แท็ก
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
วันเฉลิมพระชนมพรรษา
มหาวิทยาลัยบูรพา
เกษตรกร
เอทานอล
สศก. ออกโรงเตือนผู้ประกอบการ และเกษตรกร ติดตามสถานการณ์การขยายตัวของเอทานอล พร้อมปรับตัว เพื่อรองรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของภาคเกษตรจากการบูมของเอทานอลเพื่อทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิง
นางนารีณัฐ รุณภัย ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตรและรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า การผลิตและความต้องการเอทานอลเพื่อทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศต่างๆ ทั้งในสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และจีนได้ส่งผลกระทบต่อสินค้าเกษตร โดยในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา ราคาข้าวโพด ข้าวสาลี และมันสำปะหลังปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากการแข่งขันระหว่างอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ใช้สินค้าเกษตรเหล่านี้เป็นวัตถุดิบ แม้ว่าระยะยาวการผลิตพลังงานทดแทนจากเซลลูโลสจะมีศักยภาพ แต่ยังคงต้องมีวิจัยในเชิงพาณิชย์เพิ่มเติม
ในสหรัฐฯ การผลิตเอทานอลส่วนใหญ่ใช้ข้าวโพดเป็นวัตถุดิบ สัดส่วนของเอทานอลในตลาดน้ำมันเชื้อเพลิงมีไม่มาก แต่กลับมีความสำคัญต่อตลาดข้าวโพดมากกว่า โดยในปี 2548/49 ปริมาณการผลิตเอทานอลในสหรัฐฯ คิดเป็น 3.5% ของน้ำมันเชื้อเพลิง (รถยนต์) แต่ใช้วัตถุดิบข้าวโพด 14% ของข้าวโพดที่ผลิตได้ทั้งประเทศ คาดว่าปี 2552/53 การใช้ข้าวโพดเพื่อผลิตเอทานอลจะเพิ่มขึ้นเป็น 30% และปริมาณสต๊อกข้าวโพดต่อการใช้จะลดลงจาก 17.5% ในปี 2548/49 เหลือเพียง 4.6% ในปี 2552/53 ซึ่งหมายถึงอุปทานจะตึงตัวยิ่งขึ้น
การที่อุตสาหกรรมเอทานอลเป็นผู้ใช้ข้าวโพดในสัดส่วนที่สูงในสหรัฐฯ ดังนั้นราคาจึงปรับตัวสูงขึ้นตามการแข่งขันเพื่อแย่งวัตถุดิบของอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งอาหารสัตว์ ส่งออก และอุตสาหกรรมอาหาร กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดว่า ปี 2552/53 ราคาข้าวโพดจะสูงถึง 3.75 เหรียญ/บุชเชล แล้วจะลดลงเหลือ 3.30 เหรียญ/บุชเชล ในปี 2559/60 เมื่ออุตสาหกรรมเอทานอลมีการขยายตัวลดลง ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เคยมีสัดส่วนการใช้ข้าวโพดมากกว่า 50% คาดว่าราคาที่สูงขึ้นจะทำให้ใช้ลดลง 40 - 50% จากปริมาณความต้องการเดิม ส่วนตลาดส่งออกสหรัฐฯ มีส่วนแบ่งการค้าข้าวโพดของโลกประมาณ 60 - 70% จะลดลงเหลือ 55 - 60% และคาดว่าพื้นที่ปลูกข้าวโพดจะมีมากกว่า 90 ล้านเอเคอร์ ในปี 2551/52 โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2549 ถึง 12 ล้านเอเคอร์ นอกจากนี้ยังกระทบต่อถั่วเหลือง ซึ่งเป็นสินค้าที่แข่งขันโดยตรงกับข้าวโพด ทำให้พื้นที่การผลิตและผลผลิตถั่วเหลืองลดลง พื้นที่ปลูกถั่วเหลืองปี 2549 มีประมาณ 76 ล้านเอเคอร์ ลดลงเหลือประมาณ 70 ล้านเอเคอร์ในปี 2551 ส่งผลให้ราคาถั่วเหลืองปรับตัวสูงขึ้นเช่นเดียวกับข้าวโพด การส่งออกและสต๊อกของถั่วเหลืองลดลง อีกทั้งการใช้น้ำมันถั่วเหลืองเพื่อผลิตไบโอดีเซลยังเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาถั่วเหลือง กากถั่ว และน้ำมันถั่วเหลืองปรับตัวสูงขึ้นด้วย
