สรุปการสัมมนาวิชาการเวทีสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (FPO Forum) ภายใต้โครงการขยายบทบาทสำนักงานเศรษฐกิจการคลังสู่ภูมิภาค ณ จังหวัดอุบลราชธานี วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม 2550 เวลา 8.30 - 16.30 น. ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมเนวาด้าแกรนด์
การสัมมนาเรื่อง “การเงินการคลังกับการสร้างสรรค์สังคม”
การสัมมนาในช่วงบ่ายในหัวข้อ “การเงินการคลังกับการสร้างสรรค์สังคม” มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดเห็นและประสบการณ์ในมิติของการเงินการคลังเพื่อการพัฒนาชุมชน ตัวอย่างในด้านการนำมาตรการการเงินการคลังมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาท้องถิ่น / พื้นที่ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะต่อประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ การเกษตรอินทรีย์ การจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่น การท่องเที่ยว และการจัดการทรัพยากรและพลังงานทดแทน การพึ่งตนเองของชุมชน โดยผู้เข้าร่วมเป็นวิทยากรประกอบด้วย ผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชนในพื้นที่ และผู้มีบทบาทต่อการพัฒนาสังคม ซึ่งมีสาระสำคัญโดยสรุปดังต่อไปนี้
นายทวีศักดิ์ มานะกุล ผู้อำนวยการส่วนกิจการสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 3 สศค. ได้กล่าวถึงที่มาของการสัมมนาในหัวข้อนี้ว่า ความก้าวหน้าและพัฒนาการของชุมชนยังมีความไม่เท่าเทียมหรือลักลั่นกันอยู่ เนื่องจากความแตกต่างและความหลากหลาย รวมทั้งศักยภาพ และความพร้อมของแต่ละท้องถิ่นของสังคม และที่สำคัญ สังคมไทยยังประสบปัญหาเชิงโครงสร้าง ความเหลื่อมล้ำของรายได้ คุณภาพสิ่งแวดล้อมลดน้อยถอยลง สมาชิกในสังคมจำนวนมากยังมีฐานะความเป็นอยู่ยากจน ขาดภูมิคุ้มกัน ขาดหลักประกันทางสังคม ความเท่าเทียมกันทางโอกาสของสมาชิกในสังคมยังเป็นปัญหา ดังนั้น สศค. จึงร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ จัดทำร่างแผนแม่บทการเงินการคลังเพื่อสังคมขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนให้สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความสุข มีภูมิคุ้มกัน และพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยร่างแผนแม่บทดังกล่าวประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) การพัฒนาให้เป็นสังคมพึ่งตนเองได้อย่างเพียงพอและยั่งยืน 2) การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้สังคม 3) การสร้างสรรค์สังคมที่มีคุณธรรมและวัฒนธรรมที่ดี และ 4) การสร้างสังคมสมดุล
ทั้งนี้ สศค. อยู่ระหว่างประมวลความเห็นที่มีประโยชน์ต่อการจัดทำแผนแม่บทฯ โดยเห็นว่าจังหวัดอุบลราชธานี เป็นจังหวัดที่มีความน่าสนใจ เนื่องจากเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความหลากหลายทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคม โดยมีทั้งภาคอุตสาหกรรม และภาคการเกษตรผสมผสานกัน มีส่วนที่เป็นทั้งชุมชนเมือง และชุมชนชนบท รวมทั้งมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม การจัดสัมมนาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำ ร่างแผนแม่บทการเงินการคลังเพื่อสังคมเป็นอย่างยิ่ง
