ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ยืนยันการใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
ขณะนี้นโยบายการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนยังคงเหมือนเดิมและไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงทั้งสิ้น โดยยังคงใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวและมีการจัดการ
และไม่มีแนวคิดจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ หรือกำหนดกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท นอกจากนี้ นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ
ธปท. กล่าวว่า ธปท.ได้ขอความร่วมมือให้ ธพ.ช่วยดูแลค่าเงินบาท โดยไม่ให้ ธพ.ขายเงินดอลลาร์ สรอ.ออกมาร่วมกับผู้ส่งออก ซึ่งยังไม่
แน่ใจกับทิศทางค่าเงินบาทในอนาคต เพราะจะทำให้เงินบาทแข็งค่าเกินความเป็นจริง และขอให้ ธพ.รายงานฐานะเงินตราต่างประเทศ
ทั้งซื้อและขายเงินดอลลาร์ สรอ.ในแต่ละวันให้ ธปท.ทราบในวันถัดไป และหากมีความผิดปกติ ธปท.จะสอบถามเป็นรายๆ โดย ธพ.สามารถ
ซื้อและขายเงินตราต่างประเทศได้ตามปกติ ส่วนการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นนั้น เป็นภาวะที่เกิดกับทุกประเทศในภูมิภาคเพราะความไม่สมดุลของ
เศรษฐกิจ สรอ.เป็นหลัก (โลกวันนี้, มติชน)
2. เอดีบีคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวชะลอลงในปี 50 และ 51 นายฌอง-ปิแอร์ เอ.เวอร์บิสท์ ผู้อำนวยการสำนักงานผู้แทน
ธ.พัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในปี 50 และ 51 คาดว่าจะขยายตัวชะลอลงที่ระดับร้อยละ 4% และ 5%
ตามลำดับ สวนทางกับภาวะเศรษฐกิจเอเชียที่คาดว่าจะขยายตัว 7.6% และ 7.7% ตามลำดับ ในขณะที่ปี 49 นั้นเศรษฐกิจไทยขยายตัวเพียง 5%
แต่เศรษฐกิจเอเชียขยายตัว 8.3% นับเป็นอัตราเติบโตเร็วที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา โดยมีเหตุผลหลักจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของจีนและ
อินเดียรวมกันคิดเป็นสัดส่วน 70% ของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งในส่วนของไทยมีการขยายตัวในอันดับต่ำสุดในอาเซียน
ในขณะที่เป็นอันดับรองจากอันดับสุดท้ายเมื่อเทียบกับเอเชียใต้และเอเชียตะวันออก ปัจจัยหลักเกิดจากความเชื่อมั่นทุกด้านลดลง เพราะปัญหา
การเมือง ขณะเดียวกัน มาตรการกันสำรอง 30% ของ ธปท.ได้ส่งผลกระทบต่อตลาด และคาดว่าการส่งออกในปี 50 จะขยายตัวเพียง
7.9% เท่านั้น ดังนั้น เศรษฐกิจในช่วง 2 ปีนี้ จะพึ่งพาการส่งออกเป็นหลักไม่ได้ ต้องพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศด้วย (ข่าวสด, โลกวันนี้ ,
ผู้จัดการรายวัน, ไทยโพสต์)
3. ความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลงส่งผลกระทบต่อธุรกิจของใช้ฟุ่มเฟือย นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย
เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีปัจจัยลบหลายประการที่ส่งผลให้ความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลง ทั้งปัจจัยจากสภาพเศรษฐกิจ การเมือง
รวมทั้งปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้และกรุงเทพฯ สำหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยที่เกิดขึ้นโดยตรงคือ ธุรกิจของใช้ฟุ่มเฟือย
เช่น เสื้อผ้า นาฬิกา เครื่องประดับ และเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมทั้งส่งผลต่อธุรกิจค้าปลีกจากจำนวนลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการลดน้อยลง (โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย รายงานจากเบอร์ลิน
เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 50 สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนีเปิดเผยว่าในเดือน มี.ค. อัตราเงินเฟ้อของ 3 รัฐในเยอรมนีเร่งตัวขึ้น โดยอัตรา
เงินเฟ้อของรัฐ Baden-Wuerttemberg อยู่ที่ร้อยละ 2.0 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.9 ในเดือน ก.พ. และรัฐ Saxony เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5
จากร้อยละ 2.3 ในเดือน ก.พ. ส่วนใน North Rhine-Westphalia (NRW) ซึ่งเป็นรัฐที่มีประชากรอยู่อาศัยหนาแน่นที่สุด อัตราเงินเฟ้อ
เร่งตัวขึ้นที่ร้อยละ 1.8 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.6 ในเดือน ก.พ. ทั้งนี้นาย Holger Schmieding นักเศรษฐศาสตร์จาก Bank of America
เห็นว่าทั้งรัฐ Saxony และรัฐ NRW อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเหนือความคาดหมายหลังจากอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำในช่วง 2 เดือนแรก และหาก
รัฐอื่นๆตัวเลขเงินเฟ้อเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับ 3 รัฐใหญ่อาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนในเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 2.0
จากร้อยละ 1.8 ในเดือน ก.พ. สูงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.9 และมีความเสี่ยงที่อาจจะสูงถึงร้อยละ 2.1 ทั้งนี้
ธ.กลางยุโรปต้องการรักษาเสถียรภาพเงินเฟ้อทั้งปีไม่ให้เกินกว่าร้อยละ 2.0 ขณะที่ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 48 คนโดย
รอยเตอร์คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนในเดือน มี.ค. จะอยู่ที่ร้อยละ 1.9 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.8 ในเดือน ก.พ. ใกล้เคียงกับ
เป้าหมายเงินเฟ้อของ ธ.กลางยุโรปที่ร้อยละ 2.0 (รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจในเยอรมนีในเดือน มี.ค.50 ดีขึ้นผิดจากที่คาดไว้ รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 27 มี.ค.50
ดัชนีชี้วัดบรรยากาศทางธุรกิจจากผลสำรวจธุรกิจ 7,000 แห่งโดย Ifo เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 107.7 ในเดือน มี.ค.50 จากระดับ 107.0
ในเดือน ก.พ.50 ดีกว่าที่คาดไว้ว่าจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 106.5 จากผลสำรวจโดยรอยเตอร์ก่อนหน้านี้ เช่นเดียวกับดัชนีชี้วัดสภาวะธุรกิจ
ในปัจจุบันที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 112.4 และดัชนีชี้วัดแนวโน้มธุรกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 103.2 จากระดับ 111.6 และ 102.6
ในเดือน ก.พ.50 ตามลำดับ สะท้อนให้เห็นว่าผลกระทบจากการขึ้นอัตราภาษี VAT อีกร้อยละ 3.0 เป็นร้อยละ 19.0 ซึ่งมีผลบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.50 เป็นต้นมานั้นได้เบาบางลงแล้ว โดยเมื่อดูองค์ประกอบของดัชนีดังกล่าวข้างต้นก็จะเห็นว่าดัชนีในส่วนที่ชี้วัดภาคธุรกิจค้าปลีก
ซึ่งได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการขึ้นภาษี VAT ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ -5.6 จากระดับ -7.2 ในเดือน ก.พ.50 เช่นเดียวกับดัชนี
ในส่วนที่ชี้วัดภาคการผลิตที่สูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 25.8 จากระดับ 23.0 ในเดือน ก.พ.50 ในขณะที่ดัชนีในส่วนที่ชี้วัดภาคการก่อสร้างลดลงมา
อยู่ที่ระดับ -13.7 จากระดับ -12.3 ในเดือน ก.พ.50 นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่จึงคาดว่าเศรษฐกิจเยอรมนีจะฟื้นตัวหลังได้รับผลกระทบ