สำหรับประเทศไทย การส่งออกมันเส้นเพื่อผลิตเอทานอลในจีน ขยายตัวอย่างก้าวกระโดดในช่วง 5 ปี โดยใน 4 เดือนแรกของปี 2550 ส่งออก 1.46 ล้านตัน สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ส่งออก 1.16 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 26 สถานการณ์ราคาและความต้องการของสินค้าเกษตรเหล่านี้ แม้ว่าจะเป็นผลดีต่อเกษตรกรผู้ปลูก แต่ทำให้ผู้ประกอบการเลี้ยงสัตว์ต้องแบกภาระต้นทุนการผลิตและภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการจึงควรติดตามสถานการณ์เหล่านี้อย่างใกล้ชิด เพราะเอทานอลไม่ใช่แค่เรื่องพลังงานที่ไกลตัวอีกต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นางนารีณัฐ รุณภัย ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตรและรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า การผลิตและความต้องการเอทานอลเพื่อทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศต่างๆ ทั้งในสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และจีนได้ส่งผลกระทบต่อสินค้าเกษตร โดยในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา ราคาข้าวโพด ข้าวสาลี และมันสำปะหลังปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากการแข่งขันระหว่างอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ใช้สินค้าเกษตรเหล่านี้เป็นวัตถุดิบ แม้ว่าระยะยาวการผลิตพลังงานทดแทนจากเซลลูโลสจะมีศักยภาพ แต่ยังคงต้องมีวิจัยในเชิงพาณิชย์เพิ่มเติม
ในสหรัฐฯ การผลิตเอทานอลส่วนใหญ่ใช้ข้าวโพดเป็นวัตถุดิบ สัดส่วนของเอทานอลในตลาดน้ำมันเชื้อเพลิงมีไม่มาก แต่กลับมีความสำคัญต่อตลาดข้าวโพดมากกว่า โดยในปี 2548/49 ปริมาณการผลิตเอทานอลในสหรัฐฯ คิดเป็น 3.5% ของน้ำมันเชื้อเพลิง (รถยนต์) แต่ใช้วัตถุดิบข้าวโพด 14% ของข้าวโพดที่ผลิตได้ทั้งประเทศ คาดว่าปี 2552/53 การใช้ข้าวโพดเพื่อผลิตเอทานอลจะเพิ่มขึ้นเป็น 30% และปริมาณสต๊อกข้าวโพดต่อการใช้จะลดลงจาก 17.5% ในปี 2548/49 เหลือเพียง 4.6% ในปี 2552/53 ซึ่งหมายถึงอุปทานจะตึงตัวยิ่งขึ้น
การที่อุตสาหกรรมเอทานอลเป็นผู้ใช้ข้าวโพดในสัดส่วนที่สูงในสหรัฐฯ ดังนั้นราคาจึงปรับตัวสูงขึ้นตามการแข่งขันเพื่อแย่งวัตถุดิบของอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งอาหารสัตว์ ส่งออก และอุตสาหกรรมอาหาร กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดว่า ปี 2552/53 ราคาข้าวโพดจะสูงถึง 3.75 เหรียญ/บุชเชล แล้วจะลดลงเหลือ 3.30 เหรียญ/บุชเชล ในปี 2559/60 เมื่ออุตสาหกรรมเอทานอลมีการขยายตัวลดลง ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เคยมีสัดส่วนการใช้ข้าวโพดมากกว่า 50% คาดว่าราคาที่สูงขึ้นจะทำให้ใช้ลดลง 40 - 50% จากปริมาณความต้องการเดิม ส่วนตลาดส่งออกสหรัฐฯ มีส่วนแบ่งการค้าข้าวโพดของโลกประมาณ 60 - 70% จะลดลงเหลือ 55 - 60% และคาดว่าพื้นที่ปลูกข้าวโพดจะมีมากกว่า 90 ล้านเอเคอร์ ในปี 2551/52 โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2549 ถึง 12 ล้านเอเคอร์ นอกจากนี้ยังกระทบต่อถั่วเหลือง ซึ่งเป็นสินค้าที่แข่งขันโดยตรงกับข้าวโพด ทำให้พื้นที่การผลิตและผลผลิตถั่วเหลืองลดลง พื้นที่ปลูกถั่วเหลืองปี 2549 มีประมาณ 76 ล้านเอเคอร์ ลดลงเหลือประมาณ 70 ล้านเอเคอร์ในปี 2551 ส่งผลให้ราคาถั่วเหลืองปรับตัวสูงขึ้นเช่นเดียวกับข้าวโพด การส่งออกและสต๊อกของถั่วเหลืองลดลง อีกทั้งการใช้น้ำมันถั่วเหลืองเพื่อผลิตไบโอดีเซลยังเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาถั่วเหลือง กากถั่ว และน้ำมันถั่วเหลืองปรับตัวสูงขึ้นด้วย
สำหรับประเทศไทย การส่งออกมันเส้นเพื่อผลิตเอทานอลในจีน ขยายตัวอย่างก้าวกระโดดในช่วง 5 ปี โดยใน 4 เดือนแรกของปี 2550 ส่งออก 1.46 ล้านตัน สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ส่งออก 1.16 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 26 สถานการณ์ราคาและความต้องการของสินค้าเกษตรเหล่านี้ แม้ว่าจะเป็นผลดีต่อเกษตรกรผู้ปลูก แต่ทำให้ผู้ประกอบการเลี้ยงสัตว์ต้องแบกภาระต้นทุนการผลิตและภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการจึงควรติดตามสถานการณ์เหล่านี้อย่างใกล้ชิด เพราะเอทานอลไม่ใช่แค่เรื่องพลังงานที่ไกลตัวอีกต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-