หมูยอรายนี้เกิดได้ไม่ถึงปีกลายเป็นของดีประจำจังหวัดได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว ด้วยรูปโฉมแปลกใหม่ที่ดึงเอาธรรมชาติอย่างกระบอกไม้
ไผ่มาสร้างจุดเด่นให้กับสินค้า ห้างเล็กห้างใหญ่อ้าแขนรับสั่งออร์เดอร์ล้นหลามจังหวัดใกล้เคียงรอคิวสั่งออร์เดอร์เอาไปขายต่อมากมายจากหมูยอราย
เล็กๆ ในถิ่นกันดารของ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย กำลังจะพลิกบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจ กลายเป็นแหล่งผลิตหมูยอกระบอกไม้ไผ่รายใหญ่ที่น่าจับตา
มอง
คุณสุชาดา สิงห์สถิต เจ้าของไอเดียนำกระบอกไม้ไผ่ มาใส่หมูยอเปิดเผยว่า หลังจากทำงานที่กรุงเทพฯ มาได้ระยะหนึ่งจึงอยากกลับไป
พัฒนาบ้านเกิดของตัวเอง เนื่องจากตนเองมีโอกาสเดินทางไปทั่วประเทศ สังเกตเห็นว่าคนอีสานส่วนใหญ่นิยมซื้อผ้ากับหมูยอไปเป็นของฝากเพื่อนฝูงและ
ผู้ใหญ่ ด้วยความที่ตนเองชอบกินหมูยอ จึงคิดจะลงทุนผลิตหมูยอขาย จึงจ้างคนมาสอนวิธีทำหมูยออยู่ 2 เดือน ขณะเรียนวิธีห่อหมูยอด้วยใบตอง ฉับพลัน
ไอเดียได้บรรเจิดขึ้นว่า ถ้าหากตนทำหมูยอห่อด้วยใบตองก็จะสู้หมูยอที่มีชื่อเสียงอยู่แล้วหลายเจ้าในแถบไม่ได้
คุณสุชาดามองทะลุมิติการขายและการแข่งขันทางการตลาด จึงมองเห็นว่าถ้าห่อด้วยใบตองคงสู้ไม่ได้ จึงคิดจะสู้ด้วยรสชาติที่ดีกว่าและ
บรรจุภัณฑ์ที่แปลกใหม่กว่า เมื่อมองไปรอบตัวก็เห็นต้นไม้ไผ่ซึ่งเป็นวัสดุที่มีมากในท้องถิ่น จึงคิดจะนำเอาหมูยอใส่กระบอกไม้ไผ่ทำคล้ายข้าวหลาม ไอเดีย
ดังกล่าวถูกคัดค้านและไม่เห็นด้วยจากคนรอบข้าง แต่เธอมุ่งมั่นต้องทำให้ได้ จึงเอาไม้ไผ่มาลองใส่หมูยอซึ่งเธอยอมรับว่าเจออุปสรรคไม่ลงตัวมากมาย
สุดท้ายตัดสินใจเอาไม้ไผ่มาตัดหัวตัดท้าย เอาหมูยอใส่แล้วใช้ฟอยล์ปิดหัวท้าย นำตอกไม้ไผ่มามัดเท่ๆ นำไปนึ่ง ในที่สุดก็ได้หมูยอรูปโฉมใหม่อยู่ใน
กระบอกไม้ไผ่ ออกมาเขย่าตลาดหมูยอได้อย่างสะท้านสะเทือนไปหลายจังหวัดทีเดียว
"ไม่อยากพูดว่าอร่อยกว่าของใคร แต่ขอพูดว่าอร่อยโดนปากของคนรับประทานดีกว่า นอกจากความแปลกแล้ว กระบอกไม้ไผ่ยังช่วยให้เนื้อ
หมูยอมีความหวานและหอมที่แตกต่างออกไป ถือว่าเป็นความอร่อยที่แปลกแต่คนไทยชอบ เราเปิดตัวครั้งแรกที่จังหวัดของเราเอง อยากรู้ว่าคนในจังหวัด
