รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนเมษายน 2550

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 24, 2007 13:49 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

                                                  สรุปประเด็นสำคัญ
ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนมีนาคม 2550
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม = 182.37 เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2550 (164.76) ร้อยละ 10.69 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (178.64) ร้อยละ 2.09
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ การจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ การผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์
- อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ย = 69.24 เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2550 (63.01) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (73.05)
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2550
- อุตสาหกรรมอาหารคาดว่าการผลิตและการส่งออกจะยังคงชะลอตัว เป็นผลจากการชะลอรับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ เนื่องจากความกังวลใน
ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ขณะที่การจำหน่ายสินค้าในประเทศอาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเนื่องจากการจับจ่ายใช้สอยในช่วงเทศกาลสงกรานต์
- อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในเดือนเมษายน 2550 การผลิตและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปจะชะลอตัวลงตามกลไกการตลาด สำหรับแนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายในประเทศเดือนพฤษภาคม จะขยายตัวในอัตราไม่มากนัก การส่งออกคาดว่าจะยังมีผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น และการแข่งขันจากจีนและเวียดนามอาจจะส่งผลให้ความเชื่อมั่นของลูกค้าลดลง โดยเฉพาะผู้ส่งออกรายเล็ก
- อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า สถานการณ์เหล็กในเดือนเมษายน คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยในส่วนของการผลิตเหล็กทรงแบนและเหล็กทรงยาวคาดการณ์ว่าจะยังคงทรงตัว โดยเป็นผลมาจากความต้องการใช้ในประเทศที่ชะลอตัว ขณะที่โครงการรถไฟฟ้า 5 สาย ทจะทำให้การใช้เหล็กในประเทศเพิ่มมากขึ้น ก็ยังไม่มีผลเป็นรูปธรรมในช่วงนี้
- อุตสาหกรรมยานยนต์ ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในเดือนเมษายน 2550 คาดว่าจะชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เนื่องจากมีวันหยุดนักขัตฤกษ์หลายวัน
- อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ในเดือนเมษายน 2550 คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศจะลดลงเล็กน้อยเนื่องจากมีช่วงวันหยุดยาวในเทศกาลสงกรานต์ สำหรับในเดือนพฤษภาคม 2550 การผลิตและการจำหน่ายในประเทศคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากยังอยู่ในช่วงฤดูกาลก่อสร้าง สำหรับการส่งออกขึ้นอยู่กับอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าหลัก คือ สหรัฐอเมริกา และประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
- อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในเดือนเมษายนปี2550 คาดว่า น่าจะคงปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือนมีนาคม 2550 เนื่องจากมีวันหยุดตามประเพณีหลายวัน ทำให้การผลิตลดลงบ้าง คาดว่าสินค้าในกลุ่มเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นนั้น จะมีการขายในประเทศเพิ่มขึ้นในช่วงหน้าร้อนนี้ แต่จะเป็นขนาดเล็กที่มีราคาถูกตามกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดและการขาย ซึ่งเป็นภาวะการณ์ในระยะสั้นเนื่องจากปีนี้หน้าฝนมาเร็วผิดปกติ ขณะที่ในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ยังคงมีสถานการณ์การผลิตและการขายในภาพรวมที่ดีและมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในช่วงครึ่งปีแรกอาจขยายตัวบ้างแต่ยังไม่ร้อนแรงมากนัก โดยส่วนใหญ่ในช่วงหลังของปีอันเป็นช่วงสูงสุดของการผลิตและการขาย อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่า ปี 2550 จะมีการขยายตัวโดยรวมประมาณ 10 % ตามสภาวะของตลาดโลก
ดัชนีอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1 ปี 2550
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 172.03 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (167.5) ร้อยละ 2.7 และไตรมาสเดียวกันของปี 2549 (165.77) ร้อยละ 3.8 อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล อุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ และอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่น ๆ (เครื่องปรับอากาศ) เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ และอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล เป็นต้น
อัตราการใช้กำลังการผลิต เป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตที่ใช้กำลังการผลิตเต็มที่ ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ 65.98 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (66.4) และไตรมาสเดียวกันของปี 2549 (68.86)
