
สภายุโรปเมื่อวันที่ 13 ก.พ.50 ที่ผ่านมาคาดว่าเศรษฐกิจ Euro zone จะขยายตัวระหว่างร้อยละ 0.4 — 0.8 ในไตรมาสแรกปี 50 และ
ขยายตัวระหว่างร้อยละ 0.5 — 0.9 ในไตรมาสที่ 2 ปี 50 เพิ่มขึ้นจากประมาณการครั้งก่อนที่อยู่ระหว่างร้อยละ 0.4 — 0.9 ต่อไตรมาส
ในขณะที่ยังคงประมาณการสำหรับไตรมาสที่ 3 ปี 50 ไว้ที่ร้อยละ 0.3 — 0.9 ต่อไตรมาส โดยเป็นที่คาดกันในตลาดว่า ธ.กลางยุโรปหรือ ECB
จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 3.75 ต่อปีในการประชุมในวันที่ 8 มี.ค.50 ที่จะถึงนี้เพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อจากการ
ขยายตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจ (รอยเตอร์)
2. ทุนสำรองระหว่างประเทศของญี่ปุ่น ณ สิ้นสุดเดือน ก.พ.เพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดที่ 905.048 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. รายงานจาก
โตเกียว เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 50 รมว.คลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ณ สิ้นสุดเดือน ก.พ. ทุนสำรองระหว่างประเทศของญี่ปุ่นทำสถิติสูงสุดที่ระดับ
905.048 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระดับ 895.383 ดอลลาร์ สรอ. เมื่อเดือนก่อนหน้า และเป็นครั้งแรกที่ทุนสำรองระหว่างประเทศ
สูงถึงระดับ 900 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เนื่องจากพันธบัตรเงินตราต่างประเทศที่ญี่ปุ่นถือครองมีมูลค่าเมื่อคิดเป็นเงินดอลลาร์ สรอ.
เพิ่มขึ้น จากการที่เงินยูโรแข็งค่าขึ้น รวมทั้งรายได้จากอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรและเงินฝาก ส่งผลให้ทุนสำรองระหว่างประเทศของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้จากข้อมูลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศชี้ว่า ญี่ปุ่นมีทุนสำรองระหว่างประเทศมากที่สุดเป็นอันดับที่สองรองจากจีนที่มีมากกว่า
1 ล้าน ล้าน ดอลลาร์ สรอ. ส่วนรัสเซีย และไต้หวันมีทุนสำรองระหว่างประเทศมากเป็นอันดับที่ 3 และ 4 ตามลำดับ สำหรับสัดส่วนเงินตรา
ต่างประเทศในทุนสำรองฯของญี่ปุ่นนั้นไม่มีการเปิดเผย แต่จากอดีตที่ผ่านมาการเข้าแทรกแซงตลาดเงินตราต่างประเทศของญี่ปุ่นนั้นส่วนใหญ่จะ
เป็นการซื้อดอลลาร์ — ขายเยน ทำให้คาดได้ว่าเงินตราต่างประเทศส่วนใหญ่ในบัญชีทุนสำรองฯของญี่ปุ่นน่าจะเป็นเงินดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของอังกฤษในเดือน ก.พ.50 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 85 รายงานจากลอนดอน เมื่อ 7 มี.ค.50
Mortgage lender Nationwide ของอังกฤษ เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของอังกฤษในเดือน ก.พ.50 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ
85 จากระดับ 84 เมื่อเดือน ม.ค.50 ในขณะที่ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เกี่ยวกับสถานกาณ์ปัจจุบันลดลงมาอยู่ที่ระดับ 84 จากระดับ 86
ในเดือนก่อนหน้า และนับเป็นระดับต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน พ.ค.47 ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวสะท้อนว่า ผู้บริโภคมีปฏิกิริยาโต้ตอบต่อการปรับเพิ่มอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายของ ธ.กลางอังกฤษ (ซึ่งประกาศปรับเพิ่มไปแล้ว 3 ครั้งตั้งแต่เดือน ส.ค.49) เนื่องจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคทุกตัวปัจจุบัน
อยู่ในระดับต่ำกว่าก่อนการประกาศปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยครั้งแรก อย่างไรก็ตาม แม้ดัชนีดังกล่าวยังคงอยู่ในระดับต่ำ แต่ผู้บริโภคยังมีความรู้สึก
เป็นบวกเกี่ยวกับงานและรายได้ ซึ่งสะท้อนว่าพื้นฐานทางเศรษฐกิจของอังกฤษยังคงมีเสถียรภาพ อนึ่ง มีการคาดการณ์กันอย่างมากว่า
ธ.กลางอังกฤษอาจคงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิม คือ ร้อยละ 5.25 ในการประชุมในวันพฤหัสบดีที่จะถึงนี้ หลังจากที่ปรับเพิ่มไป
แล้วรวมร้อยละ 0.75 ตั้งแต่เดือน ส.ค.49 (รอยเตอร์)
4. คาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมร้อยละ 4.50 รายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้
เมื่อวันที่ 6 มี.ค.50 สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ไว้ที่ระดับเดิมติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 คือ ร้อยละ 4.50 ในการประชุมวันพฤหัสบดีที่จะถึงนี้ และคาดว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงสำหรับช่วงเวลาที่เหลือ
ของปีนี้จนถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือน ธ.ค.50 โดยมีเหตุผลสนับสนุนการวิเคราะห์ครั้งนี้จากการที่ความต้องการบริโภคภายในประเทศ
ยังชะลอตัวและความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลก ถึงแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.พ.50 จะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.2 จากปีก่อน สูงกว่าที่
คาดการณ์ไว้ แต่ยังคงต่ำกว่าระดับเป้าหมายที่ ธ.กลางเกาหลีใต้ตั้งไว้ระหว่างร้อยละ 2.5 — 3.5 สำหรับปี 50 — 52 นอกจากนี้ การไม่ปรับ
ขึ้นอัตราดอกเบี้ยยังจะช่วยควบคุมและสร้างเสถียรภาพด้านราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ ธ.กลางเกาหลีใต้ได้คงอัตราดอกเบี้ย
ไว้ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา หลังจากที่ได้ปรับขึ้นรวมร้อยละ 1.25 นับตั้งแต่เดือน ต.ค.48 ในขณะที่ผู้ว่าการ ธ.กลางเกาหลีใต้ ได้กล่าวหลัง
จากการประชุมครั้งก่อนว่าจำเป็นต้องสร้างความสมดุลมากขึ้นระหว่างอัตราเงินเฟ้อและการเติบโตทางเศรษฐกิจในส่วนที่มีความสัมพันธ์กับนโยบาย
อัตราดอกเบี้ยในอนาคต โดย ธ.กลางเกาหลีใต้คาดการณ์ไว้เมื่อเดือน ธ.ค.49 ว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 50 จะชะลอตัวลง
เหลือร้อยละ 4.4 ลดลงจากตัวเลขประมาณการของปี 49 ที่คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 5.0 และคาดว่าเศรษฐกิจจะไม่ชะลอตัวรุนแรงมากนัก(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 7 มี.ค. 50 6 มี.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.267 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.0701/35.3823 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.63625 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 674.24/10.96 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,750/10,850 10,750/10,850 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 57.16 56.38 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 26.79*/23.34** 26.79*/23.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 4 มี.ค. 50
** ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 1 มี.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--