นายยัง หงษ์วิเศษ ประธานกลุ่มกสิกรรมไร้สาร อ.เดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า กลุ่มกสิกรรมไร้สารเกิดจากการโครงการเศรษฐกิจพอเพียง โดยสามารถนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้แก่ผู้สนใจ หรือเครือข่ายต่างๆ ขณะนี้มี 17 กลุ่ม 19 อำเภอ รวมทั้งให้ข้อคิดว่าความสำเร็จในการดำเนินงานต้องนำหลักการคุณธรรมจริยธรรม และศีล 5 มาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการ ทั้งนี้ เห็นว่าการสนับสนุนงบประมาณสำหรับดำเนินโครงการจากภาครัฐมีปัจจัยความสำเร็จคือต้องมีการติดตามและประเมินผลโครงการ มีความต่อเนื่องของโครงการ และต้องมีส่วนร่วมจากประชาชน
นายเลื่อน มุทุวงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน และประธานวุฒิอาสาธนาคารสมอง จังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า การจัดทำแผนแม่บทการเงินการคลังเพื่อสังคมเป็นการดำเนินงานที่ดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจระดับฐานรากและชุมชน และเสนอแนะปัจจัยความสำเร็จของการพัฒนาชุชน ได้แก่
1) ภาคประชาชนต้องมีส่วนร่วม
2) มีแหล่งทุนมาอยู่ใกล้ชุมชน
3) ทุนที่ได้ต้องพอเพียง พอดี ซึ่งผู้ใช้ประโยชน์จากทุนดังกล่าวต้องพิจารณาให้รอบคอบว่าความพอดีอยู่ที่จุดใด โดยความพอดีดังกล่าวจะก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมต่อๆ ไป พร้อมกันนี้หากการผลิตที่เกิดจากทุนที่พอเพียงแล้วมีส่วนเหลือจากการใช้ภายในชุมชนต้องมีการดูแลในเรื่องตลาดเพื่อรองรับต่อไป
4) มีแหล่งความรู้ให้กับชุมชน
ดังนั้น กิจกรรมที่ภาครัฐควรสนับสนุนให้เกิดขึ้นในชุมชน คือ เมื่อลงทุนแล้วต้องเพิ่มรายได้ ประชาชนรู้จักการลดรายจ่าย มีการส่งเสริมการออม สร้างการเรียนรู้ อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และมีความเอื้ออารีต่อกัน นอกจากนี้เห็นว่าจำเป็นที่จะต้องมีสถาบันการเงินชุมชนและสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรการเงินระดับฐานราก ซึ่งประเด็นนี้ กระทรวงการคลังมีการจัดทำแผนแม่บทการเงินระดับฐานรากที่จะสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรการเงินฐานรากอยู่แล้ว
นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ อดีตสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2543 — 2549 กล่าวว่า การเงินการคลังเพื่อสังคมคือการจัดการงบประมาณของรัฐให้กระจายสู่ท้องถิ่นให้มีความเท่าเทียม เนื่องจากขณะนี้สังคมมีความเหลื่อมล้ำกันมาก มีชนชั้นปกครองหรือผู้มีอำนาจเพียงส่วนน้อย มีการผูกขาดอำนาจทางการเมือง ดังนั้น การจัดทำแผนแม่บทการเงินการคลังเพื่อสังคม ต้องเกิดจากความเข้าใจในปัญหาโครงสร้างทางสังคมดังกล่าวอย่างแท้จริง และอยู่บนพื้นฐานความเป็นธรรม รักษาวินัยการเงินการคลังและความโปร่งใส ซึ่งได้เสนอยุทธศาสตร์ที่ควรมีในแผนแม่บทการเงินการคลังเพื่อสังคม 4 ด้าน ดังนี้
1) การพัฒนาโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง ให้ความสำคัญกับมิติทางสังคมและวัฒนธรรม วิถีชีวิตในพื้นที่ ซึ่งการกำหนดนโยบาย มาตรการ และจัดสรรงบประมาณต้องสอดคล้องกับมิติดังกล่าว
2) ส่งเสริมการกระจายอำนาจให้ส่วนท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม ให้งบประมาณเข้าถึงท้องถิ่นโดยตรง โดยเสนอแนะการใช้แนวคิดบริหารกองทุนต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ
3) การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในกระบวนการตัดสินใจ และกระบวนการตรวจสอบ
4) สร้างองค์ความรู้ให้เกิดในชุมชนท้องถิ่น สร้างงานวิจัยในพื้นที่ นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เกิดการพึ่งหาตนเองลดการหาผลประโยชน์ทางการเมือง