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ยและสารประกอบไนโตรเจน เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ได้แก่ อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ และอุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ยและสารประกอบไนโตรเจน เป็นต้น
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2550
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศภาคอุตสาหกรรมปี 2550 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.0 ชะลอลงจากปี 2549 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.1
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปี 2550 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.8 ชะลอลงจากปี 2549 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.4
แรงขับเคลื่อนการขยายตัวของเศรษฐกิจยังคงต้องอาศัยการส่งออกที่ยังขยายตัวในอัตราสูง นอกจากนั้นการใช้จ่ายของภาครัฐก็อาจมีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้บ้าง หลังจากที่งบประมาณของปี 2550 สามารถเบิกจ่ายได้แล้ว
อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าภาคการส่งออกยังขยายตัวได้แต่ก็เริ่มเห็นสัญญาณการชะลอตัวในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม เนื่องจากปัจจัยศักยภาพในการแข่งขันโดยเห็นได้จากส่วนแบ่งของตลาดมีแนวโน้มลดลงโดยตลอด ดังนั้น การเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรม จะทำให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง ยั่งยืน สามารถพึ่งตนเองและขยายตัวได้อย่างมีเสถียรภาพ ซึ่งเป็นรากฐานการเติบโตของผลิตภัณฑ์ประชาชาติ อันจะนำมาซึ่งการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศที่ยั่งยืนในระยะยาว
สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
ก.พ. 50 = 164.76
โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนี
เพิ่มขึ้น ได้แก่
- การผลิตยานยนต์
- การผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ
- การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ
- อัตราการใช้กำลังการผลิต
ก.พ. 50 = 63.01
มี.ค. 50 = 69.24
โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการ
ใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่
- การผลิตยานยนต์
- การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ
- การจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ
1. อุตสาหกรรมอาหาร
ภาวะการผลิตและการส่งออก
ของอุตสาหกรรมอาหารคาดว่าจะชะลอตัว
ต่อเนื่อง จากความกังวลต่อการแข็งค่าของเงินบาท และการชะลอรับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ สำหรับการจำหน่ายในประเทศอาจมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์
1. การผลิต
ภาวะการผลิตโดยรวมปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.4 แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 2.0 โดยสินค้าที่ผลิตเพื่อส่งออกลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน ได้แก่ สับปะรด
กระป๋องร้อยละ 29.7 ปลาทูน่ากระป๋อง ร้อยละ 27.4 ไก่สดแช่เย็นแช่แข็งร้อยละ 22.8 กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง ร้อยละ 6.1 และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ร้อยละ 8.1 เนื่องจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมากโดยเปรียบเทียบกับปีก่อน ทำให้ผู้ส่งออกชะลอรับคำสั่งซื้อ เพื่อปรับระดับราคาสินค้า ในส่วนการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการในประเทศ สินค้าน้ำมันพืช ปาล์มมีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 ส่วนน้ำมันถั่ว เหลืองและอาหารสัตว์มีการผลิตลดลง ร้อยละ 7.4 และ 8.4 ตามลำดับ เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบและปริมาณการเลี้ยงสัตว์ เศรษฐกิจ เช่น สุกรและไก่เนื้อ ลดลง สำหรับน้ำตาลทรายอยู่ในช่วงกลางของฤดูกาลผลิต 49/50 จากปริมาณอ้อยที่เข้าโรงงานเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผลิตได้เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 67.1 พิจารณาได้จากการใช้กำลังการผลิตสูงขึ้นจากร้อยละ 19.5 ในปี 2549 เป็นร้อยละ 32.7 ในปี 2550
2. การตลาด
1) ตลาดในประเทศ สินค้าอาหารและเกษตร มีปริมาณจำหน่ายลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 5.5 เนื่องจากความกังวลในภาวะเศรษฐกิจ ทำให้ผู้บริโภคชะลอการจับจ่ายใช้สอย แต่หากพิจารณาด้านการบริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 15.2 เป็นผลจากการใช้จ่ายในเทศกาลไหว้บรรพบุรุษของคนไทยเชื้อสายจีน และข่าวการพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินในเดือนหน้า
2) ตลาดต่างประเทศ เนื่องจากอยู่ระหว่างการปรับปรุงฐานข้อมูล
ตามพิกัดศุลกากร 2007 ทำให้ไม่มีข้อมูลประกอบการวิเคราะห์
3. แนวโน้ม
คาดว่าการผลิตและการส่งออกจะยังคงชะลอตัว เป็นผลจากการชะลอรับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ เนื่องจากความกังวลในค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ขณะที่การจำหน่ายสินค้าในประเทศอาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเนื่องจากการจับจ่ายใช้สอยในช่วงเทศกาลสงกรานต์
2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
...การส่งออกคาดว่าจะยังมีผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น และการแข่งขันจากจีนและเวียดนาม...