ของเราจะรู้สึกอย่างไรกับสินค้าแบบนี้ เราเปิดตัวครั้งแรกในงานประจำจังหวัด คือ งานดอกฝ้ายบาน มะขามหวานเมืองเลย ปรากฏว่ายอดขายดีมาก
ยอดขายวันแรกสูงถึง 20,000 บาท เราไม่คิดว่าเราจะขายได้ไม่คิดว่าคนในจังหวัดจะมีกำลังซื้อได้มากขนาดนั้น ที่เราขายได้มากน่าจะเป็นเพราะรส
ชาติ และความแปลกใหม่ของบรรจุภัณฑ์แต่จะซื้อเพราะรสชาติหรือซื้อเพราะบรรจุภัณฑ์แปลกใหม่ ตรงนี้ ยังวัดไม่ได้ แต่ที่เราประสบความสำเร็จได้
เพราะเรามีความมุ่งมั่นในการทำอย่างจริงจัง"
เคล็ดลับการผลิตหมูยอให้อร่อย
"การผลิตเริ่มที่การหากระบอก บ้านเราได้เปรียบตรงที่อยู่ในแหล่งผลิตกระบอกไม้ไผ่ อำเภอภูหลวงเป็นแหล่งไม้ไผ่ที่สมบูรณ์มาก ไม่ได้
หมายความว่าเราตัดมาอย่างเดียว เรารู้วิธีตัดไม้ไผ่ไม่ให้มันตาย เราปลูกไม้ไผ่ทดแทน ตอนนี้เราปลูกประมาณ 2,000 ต้นแล้ว ขนาดของกระบอกที่
เราใช้ประมาณ 2 ปีกว่าจะนำมาใช้ได้แล้ว ไม้ที่เราปลูกบาง ไม่หนา ปลูกง่าย ขั้นตอนการผลิตไม่มาก ต้องตัดไม้มาล้าง ปิดก้น เช้าต้องเริ่มตีเนื้อหมู
กรอกลงในกระบอก เนื่องจากเราไม่สามารถควบคุมให้กระบอกไม้ไผ่ใหญ่หรือเล็กเท่ากันได้ เพราะขนาดเป็นไปตามธรรมชาติ เราใช้วิธีชั่งก่อนเทใส่
กระบอก กระบอกใหญ่ 300 กรัม กระบอกเล็ก 150 กรัมกรอกลงไปในกระบอกแล้วใช้ฟอยล์ปิดแทนฝา จากนั้นมัดให้แน่นด้วยไม้ตอกแล้วนำไปนึ่ง เรา
เพิ่มความหอมโดยใช้ใบเตยแปะลงไปที่เนื้อหมูยอก่อนที่จะปิดฝาด้วยฟอยล์
"สำหรับสูตรหมูยอเป็นสูตรเหมือนหมูยอทั่วไป มีส่วนผสมของเนื้อหมู พริกไทยดำ เกลือ น้ำตาล เราไม่ใส่ผงชูรสเนื้อหมูที่เราใช้เป็นเนื้อ
หมูตรงสะโพก ส่วนอื่นไม่ใช้เลย เราใช้วัตถุดิบที่เป็นสูตรของเราเอง เกลือที่ใช้ผสมเราจะมีวิธีทำเกลือไม่ใช่ซื้อมาแล้วนำมาใช้ได้เลย เรามีวิธีทำ
เกลือที่เป็นสูตรของคนโบราณ ทำให้เกลือเค็มน้อยลง หมูยอของเราจึงเนื้อนุ่มกว่าหอมอร่อยกว่า
ขยายตลาดขึ้นห้างนำรายได้สู่ชุมชน
"หัวใจสำคัญในการทำหมูยอคือ ทำอย่างไรหมูถึงจะไม่เสียตอนแรกเราไม่เข้าใจเรื่องการแปรรูปเนื้อสัตว์ว่าอะไรเป็นหัวใจสำคัญ ตอนนี้
