วันนี้( 28 ส.ค.50) นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลกำหนดให้ 23 ธ.ค.เป็นวันเลือกตั้งส.ส.ว่าการประกาศดังกล่าวน่าจะเป็นผลดีต่อบ้านเมือง เพราะก่อนหน้านี้มีความสับสน และเท่าที่ฟังเหตุผลประธานกกต.แถลงออกมา ก็ชัดเจนสมบูรณ์ และไม่น่าจะมีปัญหาอะไรให้เคลือบแคลงอีกต่อไป ดังนั้นคิดว่าคงไม่จำเป็นต้องปรึกษาพรรคการเมืองอีก ทั้งนี้ในส่วนของพรรคได้พิจารณาผู้สมัครไปเรื่อย ๆ และคาดว่ากลางเดือนก.ย.นี้คงได้ตัวผู้สมัครเป็นส่วนใหญ่ และพรรคจะพยายามส่งผู้สมัครให้ครบทุกเขต
“ในทางปฏิบัติเมื่อรัฐบาลแสดงความตั้งใจจริงจะให้มีการเลือกตั้ง 23 ธ.ค. และกกต.ก็บอกว่ามีความพร้อม ก็เป็นหน้าที่ของพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองต่าง ๆ รีบไปจัดแจงแต่งตัวเองให้เป็นไปตามกำหนด ผมคิดว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่จะทำให้เกิดความสับสนกันอีกต่อไป เพราะพี่น้องประชาชนต่างรอคอยที่จะมีวันเลือกตั้ง”นายสุเทพ กล่าว
ส่วนในพื้นที่สีแดงตอนทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญจะมีผลต่อการพิจารณาตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ตนไม่คิดว่าพื้นที่ไหนเป็นสีแดง เพราะในการเลือกตั้งนั้นแต่ละพื้นที่มีความยากง่ายต่างกัน จึงเป็นหน้าที่ของพรรคการเมืองที่จะต้องทำความเข้าใจกับประชาชน โดยนำนโยบาย แนวความคิดทางการเมืองไปอธิบายให้ประชาชนได้ฟัง โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสานนั้น พรรคจะจัดตั้งองค์กรบริหารอำนวยการเลือกตั้งขึ้นมาเป็นกรณีพิเศษนอกเหนือจากโครงสร้างพรรคปกติ ซึ่งจะประกอบด้วยนักการเมืองในภาคอีสานล้วน ๆ และเข้ามาดูนโยบายแนวความคิดของพรรค และดูว่าอะไรที่เหมาะสมที่จะนำไปใช้ในพื้นที่ภาคอีสาน เพื่อนำไปกำหนดยุทธศาสตร์ยุทธวิธี ภายใต้ชื่อว่า การเมืองอีสาน โดยคนอีสาน อาทินายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ อดีตส.ว.นครราชสีมา และอดีตส.ส. อดีตส.ส. และคนรุ่นใหม่อีกหลายคนมาร่วมงาน และประมาณสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนก.ย.คงจะสามารถเปิดตัวได้ชัดเจน ทั้งที่จะลงสมัครในระบบเขตและระบบสัดส่วน อย่างไรก็ตามไม่ได้คิดถึงเรื่องการช่วงชิงพื้นที่มากนัก แต่จะนำเสนอรูปแบบการทำงานทางการเมืองที่สอดคล้องกับแนวความคิดของประชาชนในภาคอีสานได้
นายสุเทพ กล่าวว่าการเลือกตั้งครั้งนี้น่าจะแตกต่างจากการเลือกตั้งเมื่อปี 2548 เพราะในครั้งนั้นรัฐบาลได้ใช้กลไกอำนาจรัฐที่มีเพื่อประโยชน์ให้กับพรรครัฐบาล แต่ในการเลือกตั้งครั้งนี้ รัฐบาลของพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีไม่ได้ตั้งพรรคการเมืองและแสดงตัวชัดเจนว่าไม่ประสงค์จะสืบทอดอำนาจ และยังยืนยันว่าจะดูแลการเลือกตั้งให้เป็นไปด้วยความสุจริตและเที่ยงธรรม ซึ่งก็ต้องขอบคุณรัฐบาล ดังนั้นกกต.และกลไกของรัฐต้องดูแลกำกับ ควบคุม ตรวจสอบ จับกุม ไม่ให้มีการใช้จ่ายเงินหรือทุจริตการเลือกตั้ง ซึ่งเชื่อว่าหากดูแลอย่างเข้มงวดจะช่วยให้การใช้จ่ายเงินเบาบางลงบ้าง
ส่วนกรณีที่ร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญที่จะห้ามผู้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการจัดตั้งพรรคการเมืองนั้น นายสุเทพ กล่าวว่าพรรคแยกประเด็นการถูกตัดสิทธิทางการเมืองว่าไม่ควรลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่การจะเคลื่อนไหวอย่างอื่นนั้น ตราบใดที่อยู่ในกรอบของกฎหมายก็ไม่น่าที่จะไปว่าอะไร ส่วนที่เป็นผู้ริเริ่มจดทะเบียนพรรคด้วย ก็ต้องให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบไปดูว่าผิดหรือไม่