1. การผลิต
การผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เดือนมีนาคม 2550โดยรวมมีการผลิตที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ได้แก่ การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ ผ้าผืน เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6, 3.7 และ 5.6 ตามลำดับ ยกเว้นเพียงเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถักที่การผลิตลดลงร้อยละ 1.3 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ ผ้าผืน เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ ลดลงร้อยละ 14.6, 22.1 และ 2.8 ตามลำดับ เนื่องจากคำสั่งซื้อลดลง ประกอบกับผู้ประกอบการหลายรายไม่รับคำสั่งซื้อใหม่ๆ เพราะเกรงความเสี่ยงจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
2. การตลาด
1. ตลาดในประเทศ ในเดือนมีนาคม 2550 ผลิตภัณฑ์ สิ่งทอฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน สอดคล้องกับปริมาณการผลิต ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 ผ้าผืน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 เสื้อผ้าสำเร็จรูปผลิตจากผ้าทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการจำหน่ายเส้นใยสิ่งทอฯ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลงร้อยละ 7.9 , 15.6 27.2 ตามลำดับ
2. ตลาดต่างประเทศ เนื่องจากอยู่ระหว่างการปรับปรุงฐานข้อมูลพิกัดศุลกากร ปี 2007 จึงไม่มีข้อมูลประกอบการวิเคราะห์
3. แนวโน้ม
ในเดือนเมษายน 2550 การผลิตและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปจะชะลอตัวลงตามกลไกการตลาด สำหรับแนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายในประเทศเดือนพฤษภาคม จะขยายตัวในอัตราไม่มากนัก การส่งออกคาดว่าจะยังมีผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น และการแข่งขันจากจีนและเวียดนามอาจจะส่งผลให้ความเชื่อมั่นของลูกค้าลดลง โดยเฉพาะผู้ส่งออกรายเล็ก
3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
1.การผลิต
ตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเผชิญปัญหาการขาดแคลนเหล็กแท่งเล็กบิลเล็ตซึ่งส่งออกจากประเทศจีน เนื่องจากผู้ผลิตในประเทศจีนส่วนใหญ่จะส่งออกไปยังประเทศที่มีราคาสูงกว่า เช่น ประเทศในตะวันออกกลาง นอกจากนี้ผู้ผลิตส่วนใหญ่นิยมนำมารีดเป็นเหล็กแผ่นหน้าแคบและเหล็กรูปพรรณในงานก่อสร้างในประเทศเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มมากกว่าที่จะขายเหล็กแท่งเล็กบิลเล็ตเท่านั้น
ภาวะการผลิตเหล็กในช่วงเดือน มี.ค. 50 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ลดลงร้อยละ 12.19 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 154.60 เมื่อพิจารณารายผลิตภัณฑ์ พบว่าผลิตภัณฑ์เหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.12 โดยเหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้น ร้อยละ 43.92 เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เพิ่มขึ้น ร้อยละ 42.66 โดยการผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการขยายการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศเนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศที่ชะลอตัว ขณะที่ความต้องการใช้เหล็กในตลาดโลกยังมีการเติบโตที่สูงอย่างต่อเนื่องจากประเทศสหรัฐอเมริกา ตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันออกกลาง รวมทั้งจีน ที่เคยเป็นประเทศผู้ส่งออกเหล็กได้ลดการส่งออกลงเพื่อนำไปใช้ในประเทศเพิ่มมากขึ้น สำหรับผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน การผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.07 โดยลวดเหล็ก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 40.14 เหล็กลวด เพิ่มขึ้น ร้อยละ 31.78 โดยเป็นการผลิตเพื่อส่งออกเนื่องจากตลาดในประเทศค่อนข้างซบเซา จากการชะลอตัวของธุรกิจก่อสร้าง เนื่องจากโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐและโครงการใหม่ๆ ของภาคเอกชนยังไม่เกิดขึ้น โดยที่มีการดำเนินการอยู่เป็นโครงการหมู่บ้านจัดสรรขนาดเล็กและโครงการต่อเนื่องที่สร้างยังไม่แล้วเสร็จจากปีที่แล้ว ผู้ผลิตในประเทศจึงเน้นการทำตลาดต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น และจากรายงานเศรษฐกิจและการเงิน ประจำเดือน มีนาคม ปี 2550 ของธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่าภาพรวมอสังหาริมทรัพย์ซบเซาต่อเนื่องจากเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและการเมืองส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยออกไป โดยมูลค่าและจำนวนรายการซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 44.3 และ 6.8 ตามลำดับ ขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ภาวะการผลิตชะลอตัวลงเล็กน้อย ร้อยละ 0.61 โดยเหล็กเส้นกลม ลดลง ร้อยละ 33.62 และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ลดลง ร้อยละ 19.12