จากการขึ้นภาษี VAT ในช่วงต้นปี โดยคาดว่าเศรษฐกิจในปี 50 จะชะลอตัวลงเล็กน้อย หลังจากขยายตัวถึงร้อยละ 2.7 ในปี 49 ซึ่งเป็น
อัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 6 ปี (รอยเตอร์)
3. การลงทุนทางธุรกิจในอังกฤษช่วงไตรมาส 4 ปี 49 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 8 ปี รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
เมื่อวันที่ 27 มี.ค.50 ข้อมูลของทางการเปิดเผยว่า การลงทุนทางธุรกิจในอังกฤษช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 นับเป็น
อัตราการเพิ่มขึ้นรายไตรมาสสูงสุดในรอบ 3 ปี ส่งผลให้อัตราการเพิ่มขึ้นรายปีขยายตัวถึงร้อยละ 13.5 สูงสุดนับตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 41
และเป็นการเพิ่มขึ้นรายไตรมาสติดต่อกันเป็นครั้งที่ 8 ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ได้มีคาดการณ์ไว้ว่าการลงทุนในไตรมาส 4 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3
เทียบต่อไตรมาส และร้อยละ 11.1 เทียบต่อปี ซึ่งอัตราการเพิ่มขึ้นดังกล่าวสะท้อนให้เห็นความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นต่อภาวะเศรษฐกิจของอังกฤษ
และช่วยยืนยันมุมมองของ ธ.กลางอังกฤษที่คาดว่าการลงทุนทางธุรกิจของอังกฤษกำลังฟื้นตัวหลังจากที่ซบเซาลงในปี 48 (รอยเตอร์)
4. เกาหลีใต้กลับมาเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอีกครั้งในเดือน ก.พ.50 ที่จำนวน 1.12 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. รายงานจากโซล
เมื่อ 28 มี.ค.50 ธ.กลางเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ในเดือน ก.พ.50 เกาหลีใต้กลับมาเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอีกครั้งที่จำนวน 1.12 พัน ล.ดอลลาร์
สรอ. (ตัวเลขหลังปรับปัจจัยทางฤดูกาล) หลังจากที่ขาดดุลในเดือน ม.ค.50 จำนวน 737 ล้านดอลลาร์ สรอ. สาเหตุจากดุลการค้ามียอด
เกินดุลถึง 3.88 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ส่งผลให้ในรอบ 2 เดือนแรกของปี 50 เกาหลีใต้เกินดุลบัญชีเดินสะพัดทั้งสิ้นจำนวน 385 ล้านดอลลาร์
สรอ. (ตัวเลขหลังปรับปัจจัยทางฤดูกาล) เทียบกับที่ขาดดุลจำนวน 373 ล้านดอลลาร์ สรอ.ในช่วงเดียวกันของปี 49 ทั้งนี้ เกาหลีใต้มีจำนวน
เกินดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ก.พ.มากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในรอบ 16 เดือนที่ผ่านมา โดยเคยเกินดุลสูงสุดที่จำนวน 2.46 พัน ล.ดอลลาร์
สรอ.ในเดือน พ.ย.49 อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดที่กลับมาเกินดุลได้เพิ่มแรงกดดันให้ค่าเงินวอนที่กำลังอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับ
เงินดอลลาร์ สรอ. ในขณะนี้ ทั้งนี้ เงินวอนเคยแข็งค่าสูงสุดในรอบ 9 ปีที่ระดับ 912.6 วอนต่อดอลลาร์ สรอ.เมื่อวันที่ 7 ธ.ค.49 และ
ล่าสุดอ่อนค่าลงอยู่ที่ระดับ 940.6/941.2 วอนต่อดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 28 มี.ค. 50 27 มี.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.066 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.8469/35.1756 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.63438 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 678.57/7.96 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,950/11,050 10,950/11,050 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 61.69 60.22 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.59*/23.74* 27.59*/23.74* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 13 มี.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ยืนยันการใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