เราเข้าใจแล้ว เพราะมีผู้เชี่ยวชาญมาเสริมความรู้ด้านวิชาการและเครื่องมือต่างๆ การแปรรูปเนื้อสัตว์ต้องอาศัยความเย็น อากาศ และห้องผลิตต้อง
เป็นห้องเย็น แต่สถานที่ผลิตของเราเป็นสังกะสี ตีหมูยอตอนเที่ยง ยังไม่ทัน 5 นาทีเป็นน้ำหมดหัวใจการผลิตอยู่ที่ความเย็น ความสดของเนื้อ เราทำ
สินค้าเข้า ระบบ Frozen และทดลองเก็บสินค้าซึ่งสามารถเก็บได้ 3 เดือน ถ้าเข้าใจหลักการถนอมอาหารแล้ว จะเก็บไว้ได้นาน ตอนนี้เราซื้อตู้เย็น
มา 6 ตู้แล้ว ยิ่งมีคำสั่งซื้อมาก เราต้องผ่อนตู้แช่มาก"
"กำลังการผลิตตอนนี้ 1,500 กระบอกต่อวัน ตอนนี้มีกลุ่มแม่บ้านช่วยกันผลิตอยู่ประมาณ 30 คน ช่วงเริ่มต้นมีคนทำกันอยู่แค่ 7-8 คน ตอน
นี้มีคนเริ่มทยอยเข้ามาเป็นสมาชิกในกลุ่มกันมากขึ้น ใช้ชื่อกลุ่มเกษตรกรแปรรูปเนื้อสัตว์อบต.หนองคันต่อไปจะต่อยอดการผลิตแปรรูปหมูยอเป็นหมูยอโรล
และหมูยอ ห่อสาหร่าย ออกมาดีมากเลย จิ้มกับน้ำจิ้มบ๊วย อร่อยมากนั่นคือเป้าหมายที่กำลังจะทำ ต้องแปรรูปของเราต่อไปเพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้ได้ เรา
เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่สามารถทำรายได้เข้าสู่ชุมชนได้
"เราเป็นกลุ่มผู้ผลิตรายเดียวที่สามารถนำสินค้าของอำเภอเราออกไปขายในกรุงเทพฯ แม้แต่จังหวัดขอนแก่นเป็นเมืองหมูยอก็สั่งหมูยอของ
เราไปขายสัปดาห์ละประมาณ 2,000 กระบอก เดือนหนึ่งเราสั่งซื้อฟอยล์มาใช้ในการผลิตเป็นจำนวนมากกว่าที่ซูเปอร์มาร์เก็ตในจังหวัดเลยสั่งมา
จำหน่ายเสียอีก เราเป็นผู้ผลิตรายเล็ก แต่เราสั่งซื้อหมูเป็นรายใหญ่ของจังหวัดเลยตอนนี้เขียงหมูในจังหวัดเลยวิ่งหาเรา เมื่อก่อนเราต้องรวบรวมเงิน
ให้ได้แล้ววิ่งไปซื้อหมู เดีฮยวนี้เรานั่งรอเขามาส่งให้ เราใช้หมูเดือนหนึ่งประมาณ 140,000 บาท เท่ากับที่ห้างสาขาย่อยสั่งมาขายในห้าง ยอมรับว่า
กำไรยังไม่เกิดตอนนี้ จุดคุ้มทุนตอนนี้ยังไม่ถึง ตอนนี้เรามีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง จนกว่าต้นทุนคงที่จะหมดภาระ เราถึงจะสามารถสร้างกำไรได้ จำ
เป็นต้องเอาส่วนรายได้ไปผ่อนเป็นดอกเบี้ยก่อน เราเจอค่าวัตถุดิบที่สูง เพราะต้องเสียค่าขนส่งสูง ค่าครองชีพของจังหวัดเลยต่ำ แต่ค่าสินค้าจะสูง"
ทุ่มมหาศาล ขยายบ้านเป็นโรงงาน