2.ราคาเหล็ก
การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนเมษายน 2550 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ราคาโดยเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์เหล็กส่วนใหญ่ปรับตัวสูงขึ้นโดยเหล็กแท่งแบน เพิ่มขึ้นจาก 457 เป็น 508 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.05 เหล็กเส้น เพิ่มขึ้นจาก 570 เป็น 590 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.60 เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต เพิ่มขึ้นจาก 528 เป็น 540เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.27 เหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้นจาก 600 เป็น 630 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.00 เหล็กแผ่นรีดเย็นมีราคาทรงตัวคือ 630 เหรียญสหรัฐต่อตัน ขณะที่เหล็กแผ่นรีดร้อนกลับมีราคาที่ลดลงจาก 557 เป็น 547 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 1.73 เป็นผลมาจากการที่ประเทศจีนมีนโยบายควบคุมการส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป (เช่น เหล็กแท่งยาวและเหล็กแท่งแบน)โดยการประกาศเก็บภาษีส่งออกผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ร้อยละ 10 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 ประกอบกับประเทศรัสเซียได้ลดการผลิตลง ทั้งที่ความต้องการเพิ่มมากขึ้นจากการขยายตัวของธุรกิจก่อสร้างในประเทศ จึงทำให้ราคาเหล็กส่วนใหญ่เพิ่มมากขึ้น
3. แนวโน้ม
สถานการณ์เหล็กในเดือน เม.ย. คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยในส่วนของการผลิตเหล็กทรงแบนและเหล็กทรงยาวคาดการณ์ว่าจะยังคงทรงตัว โดยเป็นผลมาจากความต้องการใช้ในประเทศที่ชะลอตัว ขณะที่โครงการรถไฟฟ้า 5 สาย ที่จะทำให้การใช้เหล็กในประเทศเพิ่มมากขึ้น ก็ยังไม่มีผลเป็นรูปธรรมในช่วงนี้
4. อุตสาหกรรมยานยนต์
รถยนต์
อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมีนาคม 2550 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นฤดูกาลการจำหน่าย มีการจัดงาน “Bangkok International Motor Show 2007” ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม — 8 เมษายน 2550ประกอบกับเดือนเมษายนมีวันหยุดนักขัตฤกษ์หลายวัน ผู้ประกอบการได้เตรียมการผลิต และการส่งออกไว้ล่วงหน้า โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมีนาคม ดังนี้
- การผลิตรถยนต์ จำนวน 111,751 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม 2549 ซึ่งมีการผลิต 116,298 คัน ร้อยละ 3.91 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ร้อยละ 17.11
- การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 56,021 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม 2549 ซึ่งมีการจำหน่าย 66,101 คัน ร้อยละ 15.25 ตามการชะลอตัวของสภาพเศรษฐกิจโดยรวม แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ร้อยละ 28.47
- การส่งออกรถยนต์ จำนวน 60,217 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2549 ซึ่งมีการส่งออก 53,578 คัน ร้อยละ 12.39 และเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ร้อยละ 12.36
- แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนเมษายน 2550 คาดว่าจะชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เนื่องจากมีวันหยุดนักขัตฤกษ์หลายวัน
รถจักรยานยนต์
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนมีนาคม 2550 การผลิตและการจำหน่ายในประเทศชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนให้เห็นถึงกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศที่ลดลงอันเนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจที่ซบเซา แต่การส่งออกขยายตัว โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนมีนาคม ดังนี้
- การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 133,329 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม 2549 ซึ่งมีการผลิต 220,757 คัน ร้อยละ 39.60 และลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ร้อยละ 3.03
- การจำหน่าย จำนวน 139,237 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม 2549 ซึ่งมีการจำหน่าย 203,575 คัน ร้อยละ 31.60 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ร้อยละ 19.30
- การส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU) มีจำนวน 12,418 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2549 ซึ่งมีการส่งออก 12,005 คัน ร้อยละ 12.39 และเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ร้อยละ 111.48 สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากรถจักรยานยนต์ที่ส่งออกไปยังตลาดยุโรป มีคุณภาพและเป็นที่นิยมในตลาดมากขึ้น (เนื่องจากผู้ส่งออกไปตลาดยุโรปได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพสอดคล้องกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ใหม่ของยุโรปแล้ว) ส่งผลให้การส่งออกรถจักรยานยนต์โดยรวมมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น
- แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนเมษายน 2550 คาดว่าจะชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เนื่องจากมีวันหยุดนักขัตฤกษ์หลายวัน
5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
“การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ ในประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูกาล ก่อสร้างสำหรับการส่งออกเพิ่มขึ้นเนื่องจาก เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนเพิ่มขึ้น”
1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ
การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ ในประเทศ เดือนมีนาคม 2550 เทียบกับเดือนก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.19 และ 9.27 ตามลำดับ เนื่องจาก อยู่ในช่วงฤดูกาลก่อสร้าง แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ ลดลงร้อยละ 11.36 และ 13.96 ตามลำดับ เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลงจาก ปี 2549
2.การส่งออก
มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์เดือนมีนาคม 2550 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.71เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนเพิ่มขึ้น แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 2.44
3.แนวโน้ม
ในเดือนเมษายน 2550 คาดว่าการผลิตและ การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศจะลดลงเล็กน้อยเนื่องจากมีช่วงวันหยุดยาวในเทศกาลสงกรานต์ สำหรับในเดือนพฤษภาคม 2550 การผลิตและการจำหน่ายในประเทศคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากยังอยู่ในช่วงฤดูกาลก่อสร้าง สำหรับการส่งออกขึ้นอยู่กับอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าหลัก คือ สหรัฐอเมริกา และประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
1. การผลิต
ภาพรวม ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนมีนาคม 2550 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 284.96 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.30 เป็นผลจากการขยับตัวเพิ่มขึ้นทั้งจากสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน กลับขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.33 เป็นผลจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.60 โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ HDD และ Other IC เป็นต้น
ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนมี.ค. 2550 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 284.97 ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.33 เป็นผลจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.60 โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่ ได้แก่ HDD และ Other IC เป็นต้น
2. การตลาด