ขณะนี้นโยบายการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนยังคงเหมือนเดิมและไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงทั้งสิ้น โดยยังคงใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวและมีการจัดการ
และไม่มีแนวคิดจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ หรือกำหนดกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท นอกจากนี้ นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ
ธปท. กล่าวว่า ธปท.ได้ขอความร่วมมือให้ ธพ.ช่วยดูแลค่าเงินบาท โดยไม่ให้ ธพ.ขายเงินดอลลาร์ สรอ.ออกมาร่วมกับผู้ส่งออก ซึ่งยังไม่
แน่ใจกับทิศทางค่าเงินบาทในอนาคต เพราะจะทำให้เงินบาทแข็งค่าเกินความเป็นจริง และขอให้ ธพ.รายงานฐานะเงินตราต่างประเทศ
ทั้งซื้อและขายเงินดอลลาร์ สรอ.ในแต่ละวันให้ ธปท.ทราบในวันถัดไป และหากมีความผิดปกติ ธปท.จะสอบถามเป็นรายๆ โดย ธพ.สามารถ
ซื้อและขายเงินตราต่างประเทศได้ตามปกติ ส่วนการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นนั้น เป็นภาวะที่เกิดกับทุกประเทศในภูมิภาคเพราะความไม่สมดุลของ
เศรษฐกิจ สรอ.เป็นหลัก (โลกวันนี้, มติชน)
2. เอดีบีคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวชะลอลงในปี 50 และ 51 นายฌอง-ปิแอร์ เอ.เวอร์บิสท์ ผู้อำนวยการสำนักงานผู้แทน
ธ.พัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในปี 50 และ 51 คาดว่าจะขยายตัวชะลอลงที่ระดับร้อยละ 4% และ 5%
ตามลำดับ สวนทางกับภาวะเศรษฐกิจเอเชียที่คาดว่าจะขยายตัว 7.6% และ 7.7% ตามลำดับ ในขณะที่ปี 49 นั้นเศรษฐกิจไทยขยายตัวเพียง 5%
แต่เศรษฐกิจเอเชียขยายตัว 8.3% นับเป็นอัตราเติบโตเร็วที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา โดยมีเหตุผลหลักจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของจีนและ
อินเดียรวมกันคิดเป็นสัดส่วน 70% ของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งในส่วนของไทยมีการขยายตัวในอันดับต่ำสุดในอาเซียน
ในขณะที่เป็นอันดับรองจากอันดับสุดท้ายเมื่อเทียบกับเอเชียใต้และเอเชียตะวันออก ปัจจัยหลักเกิดจากความเชื่อมั่นทุกด้านลดลง เพราะปัญหา
การเมือง ขณะเดียวกัน มาตรการกันสำรอง 30% ของ ธปท.ได้ส่งผลกระทบต่อตลาด และคาดว่าการส่งออกในปี 50 จะขยายตัวเพียง
7.9% เท่านั้น ดังนั้น เศรษฐกิจในช่วง 2 ปีนี้ จะพึ่งพาการส่งออกเป็นหลักไม่ได้ ต้องพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศด้วย (ข่าวสด, โลกวันนี้ ,
ผู้จัดการรายวัน, ไทยโพสต์)
3. ความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลงส่งผลกระทบต่อธุรกิจของใช้ฟุ่มเฟือย นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย
เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีปัจจัยลบหลายประการที่ส่งผลให้ความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลง ทั้งปัจจัยจากสภาพเศรษฐกิจ การเมือง
รวมทั้งปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้และกรุงเทพฯ สำหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยที่เกิดขึ้นโดยตรงคือ ธุรกิจของใช้ฟุ่มเฟือย
เช่น เสื้อผ้า นาฬิกา เครื่องประดับ และเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมทั้งส่งผลต่อธุรกิจค้าปลีกจากจำนวนลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการลดน้อยลง (โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย รายงานจากเบอร์ลิน
เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 50 สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนีเปิดเผยว่าในเดือน มี.ค. อัตราเงินเฟ้อของ 3 รัฐในเยอรมนีเร่งตัวขึ้น โดยอัตรา
เงินเฟ้อของรัฐ Baden-Wuerttemberg อยู่ที่ร้อยละ 2.0 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.9 ในเดือน ก.พ. และรัฐ Saxony เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5
จากร้อยละ 2.3 ในเดือน ก.พ. ส่วนใน North Rhine-Westphalia (NRW) ซึ่งเป็นรัฐที่มีประชากรอยู่อาศัยหนาแน่นที่สุด อัตราเงินเฟ้อ
เร่งตัวขึ้นที่ร้อยละ 1.8 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.6 ในเดือน ก.พ. ทั้งนี้นาย Holger Schmieding นักเศรษฐศาสตร์จาก Bank of America
เห็นว่าทั้งรัฐ Saxony และรัฐ NRW อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเหนือความคาดหมายหลังจากอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำในช่วง 2 เดือนแรก และหาก
รัฐอื่นๆตัวเลขเงินเฟ้อเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับ 3 รัฐใหญ่อาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนในเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 2.0
จากร้อยละ 1.8 ในเดือน ก.พ. สูงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.9 และมีความเสี่ยงที่อาจจะสูงถึงร้อยละ 2.1 ทั้งนี้
ธ.กลางยุโรปต้องการรักษาเสถียรภาพเงินเฟ้อทั้งปีไม่ให้เกินกว่าร้อยละ 2.0 ขณะที่ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 48 คนโดย
รอยเตอร์คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนในเดือน มี.ค. จะอยู่ที่ร้อยละ 1.9 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.8 ในเดือน ก.พ. ใกล้เคียงกับ
เป้าหมายเงินเฟ้อของ ธ.กลางยุโรปที่ร้อยละ 2.0 (รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจในเยอรมนีในเดือน มี.ค.50 ดีขึ้นผิดจากที่คาดไว้ รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 27 มี.ค.50
ดัชนีชี้วัดบรรยากาศทางธุรกิจจากผลสำรวจธุรกิจ 7,000 แห่งโดย Ifo เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 107.7 ในเดือน มี.ค.50 จากระดับ 107.0
ในเดือน ก.พ.50 ดีกว่าที่คาดไว้ว่าจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 106.5 จากผลสำรวจโดยรอยเตอร์ก่อนหน้านี้ เช่นเดียวกับดัชนีชี้วัดสภาวะธุรกิจ
ในปัจจุบันที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 112.4 และดัชนีชี้วัดแนวโน้มธุรกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 103.2 จากระดับ 111.6 และ 102.6
ในเดือน ก.พ.50 ตามลำดับ สะท้อนให้เห็นว่าผลกระทบจากการขึ้นอัตราภาษี VAT อีกร้อยละ 3.0 เป็นร้อยละ 19.0 ซึ่งมีผลบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.50 เป็นต้นมานั้นได้เบาบางลงแล้ว โดยเมื่อดูองค์ประกอบของดัชนีดังกล่าวข้างต้นก็จะเห็นว่าดัชนีในส่วนที่ชี้วัดภาคธุรกิจค้าปลีก
ซึ่งได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการขึ้นภาษี VAT ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ -5.6 จากระดับ -7.2 ในเดือน ก.พ.50 เช่นเดียวกับดัชนี
ในส่วนที่ชี้วัดภาคการผลิตที่สูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 25.8 จากระดับ 23.0 ในเดือน ก.พ.50 ในขณะที่ดัชนีในส่วนที่ชี้วัดภาคการก่อสร้างลดลงมา
อยู่ที่ระดับ -13.7 จากระดับ -12.3 ในเดือน ก.พ.50 นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่จึงคาดว่าเศรษฐกิจเยอรมนีจะฟื้นตัวหลังได้รับผลกระทบ
จากการขึ้นภาษี VAT ในช่วงต้นปี โดยคาดว่าเศรษฐกิจในปี 50 จะชะลอตัวลงเล็กน้อย หลังจากขยายตัวถึงร้อยละ 2.7 ในปี 49 ซึ่งเป็น
อัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 6 ปี (รอยเตอร์)
3. การลงทุนทางธุรกิจในอังกฤษช่วงไตรมาส 4 ปี 49 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 8 ปี รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
เมื่อวันที่ 27 มี.ค.50 ข้อมูลของทางการเปิดเผยว่า การลงทุนทางธุรกิจในอังกฤษช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 นับเป็น
อัตราการเพิ่มขึ้นรายไตรมาสสูงสุดในรอบ 3 ปี ส่งผลให้อัตราการเพิ่มขึ้นรายปีขยายตัวถึงร้อยละ 13.5 สูงสุดนับตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 41
และเป็นการเพิ่มขึ้นรายไตรมาสติดต่อกันเป็นครั้งที่ 8 ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ได้มีคาดการณ์ไว้ว่าการลงทุนในไตรมาส 4 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3
เทียบต่อไตรมาส และร้อยละ 11.1 เทียบต่อปี ซึ่งอัตราการเพิ่มขึ้นดังกล่าวสะท้อนให้เห็นความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นต่อภาวะเศรษฐกิจของอังกฤษ
และช่วยยืนยันมุมมองของ ธ.กลางอังกฤษที่คาดว่าการลงทุนทางธุรกิจของอังกฤษกำลังฟื้นตัวหลังจากที่ซบเซาลงในปี 48 (รอยเตอร์)
4. เกาหลีใต้กลับมาเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอีกครั้งในเดือน ก.พ.50 ที่จำนวน 1.12 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. รายงานจากโซล
เมื่อ 28 มี.ค.50 ธ.กลางเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ในเดือน ก.พ.50 เกาหลีใต้กลับมาเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอีกครั้งที่จำนวน 1.12 พัน ล.ดอลลาร์
สรอ. (ตัวเลขหลังปรับปัจจัยทางฤดูกาล) หลังจากที่ขาดดุลในเดือน ม.ค.50 จำนวน 737 ล้านดอลลาร์ สรอ. สาเหตุจากดุลการค้ามียอด
เกินดุลถึง 3.88 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ส่งผลให้ในรอบ 2 เดือนแรกของปี 50 เกาหลีใต้เกินดุลบัญชีเดินสะพัดทั้งสิ้นจำนวน 385 ล้านดอลลาร์
สรอ. (ตัวเลขหลังปรับปัจจัยทางฤดูกาล) เทียบกับที่ขาดดุลจำนวน 373 ล้านดอลลาร์ สรอ.ในช่วงเดียวกันของปี 49 ทั้งนี้ เกาหลีใต้มีจำนวน
เกินดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ก.พ.มากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในรอบ 16 เดือนที่ผ่านมา โดยเคยเกินดุลสูงสุดที่จำนวน 2.46 พัน ล.ดอลลาร์
สรอ.ในเดือน พ.ย.49 อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดที่กลับมาเกินดุลได้เพิ่มแรงกดดันให้ค่าเงินวอนที่กำลังอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับ
เงินดอลลาร์ สรอ. ในขณะนี้ ทั้งนี้ เงินวอนเคยแข็งค่าสูงสุดในรอบ 9 ปีที่ระดับ 912.6 วอนต่อดอลลาร์ สรอ.เมื่อวันที่ 7 ธ.ค.49 และ
ล่าสุดอ่อนค่าลงอยู่ที่ระดับ 940.6/941.2 วอนต่อดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 28 มี.ค. 50 27 มี.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.066 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.8469/35.1756 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.63438 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 678.57/7.96 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,950/11,050 10,950/11,050 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 61.69 60.22 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.59*/23.74* 27.59*/23.74* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 13 มี.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--