ปัจจุบัน หมูยอกระบอกไม้ไผ่ของคุณสุชาดา สิงห์สถิตใช้ตรายี่ห้ออำเภอว่า ๙ตราภูหลวง๛ มีสโลแกนประจำหมูยอว่า หอมกลิ่นไผ่ ใจใส่
คุณภาพ มีวางขายที่ห้างเดอะมอลล์ สยามพารากอน เลมอนฟาร์ม ฯลฯ ออกงานที่เมืองทองธานีในงาน OTOP City 5 วันแรกทำยอดขายถล่มทลาย
150,000 บาท กิจการเริ่มขยายตัว เดิมใช้บ้านเป็นโรงงาน ขณะนี้ทุ่มทุน 500,000 บาท สร้างโรงเรือนผลิตหมูยออย่างจริงจัง และเริ่มทยอยนำ
เครื่องจักร เข้าใช้ในการผลิต มีแนวโน้มจะผลิตเนื้อหมูแปรรูปแบบใหม่ๆ ออกมาป้อนตลาดอีกหลายตัว แบไต๋ไว้เล็กน้อยว่าจะผลิตลูกชิ้นให้เด็กที่ไม่ชอบ
กินผักให้หันมากินลูกชิ้นผักนี้ได้ นอกจากนี้ ยังวางเป้าหมายการผลิตเพื่อการส่งออกต่อไป
ใครจะคาดคิดว่าธุรกิจที่เกิดขึ้นท่ามกลางขุนเขาที่อยู่ห่างไกลออกไป จะกลายเป็นธุรกิจที่เข้มแข็งได้และเติบโตอย่างรวดเร็วส่อแวว
รุ่งโรจน์ได้ในอนาคต ถือว่าเป็นตัวอย่างของการพัฒนาบ้านเกิด และการนำเศรษฐกิจมาสู่ระดับชุมชนได้อย่างน่ายกย่อง ชื่อ สุชาดา สิงห์สถิต จึงเป็น
สตรีที่นำความรู้ความสามารถของตนกลับสู่บ้านเกิดด้วยวิธี คิดใหม่ทำใหม่อย่างมีพลัง ,
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
ไผ่มาสร้างจุดเด่นให้กับสินค้า ห้างเล็กห้างใหญ่อ้าแขนรับสั่งออร์เดอร์ล้นหลามจังหวัดใกล้เคียงรอคิวสั่งออร์เดอร์เอาไปขายต่อมากมายจากหมูยอราย
เล็กๆ ในถิ่นกันดารของ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย กำลังจะพลิกบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจ กลายเป็นแหล่งผลิตหมูยอกระบอกไม้ไผ่รายใหญ่ที่น่าจับตา
มอง
คุณสุชาดา สิงห์สถิต เจ้าของไอเดียนำกระบอกไม้ไผ่ มาใส่หมูยอเปิดเผยว่า หลังจากทำงานที่กรุงเทพฯ มาได้ระยะหนึ่งจึงอยากกลับไป
พัฒนาบ้านเกิดของตัวเอง เนื่องจากตนเองมีโอกาสเดินทางไปทั่วประเทศ สังเกตเห็นว่าคนอีสานส่วนใหญ่นิยมซื้อผ้ากับหมูยอไปเป็นของฝากเพื่อนฝูงและ
ผู้ใหญ่ ด้วยความที่ตนเองชอบกินหมูยอ จึงคิดจะลงทุนผลิตหมูยอขาย จึงจ้างคนมาสอนวิธีทำหมูยออยู่ 2 เดือน ขณะเรียนวิธีห่อหมูยอด้วยใบตอง ฉับพลัน
ไอเดียได้บรรเจิดขึ้นว่า ถ้าหากตนทำหมูยอห่อด้วยใบตองก็จะสู้หมูยอที่มีชื่อเสียงอยู่แล้วหลายเจ้าในแถบไม่ได้