ทั้งนี้ เครื่องมือในการนำแนวคิดการเงินการคลังไปสู่การปฏิบัติ คือการนำกรอบกฎหมายต่างๆ ที่มี มาใช้ประโยชน์ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมจับต้องได้ ส่งเสริมการกระจายอำนาจ งานขององค์กรการเงินฐานราก และงานสวัสดิการชุมชนที่เน้นการจัดการทรัพยากร สร้างกิจกรรมในพื้นที่และยึดหลักสิทธิของชาวบ้าน
นายพรชัย โค้วสุรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า การกระจายอำนาจเป็นสิ่งที่ดี โดยมีประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ การเมืองภาคประชาชนต้องเข้มแข็ง ร่วมคิด ร่วมทำ โดยสิ่งที่ อบจ. อุบลราชธานีให้ความสำคัญคือด้านการศึกษา การพัฒนาด้านรายได้และลดรายจ่าย เคารพเสียงข้างมาก เยียวยาเสียงข้างน้อย รู้ความต้องการของประชาชน ลดการผูกขาดให้แต่ละพื้นที่และแต่ละจังหวัด ร่วมทั้งพลังงานทางเลือกต้องเกิดขึ้นในจังหวัดอุบลราชธานี ทั้งนี้ มาตรการการเงินการคลังจะสำเร็จขึ้นอยู่กับว่าคนในระบบดีแค่ไหน คนจากภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากน้อยเพียงใด เพราะประชาชนปกครองประชาชนดีที่สุด
การสัมมนาวิชาการเวทีสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (FPO Forum) ภายใต้โครงการขยายบทบาทสำนักงานเศรษฐกิจการคลังสู่ภูมิภาค ณ จังหวัดอุบลราชธานี ทั้งภาคเช้าและภาคบ่าย ได้รับความสนใจเป็นอย่างดีจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาจำนวนประมาณ 300 คน สศค. จึงขอขอบคุณผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่านมา ณ โอกาสนี้ และจะได้นำข้อคิดเห็นต่างๆ ที่ได้รับไปใช้ประกอบในการพิจารณานำเสนอนโยบายและมาตรการเศรษฐกิจการเงิน การคลังที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัดให้แข็งแกร่งและยั่งยืนต่อไป
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 16/2550 18 สิงหาคม 2550--
การสัมมนาเรื่อง “การเงินการคลังกับการสร้างสรรค์สังคม”
การสัมมนาในช่วงบ่ายในหัวข้อ “การเงินการคลังกับการสร้างสรรค์สังคม” มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดเห็นและประสบการณ์ในมิติของการเงินการคลังเพื่อการพัฒนาชุมชน ตัวอย่างในด้านการนำมาตรการการเงินการคลังมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาท้องถิ่น / พื้นที่ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะต่อประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ การเกษตรอินทรีย์ การจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่น การท่องเที่ยว และการจัดการทรัพยากรและพลังงานทดแทน การพึ่งตนเองของชุมชน โดยผู้เข้าร่วมเป็นวิทยากรประกอบด้วย ผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชนในพื้นที่ และผู้มีบทบาทต่อการพัฒนาสังคม ซึ่งมีสาระสำคัญโดยสรุปดังต่อไปนี้
นายทวีศักดิ์ มานะกุล ผู้อำนวยการส่วนกิจการสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 3 สศค. ได้กล่าวถึงที่มาของการสัมมนาในหัวข้อนี้ว่า ความก้าวหน้าและพัฒนาการของชุมชนยังมีความไม่เท่าเทียมหรือลักลั่นกันอยู่ เนื่องจากความแตกต่างและความหลากหลาย รวมทั้งศักยภาพ และความพร้อมของแต่ละท้องถิ่นของสังคม และที่สำคัญ สังคมไทยยังประสบปัญหาเชิงโครงสร้าง ความเหลื่อมล้ำของรายได้ คุณภาพสิ่งแวดล้อมลดน้อยถอยลง สมาชิกในสังคมจำนวนมากยังมีฐานะความเป็นอยู่ยากจน ขาดภูมิคุ้มกัน ขาดหลักประกันทางสังคม ความเท่าเทียมกันทางโอกาสของสมาชิกในสังคมยังเป็นปัญหา