สำหรับกรณีที่พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ หัวหน้าพรรคมหาชนเสนอว่าอดีตพรรคร่วมฝ่ายค้านควรหารือกันและประกาศจุดยืนที่จะไม่ร่วมงานกับพรรคพลังประชาชนนั้น นายสุเทพ กล่าวว่าคงจะได้พูดคุยกัน ซึ่งการเมืองน่าจะมีความชัดเจนขึ้นระหว่างกลุ่มที่ต่อสู้เพื่อพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับอีกกลุ่มที่ไม่ใช่กลุ่มของพ.ต.ท.ทักษิณ แต่ประเด็นเหล่านี้จะต้องหารือกัน และเมื่อได้ผลอย่างไร ก็ต้องแถลงต่อสาธารณชน
ด้าน นายสาธิต ปิตุเตชะ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี กกต. ประกาศวันเลือกตั้งเป็นวันที่ 23 นวาคม 2550 พรรคประชาธิปัตย์เห็นด้วยกับการกำหนดวันเลือกตั้งในวันดังกล่าว ประการแรก เพื่อสร้างความชัดเจน ให้กับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุน ประชาชน นานาประเทศ รวมทั้งนักการเมืองที่ต้องเตรียมพร้อมเข้าสู่การแข็งขันอย่างเสรีในการเลือกตั้ง
ประการที่สอง เห็นว่าวันที่ 23 ธันวาคม ตนเห็นว่าไม่ช้าไม่เร็วเกินไปสำหรับพรรคการเมืองที่จะเตรียมตัวในการคัดเลือกผู้สมัครที่มีคุณภาพ และการชี้แจง รรรงค์ ประชาสัมพันธ์ นโยบายของแต่ละพรรคการเมือง
และเหตุผลที่สำคัญคือเป็นการยุติความขัดแย้ง เพื่อเข้าการแข่งขันที่เสรี และเป็นธรรม และเพื่อให้ได้รัฐบาล ซึ่งมาจากการเลือกตั้งที่ถูกต้อง ชอบธรรม ตามกระบวนการระบอบประชาธิปไตย ซึ่งหาก กกต.มีความประสงค์จะเรียกพรรคการเมืองเข้าหารือ พรรคประชาธิปัตย์ก็พร้อม ให้คววมร่วมมือ และขอยืนยันว่ากำหนดวันเลือกตั้งเป็นวันที่23 ธันวาคม นั้นมีความเหมาะสมแล้ว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 28 ส.ค. 2550--จบ--
“ในทางปฏิบัติเมื่อรัฐบาลแสดงความตั้งใจจริงจะให้มีการเลือกตั้ง 23 ธ.ค. และกกต.ก็บอกว่ามีความพร้อม ก็เป็นหน้าที่ของพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองต่าง ๆ รีบไปจัดแจงแต่งตัวเองให้เป็นไปตามกำหนด ผมคิดว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่จะทำให้เกิดความสับสนกันอีกต่อไป เพราะพี่น้องประชาชนต่างรอคอยที่จะมีวันเลือกตั้ง”นายสุเทพ กล่าว
ส่วนในพื้นที่สีแดงตอนทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญจะมีผลต่อการพิจารณาตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ตนไม่คิดว่าพื้นที่ไหนเป็นสีแดง เพราะในการเลือกตั้งนั้นแต่ละพื้นที่มีความยากง่ายต่างกัน จึงเป็นหน้าที่ของพรรคการเมืองที่จะต้องทำความเข้าใจกับประชาชน โดยนำนโยบาย แนวความคิดทางการเมืองไปอธิบายให้ประชาชนได้ฟัง โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสานนั้น พรรคจะจัดตั้งองค์กรบริหารอำนวยการเลือกตั้งขึ้นมาเป็นกรณีพิเศษนอกเหนือจากโครงสร้างพรรคปกติ ซึ่งจะประกอบด้วยนักการเมืองในภาคอีสานล้วน ๆ และเข้ามาดูนโยบายแนวความคิดของพรรค และดูว่าอะไรที่เหมาะสมที่จะนำไปใช้ในพื้นที่ภาคอีสาน เพื่อนำไปกำหนดยุทธศาสตร์ยุทธวิธี ภายใต้ชื่อว่า การเมืองอีสาน โดยคนอีสาน อาทินายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ อดีตส.ว.นครราชสีมา และอดีตส.ส. อดีตส.ส. และคนรุ่นใหม่อีกหลายคนมาร่วมงาน และประมาณสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนก.ย.คงจะสามารถเปิดตัวได้ชัดเจน ทั้งที่จะลงสมัครในระบบเขตและระบบสัดส่วน อย่างไรก็ตามไม่ได้คิดถึงเรื่องการช่วงชิงพื้นที่มากนัก แต่จะนำเสนอรูปแบบการทำงานทางการเมืองที่สอดคล้องกับแนวความคิดของประชาชนในภาคอีสานได้