คุณสุชาดามองทะลุมิติการขายและการแข่งขันทางการตลาด จึงมองเห็นว่าถ้าห่อด้วยใบตองคงสู้ไม่ได้ จึงคิดจะสู้ด้วยรสชาติที่ดีกว่าและ
บรรจุภัณฑ์ที่แปลกใหม่กว่า เมื่อมองไปรอบตัวก็เห็นต้นไม้ไผ่ซึ่งเป็นวัสดุที่มีมากในท้องถิ่น จึงคิดจะนำเอาหมูยอใส่กระบอกไม้ไผ่ทำคล้ายข้าวหลาม ไอเดีย
ดังกล่าวถูกคัดค้านและไม่เห็นด้วยจากคนรอบข้าง แต่เธอมุ่งมั่นต้องทำให้ได้ จึงเอาไม้ไผ่มาลองใส่หมูยอซึ่งเธอยอมรับว่าเจออุปสรรคไม่ลงตัวมากมาย
สุดท้ายตัดสินใจเอาไม้ไผ่มาตัดหัวตัดท้าย เอาหมูยอใส่แล้วใช้ฟอยล์ปิดหัวท้าย นำตอกไม้ไผ่มามัดเท่ๆ นำไปนึ่ง ในที่สุดก็ได้หมูยอรูปโฉมใหม่อยู่ใน
กระบอกไม้ไผ่ ออกมาเขย่าตลาดหมูยอได้อย่างสะท้านสะเทือนไปหลายจังหวัดทีเดียว
"ไม่อยากพูดว่าอร่อยกว่าของใคร แต่ขอพูดว่าอร่อยโดนปากของคนรับประทานดีกว่า นอกจากความแปลกแล้ว กระบอกไม้ไผ่ยังช่วยให้เนื้อ
หมูยอมีความหวานและหอมที่แตกต่างออกไป ถือว่าเป็นความอร่อยที่แปลกแต่คนไทยชอบ เราเปิดตัวครั้งแรกที่จังหวัดของเราเอง อยากรู้ว่าคนในจังหวัด
ของเราจะรู้สึกอย่างไรกับสินค้าแบบนี้ เราเปิดตัวครั้งแรกในงานประจำจังหวัด คือ งานดอกฝ้ายบาน มะขามหวานเมืองเลย ปรากฏว่ายอดขายดีมาก
ยอดขายวันแรกสูงถึง 20,000 บาท เราไม่คิดว่าเราจะขายได้ไม่คิดว่าคนในจังหวัดจะมีกำลังซื้อได้มากขนาดนั้น ที่เราขายได้มากน่าจะเป็นเพราะรส
ชาติ และความแปลกใหม่ของบรรจุภัณฑ์แต่จะซื้อเพราะรสชาติหรือซื้อเพราะบรรจุภัณฑ์แปลกใหม่ ตรงนี้ ยังวัดไม่ได้ แต่ที่เราประสบความสำเร็จได้
เพราะเรามีความมุ่งมั่นในการทำอย่างจริงจัง"
เคล็ดลับการผลิตหมูยอให้อร่อย
"การผลิตเริ่มที่การหากระบอก บ้านเราได้เปรียบตรงที่อยู่ในแหล่งผลิตกระบอกไม้ไผ่ อำเภอภูหลวงเป็นแหล่งไม้ไผ่ที่สมบูรณ์มาก ไม่ได้
หมายความว่าเราตัดมาอย่างเดียว เรารู้วิธีตัดไม้ไผ่ไม่ให้มันตาย เราปลูกไม้ไผ่ทดแทน ตอนนี้เราปลูกประมาณ 2,000 ต้นแล้ว ขนาดของกระบอกที่
เราใช้ประมาณ 2 ปีกว่าจะนำมาใช้ได้แล้ว ไม้ที่เราปลูกบาง ไม่หนา ปลูกง่าย ขั้นตอนการผลิตไม่มาก ต้องตัดไม้มาล้าง ปิดก้น เช้าต้องเริ่มตีเนื้อหมู