ดัชนีส่งสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 19.49 โดยมีดัชนีอยู่ที่ 330.87 โดยสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ HDD, ICเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็นเป็นหลัก ขณะที่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่าดัชนีการส่งสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน ร้อยละ 17.16 เป็นผลจากอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ HDD และother IC ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 24.85 และ 11.95 ตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องจากสินค้าทั้งสองเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญและเป็นฐานการผลิตหลักในภูมิภาค ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการที่มีอยู่ในตลาดโลกที่ต้องการส่วนประกอบไปใช้ในอุปกรณ์เทคโนโลยีประเภท Consumer electronics เช่น MP3 Player, PC, กล้องดิจิตอลต่างๆ ขณะที่ตลาดอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศค่อนข้างมีการเติบโตสูงเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากตลาดของหน่วยบันทึกข้อมูลแบบพกพาหรือแบบแฟลชสตอเรจ ที่ใช้ในกล้องดิจิตอล พีดีเอ โทรศัพท์มือถือมีความจุในการเก็บมาขึ้นสวนทางกับราคาที่ลดลงจากการแข่งขันเพื่อรักษา Market Share ของแต่ละค่าย
3. แนวโน้ม
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในเดือนเม.ย.ปี2550 คาดว่า น่าจะคงปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือนมี.ค. 2550 เนื่องจากมีวันหยุดตามประเพณีหลายวัน ทำให้การผลิตลดลงบ้าง คาดว่าสินค้าในกลุ่มเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นนั้น จะมีการขายในประเทศเพิ่มขึ้นช่วงหน้าร้อนนี้ แต่จะเป็นขนาดเล็ก ราคาถูกตามกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดและขาย ซึ่งเป็นภาวะการระยะสั้นเนื่องจากปีนี้หน้าฝนมาเร็วผิด โดยแนวโน้มในตลาดส่งออกเครื่องปรับอากาศคาดว่าน่าจะส่งผลดีหลังจากวันที่ 1 ก.ค. 49 สำหรับมาตรการอียู RoHS เมื่อกลางปีที่แล้ว และตะวันออกกลางที่เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของมีทีท่าว่าจะได้ดี ทั้งนี้ขึ้นกับเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าเองด้วย ส่วนในกลุ่มของเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก เช่น หม้อหุงข้าว กระติกน้ำร้อน ชะลอตัวลงในช่วงหน้าร
ขณะที่ในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ยังคงมีสถานการณ์การผลิตและการขายในภาพรวมที่ดีและมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในช่วงครึ่งปีแรกอาจขยายตัวบ้างแต่ยังไม่ร้อนแรงมากนัก โดยส่วนใหญ่ในช่วงหลังของปีอันเป็นช่วงสูงสุดของการผลิตและขาย อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่า ปี 2550 จะมีการขยายตัวโดยรวมประมาณ 10 % ตามสภาวะของตลาดโลก
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม 2550 มีค่า 182.37 เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2550 (164.76) ร้อยละ 10.7 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (178.64) ร้อยละ 2.1
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของ ปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตอื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น เป็นต้น
- อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนมีนาคม 2550 มีค่า 69.24 เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2550 (63.01) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (73.05)
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ยและสารประกอบไนโตรเจน อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม 2550
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2550 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 438 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 354 รายหรือมากกว่าร้อยละ 23.7 ในส่วนของจำนวนเงินลงทุน มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 11,544.82 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ซึ่งมีการลงทุน 9,705.24 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 และการจ้างงานรวมมีจำนวน 10,055 คน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 10,114 คน หรือลดลงร้อยละ -0.6
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