นายสุเทพ กล่าวว่าการเลือกตั้งครั้งนี้น่าจะแตกต่างจากการเลือกตั้งเมื่อปี 2548 เพราะในครั้งนั้นรัฐบาลได้ใช้กลไกอำนาจรัฐที่มีเพื่อประโยชน์ให้กับพรรครัฐบาล แต่ในการเลือกตั้งครั้งนี้ รัฐบาลของพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีไม่ได้ตั้งพรรคการเมืองและแสดงตัวชัดเจนว่าไม่ประสงค์จะสืบทอดอำนาจ และยังยืนยันว่าจะดูแลการเลือกตั้งให้เป็นไปด้วยความสุจริตและเที่ยงธรรม ซึ่งก็ต้องขอบคุณรัฐบาล ดังนั้นกกต.และกลไกของรัฐต้องดูแลกำกับ ควบคุม ตรวจสอบ จับกุม ไม่ให้มีการใช้จ่ายเงินหรือทุจริตการเลือกตั้ง ซึ่งเชื่อว่าหากดูแลอย่างเข้มงวดจะช่วยให้การใช้จ่ายเงินเบาบางลงบ้าง
ส่วนกรณีที่ร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญที่จะห้ามผู้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการจัดตั้งพรรคการเมืองนั้น นายสุเทพ กล่าวว่าพรรคแยกประเด็นการถูกตัดสิทธิทางการเมืองว่าไม่ควรลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่การจะเคลื่อนไหวอย่างอื่นนั้น ตราบใดที่อยู่ในกรอบของกฎหมายก็ไม่น่าที่จะไปว่าอะไร ส่วนที่เป็นผู้ริเริ่มจดทะเบียนพรรคด้วย ก็ต้องให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบไปดูว่าผิดหรือไม่
สำหรับกรณีที่พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ หัวหน้าพรรคมหาชนเสนอว่าอดีตพรรคร่วมฝ่ายค้านควรหารือกันและประกาศจุดยืนที่จะไม่ร่วมงานกับพรรคพลังประชาชนนั้น นายสุเทพ กล่าวว่าคงจะได้พูดคุยกัน ซึ่งการเมืองน่าจะมีความชัดเจนขึ้นระหว่างกลุ่มที่ต่อสู้เพื่อพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับอีกกลุ่มที่ไม่ใช่กลุ่มของพ.ต.ท.ทักษิณ แต่ประเด็นเหล่านี้จะต้องหารือกัน และเมื่อได้ผลอย่างไร ก็ต้องแถลงต่อสาธารณชน
ด้าน นายสาธิต ปิตุเตชะ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี กกต. ประกาศวันเลือกตั้งเป็นวันที่ 23 นวาคม 2550 พรรคประชาธิปัตย์เห็นด้วยกับการกำหนดวันเลือกตั้งในวันดังกล่าว ประการแรก เพื่อสร้างความชัดเจน ให้กับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุน ประชาชน นานาประเทศ รวมทั้งนักการเมืองที่ต้องเตรียมพร้อมเข้าสู่การแข็งขันอย่างเสรีในการเลือกตั้ง
ประการที่สอง เห็นว่าวันที่ 23 ธันวาคม ตนเห็นว่าไม่ช้าไม่เร็วเกินไปสำหรับพรรคการเมืองที่จะเตรียมตัวในการคัดเลือกผู้สมัครที่มีคุณภาพ และการชี้แจง รรรงค์ ประชาสัมพันธ์ นโยบายของแต่ละพรรคการเมือง
และเหตุผลที่สำคัญคือเป็นการยุติความขัดแย้ง เพื่อเข้าการแข่งขันที่เสรี และเป็นธรรม และเพื่อให้ได้รัฐบาล ซึ่งมาจากการเลือกตั้งที่ถูกต้อง ชอบธรรม ตามกระบวนการระบอบประชาธิปไตย ซึ่งหาก กกต.มีความประสงค์จะเรียกพรรคการเมืองเข้าหารือ พรรคประชาธิปัตย์ก็พร้อม ให้คววมร่วมมือ และขอยืนยันว่ากำหนดวันเลือกตั้งเป็นวันที่23 ธันวาคม นั้นมีความเหมาะสมแล้ว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 28 ส.ค. 2550--จบ--