กรอกลงในกระบอก เนื่องจากเราไม่สามารถควบคุมให้กระบอกไม้ไผ่ใหญ่หรือเล็กเท่ากันได้ เพราะขนาดเป็นไปตามธรรมชาติ เราใช้วิธีชั่งก่อนเทใส่
กระบอก กระบอกใหญ่ 300 กรัม กระบอกเล็ก 150 กรัมกรอกลงไปในกระบอกแล้วใช้ฟอยล์ปิดแทนฝา จากนั้นมัดให้แน่นด้วยไม้ตอกแล้วนำไปนึ่ง เรา
เพิ่มความหอมโดยใช้ใบเตยแปะลงไปที่เนื้อหมูยอก่อนที่จะปิดฝาด้วยฟอยล์
"สำหรับสูตรหมูยอเป็นสูตรเหมือนหมูยอทั่วไป มีส่วนผสมของเนื้อหมู พริกไทยดำ เกลือ น้ำตาล เราไม่ใส่ผงชูรสเนื้อหมูที่เราใช้เป็นเนื้อ
หมูตรงสะโพก ส่วนอื่นไม่ใช้เลย เราใช้วัตถุดิบที่เป็นสูตรของเราเอง เกลือที่ใช้ผสมเราจะมีวิธีทำเกลือไม่ใช่ซื้อมาแล้วนำมาใช้ได้เลย เรามีวิธีทำ
เกลือที่เป็นสูตรของคนโบราณ ทำให้เกลือเค็มน้อยลง หมูยอของเราจึงเนื้อนุ่มกว่าหอมอร่อยกว่า
ขยายตลาดขึ้นห้างนำรายได้สู่ชุมชน
"หัวใจสำคัญในการทำหมูยอคือ ทำอย่างไรหมูถึงจะไม่เสียตอนแรกเราไม่เข้าใจเรื่องการแปรรูปเนื้อสัตว์ว่าอะไรเป็นหัวใจสำคัญ ตอนนี้
เราเข้าใจแล้ว เพราะมีผู้เชี่ยวชาญมาเสริมความรู้ด้านวิชาการและเครื่องมือต่างๆ การแปรรูปเนื้อสัตว์ต้องอาศัยความเย็น อากาศ และห้องผลิตต้อง
เป็นห้องเย็น แต่สถานที่ผลิตของเราเป็นสังกะสี ตีหมูยอตอนเที่ยง ยังไม่ทัน 5 นาทีเป็นน้ำหมดหัวใจการผลิตอยู่ที่ความเย็น ความสดของเนื้อ เราทำ
สินค้าเข้า ระบบ Frozen และทดลองเก็บสินค้าซึ่งสามารถเก็บได้ 3 เดือน ถ้าเข้าใจหลักการถนอมอาหารแล้ว จะเก็บไว้ได้นาน ตอนนี้เราซื้อตู้เย็น
มา 6 ตู้แล้ว ยิ่งมีคำสั่งซื้อมาก เราต้องผ่อนตู้แช่มาก"
"กำลังการผลิตตอนนี้ 1,500 กระบอกต่อวัน ตอนนี้มีกลุ่มแม่บ้านช่วยกันผลิตอยู่ประมาณ 30 คน ช่วงเริ่มต้นมีคนทำกันอยู่แค่ 7-8 คน ตอน
นี้มีคนเริ่มทยอยเข้ามาเป็นสมาชิกในกลุ่มกันมากขึ้น ใช้ชื่อกลุ่มเกษตรกรแปรรูปเนื้อสัตว์อบต.หนองคันต่อไปจะต่อยอดการผลิตแปรรูปหมูยอเป็นหมูยอโรล
และหมูยอ ห่อสาหร่าย ออกมาดีมากเลย จิ้มกับน้ำจิ้มบ๊วย อร่อยมากนั่นคือเป้าหมายที่กำลังจะทำ ต้องแปรรูปของเราต่อไปเพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้ได้ เรา
เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่สามารถทำรายได้เข้าสู่ชุมชนได้