ดังนั้น สศค. จึงร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ จัดทำร่างแผนแม่บทการเงินการคลังเพื่อสังคมขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนให้สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความสุข มีภูมิคุ้มกัน และพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยร่างแผนแม่บทดังกล่าวประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) การพัฒนาให้เป็นสังคมพึ่งตนเองได้อย่างเพียงพอและยั่งยืน 2) การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้สังคม 3) การสร้างสรรค์สังคมที่มีคุณธรรมและวัฒนธรรมที่ดี และ 4) การสร้างสังคมสมดุล
ทั้งนี้ สศค. อยู่ระหว่างประมวลความเห็นที่มีประโยชน์ต่อการจัดทำแผนแม่บทฯ โดยเห็นว่าจังหวัดอุบลราชธานี เป็นจังหวัดที่มีความน่าสนใจ เนื่องจากเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความหลากหลายทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคม โดยมีทั้งภาคอุตสาหกรรม และภาคการเกษตรผสมผสานกัน มีส่วนที่เป็นทั้งชุมชนเมือง และชุมชนชนบท รวมทั้งมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม การจัดสัมมนาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำ ร่างแผนแม่บทการเงินการคลังเพื่อสังคมเป็นอย่างยิ่ง
นายยัง หงษ์วิเศษ ประธานกลุ่มกสิกรรมไร้สาร อ.เดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า กลุ่มกสิกรรมไร้สารเกิดจากการโครงการเศรษฐกิจพอเพียง โดยสามารถนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้แก่ผู้สนใจ หรือเครือข่ายต่างๆ ขณะนี้มี 17 กลุ่ม 19 อำเภอ รวมทั้งให้ข้อคิดว่าความสำเร็จในการดำเนินงานต้องนำหลักการคุณธรรมจริยธรรม และศีล 5 มาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการ ทั้งนี้ เห็นว่าการสนับสนุนงบประมาณสำหรับดำเนินโครงการจากภาครัฐมีปัจจัยความสำเร็จคือต้องมีการติดตามและประเมินผลโครงการ มีความต่อเนื่องของโครงการ และต้องมีส่วนร่วมจากประชาชน
นายเลื่อน มุทุวงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน และประธานวุฒิอาสาธนาคารสมอง จังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า การจัดทำแผนแม่บทการเงินการคลังเพื่อสังคมเป็นการดำเนินงานที่ดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจระดับฐานรากและชุมชน และเสนอแนะปัจจัยความสำเร็จของการพัฒนาชุชน ได้แก่
1) ภาคประชาชนต้องมีส่วนร่วม
2) มีแหล่งทุนมาอยู่ใกล้ชุมชน
3) ทุนที่ได้ต้องพอเพียง พอดี ซึ่งผู้ใช้ประโยชน์จากทุนดังกล่าวต้องพิจารณาให้รอบคอบว่าความพอดีอยู่ที่จุดใด โดยความพอดีดังกล่าวจะก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมต่อๆ ไป พร้อมกันนี้หากการผลิตที่เกิดจากทุนที่พอเพียงแล้วมีส่วนเหลือจากการใช้ภายในชุมชนต้องมีการดูแลในเรื่องตลาดเพื่อรองรับต่อไป
4) มีแหล่งความรู้ให้กับชุมชน
ดังนั้น กิจกรรมที่ภาครัฐควรสนับสนุนให้เกิดขึ้นในชุมชน คือ เมื่อลงทุนแล้วต้องเพิ่มรายได้ ประชาชนรู้จักการลดรายจ่าย มีการส่งเสริมการออม สร้างการเรียนรู้ อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และมีความเอื้ออารีต่อกัน นอกจากนี้เห็นว่าจำเป็นที่จะต้องมีสถาบันการเงินชุมชนและสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรการเงินระดับฐานราก ซึ่งประเด็นนี้ กระทรวงการคลังมีการจัดทำแผนแม่บทการเงินระดับฐานรากที่จะสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรการเงินฐานรากอยู่แล้ว
นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ อดีตสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2543 — 2549 กล่าวว่า การเงินการคลังเพื่อสังคมคือการจัดการงบประมาณของรัฐให้กระจายสู่ท้องถิ่นให้มีความเท่าเทียม เนื่องจากขณะนี้สังคมมีความเหลื่อมล้ำกันมาก มีชนชั้นปกครองหรือผู้มีอำนาจเพียงส่วนน้อย มีการผูกขาดอำนาจทางการเมือง ดังนั้น การจัดทำแผนแม่บทการเงินการคลังเพื่อสังคม ต้องเกิดจากความเข้าใจในปัญหาโครงสร้างทางสังคมดังกล่าวอย่างแท้จริง และอยู่บนพื้นฐานความเป็นธรรม รักษาวินัยการเงินการคลังและความโปร่งใส ซึ่งได้เสนอยุทธศาสตร์ที่ควรมีในแผนแม่บทการเงินการคลังเพื่อสังคม 4 ด้าน ดังนี้
1) การพัฒนาโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง ให้ความสำคัญกับมิติทางสังคมและวัฒนธรรม วิถีชีวิตในพื้นที่ ซึ่งการกำหนดนโยบาย มาตรการ และจัดสรรงบประมาณต้องสอดคล้องกับมิติดังกล่าว
2) ส่งเสริมการกระจายอำนาจให้ส่วนท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม ให้งบประมาณเข้าถึงท้องถิ่นโดยตรง โดยเสนอแนะการใช้แนวคิดบริหารกองทุนต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ
3) การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในกระบวนการตัดสินใจ และกระบวนการตรวจสอบ
4) สร้างองค์ความรู้ให้เกิดในชุมชนท้องถิ่น สร้างงานวิจัยในพื้นที่ นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เกิดการพึ่งหาตนเองลดการหาผลประโยชน์ทางการเมือง
ทั้งนี้ เครื่องมือในการนำแนวคิดการเงินการคลังไปสู่การปฏิบัติ คือการนำกรอบกฎหมายต่างๆ ที่มี มาใช้ประโยชน์ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมจับต้องได้ ส่งเสริมการกระจายอำนาจ งานขององค์กรการเงินฐานราก และงานสวัสดิการชุมชนที่เน้นการจัดการทรัพยากร สร้างกิจกรรมในพื้นที่และยึดหลักสิทธิของชาวบ้าน
นายพรชัย โค้วสุรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า การกระจายอำนาจเป็นสิ่งที่ดี โดยมีประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ การเมืองภาคประชาชนต้องเข้มแข็ง ร่วมคิด ร่วมทำ โดยสิ่งที่ อบจ. อุบลราชธานีให้ความสำคัญคือด้านการศึกษา การพัฒนาด้านรายได้และลดรายจ่าย เคารพเสียงข้างมาก เยียวยาเสียงข้างน้อย รู้ความต้องการของประชาชน ลดการผูกขาดให้แต่ละพื้นที่และแต่ละจังหวัด ร่วมทั้งพลังงานทางเลือกต้องเกิดขึ้นในจังหวัดอุบลราชธานี ทั้งนี้ มาตรการการเงินการคลังจะสำเร็จขึ้นอยู่กับว่าคนในระบบดีแค่ไหน คนจากภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากน้อยเพียงใด เพราะประชาชนปกครองประชาชนดีที่สุด
การสัมมนาวิชาการเวทีสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (FPO Forum) ภายใต้โครงการขยายบทบาทสำนักงานเศรษฐกิจการคลังสู่ภูมิภาค ณ จังหวัดอุบลราชธานี ทั้งภาคเช้าและภาคบ่าย ได้รับความสนใจเป็นอย่างดีจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาจำนวนประมาณ 300 คน สศค. จึงขอขอบคุณผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่านมา ณ โอกาสนี้ และจะได้นำข้อคิดเห็นต่างๆ ที่ได้รับไปใช้ประกอบในการพิจารณานำเสนอนโยบายและมาตรการเศรษฐกิจการเงิน การคลังที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัดให้แข็งแกร่งและยั่งยืนต่อไป
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 16/2550 18 สิงหาคม 2550--