"เราเป็นกลุ่มผู้ผลิตรายเดียวที่สามารถนำสินค้าของอำเภอเราออกไปขายในกรุงเทพฯ แม้แต่จังหวัดขอนแก่นเป็นเมืองหมูยอก็สั่งหมูยอของ
เราไปขายสัปดาห์ละประมาณ 2,000 กระบอก เดือนหนึ่งเราสั่งซื้อฟอยล์มาใช้ในการผลิตเป็นจำนวนมากกว่าที่ซูเปอร์มาร์เก็ตในจังหวัดเลยสั่งมา
จำหน่ายเสียอีก เราเป็นผู้ผลิตรายเล็ก แต่เราสั่งซื้อหมูเป็นรายใหญ่ของจังหวัดเลยตอนนี้เขียงหมูในจังหวัดเลยวิ่งหาเรา เมื่อก่อนเราต้องรวบรวมเงิน
ให้ได้แล้ววิ่งไปซื้อหมู เดีฮยวนี้เรานั่งรอเขามาส่งให้ เราใช้หมูเดือนหนึ่งประมาณ 140,000 บาท เท่ากับที่ห้างสาขาย่อยสั่งมาขายในห้าง ยอมรับว่า
กำไรยังไม่เกิดตอนนี้ จุดคุ้มทุนตอนนี้ยังไม่ถึง ตอนนี้เรามีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง จนกว่าต้นทุนคงที่จะหมดภาระ เราถึงจะสามารถสร้างกำไรได้ จำ
เป็นต้องเอาส่วนรายได้ไปผ่อนเป็นดอกเบี้ยก่อน เราเจอค่าวัตถุดิบที่สูง เพราะต้องเสียค่าขนส่งสูง ค่าครองชีพของจังหวัดเลยต่ำ แต่ค่าสินค้าจะสูง"
ทุ่มมหาศาล ขยายบ้านเป็นโรงงาน
ปัจจุบัน หมูยอกระบอกไม้ไผ่ของคุณสุชาดา สิงห์สถิตใช้ตรายี่ห้ออำเภอว่า ๙ตราภูหลวง๛ มีสโลแกนประจำหมูยอว่า หอมกลิ่นไผ่ ใจใส่
คุณภาพ มีวางขายที่ห้างเดอะมอลล์ สยามพารากอน เลมอนฟาร์ม ฯลฯ ออกงานที่เมืองทองธานีในงาน OTOP City 5 วันแรกทำยอดขายถล่มทลาย
150,000 บาท กิจการเริ่มขยายตัว เดิมใช้บ้านเป็นโรงงาน ขณะนี้ทุ่มทุน 500,000 บาท สร้างโรงเรือนผลิตหมูยออย่างจริงจัง และเริ่มทยอยนำ
เครื่องจักร เข้าใช้ในการผลิต มีแนวโน้มจะผลิตเนื้อหมูแปรรูปแบบใหม่ๆ ออกมาป้อนตลาดอีกหลายตัว แบไต๋ไว้เล็กน้อยว่าจะผลิตลูกชิ้นให้เด็กที่ไม่ชอบ
กินผักให้หันมากินลูกชิ้นผักนี้ได้ นอกจากนี้ ยังวางเป้าหมายการผลิตเพื่อการส่งออกต่อไป
ใครจะคาดคิดว่าธุรกิจที่เกิดขึ้นท่ามกลางขุนเขาที่อยู่ห่างไกลออกไป จะกลายเป็นธุรกิจที่เข้มแข็งได้และเติบโตอย่างรวดเร็วส่อแวว
รุ่งโรจน์ได้ในอนาคต ถือว่าเป็นตัวอย่างของการพัฒนาบ้านเกิด และการนำเศรษฐกิจมาสู่ระดับชุมชนได้อย่างน่ายกย่อง ชื่อ สุชาดา สิงห์สถิต จึงเป็น
สตรีที่นำความรู้ความสามารถของตนกลับสู่บ้านเกิดด้วยวิธี คิดใหม่ทำใหม่อย่างมีพลัง ,
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-